เศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคมยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยปัจจัยสนับสนุนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังคงเป็นการส่งออก นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อได้ปรับตัวลดลง
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อุปสงค์การบริโภคของประชาชนยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศในเดือนมกราคมขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้าคงทนอันได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า สะท้อนจากรายได้ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าดังกล่าวนี้ในเดือนมกราคมหดตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นเป็น 90.3 จาก 89.3
การลงทุนภาคเอกชนและความมั่นใจของนักลงทุนยังอยู่ในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนทั้งจากการลงทุนใหม่ และที่ใช้ในการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยังมีการขยายตัวสูง โดยการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างอยู่ในระดับดี โดยภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 16.2 สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 ในเดือนธันวาคม
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง มูลค่าการส่งออกเดือนมกราคมอยู่ที่ 7,876.57 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 10.9 ขณะที่การนำเข้าเดือนมกราคมชะลอตัวจากเดือนก่อนโดยมีมูลค่า 9,217.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 33.5 ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนมกราคมขาดดุลทั้งสิ้น 1,342 ล้านดอลลาร์ สรอ.สำหรับด้านการท่องเที่ยวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานดอนเมืองเดือนธันวาคมมีจำนวน 7.9 แสนราย ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในเดือนธันวาคม 2547 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.9 อยู่ที่ 153.6 จุด โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดี ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง สำหรับภาพรวมทั้งปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 8.1 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 75.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 75.5 ในเดือนก่อน เฉลี่ยทั้งปี 2547 อยู่ที่ร้อยละ 72.7 ใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง ขณะที่เงินฝากขยายตัวในอัตราชะลอตัว เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 2.7 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.6 ในเดือนที่แล้ว ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ในเดือนธันวาคมขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 9.8
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายใน และภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง (1) อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคมอยู่ที่ร้อยละ 2.7 สูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 0.1 เนื่องจากสินค้าในหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้น (2) อัตราการว่างงานเดือนธันวาคม อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 (3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนธันวาคมเกินดุลทั้งสิ้น 1,369 ล้านดอลลาร์สรอ. (4) ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 48.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม หรือประมาณ 4.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (5) หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 มีจำนวน 3.1 ล้านล้านบาท หรือ ร้อยละ 47.63 ของ GDP.
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 4/2548 25 กุมภาพันธ์ 2548--
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อุปสงค์การบริโภคของประชาชนยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศในเดือนมกราคมขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้าคงทนอันได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า สะท้อนจากรายได้ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าดังกล่าวนี้ในเดือนมกราคมหดตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นเป็น 90.3 จาก 89.3
การลงทุนภาคเอกชนและความมั่นใจของนักลงทุนยังอยู่ในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนทั้งจากการลงทุนใหม่ และที่ใช้ในการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยังมีการขยายตัวสูง โดยการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างอยู่ในระดับดี โดยภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 16.2 สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 ในเดือนธันวาคม
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง มูลค่าการส่งออกเดือนมกราคมอยู่ที่ 7,876.57 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 10.9 ขณะที่การนำเข้าเดือนมกราคมชะลอตัวจากเดือนก่อนโดยมีมูลค่า 9,217.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 33.5 ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนมกราคมขาดดุลทั้งสิ้น 1,342 ล้านดอลลาร์ สรอ.สำหรับด้านการท่องเที่ยวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานดอนเมืองเดือนธันวาคมมีจำนวน 7.9 แสนราย ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในเดือนธันวาคม 2547 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.9 อยู่ที่ 153.6 จุด โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดี ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง สำหรับภาพรวมทั้งปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 8.1 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 75.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 75.5 ในเดือนก่อน เฉลี่ยทั้งปี 2547 อยู่ที่ร้อยละ 72.7 ใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง ขณะที่เงินฝากขยายตัวในอัตราชะลอตัว เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 2.7 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.6 ในเดือนที่แล้ว ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ในเดือนธันวาคมขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 9.8
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายใน และภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง (1) อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคมอยู่ที่ร้อยละ 2.7 สูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 0.1 เนื่องจากสินค้าในหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้น (2) อัตราการว่างงานเดือนธันวาคม อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 (3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนธันวาคมเกินดุลทั้งสิ้น 1,369 ล้านดอลลาร์สรอ. (4) ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 48.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม หรือประมาณ 4.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (5) หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 มีจำนวน 3.1 ล้านล้านบาท หรือ ร้อยละ 47.63 ของ GDP.
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 4/2548 25 กุมภาพันธ์ 2548--