‘คณะทำงานติดตามการทุจริต โครงการต้นกล้ายาง’ ปชป. พบปัญหามากมายจาก ‘โครงการปลูกยางล้านไร่ ’ เชื่อเกษตรนับล้านประสบปัญหายากจนในอีก7ปีข้างหน้า เพราะต้นกล้าไม่ได้คุณภาพและได้ผลน้อย
นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามการทุจริต โครงการต้นกล้ายาง พรรคประชาธิปัตย กล่าวว่า โครงการนี้รัฐบาลชุดที่แล้วได้ตั้งงบประมาณ 1.4 พันล้านเพื่อนำกล้ายางไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ตนได้ตั้งชื่อว่า “โครงการยางเอื้ออาทร” เพราะมีการเอางบประมาณแผ่นดินไปแจกซึ่งช่วงเวลาผ่านมาเกือบ1ปี มีการตั้งข้อสังเกตคือมีการผิดฝาผิดตัว เนื่องจากก่อนหน้านี้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.)จะเป็นผู้ดำเนินการให้เกษตรกรปลูกยาง เพราะมีบุคคลกรเกือบ2พันคน แต่โครงการนี้กลับให้กรมวิชาการเป็นคนหากล้ายาง โดยที่ไม่มีความสามารถในการจัดหา จึงต้องไปจ้างเอกชน คือบริษัทซีพี นอกจากนี้ในปี 2547 จะต้องปลูก2แสนไร่ แต่ซีพี.ไม่สามารถแจกกล้าได้ตามสัญญา เพราะแจกได้เพียง14.5 ล้านต้น ผิดเป้าหมายไป 50,000ไร่ รัฐบาลมีเป้าหมายจะแจกในโครงการ 1 ล้านไร่ แต่มีเกษตรกรแจ้งความจำนงต้องการปลูก มากกว่า 3 ล้านไร่ ซึ่งขณะนี้มีโครงการยางซีอีโอเกิดขึ้น โดยเอางบประมาณจากงบผู้ว่าซีอีโอมาทำการแจกจ่าย
นายอาคม กล่าวว่า ที่น่าตลกคือ รัฐบาลอ้างว่าเป็นโครงการแก้ปัญหาความยากจน โดยประกาศว่าจะแก้ปัญหาความยากจนภายใน 1 ปี แต่ในความเป็นจริงกว่าจะกรีดยางได้เกษตรกรต้องใช้เวลา 7 ปี และโครงการนี้จะสำเร็จได้ต้องไปกู้เงิน จาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ซึ่งจะอนุมัติเงินกู้ให้ไร่ละ 5,360 บาท แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรภาคใต้และภาคตะวันออกต้องใช้ทุนถึงไร่ละ 7 พันกว่าบาท และจากที่ตนลงพื้นที่ภาคอีสานพบว่ามีเกษตรกรอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้รับเงินกู้จาก ธ.ก.ส. ตนจึงไม่ทราบว่าโครงการนี้จะสำเร็จได้อย่างไร นอกจากนี้เกิดปัญหาเกษตรกรตื่นยางเนื่องจากมีราคาสูงกิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่งขณะนี้เกษตรกรไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เนื่องจากมีผู้แสดงความจำนง 3 ล้านไร่ ทางรัฐบาลจึงแบ่งให้รายละ 5 — 7 ไร่ ทำไห้เกษตรกรต้องไปซื้อกล้ายางข้างนอก โดยที่จ.สกลนคร และ นครพนม มีการนำต้นกล้ายางมาวางขายข้างทางใช้ร่มกางกันแดด ตนขอเรียกว่า “ยางธุดงค์” ซึ่งถือว่าผิด พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2545 ในมาตรา 21 ที่บัญญัติว่าผู้ใดจะขยายพันธ์ต้นกล้ายางเพื่อการค้าต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตและจะต้องขยายพันธ์จากต้นยางพันธุ์ดี แต่ยางที่เกษตรกรปลูกนอกโครงการในภาคอีสานผิด พ.ร.บ.นี้ทั้งสิ้น
“ใครสามารถยืนยันได้ว่ายางที่ปลูกกันวันนี้เป็นยางพันธุ์ และหากเป็นพันธุ์ที่ไม่มีน้ำยางหรือมีน้อย เกษตรกรอีสานจำนวนล้านคนจะต้องประสบภาวะขาดทุนกลับไปสู่ความยากจนเช่นเดิมอีกใน 7 ปีข้างหน้า” นายอาคมกล่าวและว่า จากตัวเลขยืนยันกล้ายางที่ ส.ส.เอาไปแจกเป็นกล้ายางนอกฤดูกาลในเดือนกันยายนเฉพาะที่ จ.เชียงใหม่แห่งเดียว กล้ายางตายจำนวน55,686 ต้นและในสัญญากำหนดให้แจกในเดือน พ.ค. - ส.ค.แต่กลับเอาไปแจกในเดือน ก.ย.เพียงแค่หวังผลทางการเมือง ในที่สุดก็ไม่มีคนรับผิดชอบ ทั้งที่รู้ก่อนหน้านี้แล้วว่าแจกไปก็ไม่ได้ผล กลับมีการอ้างปัญหาภัยแล้ง
ด้านนายวินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา หนึ่งในคณะทำงานฯกล่าวว่าจากการลงพื้นที่พบว่าแปลงยางที่ขายอยู่ข้างถนนไม่มีใบอนุญาตขยายพันธุ์กล้ายางเพื่อการค้าและหนังสือรับรองว่า ไม่ได้ใช้กิ่งสอย และกรณีที่รัฐบาลส่งเสริมเพียงแค่ขยายครัวเรือนให้ได้รับแจกต้นกล้ายางครัวเรือนละ 5 ไร่ ซึ่งตนเชื่อว่าในอนาคตอีก 7 ปีเกษตรกรจะมีรายได้ไม่พอกินแน่นอน ซึ่งรัฐบาลจะต้องส่งเสริมถึง 10 ไร่ เกษตรกรถึงจะอยู่ได้ ดังนั้นเมื่อถึงเวลากรีดยางต่อให้มีน้ำยางมากที่สุดเท่าที่เคยมีก็ไม่สามารถเลี้ยงอาชีพเกษตรกรได้ ดังนั้นขอให้รัฐบาลอย่ามุ่งแต่เอาฐานความนิยมก่อนเลือกตั้ง
ขณะที่นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่าปัญหากล้ายางตายเป็นเพราะ ส.ส.รีบนำกล้ายางไปแจกเนื่องจากเกรงจะผิดกฎหมายพ.ร.บ.การเลือกตั้งส.ส. และ ส.ว.จึงต้องรีบประสานกับบริษัทคู่สัญญาเพื่อรีบนำไปแจกประชาชนนั้น ตนได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ว่านายกรัฐมนตรีได้สารภาพต่อสื่อมวลชนว่า ส.ส.กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 44ที่ห้ามผู้สมัครแจกจ่ายสิ่งของ เพื่อจูงใจให้ได้คะแนนเสียง นอกจากนี้จากที่ได้เดินทางไป จ.เชียงใหม่เมื่อวันที่ 13 มิ.ยที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบโครงการดังกล่าวพบว่าขนาดของลำต้นตามข้อสัญญาจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.9 ซ.ม.เป็นอย่างน้อย แต่ที่ลงไปตรวจสอบมีขนาดแค่ 0.5 ซ.ม.ซึ่งขณะนี้เกษตรกรที่นำกล้ายางไปได้นำไปกองไว้ที่หน้าบ้าน เพราะกล้ายางตายหมด และมีการลงทุนสูงเนื่องจากใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งคณะทำงานจะติดตามเรื่องนี้ต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 มิ.ย. 2548--จบ--
นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามการทุจริต โครงการต้นกล้ายาง พรรคประชาธิปัตย กล่าวว่า โครงการนี้รัฐบาลชุดที่แล้วได้ตั้งงบประมาณ 1.4 พันล้านเพื่อนำกล้ายางไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ตนได้ตั้งชื่อว่า “โครงการยางเอื้ออาทร” เพราะมีการเอางบประมาณแผ่นดินไปแจกซึ่งช่วงเวลาผ่านมาเกือบ1ปี มีการตั้งข้อสังเกตคือมีการผิดฝาผิดตัว เนื่องจากก่อนหน้านี้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.)จะเป็นผู้ดำเนินการให้เกษตรกรปลูกยาง เพราะมีบุคคลกรเกือบ2พันคน แต่โครงการนี้กลับให้กรมวิชาการเป็นคนหากล้ายาง โดยที่ไม่มีความสามารถในการจัดหา จึงต้องไปจ้างเอกชน คือบริษัทซีพี นอกจากนี้ในปี 2547 จะต้องปลูก2แสนไร่ แต่ซีพี.ไม่สามารถแจกกล้าได้ตามสัญญา เพราะแจกได้เพียง14.5 ล้านต้น ผิดเป้าหมายไป 50,000ไร่ รัฐบาลมีเป้าหมายจะแจกในโครงการ 1 ล้านไร่ แต่มีเกษตรกรแจ้งความจำนงต้องการปลูก มากกว่า 3 ล้านไร่ ซึ่งขณะนี้มีโครงการยางซีอีโอเกิดขึ้น โดยเอางบประมาณจากงบผู้ว่าซีอีโอมาทำการแจกจ่าย
นายอาคม กล่าวว่า ที่น่าตลกคือ รัฐบาลอ้างว่าเป็นโครงการแก้ปัญหาความยากจน โดยประกาศว่าจะแก้ปัญหาความยากจนภายใน 1 ปี แต่ในความเป็นจริงกว่าจะกรีดยางได้เกษตรกรต้องใช้เวลา 7 ปี และโครงการนี้จะสำเร็จได้ต้องไปกู้เงิน จาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ซึ่งจะอนุมัติเงินกู้ให้ไร่ละ 5,360 บาท แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรภาคใต้และภาคตะวันออกต้องใช้ทุนถึงไร่ละ 7 พันกว่าบาท และจากที่ตนลงพื้นที่ภาคอีสานพบว่ามีเกษตรกรอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้รับเงินกู้จาก ธ.ก.ส. ตนจึงไม่ทราบว่าโครงการนี้จะสำเร็จได้อย่างไร นอกจากนี้เกิดปัญหาเกษตรกรตื่นยางเนื่องจากมีราคาสูงกิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่งขณะนี้เกษตรกรไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เนื่องจากมีผู้แสดงความจำนง 3 ล้านไร่ ทางรัฐบาลจึงแบ่งให้รายละ 5 — 7 ไร่ ทำไห้เกษตรกรต้องไปซื้อกล้ายางข้างนอก โดยที่จ.สกลนคร และ นครพนม มีการนำต้นกล้ายางมาวางขายข้างทางใช้ร่มกางกันแดด ตนขอเรียกว่า “ยางธุดงค์” ซึ่งถือว่าผิด พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2545 ในมาตรา 21 ที่บัญญัติว่าผู้ใดจะขยายพันธ์ต้นกล้ายางเพื่อการค้าต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตและจะต้องขยายพันธ์จากต้นยางพันธุ์ดี แต่ยางที่เกษตรกรปลูกนอกโครงการในภาคอีสานผิด พ.ร.บ.นี้ทั้งสิ้น
“ใครสามารถยืนยันได้ว่ายางที่ปลูกกันวันนี้เป็นยางพันธุ์ และหากเป็นพันธุ์ที่ไม่มีน้ำยางหรือมีน้อย เกษตรกรอีสานจำนวนล้านคนจะต้องประสบภาวะขาดทุนกลับไปสู่ความยากจนเช่นเดิมอีกใน 7 ปีข้างหน้า” นายอาคมกล่าวและว่า จากตัวเลขยืนยันกล้ายางที่ ส.ส.เอาไปแจกเป็นกล้ายางนอกฤดูกาลในเดือนกันยายนเฉพาะที่ จ.เชียงใหม่แห่งเดียว กล้ายางตายจำนวน55,686 ต้นและในสัญญากำหนดให้แจกในเดือน พ.ค. - ส.ค.แต่กลับเอาไปแจกในเดือน ก.ย.เพียงแค่หวังผลทางการเมือง ในที่สุดก็ไม่มีคนรับผิดชอบ ทั้งที่รู้ก่อนหน้านี้แล้วว่าแจกไปก็ไม่ได้ผล กลับมีการอ้างปัญหาภัยแล้ง
ด้านนายวินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา หนึ่งในคณะทำงานฯกล่าวว่าจากการลงพื้นที่พบว่าแปลงยางที่ขายอยู่ข้างถนนไม่มีใบอนุญาตขยายพันธุ์กล้ายางเพื่อการค้าและหนังสือรับรองว่า ไม่ได้ใช้กิ่งสอย และกรณีที่รัฐบาลส่งเสริมเพียงแค่ขยายครัวเรือนให้ได้รับแจกต้นกล้ายางครัวเรือนละ 5 ไร่ ซึ่งตนเชื่อว่าในอนาคตอีก 7 ปีเกษตรกรจะมีรายได้ไม่พอกินแน่นอน ซึ่งรัฐบาลจะต้องส่งเสริมถึง 10 ไร่ เกษตรกรถึงจะอยู่ได้ ดังนั้นเมื่อถึงเวลากรีดยางต่อให้มีน้ำยางมากที่สุดเท่าที่เคยมีก็ไม่สามารถเลี้ยงอาชีพเกษตรกรได้ ดังนั้นขอให้รัฐบาลอย่ามุ่งแต่เอาฐานความนิยมก่อนเลือกตั้ง
ขณะที่นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่าปัญหากล้ายางตายเป็นเพราะ ส.ส.รีบนำกล้ายางไปแจกเนื่องจากเกรงจะผิดกฎหมายพ.ร.บ.การเลือกตั้งส.ส. และ ส.ว.จึงต้องรีบประสานกับบริษัทคู่สัญญาเพื่อรีบนำไปแจกประชาชนนั้น ตนได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ว่านายกรัฐมนตรีได้สารภาพต่อสื่อมวลชนว่า ส.ส.กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 44ที่ห้ามผู้สมัครแจกจ่ายสิ่งของ เพื่อจูงใจให้ได้คะแนนเสียง นอกจากนี้จากที่ได้เดินทางไป จ.เชียงใหม่เมื่อวันที่ 13 มิ.ยที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบโครงการดังกล่าวพบว่าขนาดของลำต้นตามข้อสัญญาจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.9 ซ.ม.เป็นอย่างน้อย แต่ที่ลงไปตรวจสอบมีขนาดแค่ 0.5 ซ.ม.ซึ่งขณะนี้เกษตรกรที่นำกล้ายางไปได้นำไปกองไว้ที่หน้าบ้าน เพราะกล้ายางตายหมด และมีการลงทุนสูงเนื่องจากใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งคณะทำงานจะติดตามเรื่องนี้ต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 มิ.ย. 2548--จบ--