รายงานพิเศษ
นานาสิ่งประดิษฐ์จากราชมงคล
สถาบันการศึกษาเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการคิดค้นกันออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการและเกษตรกร โดยผลงานส่วนหนึ่งมีดังนี้
"เครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่"
เครื่องจักสาน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งสื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เรายังสามารถพบเห็นการทำเครื่องจักสานในหลายท้องถิ่น ทุกภูมิภาคของประเทศ และวัสดุสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการจักสานคือ ไม้ไผ่ ซึ่งต้องนำมาผ่านขั้นตอนการผ่า เหลา และแต่งให้เรียบร้อยก่อน โดยการผ่าและเหลาไม้ไผ่นี้ยังคงใช้แรงงานคน ทำให้ผู้ผ่าหรือเหลานั้นมักจะโดนบาดเป็นประจำ
ด้วยปัญหาดังกล่าว ทำให้ นายภานุมาศ สุยบางดำ นักศึกษาจากสาขาเกษตรกลวิธาน แผนกวิชาเครื่องจักรกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา คิดค้น "เครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่" ขึ้น โดยมี ผศ.พงษ์เทพ เกิดเนตร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อลดการเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากความคมของไม้ไผ่และมีด
นายภานุมาศ เปิดเผยถึงส่วนประกอบของเครื่องและขั้นตอนการทำงานของ "เครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่" ว่า "เครื่องดังกล่าวมีต้นกำลังมอเตอร์ขนาด 0.5 แรงม้า ส่งกำลังด้วยสายพานร่องวี ทดรอบโดยใช้มู่เล่ ตัวเครื่องประกอบด้วยชุดผ่าและชุดเหลา ชุดผ่าสามารถผ่าไม้ไผ่ครั้งละ 1 ลำ ออกได้เป็น 8 ซี่ (ความกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร) ส่วนชุดเหลาประกอบด้วยชุดเหลาชุดที่ 1 เพื่อลดความหนาของไม้ไผ่ และชุดเหลาชุดที่ 2 เพื่อเหลาไม้ไผ่ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ (ความหนาประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร)
ขั้นตอนการทำงานของเครื่อง เริ่มต้นจากการนำไม้ไผ่แห้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 2.5 เมตร เข้าชุดผ่าโดยใช้ค้อนตีจากด้านท้ายของลำไม้ไผ่ จนแตกออกเป็นซี่ และใช้แรงดันเข้าสู่ชุดผ่าแทนการใช้ค้อน จะได้ไม้ไผ่ 8 ซี่ (กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และหนาประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ต่อมาให้นำซี่ไม้ไผ่ที่ใช้มีดปลิดข้อออกแล้วเข้าสู่ชุดเหลาที่ 1 เพื่อลดความหนาลงให้ได้ 1-2 มิลลิเมตร แล้วนำซี่ไม้ไผ่ที่เหลาโดยชุดแรก เข้าสู่ชุดเหลาที่ 2 ก็จะได้ความหนาของซี่ไม้ไผ่ตามต้องการ (หนาประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร) "
สำหรับประสิทธิภาพของเครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่นี้สามารถผ่าไม้ไผ่ได้ 30-35 ลำ ต่อชั่วโมง และเหลาไม้ไผ่ได้ประมาณ 35-40 ซี่ ต่อชั่วโมง ซึ่งจากการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มเกษตรกรที่ทำผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุงพบว่า กลุ่มเกษตรกรพอใจในประสิทธิภาพของเครื่อง โดยต้นทุนในการผลิตเครื่องนี้อยู่ที่ประมาณ 17,000-18,000 บาท เท่านั้น
ผู้สนใจ "เครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่" ภูมิปัญญาเด็กไทย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สาขาเกษตรกลวิธาน แผนกวิชาเครื่องจักรกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา หมายเลขโทรศัพท์ (074) 316-263 ต่อ 1951
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
นานาสิ่งประดิษฐ์จากราชมงคล
สถาบันการศึกษาเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการคิดค้นกันออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการและเกษตรกร โดยผลงานส่วนหนึ่งมีดังนี้
"เครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่"
เครื่องจักสาน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งสื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เรายังสามารถพบเห็นการทำเครื่องจักสานในหลายท้องถิ่น ทุกภูมิภาคของประเทศ และวัสดุสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการจักสานคือ ไม้ไผ่ ซึ่งต้องนำมาผ่านขั้นตอนการผ่า เหลา และแต่งให้เรียบร้อยก่อน โดยการผ่าและเหลาไม้ไผ่นี้ยังคงใช้แรงงานคน ทำให้ผู้ผ่าหรือเหลานั้นมักจะโดนบาดเป็นประจำ
ด้วยปัญหาดังกล่าว ทำให้ นายภานุมาศ สุยบางดำ นักศึกษาจากสาขาเกษตรกลวิธาน แผนกวิชาเครื่องจักรกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา คิดค้น "เครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่" ขึ้น โดยมี ผศ.พงษ์เทพ เกิดเนตร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อลดการเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากความคมของไม้ไผ่และมีด
นายภานุมาศ เปิดเผยถึงส่วนประกอบของเครื่องและขั้นตอนการทำงานของ "เครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่" ว่า "เครื่องดังกล่าวมีต้นกำลังมอเตอร์ขนาด 0.5 แรงม้า ส่งกำลังด้วยสายพานร่องวี ทดรอบโดยใช้มู่เล่ ตัวเครื่องประกอบด้วยชุดผ่าและชุดเหลา ชุดผ่าสามารถผ่าไม้ไผ่ครั้งละ 1 ลำ ออกได้เป็น 8 ซี่ (ความกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร) ส่วนชุดเหลาประกอบด้วยชุดเหลาชุดที่ 1 เพื่อลดความหนาของไม้ไผ่ และชุดเหลาชุดที่ 2 เพื่อเหลาไม้ไผ่ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ (ความหนาประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร)
ขั้นตอนการทำงานของเครื่อง เริ่มต้นจากการนำไม้ไผ่แห้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 2.5 เมตร เข้าชุดผ่าโดยใช้ค้อนตีจากด้านท้ายของลำไม้ไผ่ จนแตกออกเป็นซี่ และใช้แรงดันเข้าสู่ชุดผ่าแทนการใช้ค้อน จะได้ไม้ไผ่ 8 ซี่ (กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และหนาประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ต่อมาให้นำซี่ไม้ไผ่ที่ใช้มีดปลิดข้อออกแล้วเข้าสู่ชุดเหลาที่ 1 เพื่อลดความหนาลงให้ได้ 1-2 มิลลิเมตร แล้วนำซี่ไม้ไผ่ที่เหลาโดยชุดแรก เข้าสู่ชุดเหลาที่ 2 ก็จะได้ความหนาของซี่ไม้ไผ่ตามต้องการ (หนาประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร) "
สำหรับประสิทธิภาพของเครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่นี้สามารถผ่าไม้ไผ่ได้ 30-35 ลำ ต่อชั่วโมง และเหลาไม้ไผ่ได้ประมาณ 35-40 ซี่ ต่อชั่วโมง ซึ่งจากการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มเกษตรกรที่ทำผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุงพบว่า กลุ่มเกษตรกรพอใจในประสิทธิภาพของเครื่อง โดยต้นทุนในการผลิตเครื่องนี้อยู่ที่ประมาณ 17,000-18,000 บาท เท่านั้น
ผู้สนใจ "เครื่องผ่าและเหลาไม้ไผ่" ภูมิปัญญาเด็กไทย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สาขาเกษตรกลวิธาน แผนกวิชาเครื่องจักรกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา หมายเลขโทรศัพท์ (074) 316-263 ต่อ 1951
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-