พรรคประชาธิปัตย์ ยื่น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตีความ‘พรก.ฉุกเฉิน’ ใน 3 มาตรา เนื่องจากหมิ่นเหม่ต่อการขัด รธน.
วันนี้ (20 ก.ค.) เวลา 13.30 น. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แถลงที่พรรคประชาธิปัตย์เรื่องที่จะเสนอความเห็นไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาในเรื่องการตราพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลว่า เหตุผลที่พรรคยื่นไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เนื่องจากเห็นว่าพระราชกำหนดที่ตราขึ้นยังมีความน่าเป็นห่วงและน่ากังวล ทั้งในส่วนของบทบัญญัติที่ตราไว้ในพระราชกำหนด ตลอดจนประกาศ ข้อกำหนด และกฎระเบียบซึ่งจะมีการออกประกาศใช้ในอนาคตตามอำนาจของพรก.ฉบับนี้ แม้ว่ารัฐบาลจะมีการประกาศเมื่อวานว่ายังมีบทบัญญัติบางมาตราที่ยังไม่นำมาบังคับใช้ก็ตาม แต่ก็ไม่มีหลักประกันใดที่จะมีการรับประกันได้ว่าจะไม่มีการบังคับใช้ในอนาคต ดังนั้นพรรคจึงพิจารณาเห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นองค์กรเดียวเท่านั้นตามรัฐธรรมนูญในขณะนี้ที่สามารถที่จะใช้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่บัญญัติเอาไว้ตามรัฐธรรมนูญในอันที่จะเป็นช่องทางร้องเรียนให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบหรือได้รับความเสียหาย รวมถึงผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภายังมีอำนาจหน้าที่ในการที่จะวินิจฉัยว่าบทบัญญัติในมาตราใดของพรก.มีความหมิ่นเหม่หรือขัดต่อรัฐธรรมนูญนี้ด้วย ซึ่งเราเห็นว่าบทบัญญัติตามมาตราดังต่อไปนี้ของพระราชกำหนดหมิ่นเหม่ต่อการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งในเนื้อหาสาระและการออกประกาศ ข้อกำหนด และการบังคับใช้ที่จะมีขึ้นในอนาคต
1. มาตรา 9 (3) ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
2. มาตรา 10 (5) ที่เป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบจดหมาย สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์หรือการสื่อสารด้วยวิธีใด
3. มาตรา 11 (6) กรณีให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศห้ามมิให้การกระทำใดๆ หรือสั่งการให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ โดยไม่เขียนรายละเอียดไว้
ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวต่อว่า พระราชกำหนดฉบับนี้ขาดกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมาย ทั้งที่ในหลายประเทศที่ใช้กฎหมายในลักษณะนี้ยังเปิดช่องให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจได้ เช่น การอุทธรณ์ หรือใช้กระบวนการทางศาล แต่พระราชกำหนดฉบับนี้นอกจากปิดช่องทางการตรวจสอบแล้วยังมีการยกเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ ดังนั้นพรรคจึงขอให้ผู้ตรวจการฯพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ใน 3 เรื่อง คือ 1.หากเห็นว่าบทบัญญัติในมาตราใดของพรก.มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ขอให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 198 โดยส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป 2.ขอให้ผู้ตรวจการฯติดตามประกาศข้อกำหนดข้อบังคับที่ออกตามพรก.ฉบับดังกล่าว เพื่อตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นการเคารพรักษาซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และ 3.ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ได้รับผลกระทบของพรก.ดังกล่าวใช้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นช่องทางตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐตามพ.ร.ก.เพื่อเป็นการรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนต่อไป
จากนั้นในเวลา 14.00 น.นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ไปยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพื่อขอให้วินิจฉัยการตรา พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลแล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ก.ค. 2548--จบ--
วันนี้ (20 ก.ค.) เวลา 13.30 น. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แถลงที่พรรคประชาธิปัตย์เรื่องที่จะเสนอความเห็นไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาในเรื่องการตราพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลว่า เหตุผลที่พรรคยื่นไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เนื่องจากเห็นว่าพระราชกำหนดที่ตราขึ้นยังมีความน่าเป็นห่วงและน่ากังวล ทั้งในส่วนของบทบัญญัติที่ตราไว้ในพระราชกำหนด ตลอดจนประกาศ ข้อกำหนด และกฎระเบียบซึ่งจะมีการออกประกาศใช้ในอนาคตตามอำนาจของพรก.ฉบับนี้ แม้ว่ารัฐบาลจะมีการประกาศเมื่อวานว่ายังมีบทบัญญัติบางมาตราที่ยังไม่นำมาบังคับใช้ก็ตาม แต่ก็ไม่มีหลักประกันใดที่จะมีการรับประกันได้ว่าจะไม่มีการบังคับใช้ในอนาคต ดังนั้นพรรคจึงพิจารณาเห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นองค์กรเดียวเท่านั้นตามรัฐธรรมนูญในขณะนี้ที่สามารถที่จะใช้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่บัญญัติเอาไว้ตามรัฐธรรมนูญในอันที่จะเป็นช่องทางร้องเรียนให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบหรือได้รับความเสียหาย รวมถึงผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภายังมีอำนาจหน้าที่ในการที่จะวินิจฉัยว่าบทบัญญัติในมาตราใดของพรก.มีความหมิ่นเหม่หรือขัดต่อรัฐธรรมนูญนี้ด้วย ซึ่งเราเห็นว่าบทบัญญัติตามมาตราดังต่อไปนี้ของพระราชกำหนดหมิ่นเหม่ต่อการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งในเนื้อหาสาระและการออกประกาศ ข้อกำหนด และการบังคับใช้ที่จะมีขึ้นในอนาคต
1. มาตรา 9 (3) ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
2. มาตรา 10 (5) ที่เป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบจดหมาย สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์หรือการสื่อสารด้วยวิธีใด
3. มาตรา 11 (6) กรณีให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศห้ามมิให้การกระทำใดๆ หรือสั่งการให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ โดยไม่เขียนรายละเอียดไว้
ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวต่อว่า พระราชกำหนดฉบับนี้ขาดกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมาย ทั้งที่ในหลายประเทศที่ใช้กฎหมายในลักษณะนี้ยังเปิดช่องให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจได้ เช่น การอุทธรณ์ หรือใช้กระบวนการทางศาล แต่พระราชกำหนดฉบับนี้นอกจากปิดช่องทางการตรวจสอบแล้วยังมีการยกเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ ดังนั้นพรรคจึงขอให้ผู้ตรวจการฯพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ใน 3 เรื่อง คือ 1.หากเห็นว่าบทบัญญัติในมาตราใดของพรก.มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ขอให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 198 โดยส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป 2.ขอให้ผู้ตรวจการฯติดตามประกาศข้อกำหนดข้อบังคับที่ออกตามพรก.ฉบับดังกล่าว เพื่อตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นการเคารพรักษาซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และ 3.ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ได้รับผลกระทบของพรก.ดังกล่าวใช้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นช่องทางตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐตามพ.ร.ก.เพื่อเป็นการรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนต่อไป
จากนั้นในเวลา 14.00 น.นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ไปยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพื่อขอให้วินิจฉัยการตรา พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลแล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ก.ค. 2548--จบ--