กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน 2548 และระยะ 9 เดือนแรกของปี 2548 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2548
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนกันยายน 2548 เท่ากับ 112.0 สำหรับเดือนสิงหาคม 2548 เท่ากับ 111.2
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2548 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เดือนกันยายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 6.0
2.3 เดือนมกราคม - กันยายน 2548 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 4.0
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2548 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.1 และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.5 โดยมีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.1
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ผักสด ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักชี ต้นหอม และมะนาว จากภาวะฝนตกต่อเนื่องและน้ำท่วมทำให้แหล่งผลิตบางแหล่งได้รับความเสียหาย
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน ทุเรียน เงาะ และมะม่วง เป็นช่วงปลายฤดูกาลของผลไม้บางชนิด ประกอบกับใกล้เทศกาลกินเจ
- ไก่สด ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง และภาวะการส่งออกเพิ่มขึ้น
- ปลาทะเล ได้แก่ ปลากะพง ปลาแดง ปลาทู กุ้งนาง กุ้งขาว ปลาหมึกกล้วย และปูม้า เนื่องจากต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น
- เครื่องประกอบอาหาร ได้แก่ น้ำตาล น้ำมันพืช
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- เนื้อสุกร ผู้เลี้ยงสุกรเริ่มระบายผลผลิตออกสู่ตลาด ขณะที่ความต้องการบริโภคชะลอตัว เพราะใกล้เทศกาลกินเจ
- ไข่ไก่ ราคาหน้าฟาร์มลดลงเพื่อให้ตลาดคล่องตัวขึ้น
3.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.5
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- น้ำมันเชื้อเพลิง จากการปรับราคาน้ำมันเบนซิน สูงขึ้น 3 ครั้ง และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 2 ครั้ง
- ค่าโดยสารสาธารณะ ได้แก่ ค่าโดยสารรถประจำทางและรถเมล์เล็ก ที่ให้บริการภายในบางจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- สุรา ปรับภาษีสรรพสามิตสุราสูงขึ้น
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2548 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 6.0 เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ
- โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ สูงขึ้นจากบาร์เรลละ 35.60 ดอลลาร์ ในเดือนกันยายน 2547 เป็น 56.70 ดอลลาร์ สูงขึ้นร้อยละ 59.26
- สำหรับราคาน้ำมันภายในประเทศ น้ำมันดีเซลตรึงราคาไว้ตั้งแต่ 10 มกราคม2547 จนถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 มีการปรับราคาสูงขึ้นแต่ตรึงราคาบางส่วนและปล่อยให้ลอยตัว 13 กรกฎาคม 2548 ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลกันยายน 2548 ลิตรละ 23.87 บาท สูงขึ้นจาก 14.59 บาท ในเดือนกันยายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 63.60 ส่วนน้ำมันเบนซินทยอยปรับราคาสูงขึ้นเป็นช่วง ๆ โดยเดือนกันยายน 2547 เบนซิน 95 ลิตรละ 21.79 บาท เดือนกันยายน 2548 เป็น 27.35 บาท สูงขึ้นร้อยละ 25.51
นอกจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อดัชนีราคาผู้บริโภคโดยตรงแล้วยังมีผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของค่าโดยสารสาธารณะในปี 2548 มีการปรับสูงขึ้น 2 ครั้ง คือ 2 พฤษภาคม และ 8 กรกฎาคม (ทั้ง บขส. ขสมก. รถเมล์เล็ก และค่าโดยสารเรือ) และแม้กระทั่ง ผักสดและผลไม้ซึ่งจากภาวะฝนแล้งและน้ำท่วมในปี 2548 ทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยมากกว่าปกติแล้วยังมีผลจากการที่ราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นทำให้ชาวสวนไม่สูบน้ำออกเพราะต้นทุนน้ำมันดีเซลสูงขึ้นมาก จึงมีผลซ้ำซ้อนต่อปริมาณการผลิตผักผลไม้เป็นจำนวนมาก
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศระยะ 9 เดือนแรกของปี 2548
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศระยะ 9 เดือนแรกของปี 2548 เท่ากับ 108.5 เทียบกับดัชนีราคาเฉลี่ยช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งเท่ากับ 104.3 สูงขึ้นร้อยละ 4.0
5.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.3 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด ปลาและสัตว์ ผักสดและผลไม้ และอาหารสำเร็จรูป
5.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.8 จากการสูงขึ้นของราคา ค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถเมล์เล็ก ค่าโดยสารเรือ น้ำมันเชื้อเพลิง และยาสูบ
สำหรับสินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม ค่าประกันภัยรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันคุ้มครองผู้ประสพภัยจากรถ เครื่องรับและค่าบริการใช้โทรศัพท์มือถือ
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน 2548 เท่ากับ 103.0 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
6.2 เดือนกันยายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 2.3
6.3 เดือนมกราคม - กันยายน 2548 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 1.4
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2548
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนกันยายน 2548 เท่ากับ 112.0 สำหรับเดือนสิงหาคม 2548 เท่ากับ 111.2
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2548 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เดือนกันยายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 6.0
2.3 เดือนมกราคม - กันยายน 2548 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 4.0
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2548 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.1 และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.5 โดยมีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.1
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ผักสด ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักชี ต้นหอม และมะนาว จากภาวะฝนตกต่อเนื่องและน้ำท่วมทำให้แหล่งผลิตบางแหล่งได้รับความเสียหาย
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน ทุเรียน เงาะ และมะม่วง เป็นช่วงปลายฤดูกาลของผลไม้บางชนิด ประกอบกับใกล้เทศกาลกินเจ
- ไก่สด ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง และภาวะการส่งออกเพิ่มขึ้น
- ปลาทะเล ได้แก่ ปลากะพง ปลาแดง ปลาทู กุ้งนาง กุ้งขาว ปลาหมึกกล้วย และปูม้า เนื่องจากต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น
- เครื่องประกอบอาหาร ได้แก่ น้ำตาล น้ำมันพืช
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- เนื้อสุกร ผู้เลี้ยงสุกรเริ่มระบายผลผลิตออกสู่ตลาด ขณะที่ความต้องการบริโภคชะลอตัว เพราะใกล้เทศกาลกินเจ
- ไข่ไก่ ราคาหน้าฟาร์มลดลงเพื่อให้ตลาดคล่องตัวขึ้น
3.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.5
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- น้ำมันเชื้อเพลิง จากการปรับราคาน้ำมันเบนซิน สูงขึ้น 3 ครั้ง และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 2 ครั้ง
- ค่าโดยสารสาธารณะ ได้แก่ ค่าโดยสารรถประจำทางและรถเมล์เล็ก ที่ให้บริการภายในบางจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- สุรา ปรับภาษีสรรพสามิตสุราสูงขึ้น
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2548 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 6.0 เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ
- โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ สูงขึ้นจากบาร์เรลละ 35.60 ดอลลาร์ ในเดือนกันยายน 2547 เป็น 56.70 ดอลลาร์ สูงขึ้นร้อยละ 59.26
- สำหรับราคาน้ำมันภายในประเทศ น้ำมันดีเซลตรึงราคาไว้ตั้งแต่ 10 มกราคม2547 จนถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 มีการปรับราคาสูงขึ้นแต่ตรึงราคาบางส่วนและปล่อยให้ลอยตัว 13 กรกฎาคม 2548 ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลกันยายน 2548 ลิตรละ 23.87 บาท สูงขึ้นจาก 14.59 บาท ในเดือนกันยายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 63.60 ส่วนน้ำมันเบนซินทยอยปรับราคาสูงขึ้นเป็นช่วง ๆ โดยเดือนกันยายน 2547 เบนซิน 95 ลิตรละ 21.79 บาท เดือนกันยายน 2548 เป็น 27.35 บาท สูงขึ้นร้อยละ 25.51
นอกจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อดัชนีราคาผู้บริโภคโดยตรงแล้วยังมีผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของค่าโดยสารสาธารณะในปี 2548 มีการปรับสูงขึ้น 2 ครั้ง คือ 2 พฤษภาคม และ 8 กรกฎาคม (ทั้ง บขส. ขสมก. รถเมล์เล็ก และค่าโดยสารเรือ) และแม้กระทั่ง ผักสดและผลไม้ซึ่งจากภาวะฝนแล้งและน้ำท่วมในปี 2548 ทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยมากกว่าปกติแล้วยังมีผลจากการที่ราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นทำให้ชาวสวนไม่สูบน้ำออกเพราะต้นทุนน้ำมันดีเซลสูงขึ้นมาก จึงมีผลซ้ำซ้อนต่อปริมาณการผลิตผักผลไม้เป็นจำนวนมาก
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศระยะ 9 เดือนแรกของปี 2548
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศระยะ 9 เดือนแรกของปี 2548 เท่ากับ 108.5 เทียบกับดัชนีราคาเฉลี่ยช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งเท่ากับ 104.3 สูงขึ้นร้อยละ 4.0
5.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.3 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด ปลาและสัตว์ ผักสดและผลไม้ และอาหารสำเร็จรูป
5.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.8 จากการสูงขึ้นของราคา ค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถเมล์เล็ก ค่าโดยสารเรือ น้ำมันเชื้อเพลิง และยาสูบ
สำหรับสินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม ค่าประกันภัยรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันคุ้มครองผู้ประสพภัยจากรถ เครื่องรับและค่าบริการใช้โทรศัพท์มือถือ
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน 2548 เท่ากับ 103.0 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
6.2 เดือนกันยายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 2.3
6.3 เดือนมกราคม - กันยายน 2548 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 1.4
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--