แท็ก
ดัชนีความเชื่อมั่น
1. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
ในเดือนมกราคม 2548 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการการลดลงของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินเป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำแต่ได้ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 15.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่ง เนื่องจากไม่มีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ประกอบกับราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ปริมาณจำหน่ายจักรยานยนต์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 (จากค่าปรับฤดูกาลและเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน)
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าไม่ใช่ยานพาหนะโดยรวมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนต่อเนื่องเดือนที่ 2 แต่ในอัตราที่น้อยลง ตามการลดลงของปริมาณจำหน่ายน้ำมันเบนซิน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแนวโน้ม (จากค่าปรับฤดูกาลและเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน) พบว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาที่ยังคงโน้มลงแต่เริ่มปรับดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนนี้
2. การลงทุนภาคเอกชน
ในเดือนมกราคม 2548 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 63.0 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.4 ในเดือนก่อน
สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้างนั้งเร่งตัวขึ้นตามปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศสอดคล้องกับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้าง
การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการลดลงของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ (จากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน) ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคานำเข้าสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ก็ยังขยายตัวดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชน (จากค่าปรับฤดูกาลและเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน) พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโน้มลงจากช่วงครึ่งหลังของปีก่อน ตามแนวโน้มการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงต่ำกว่าระดับ 50 แสดงถึงปัจจัยลบอื่นๆ ที่ทำให้นักลงทุนยังไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไปน่าจะปรับเพิ่มขึ้นสะท้อนจะดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้าซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่า 50 และปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน
3. ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล ในเดือนมกราคม 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 110.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และรายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.8
รายได้ภาษีขยายตัวในทุกฐานภาษี ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 12.8 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 8.0 ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์สูง แม้จะชะลอตัวลงจากปีก่อน เนื่องจากมาตรการลดหย่อนภาษีที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัวร้อยละ 19.5 และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมมีการทยอยนำส่งอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ จากปกติที่จะนำส่งน้อยในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคขยายตัวร้อยละ 5.6 จากการขยายตัวในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ร้อยละ 10.0)เป็นสำคัญ ภาษีธุรกิจเฉพาะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (ขยายตัวร้อยละ 25.5) สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตลดลงจากการจัดภาษีหลักๆ ได้ลดลง คือภาษียาสูบ (ลดลงร้อยละ 24.8) ภาษีเบียร์ (ลดลงร้อยละ 15.0)และภาษีรถยนต์ (ลดลงร้อยละ 4.0)อันเนื่องมาจากสต็อกยาสูบและเบียร์ที่สูง ทางด้านการผลิตจึงชะลอตัว การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์และการชะลอตัวของการผลิตรถยนต์ด้วยสำหรับภาษีจัดเก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศขยายตัวร้อยละ 12.6 จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากในเดือนนี้
รายได้ที่มิใช่ภาษี ขยายตัวร้อยละ 87.8 จากรายได้รัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวกว่าสองเท่า จากการนำส่งของการไฟฟ้าฝ่ายการผลิตแห่งประเทศไทยจำนวน 3.0 พันล้านบาท รายได้จากโรงงานยาสูบ 3.0 พันล้านบาท และเงินปันผลจากกองทุนวายุภักษ์ 1.5 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ในเดือนมกราคม รัฐบาลเกินดุลเงินสด 15.6 พันล้านบาท โดยที่รัฐบาลชำระคืนเงินกู้ในประเทศ 10.2 พันล้านบาท และเงินกู้ต่างประเทศ 2.1 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมกราคม เพิ่มสูงขึ้น 3.3 พันล้านบาท เป็น 53.9 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในเดือนมกราคม 2548 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการการลดลงของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินเป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำแต่ได้ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 15.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่ง เนื่องจากไม่มีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ประกอบกับราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ปริมาณจำหน่ายจักรยานยนต์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 (จากค่าปรับฤดูกาลและเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน)
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าไม่ใช่ยานพาหนะโดยรวมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนต่อเนื่องเดือนที่ 2 แต่ในอัตราที่น้อยลง ตามการลดลงของปริมาณจำหน่ายน้ำมันเบนซิน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแนวโน้ม (จากค่าปรับฤดูกาลและเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน) พบว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาที่ยังคงโน้มลงแต่เริ่มปรับดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนนี้
2. การลงทุนภาคเอกชน
ในเดือนมกราคม 2548 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 63.0 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.4 ในเดือนก่อน
สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้างนั้งเร่งตัวขึ้นตามปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศสอดคล้องกับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้าง
การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการลดลงของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ (จากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน) ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคานำเข้าสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ก็ยังขยายตัวดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชน (จากค่าปรับฤดูกาลและเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน) พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโน้มลงจากช่วงครึ่งหลังของปีก่อน ตามแนวโน้มการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงต่ำกว่าระดับ 50 แสดงถึงปัจจัยลบอื่นๆ ที่ทำให้นักลงทุนยังไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไปน่าจะปรับเพิ่มขึ้นสะท้อนจะดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้าซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่า 50 และปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน
3. ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล ในเดือนมกราคม 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 110.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และรายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.8
รายได้ภาษีขยายตัวในทุกฐานภาษี ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 12.8 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 8.0 ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์สูง แม้จะชะลอตัวลงจากปีก่อน เนื่องจากมาตรการลดหย่อนภาษีที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัวร้อยละ 19.5 และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมมีการทยอยนำส่งอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ จากปกติที่จะนำส่งน้อยในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคขยายตัวร้อยละ 5.6 จากการขยายตัวในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ร้อยละ 10.0)เป็นสำคัญ ภาษีธุรกิจเฉพาะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (ขยายตัวร้อยละ 25.5) สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตลดลงจากการจัดภาษีหลักๆ ได้ลดลง คือภาษียาสูบ (ลดลงร้อยละ 24.8) ภาษีเบียร์ (ลดลงร้อยละ 15.0)และภาษีรถยนต์ (ลดลงร้อยละ 4.0)อันเนื่องมาจากสต็อกยาสูบและเบียร์ที่สูง ทางด้านการผลิตจึงชะลอตัว การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์และการชะลอตัวของการผลิตรถยนต์ด้วยสำหรับภาษีจัดเก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศขยายตัวร้อยละ 12.6 จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากในเดือนนี้
รายได้ที่มิใช่ภาษี ขยายตัวร้อยละ 87.8 จากรายได้รัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวกว่าสองเท่า จากการนำส่งของการไฟฟ้าฝ่ายการผลิตแห่งประเทศไทยจำนวน 3.0 พันล้านบาท รายได้จากโรงงานยาสูบ 3.0 พันล้านบาท และเงินปันผลจากกองทุนวายุภักษ์ 1.5 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ในเดือนมกราคม รัฐบาลเกินดุลเงินสด 15.6 พันล้านบาท โดยที่รัฐบาลชำระคืนเงินกู้ในประเทศ 10.2 พันล้านบาท และเงินกู้ต่างประเทศ 2.1 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมกราคม เพิ่มสูงขึ้น 3.3 พันล้านบาท เป็น 53.9 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--