แท็ก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สถานการณ์ฉุกเฉิน
พรรคประชาธิปัตย์
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ชายแดนภาคใต้
พระราชกำหนด
วันนี้ (18 ก.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ต่อการออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ภายหลังการหารือกันของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการติดตามการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรค เมื่อเช้านี้ว่า ต้องยอมรับว่าการประเมินสถานการณ์และที่มาของปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อาจจะมีความแตกต่างในทางความคิดระหว่างรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลได้วิเคราะห์ว่าจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีสิทธิมีอำนาจที่จะดำเนินการได้ และก็เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลเช่นเดียวกันว่าเมื่อได้แสวงหาเครื่องมือและคิดว่าเครื่องมือที่ได้เพียงพอแล้ว ก็คงจะทำให้การแก้ไขปัญหานั้นน่าจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามแนวคิดของรัฐบาล
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ประเด็นที่อยากจะกราบเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและท่าทีการดำเนินงานของฝ่ายค้านมีดังต่อไปนี้ ประเด็นแรก มีการสอบถามถึงอำนาจหน้าที่ของ ส.ส. ที่อาจจะมีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับเรื่องของการออกพระราชกำหนดฉบับดังกล่าว ซึ่งตรงนี้ก็คงจะมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องของการตีความหรือการตราพระราชกำหนด ซึ่งแบ่งออกเป็นการตีความ 2 ลักษณะ คือ 1.การใช้สิทธิเพื่อส่งพระราชกำหนดไปตีความว่าสามารถออกเป็นพระราชกำหนดได้หรือไม่ ซึ่งในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่สามารถออกได้ก็จะมีผลทำให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้น จึงขอเรียนว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีแนวคิดในการที่จะส่งพระราชกำหนดไปตีความในลักษณะนั้น ดังนั้นขอให้เกิดความสบายใจได้ว่าพรรคจะไม่สร้างปัญหาความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ในการที่จะใช้บทบัญญัติต่างๆแล้วอาจจะมีปัญหาภายหลังว่าถูกส่งตีความและกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้ตั้งแต่ต้น
2. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติมาตราต่างๆ ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ ผู้ที่มีอำนาจจะส่งไปตีความได้ คือ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ดังนั้นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการก็คือจะให้ความเห็นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาให้ได้วินิจฉัยว่าสมควรที่จะส่งไปตีความหรือไม่ ในบทบัญญัติบางมาตราซึ่งพรรคเห็นว่าหมิ่นเหม่ต่อการกระทบกระเทือนสาระสำคัญของสิทธิเสรีภาพของประชาชน ยกตัวอย่างเช่น การให้อำนาจนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 11 (6) ที่พูดถึงการให้อำนาจท่านนายกฯในการประกาศห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อความที่เบ็ดเสร็จและกว้างขวางครอบคลุมทุกเรื่อง หรือกรณีของบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนว่ากระทบกระเทือนสาระสำคัญของสิทธิของสื่อสารมวลชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมไปถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องในกฎหมายนี้ในการออกประกาศหรือการใช้อำนาจหน้าที่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า พรรคจะรวบรวมเพื่อทำเป็นความเห็นส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เนื่องจากเป็นผู้ที่มีอำนาจส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นก็จะเป็นดุลยพินิจของท่านที่จะส่งไปหรือไม่ และการส่งไปก็คงจะเป็นลักษณะของการตีความเฉพาะมาตรา ซึ่งถ้ามีผลต่อมาว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ทำให้กฎหมายทั้งฉบับเสียไป แต่จะเสียเฉพาะมาตราที่ตีความนั้นๆ และก็จะไม่มีผลย้อนหลัง ในการดำเนินการตามพระราชกำหนด
ดังนั้นเมื่อรัฐบาลเดินหน้าในกระบวนการที่จะใช้กฎหมายนี้โดยการประกาศพื้นที่ที่ถือว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะให้อำนาจแก่บุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้อง พรรคประชาธิปัตย์ก็ขอให้ข้อสังเกตและข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. การใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับนี้ที่รัฐบาลได้พูดมาตลอดถึงความมุ่งหมายว่าต้องการให้เกิดความเป็นเอกภาพ ที่ผ่านมามีการชี้แจงว่าปัญหาหนึ่งทีเกิดขั้นในอดีตคือกฎหมายที่ให้อำนาจในเรื่องเหล่านี้กระจัดกระจาย แต่แม้จนถึงวันนี้ก็ยังคงมีกฎหมาย 2 ฉบับที่อาจจะถูกนำมาบังคับใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั่นคือนอกจาก พ.ร.ก.ฉบับใหม่แล้วกฎอัยการศึกคือตัวกฎหมายก็ไม่ได้ถูกยกเลิกไป และการที่จะประกาศยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 232 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก และหากมีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะเป็นการเร่งด่วน เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก ดังนั้นที่อยากจะย้ำก็คือ ถ้ามีการใช้กฎหมาย 2 ฉบับในพื้นที่เดียวกัน ก็จะเกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของอำนาจ เมื่อฉบับหนึ่งอำนาจอยู่ที่ทหาร ฉบับหนึ่งอำนาจอยู่ที่พลเรือน ก็จะทำให้ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายที่รัฐบาลพูดถึงการมีเอกภาพในการใช้อำนาจ ดังนั้นอยากให้รัฐบาลดำเนินการสร้างความชัดเจน เมื่อจะมีการใช้กฎหมายฉบับใหม่
2. สมมุติฐานที่พรรคอาจจะมองปัญหาต่างจากรัฐบาล คือ พรรคมองว่าปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น โดยหลักแล้วไม่ได้มาจากการที่รัฐบาลขาดอำนาจ แต่เป็นปัญหาของประสิทธิภาพและขอบเขตของการใช้อำนาจมากกว่า และหลายๆกรณีอาจจะเกิดจากปัญหาการใช้อำนาจเกินขอบเขต ซึ่งเป็นที่มาของความแตกแยกและความรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อจะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ขอให้รัฐบาลโดยเฉพาะท่านนายกฯส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่าการดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้จะดำเนินการเท่าที่จำเป็น ซึ่งขณะนี้ยังมองไม่เห็นว่ามีปัญหาอื่นใดนอกจากปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะมาใช้อำนาจจากกฎหมายฉบับนี้ และอำนาจในการที่จะออกประกาศและการใช้อำนาจตามประกาศต่างๆขอให้ใช้โดยคำนึงถึงขอบเขตที่เหมาะสม และเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง เพราะหากการใช้อำนาจตามกฎหมายนี้เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่เหมาะสม นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ก็อาจจะมีส่วนทำให้สถานการณ์ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
3. ปัญหาใหญ่ที่สุดของกฎหมายฉบับนี้ปัญหาหนึ่งคือการขาดกลไกของการตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎหมายฉบับนี้ไม่เพียงแต่เป็นการมาทดแทนกฎหมายเดิมที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือแม้กระทั่งไม่เป็นเพียงแต่การโอนอำนาจตามกฎอัยการศึกมาอยู่ในพระราชกำหนด แต่ว่าได้เพิ่มอำนาจที่รัฐสามารถใช้ได้โดยการประกาศของนายกฯ คือ เพิ่มอำนาจมากกว่ากฎหมายที่ยกเลิกไปและเพิ่มมากกว่าที่ปรากฏอยู่ในกฎอัยการศึก โดยอำนาจมาอยู่ที่ท่านนายกฯ และในหลายประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้จะมีการเปิดช่องให้สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจได้ เช่น จะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการของการอุทธรณ์ไปยังคณะบุคคลหรือใช้กระบวนการทางศาลในการตรวจสอบ แต่ พ.ร.ก.ฉบับนี้แทบจะเรียกว่าปิดทุกช่องทางของการตรวจสอบ เพราะไม่มีการยกเว้นความรับผิดทางอาญา ทางแพ่ง ทางวินัย มีการปิดช่องทางของการใช้กระบวนการของกฎหมายปกครองและศาลปกครอง คงเหลือไว้เพียงเฉพาะการใช้สิทธิของผู้ที่ได้รับความเสียหายและประสงค์จะเรียกความเสียหายตามกระบวนการของศาลยุติธรรมเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งที่อยากจะให้รัฐบาลทบทวนโดยเร่งด่วน และถ้าเป็นไปได้ควรจะมีช่องทางการตรวจสอบการใช้อำนาจได้ ซึ่งสามารถกระทำได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาและสามารถที่จะกระทำได้เพื่อที่จะให้เกิดความมั่นใจ และทำให้นโยบายของการแก้ปัญหามีความเหมาะสม มีความสมดุลมากขึ้น
“นี่คือสิ่งที่เป็นข้อสังเกต ข้อเสนอ และจุดยืนของพรรคต่อพระราชกำหนด และสิ่งที่ผมอยากจะย้ำก็คือว่า จุดยืนและข้อสังเกตทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการต้องการที่จะเห็นความสงบเกิดขึ้นโดยเร็วและต้องการที่จะให้ชีวิตทุกชีวิตของผู้บริสุทธิ์ได้รับการคุ้มครองทั้งจากการกระทำของผู้ไม่ประสงค์ดีหรือผู้ก่อความไม่สงบ และทั้งจากการกระทำที่เกินขอบเขตจากฝ่ายรัฐเอง นี่คือสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องแสดงจุดยืนและข้อสังเกตเหล่านี้เพื่อที่จะให้แนวทางการแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานความเชื่อของรัฐบาล และเครื่องมือที่รัฐบาลได้มีอยู่ครบถ้วนในมือในขณะนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยความรับผิดชอบและคงไว้ซึ่งหลักการของนิติรัฐ อันนี้คือสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์อยากจะย้ำในวันนี้” นายอภิสิทธิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะระบุลงไปเลยได้หรือไม่ว่ามีกี่มาตราที่จะส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จะไล่ดูรายละเอียดกัน ในประเด็นที่มีการระบุอำนาจกว้างๆจนไม่สามารถบอกได้ว่าสามารถที่จะห้ามหรือสั่งกระทำการใดๆได้ ในส่วนของสื่อสารมวลชน และในส่วนของปัญหาการรับผิดหรือการยกเว้นความรับผิดทั้งหลาย ซึ่งมีทั้งเรื่องของกระบวนการทางปกครอง และเรื่องของการรับผิดทางด้านอาญา แพ่ง และวินัย ซึ่งคาดว่าจะยื่นในไม่ช้า และต้องดูรายละเอียดว่าจะยื่นภายในสัปดาห์นี้ได้หรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นสัปดาห์นี้ก็จะเหลืออีก 2 วัน เพราะมีวันหยุด 2 วัน ดังนั้นก็จะเร่งให้เร็วที่สุด
เมื่อถามถึงความเห็นของ ส.ว.ที่ต้องการให้เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนเข้าใจว่ารัฐบาลต้องพิจารณาว่าการรอการเปิดสมัยประชุมในปลายเดือนสิงหาคมเป็นการชักช้าหรือไม่ ถ้าชักช้าก็ต้องเปิดสมัยวิสามัญเพื่อให้พิจารณาพระราชกำหนดฉบับนี้ทันที ซึ่งฝ่ายค้านไม่ได้มีปัญหาอะไรหากจะเปิดสภาเพื่อพิจารณาเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.ค. 2548--จบ--
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ประเด็นที่อยากจะกราบเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและท่าทีการดำเนินงานของฝ่ายค้านมีดังต่อไปนี้ ประเด็นแรก มีการสอบถามถึงอำนาจหน้าที่ของ ส.ส. ที่อาจจะมีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับเรื่องของการออกพระราชกำหนดฉบับดังกล่าว ซึ่งตรงนี้ก็คงจะมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องของการตีความหรือการตราพระราชกำหนด ซึ่งแบ่งออกเป็นการตีความ 2 ลักษณะ คือ 1.การใช้สิทธิเพื่อส่งพระราชกำหนดไปตีความว่าสามารถออกเป็นพระราชกำหนดได้หรือไม่ ซึ่งในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่สามารถออกได้ก็จะมีผลทำให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้น จึงขอเรียนว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีแนวคิดในการที่จะส่งพระราชกำหนดไปตีความในลักษณะนั้น ดังนั้นขอให้เกิดความสบายใจได้ว่าพรรคจะไม่สร้างปัญหาความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ในการที่จะใช้บทบัญญัติต่างๆแล้วอาจจะมีปัญหาภายหลังว่าถูกส่งตีความและกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้ตั้งแต่ต้น
2. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติมาตราต่างๆ ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ ผู้ที่มีอำนาจจะส่งไปตีความได้ คือ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ดังนั้นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการก็คือจะให้ความเห็นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาให้ได้วินิจฉัยว่าสมควรที่จะส่งไปตีความหรือไม่ ในบทบัญญัติบางมาตราซึ่งพรรคเห็นว่าหมิ่นเหม่ต่อการกระทบกระเทือนสาระสำคัญของสิทธิเสรีภาพของประชาชน ยกตัวอย่างเช่น การให้อำนาจนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 11 (6) ที่พูดถึงการให้อำนาจท่านนายกฯในการประกาศห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อความที่เบ็ดเสร็จและกว้างขวางครอบคลุมทุกเรื่อง หรือกรณีของบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนว่ากระทบกระเทือนสาระสำคัญของสิทธิของสื่อสารมวลชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมไปถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องในกฎหมายนี้ในการออกประกาศหรือการใช้อำนาจหน้าที่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า พรรคจะรวบรวมเพื่อทำเป็นความเห็นส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เนื่องจากเป็นผู้ที่มีอำนาจส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นก็จะเป็นดุลยพินิจของท่านที่จะส่งไปหรือไม่ และการส่งไปก็คงจะเป็นลักษณะของการตีความเฉพาะมาตรา ซึ่งถ้ามีผลต่อมาว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ทำให้กฎหมายทั้งฉบับเสียไป แต่จะเสียเฉพาะมาตราที่ตีความนั้นๆ และก็จะไม่มีผลย้อนหลัง ในการดำเนินการตามพระราชกำหนด
ดังนั้นเมื่อรัฐบาลเดินหน้าในกระบวนการที่จะใช้กฎหมายนี้โดยการประกาศพื้นที่ที่ถือว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะให้อำนาจแก่บุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้อง พรรคประชาธิปัตย์ก็ขอให้ข้อสังเกตและข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. การใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับนี้ที่รัฐบาลได้พูดมาตลอดถึงความมุ่งหมายว่าต้องการให้เกิดความเป็นเอกภาพ ที่ผ่านมามีการชี้แจงว่าปัญหาหนึ่งทีเกิดขั้นในอดีตคือกฎหมายที่ให้อำนาจในเรื่องเหล่านี้กระจัดกระจาย แต่แม้จนถึงวันนี้ก็ยังคงมีกฎหมาย 2 ฉบับที่อาจจะถูกนำมาบังคับใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั่นคือนอกจาก พ.ร.ก.ฉบับใหม่แล้วกฎอัยการศึกคือตัวกฎหมายก็ไม่ได้ถูกยกเลิกไป และการที่จะประกาศยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 232 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก และหากมีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะเป็นการเร่งด่วน เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก ดังนั้นที่อยากจะย้ำก็คือ ถ้ามีการใช้กฎหมาย 2 ฉบับในพื้นที่เดียวกัน ก็จะเกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของอำนาจ เมื่อฉบับหนึ่งอำนาจอยู่ที่ทหาร ฉบับหนึ่งอำนาจอยู่ที่พลเรือน ก็จะทำให้ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายที่รัฐบาลพูดถึงการมีเอกภาพในการใช้อำนาจ ดังนั้นอยากให้รัฐบาลดำเนินการสร้างความชัดเจน เมื่อจะมีการใช้กฎหมายฉบับใหม่
2. สมมุติฐานที่พรรคอาจจะมองปัญหาต่างจากรัฐบาล คือ พรรคมองว่าปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น โดยหลักแล้วไม่ได้มาจากการที่รัฐบาลขาดอำนาจ แต่เป็นปัญหาของประสิทธิภาพและขอบเขตของการใช้อำนาจมากกว่า และหลายๆกรณีอาจจะเกิดจากปัญหาการใช้อำนาจเกินขอบเขต ซึ่งเป็นที่มาของความแตกแยกและความรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อจะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ขอให้รัฐบาลโดยเฉพาะท่านนายกฯส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่าการดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้จะดำเนินการเท่าที่จำเป็น ซึ่งขณะนี้ยังมองไม่เห็นว่ามีปัญหาอื่นใดนอกจากปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะมาใช้อำนาจจากกฎหมายฉบับนี้ และอำนาจในการที่จะออกประกาศและการใช้อำนาจตามประกาศต่างๆขอให้ใช้โดยคำนึงถึงขอบเขตที่เหมาะสม และเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง เพราะหากการใช้อำนาจตามกฎหมายนี้เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่เหมาะสม นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ก็อาจจะมีส่วนทำให้สถานการณ์ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
3. ปัญหาใหญ่ที่สุดของกฎหมายฉบับนี้ปัญหาหนึ่งคือการขาดกลไกของการตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎหมายฉบับนี้ไม่เพียงแต่เป็นการมาทดแทนกฎหมายเดิมที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือแม้กระทั่งไม่เป็นเพียงแต่การโอนอำนาจตามกฎอัยการศึกมาอยู่ในพระราชกำหนด แต่ว่าได้เพิ่มอำนาจที่รัฐสามารถใช้ได้โดยการประกาศของนายกฯ คือ เพิ่มอำนาจมากกว่ากฎหมายที่ยกเลิกไปและเพิ่มมากกว่าที่ปรากฏอยู่ในกฎอัยการศึก โดยอำนาจมาอยู่ที่ท่านนายกฯ และในหลายประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้จะมีการเปิดช่องให้สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจได้ เช่น จะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการของการอุทธรณ์ไปยังคณะบุคคลหรือใช้กระบวนการทางศาลในการตรวจสอบ แต่ พ.ร.ก.ฉบับนี้แทบจะเรียกว่าปิดทุกช่องทางของการตรวจสอบ เพราะไม่มีการยกเว้นความรับผิดทางอาญา ทางแพ่ง ทางวินัย มีการปิดช่องทางของการใช้กระบวนการของกฎหมายปกครองและศาลปกครอง คงเหลือไว้เพียงเฉพาะการใช้สิทธิของผู้ที่ได้รับความเสียหายและประสงค์จะเรียกความเสียหายตามกระบวนการของศาลยุติธรรมเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งที่อยากจะให้รัฐบาลทบทวนโดยเร่งด่วน และถ้าเป็นไปได้ควรจะมีช่องทางการตรวจสอบการใช้อำนาจได้ ซึ่งสามารถกระทำได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาและสามารถที่จะกระทำได้เพื่อที่จะให้เกิดความมั่นใจ และทำให้นโยบายของการแก้ปัญหามีความเหมาะสม มีความสมดุลมากขึ้น
“นี่คือสิ่งที่เป็นข้อสังเกต ข้อเสนอ และจุดยืนของพรรคต่อพระราชกำหนด และสิ่งที่ผมอยากจะย้ำก็คือว่า จุดยืนและข้อสังเกตทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการต้องการที่จะเห็นความสงบเกิดขึ้นโดยเร็วและต้องการที่จะให้ชีวิตทุกชีวิตของผู้บริสุทธิ์ได้รับการคุ้มครองทั้งจากการกระทำของผู้ไม่ประสงค์ดีหรือผู้ก่อความไม่สงบ และทั้งจากการกระทำที่เกินขอบเขตจากฝ่ายรัฐเอง นี่คือสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องแสดงจุดยืนและข้อสังเกตเหล่านี้เพื่อที่จะให้แนวทางการแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานความเชื่อของรัฐบาล และเครื่องมือที่รัฐบาลได้มีอยู่ครบถ้วนในมือในขณะนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยความรับผิดชอบและคงไว้ซึ่งหลักการของนิติรัฐ อันนี้คือสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์อยากจะย้ำในวันนี้” นายอภิสิทธิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะระบุลงไปเลยได้หรือไม่ว่ามีกี่มาตราที่จะส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จะไล่ดูรายละเอียดกัน ในประเด็นที่มีการระบุอำนาจกว้างๆจนไม่สามารถบอกได้ว่าสามารถที่จะห้ามหรือสั่งกระทำการใดๆได้ ในส่วนของสื่อสารมวลชน และในส่วนของปัญหาการรับผิดหรือการยกเว้นความรับผิดทั้งหลาย ซึ่งมีทั้งเรื่องของกระบวนการทางปกครอง และเรื่องของการรับผิดทางด้านอาญา แพ่ง และวินัย ซึ่งคาดว่าจะยื่นในไม่ช้า และต้องดูรายละเอียดว่าจะยื่นภายในสัปดาห์นี้ได้หรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นสัปดาห์นี้ก็จะเหลืออีก 2 วัน เพราะมีวันหยุด 2 วัน ดังนั้นก็จะเร่งให้เร็วที่สุด
เมื่อถามถึงความเห็นของ ส.ว.ที่ต้องการให้เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนเข้าใจว่ารัฐบาลต้องพิจารณาว่าการรอการเปิดสมัยประชุมในปลายเดือนสิงหาคมเป็นการชักช้าหรือไม่ ถ้าชักช้าก็ต้องเปิดสมัยวิสามัญเพื่อให้พิจารณาพระราชกำหนดฉบับนี้ทันที ซึ่งฝ่ายค้านไม่ได้มีปัญหาอะไรหากจะเปิดสภาเพื่อพิจารณาเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.ค. 2548--จบ--