ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยภาวะดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นยังไม่กระทบ ธพ.และลูกค้าผ่อนบ้าน นางธาริษา วัฒนเกส รอง
ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น อาจจะส่งผลให้ผู้
บริโภคที่มีภาระด้านอัตราดอกเบี้ยมีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นว่า การที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เนื่อง
จากไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก และทางด้าน ธพ.ได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระบ้านเป็นการใช้
ระบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด จากเดิมที่ใช้ระบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ อย่างไรก็ตาม ใน
อนาคตแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เป็นช่วงขาขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจชะลอตัวจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์น่าเป็นห่วง
เพราะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของภาค
ครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในปัจจุบันมีจำนวนไม่มาก โดยครัวเรือนที่มีหนี้ที่อยู่
อาศัยมีสัดส่วนร้อยละ 12 ของครัวเรือนทั้งหมด หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 396,600 บาทต่อครัวเรือน คิดเป็น 1.3 เท่าของ
รายได้ต่อปี ส่วนความเสี่ยงกรณีที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะผิดนัดชำระหนี้ต่อ ธพ. ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจาก
นี้ หนี้ดังกล่าวมีหลักประกัน และ ธพ.มีเงินกองทุนและมีการกันสำรองที่เพียงพอ (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ,
เดลินิวส์, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
2. ไทยขาดดุลการค้าในเดือน ก.ค.48 น้อยที่สุดในรอบ 7 เดือนที่จำนวน 84.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน ก.ค.48 มีมูลค่า 9,520.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ
18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการส่งออกที่ขยายตัวสูงมากในรอบปีนี้ จากที่การส่งออกในช่วงก่อนหน้าจะ
ขยายตัวไม่เกินร้อยละ 12-13 ทำให้การส่งออกรวมในช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 61,348
ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.67 โดยคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะส่งออกได้ตามเป้าหมายร้อยละ 20 ส่วน
การนำเข้าในเดือน ก.ค.มีมูลค่า 9,604.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.98 เป็นการขยายตัวต่ำที่สุด
ตั้งแต่เดือน ม.ค.เป็นต้นมา โดยก่อนหน้านี้การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ทำให้การนำเข้ารวมใน
ช่วง 7 เดือนมีมูลค่าทั้งสิ้น 69,586.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.18 ทั้งนี้ ไทยเริ่มขาดดุลการค้ามา
ตั้งแต่ต้นปี โดยในเดือน ก.ค.ขาดดุลลดลงเพียง 84.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. นับเป็นการขาดดุลน้อยที่สุดในรอบ 7
เดือน ส่งผลให้ 7 เดือนแรกของปีนี้ไทยขาดดุลการค้า 8,238 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพ
ธุรกิจ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, ไทยรัฐ, แนวหน้า, โพสต์ทูเดย์)
3. ก.ล.ต.ติดตามการจัดทำงบการเงินของ บจ. 35-50 บริษัทเป็นพิเศษ ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “คุณภาพงบการเงิน
กับการสร้างความน่าเชื่อถือของกิจการ” ว่า การตรวจสอบงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนทั้ง 400 บริษัทนั้น ใน
จำนวนนี้มี บจ.ประมาณ 35-50 บริษัท ซึ่ง ก.ล.ต.จับตาดูงบการเงินเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบริษัทที่มีประวัติเรื่องการ
ตกแต่งงบการเงิน มีรายการระหว่างกันจำนวนมาก หรือแม้แต่ชื่อเสียงของผู้บริหารของ บจ.รายนั้นไม่สู้ดีนัก ทั้งนี้ วิธี
ดูงบการเงินของ บจ.ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด สังเกตจาก 7 ปัจจัยหลัก คือ 1) ฝ่ายจัดการของบริษัท
2) ผู้ทำบัญชี 3) ระบบบัญชี 4) ระบบควบคุมภายใน 5) ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน 6) ผู้สอบบัญชี และ 7)
กรรมการตรวจสอบ (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, โลกวันนี้)
4. ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ 7 เดือนแรกปี 48 ลดลงอยู่ที่จำนวน 3.149 แสนล้าน
บาท รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอ
ไอ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค.48 มีจำนวน 725 ราย คิดเป็นจำนวน 3.149 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนที่มียอดการขอรับจำนวน 3.179 แสนล้านบาท จากจำนวน 695 ราย โดยนักลงทุนจากยุโรปยื่นขอรับการส่ง
เสริมการลงทุนสูงสุด ตามด้วยญี่ปุ่น สำหรับอุตสาหกรรมที่ยื่นขอเข้ามาสูงสุด คือ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์
ขนส่ง รองลงมาคือ อุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมเคมี กระดาษ และพลาสติก อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร ส่วนการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในรอบ 7
เดือนแรกของปีนี้มีการอนุมัติทั้งสิ้น 669 ราย คิดเป็นมูลค่า 3.555 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี
จำนวน 666 ราย คิดเป็นมูลค่า 2.2 แสนล้านบาท โดยนักลงทุนญี่ปุ่นได้รับอนุมัติสูงสุด รองลงมาคือยุโรป (แนวหน้า)
5. พบเศษธนบัตรที่ผ่านการย่อยทำลายที่ จ.ขอนแก่น ผอส.ฝ่ายจัดการธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีพบเศษธนบัตรบรรจุอยู่ในถุงขยะ 2 ใบ ที่ จ.ขอนแก่นว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นว่า เศษ
ธนบัตรที่พบน่าจะผ่านการทำลายโดยวิธีการย่อยป่นเป็นชิ้นเล็กแล้ว และยืนยันว่าไม่ใช่ธนบัตรที่ขาดครึ่งที่สามารถนำมา
กันเพื่อแลกเป็นธนบัตรฉบับใหม่ได้ และคาดว่าเศษธนบัตรที่พบบรรจุในถุงนั้นหลุดรอดมาจาก บ.น้ำตาลในเครือมิตรผล
ที่เป็นผู้ขอเพื่อนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมน้ำตาล ปัจจุบันเศษธนบัตรที่ผ่านกระบวนการย่อยทำลายของ ธปท.
สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมี บ.กระดาษไทยขอไปทำเชื้อเพลิงในการผลิตกระดาษเพียงแห่งเดียว ซึ่งโรง
งานน้ำตาลไม่ได้มาขอเศษธนบัตรเพื่อมาผลิตเชื้อเพลิงนานแล้ว อย่างไรก็ตาม ธปท.จะดำเนินการตรวจสอบราย
ละเอียดที่มาของธนบัตรจำนวนนี้ เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงอีกครั้ง (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. บริษัทญี่ปุ่นไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนของจีน รายงานจากกรุงโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 23 ส.ค.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นบริษัทญี่ปุ่นประมาณ 190
แห่ง เกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับจากการที่จีนเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนว่า ร้อยละ 77 กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน
หยวนของจีนไม่ได้ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อการดำเนินธุรกิจและผลกำไรของบริษัท ขณะที่ร้อยละ 18 กล่าวว่าได้รับผล
กระทบในทางลบเล็กน้อย และมีเพียงร้อยละ 4 ที่กล่าวว่าได้รับผลกระทบในทางบวกเล็กน้อย โดยบริษัทที่ประกอบ
อุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 21 เห็นว่าได้รับผลกระทบทางลบเล็กน้อย และร้อยละ 5 เห็นว่าได้รับผลกระทบทางบวก
เล็กน้อย ในขณะที่บริษัทที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15 เห็นว่าได้รับผลกระทบทางลบเล็กน้อย และร้อยละ
3 เห็นว่าได้รับผลกระทบในทางบวกเล็กน้อย ส่วนที่เหลือเกือบทั้งหมดเห็นว่าไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ทั้งนี้ จีนได้ปรับ
เพิ่มค่าเงินหยวนขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อวันที่ 21 ก.ค.48 จากเดิมที่ตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งประเทศคู่ค้า
ของจีนกล่าวว่าจีนใช้ความได้เปรียบจากการตรึงค่าเงินทำให้ได้เปรียบในการส่งออกสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
อย่างไรก็ตาม บริษัทญี่ปุ่นได้เรียนรู้และเตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าวไว้แล้วในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา โดยการย้าย
ฐานการผลิตสินค้าไปไว้ที่ประเทศจีนและเพิ่มการผลิตสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น ดังนั้น ในปัจจุบันการเปลี่ยน
แปลงค่าเงินหยวนของจีนจึงส่งผลกระทบต่อบริษัทญี่ปุ่นเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม บริษัทญี่ปุ่นอาจจะได้รับผลกระทบ
จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการนำเข้าสินค้าจากจีน ทั้งนี้ เพราะญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าจากจีนมากกว่าประเทศอื่น ในขณะ
ที่ธุรกิจนอกภาคการผลิต อาทิเช่น ภาคบริการกล่าวว่าต้นทุนการนำเข้าสินค้าที่สูงขึ้นเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่สุด ส่วนการ
เปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนไม่ได้ส่งผลกระทบใด ๆ สำหรับมุมมองด้านอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต ร้อยละ 35 ของผู้
ตอบแบบสอบถามประเมินว่าค่าเงินหยวนจะอยู่ที่ระดับ 7.75 — 8.00 หยวน ต่อดอลลาร์ สรอ. ภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่
ร้อยละ 22 คาดว่าจะอ่อนตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 8.00 — 8.11 หยวน ต่อดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ธุรกิจอุตสาหกรรมของจีนในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ที่ถือหุ้นใหญ่โดยภาครัฐมีผลประกอบการกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยมีจำนวนรวมทั้งสิ้น
743.7 พัน ล.หยวน (91.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) รวมทั้งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปีที่ขยายตัวร้อยละ
19.1เนื่องจากมีความต้องการวัตถุดิบ จำพวกถ่านหิน น้ำมันและโลหะเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามก็ยังน้อยกว่ากำไร
ของทั้งปีที่แล้วที่สูงถึงร้อยละ 38 ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนมิได้เปิดเผยผลประกอบการกำไรของธุรกิจ
อุตสาหกรรมเฉพาะเดือนก.ค. แต่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าผลประกอบการกำไรที่สูงมากดังกล่าวเนื่องจากได้รับผล
ประโยชน์จากการผูกขาดในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นพวกเขาจึงเห็นว่าตัวเลขผลประกอบการดังกล่าวเป็นทิศทางที่แสดง
ถึงภาวะอุตสาหกรรมอย่างคร่าวๆเท่านั้น ทั้งนี้นับตั้งแต่กลางปี 46 เป็นต้นมารัฐบาลจีนได้ใช้นโยบายเข้มงวดเพื่อชะลอ
การเติบโตอย่างมากในบางภาคเศรษฐกิจอาทิภาคอสังหาริมทรัพย์ เหล็กกล้าและซีเมนต์ เพื่อหลีกเลี่ยงประสิทธิภาพ
การผลิตส่วนเกิน และภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ (รอยเตอร์)
3. ปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของมาเลเซีย ณ วันที่ 15 ส.ค.48 มีจำนวน 80.4 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 23 ส.ค.48 ธ.กลางมาเลเซียรายงานปริมาณเงินทุนสำรอง
ระหว่างประเทศของมาเลเซีย ณ วันที่ 15 ส.ค.48 มีจำนวน 80.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
จากวันที่ 29 ก.ค.48 ซึ่งมีจำนวน 78.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.โดยเป็นผลจากการกู้เงินจากต่างประเทศก้อนใหญ่
รายหนึ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ส.ค.48 และปริมาณเงินทุนสำรองดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอที่จะรองรับ
ปริมาณการนำเข้า ณ ระดับปัจจุบันได้ 9 เดือนและเป็น 6 เท่าของยอดหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดการค้าส่งในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เมื่อเทียบกับปี
ก่อน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 22 ส.ค.48 สนง.สถิติแห่งชาติของสิงคโปร์รายงานดัชนีชี้วัดการค้าส่งในประเทศ
ของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ต่อไตรมาสและร้อยละ 16.3 ต่อปี อันเป็นผลจากราคาที่สูงขึ้น
ของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยดัชนีชี้วัดการค้าส่งในส่วนของผลิตภัณฑ์น้ำมันและปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 ในไตรมาส
ที่ 2 ปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และหากไม่รวมการค้าส่งน้ำมันและปิโตรเลียมแล้ว ดัชนีจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
5.9 ต่อปี ดัชนีชี้วัดการค้าส่งดังกล่าวได้จากการสำรวจยอดขายของกิจการค้าส่งจำนวน 810 แห่งและเป็นตัวชี้วัดแนว
โน้มในอนาคตของดัชนีราคาผู้บริโภค โดยการค้าส่งและค้าปลีกซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสิงคโปร์มีสัด
ส่วนประมาณร้อยละ 16 ของปริมาณผลผลิตรวมในประเทศจำนวน 110 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 ส.ค. 48 22 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.135 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9523/41.2414 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.82667 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 690.77/ 15.97 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,500/8,600 8,500/8,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.77 56.56 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.14*/22.99* 26.14*/22.99* 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 11 ส.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยภาวะดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นยังไม่กระทบ ธพ.และลูกค้าผ่อนบ้าน นางธาริษา วัฒนเกส รอง
ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น อาจจะส่งผลให้ผู้
บริโภคที่มีภาระด้านอัตราดอกเบี้ยมีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นว่า การที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เนื่อง
จากไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก และทางด้าน ธพ.ได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระบ้านเป็นการใช้
ระบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด จากเดิมที่ใช้ระบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ อย่างไรก็ตาม ใน
อนาคตแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เป็นช่วงขาขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจชะลอตัวจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์น่าเป็นห่วง
เพราะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของภาค
ครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในปัจจุบันมีจำนวนไม่มาก โดยครัวเรือนที่มีหนี้ที่อยู่
อาศัยมีสัดส่วนร้อยละ 12 ของครัวเรือนทั้งหมด หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 396,600 บาทต่อครัวเรือน คิดเป็น 1.3 เท่าของ
รายได้ต่อปี ส่วนความเสี่ยงกรณีที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะผิดนัดชำระหนี้ต่อ ธพ. ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจาก
นี้ หนี้ดังกล่าวมีหลักประกัน และ ธพ.มีเงินกองทุนและมีการกันสำรองที่เพียงพอ (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ,
เดลินิวส์, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
2. ไทยขาดดุลการค้าในเดือน ก.ค.48 น้อยที่สุดในรอบ 7 เดือนที่จำนวน 84.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน ก.ค.48 มีมูลค่า 9,520.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ
18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการส่งออกที่ขยายตัวสูงมากในรอบปีนี้ จากที่การส่งออกในช่วงก่อนหน้าจะ
ขยายตัวไม่เกินร้อยละ 12-13 ทำให้การส่งออกรวมในช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 61,348
ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.67 โดยคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะส่งออกได้ตามเป้าหมายร้อยละ 20 ส่วน
การนำเข้าในเดือน ก.ค.มีมูลค่า 9,604.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.98 เป็นการขยายตัวต่ำที่สุด
ตั้งแต่เดือน ม.ค.เป็นต้นมา โดยก่อนหน้านี้การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ทำให้การนำเข้ารวมใน
ช่วง 7 เดือนมีมูลค่าทั้งสิ้น 69,586.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.18 ทั้งนี้ ไทยเริ่มขาดดุลการค้ามา
ตั้งแต่ต้นปี โดยในเดือน ก.ค.ขาดดุลลดลงเพียง 84.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. นับเป็นการขาดดุลน้อยที่สุดในรอบ 7
เดือน ส่งผลให้ 7 เดือนแรกของปีนี้ไทยขาดดุลการค้า 8,238 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพ
ธุรกิจ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, ไทยรัฐ, แนวหน้า, โพสต์ทูเดย์)
3. ก.ล.ต.ติดตามการจัดทำงบการเงินของ บจ. 35-50 บริษัทเป็นพิเศษ ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “คุณภาพงบการเงิน
กับการสร้างความน่าเชื่อถือของกิจการ” ว่า การตรวจสอบงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนทั้ง 400 บริษัทนั้น ใน
จำนวนนี้มี บจ.ประมาณ 35-50 บริษัท ซึ่ง ก.ล.ต.จับตาดูงบการเงินเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบริษัทที่มีประวัติเรื่องการ
ตกแต่งงบการเงิน มีรายการระหว่างกันจำนวนมาก หรือแม้แต่ชื่อเสียงของผู้บริหารของ บจ.รายนั้นไม่สู้ดีนัก ทั้งนี้ วิธี
ดูงบการเงินของ บจ.ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด สังเกตจาก 7 ปัจจัยหลัก คือ 1) ฝ่ายจัดการของบริษัท
2) ผู้ทำบัญชี 3) ระบบบัญชี 4) ระบบควบคุมภายใน 5) ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน 6) ผู้สอบบัญชี และ 7)
กรรมการตรวจสอบ (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, โลกวันนี้)
4. ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ 7 เดือนแรกปี 48 ลดลงอยู่ที่จำนวน 3.149 แสนล้าน
บาท รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอ
ไอ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค.48 มีจำนวน 725 ราย คิดเป็นจำนวน 3.149 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนที่มียอดการขอรับจำนวน 3.179 แสนล้านบาท จากจำนวน 695 ราย โดยนักลงทุนจากยุโรปยื่นขอรับการส่ง
เสริมการลงทุนสูงสุด ตามด้วยญี่ปุ่น สำหรับอุตสาหกรรมที่ยื่นขอเข้ามาสูงสุด คือ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์
ขนส่ง รองลงมาคือ อุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมเคมี กระดาษ และพลาสติก อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร ส่วนการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในรอบ 7
เดือนแรกของปีนี้มีการอนุมัติทั้งสิ้น 669 ราย คิดเป็นมูลค่า 3.555 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี
จำนวน 666 ราย คิดเป็นมูลค่า 2.2 แสนล้านบาท โดยนักลงทุนญี่ปุ่นได้รับอนุมัติสูงสุด รองลงมาคือยุโรป (แนวหน้า)
5. พบเศษธนบัตรที่ผ่านการย่อยทำลายที่ จ.ขอนแก่น ผอส.ฝ่ายจัดการธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีพบเศษธนบัตรบรรจุอยู่ในถุงขยะ 2 ใบ ที่ จ.ขอนแก่นว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นว่า เศษ
ธนบัตรที่พบน่าจะผ่านการทำลายโดยวิธีการย่อยป่นเป็นชิ้นเล็กแล้ว และยืนยันว่าไม่ใช่ธนบัตรที่ขาดครึ่งที่สามารถนำมา
กันเพื่อแลกเป็นธนบัตรฉบับใหม่ได้ และคาดว่าเศษธนบัตรที่พบบรรจุในถุงนั้นหลุดรอดมาจาก บ.น้ำตาลในเครือมิตรผล
ที่เป็นผู้ขอเพื่อนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมน้ำตาล ปัจจุบันเศษธนบัตรที่ผ่านกระบวนการย่อยทำลายของ ธปท.
สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมี บ.กระดาษไทยขอไปทำเชื้อเพลิงในการผลิตกระดาษเพียงแห่งเดียว ซึ่งโรง
งานน้ำตาลไม่ได้มาขอเศษธนบัตรเพื่อมาผลิตเชื้อเพลิงนานแล้ว อย่างไรก็ตาม ธปท.จะดำเนินการตรวจสอบราย
ละเอียดที่มาของธนบัตรจำนวนนี้ เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงอีกครั้ง (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. บริษัทญี่ปุ่นไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนของจีน รายงานจากกรุงโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 23 ส.ค.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นบริษัทญี่ปุ่นประมาณ 190
แห่ง เกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับจากการที่จีนเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนว่า ร้อยละ 77 กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน
หยวนของจีนไม่ได้ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อการดำเนินธุรกิจและผลกำไรของบริษัท ขณะที่ร้อยละ 18 กล่าวว่าได้รับผล
กระทบในทางลบเล็กน้อย และมีเพียงร้อยละ 4 ที่กล่าวว่าได้รับผลกระทบในทางบวกเล็กน้อย โดยบริษัทที่ประกอบ
อุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 21 เห็นว่าได้รับผลกระทบทางลบเล็กน้อย และร้อยละ 5 เห็นว่าได้รับผลกระทบทางบวก
เล็กน้อย ในขณะที่บริษัทที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15 เห็นว่าได้รับผลกระทบทางลบเล็กน้อย และร้อยละ
3 เห็นว่าได้รับผลกระทบในทางบวกเล็กน้อย ส่วนที่เหลือเกือบทั้งหมดเห็นว่าไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ทั้งนี้ จีนได้ปรับ
เพิ่มค่าเงินหยวนขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อวันที่ 21 ก.ค.48 จากเดิมที่ตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งประเทศคู่ค้า
ของจีนกล่าวว่าจีนใช้ความได้เปรียบจากการตรึงค่าเงินทำให้ได้เปรียบในการส่งออกสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
อย่างไรก็ตาม บริษัทญี่ปุ่นได้เรียนรู้และเตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าวไว้แล้วในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา โดยการย้าย
ฐานการผลิตสินค้าไปไว้ที่ประเทศจีนและเพิ่มการผลิตสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น ดังนั้น ในปัจจุบันการเปลี่ยน
แปลงค่าเงินหยวนของจีนจึงส่งผลกระทบต่อบริษัทญี่ปุ่นเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม บริษัทญี่ปุ่นอาจจะได้รับผลกระทบ
จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการนำเข้าสินค้าจากจีน ทั้งนี้ เพราะญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าจากจีนมากกว่าประเทศอื่น ในขณะ
ที่ธุรกิจนอกภาคการผลิต อาทิเช่น ภาคบริการกล่าวว่าต้นทุนการนำเข้าสินค้าที่สูงขึ้นเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่สุด ส่วนการ
เปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนไม่ได้ส่งผลกระทบใด ๆ สำหรับมุมมองด้านอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต ร้อยละ 35 ของผู้
ตอบแบบสอบถามประเมินว่าค่าเงินหยวนจะอยู่ที่ระดับ 7.75 — 8.00 หยวน ต่อดอลลาร์ สรอ. ภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่
ร้อยละ 22 คาดว่าจะอ่อนตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 8.00 — 8.11 หยวน ต่อดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ธุรกิจอุตสาหกรรมของจีนในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ที่ถือหุ้นใหญ่โดยภาครัฐมีผลประกอบการกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยมีจำนวนรวมทั้งสิ้น
743.7 พัน ล.หยวน (91.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) รวมทั้งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปีที่ขยายตัวร้อยละ
19.1เนื่องจากมีความต้องการวัตถุดิบ จำพวกถ่านหิน น้ำมันและโลหะเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามก็ยังน้อยกว่ากำไร
ของทั้งปีที่แล้วที่สูงถึงร้อยละ 38 ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนมิได้เปิดเผยผลประกอบการกำไรของธุรกิจ
อุตสาหกรรมเฉพาะเดือนก.ค. แต่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าผลประกอบการกำไรที่สูงมากดังกล่าวเนื่องจากได้รับผล
ประโยชน์จากการผูกขาดในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นพวกเขาจึงเห็นว่าตัวเลขผลประกอบการดังกล่าวเป็นทิศทางที่แสดง
ถึงภาวะอุตสาหกรรมอย่างคร่าวๆเท่านั้น ทั้งนี้นับตั้งแต่กลางปี 46 เป็นต้นมารัฐบาลจีนได้ใช้นโยบายเข้มงวดเพื่อชะลอ
การเติบโตอย่างมากในบางภาคเศรษฐกิจอาทิภาคอสังหาริมทรัพย์ เหล็กกล้าและซีเมนต์ เพื่อหลีกเลี่ยงประสิทธิภาพ
การผลิตส่วนเกิน และภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ (รอยเตอร์)
3. ปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของมาเลเซีย ณ วันที่ 15 ส.ค.48 มีจำนวน 80.4 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 23 ส.ค.48 ธ.กลางมาเลเซียรายงานปริมาณเงินทุนสำรอง
ระหว่างประเทศของมาเลเซีย ณ วันที่ 15 ส.ค.48 มีจำนวน 80.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
จากวันที่ 29 ก.ค.48 ซึ่งมีจำนวน 78.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.โดยเป็นผลจากการกู้เงินจากต่างประเทศก้อนใหญ่
รายหนึ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ส.ค.48 และปริมาณเงินทุนสำรองดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอที่จะรองรับ
ปริมาณการนำเข้า ณ ระดับปัจจุบันได้ 9 เดือนและเป็น 6 เท่าของยอดหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดการค้าส่งในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เมื่อเทียบกับปี
ก่อน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 22 ส.ค.48 สนง.สถิติแห่งชาติของสิงคโปร์รายงานดัชนีชี้วัดการค้าส่งในประเทศ
ของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ต่อไตรมาสและร้อยละ 16.3 ต่อปี อันเป็นผลจากราคาที่สูงขึ้น
ของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยดัชนีชี้วัดการค้าส่งในส่วนของผลิตภัณฑ์น้ำมันและปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 ในไตรมาส
ที่ 2 ปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และหากไม่รวมการค้าส่งน้ำมันและปิโตรเลียมแล้ว ดัชนีจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
5.9 ต่อปี ดัชนีชี้วัดการค้าส่งดังกล่าวได้จากการสำรวจยอดขายของกิจการค้าส่งจำนวน 810 แห่งและเป็นตัวชี้วัดแนว
โน้มในอนาคตของดัชนีราคาผู้บริโภค โดยการค้าส่งและค้าปลีกซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสิงคโปร์มีสัด
ส่วนประมาณร้อยละ 16 ของปริมาณผลผลิตรวมในประเทศจำนวน 110 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 ส.ค. 48 22 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.135 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9523/41.2414 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.82667 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 690.77/ 15.97 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,500/8,600 8,500/8,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.77 56.56 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.14*/22.99* 26.14*/22.99* 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 11 ส.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--