ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2547 ยังคงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวจากทางทั้งทางด้านการลงทุนจากทางภาครัฐและการส่งออกในทางการ ค้าระหว่างประเทศ แม้จะมีปัจจัยทางด้านลบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาไข้หวัดนกภายในภูมิภาค สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ใน 6 จังหวัดภายใต้ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง คาดว่าเศรษฐกิจของไทยในปี 2547 จะมีการขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 7 ธันวาคม 2547)
ส่วนภาพรวมของภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2547 นั้น ยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ทางด้านมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดในต่างประเทศ ที่มีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน อันมีสาเหตุมาจากการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการภายในประเทศ และการแสวงหาตลาดใหม่ๆ และการขยายตลาดไปในประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการส่งเสริมจากทางภาครัฐในการจัดทำ FTA (Free Trade Area) กับประเทศคู่ค้าใหม่ๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศในตะวันออกกลาง จีน รวมถึง ออสเตรเลีย ส่งผลให้สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรรมไม้และเครื่องเรือนมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยภายในประเทศ ยังเป็นแรงเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเตรื่องเรือนภายในประเทศ จะเห็นได้จากการขยายตัวในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ส่งผลให้สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2547 อยู่ในทิศทางที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 25.56 ล้านชิ้นปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.56 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงอันมีเหตุผลมาจาก การที่ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตที่เน้นที่คุณภาพของสินค้ามากขึ้น โดยพยายามพัฒนาจากรูปแบบการผลิตในลักษณะ Mass Products มาเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือเป็นลักษณะ Branding มากขึ้น ซึ่งจะมุ่งเน้นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ค่อนข้างสูง จะเห็นได้จากมูลค่าในการส่งออกของสินค้าในประเภทอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2547 ที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ ประกอบกับความต้องการสินค้าและความนิยมของสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนของไทยในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนที่ทำมาจากไม้ยางพารา
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2547 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 21 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกของปีก่อน ด้วยมูลค่าการส่งออก 1,980.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน สามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1). กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน (ตารางกลุ่มที่ 1) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 1,082.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหรือปี 2546 ประมาณร้อยละ18 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนการขยายตัวในการส่งออกสูงที่สุดคือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนชิ้นส่วน ในอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้วร้อยละ 24 ซึ่งมีตลาดส่งออกสำคัญในกลุ่มสินค้าดังกล่าวนี้ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป
2). กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ (ตารางกลุ่มที่ 2) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของ มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดย มูลค่าการส่งออกในช่วงของปี 2547 มีจำนวน 380.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2546 ในอัตราร้อยละ 8 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ
3). กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น (ตารางกลุ่มที่ 3) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2547 ประมาณ 693.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนถึงร้อยละ 89 ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวที่ค่อนข้างสูงมาก โดยมีผลิตภัณฑ์ประเภทไม้แปรรูปและไม้อัด มีสัดส่วนการขยายตัวในมูลค่าการส่งออกที่ค่อนข้างสูง ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 661.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ในอัตราร้อยละ 32.02 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากพม่า และมาเลเซีย และในส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทไม้หรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
3. สรุปและแนวโน้มปี 2548
ในปี 2547 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเองและความต้องการโดยการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่มีต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีการขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องเรือนไม้ของไทยที่ทำมาจากไม้ยางพารา ยังเป็นที่ต้องการอีกมากในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องแหล่งวัตถุดิบที่สามารถหาได้เองภายในประเทศ ทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องวัตถุดิบ แต่อย่างไรก็ตามจากความต้องการไม้ยางพาราในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งของผู้ประกอบการภายในเอง และการสั้งชื้อวัตถุดิบดังกล่าวจากประเทศ คู่แข่งโดยเฉพาะประเทศจีนและมาเลเชีย ทำให้ราคาวัตถุดิบไม้ยางพารามีการปรับตัวค่อนข้างสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลระทบต่ออุตสาหกรรมในอนาคต ทำให้ผู้ประกอบการภายในประเทศต้องปรับตัว นอกจากนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการแสวงหาตลาดใหม่ๆ ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องของไทยต่อไปในอนาคต
และแนวโน้มในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะมี แนวโน้มที่จะชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและแนวโน้มของการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับเหตุการณ์ของภัยพิบัติของธรรมชาติคลื่นยักษ์ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะออกเฉียงใต้ จะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง ซึ่งจากผลกระทบดังกล่าวน่าจะทำให้ภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนภายในประเทศจะต้องชะลอตัวลงบ้างเล็กน้อยตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แต่การฟื้นฟูจากภัยพิบัติดังกล่าว เพื่อปรับปรุงบูรณะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ซึ่งจะสร้างอุปสงค์ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมแต่น่าจะเป็นเพียงใน ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ส่วนภาพรวมของภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2547 นั้น ยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ทางด้านมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดในต่างประเทศ ที่มีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน อันมีสาเหตุมาจากการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการภายในประเทศ และการแสวงหาตลาดใหม่ๆ และการขยายตลาดไปในประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการส่งเสริมจากทางภาครัฐในการจัดทำ FTA (Free Trade Area) กับประเทศคู่ค้าใหม่ๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศในตะวันออกกลาง จีน รวมถึง ออสเตรเลีย ส่งผลให้สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรรมไม้และเครื่องเรือนมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยภายในประเทศ ยังเป็นแรงเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเตรื่องเรือนภายในประเทศ จะเห็นได้จากการขยายตัวในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ส่งผลให้สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2547 อยู่ในทิศทางที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 25.56 ล้านชิ้นปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.56 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงอันมีเหตุผลมาจาก การที่ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตที่เน้นที่คุณภาพของสินค้ามากขึ้น โดยพยายามพัฒนาจากรูปแบบการผลิตในลักษณะ Mass Products มาเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือเป็นลักษณะ Branding มากขึ้น ซึ่งจะมุ่งเน้นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ค่อนข้างสูง จะเห็นได้จากมูลค่าในการส่งออกของสินค้าในประเภทอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2547 ที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ ประกอบกับความต้องการสินค้าและความนิยมของสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนของไทยในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนที่ทำมาจากไม้ยางพารา
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2547 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 21 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกของปีก่อน ด้วยมูลค่าการส่งออก 1,980.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน สามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1). กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน (ตารางกลุ่มที่ 1) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 1,082.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหรือปี 2546 ประมาณร้อยละ18 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนการขยายตัวในการส่งออกสูงที่สุดคือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนชิ้นส่วน ในอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้วร้อยละ 24 ซึ่งมีตลาดส่งออกสำคัญในกลุ่มสินค้าดังกล่าวนี้ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป
2). กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ (ตารางกลุ่มที่ 2) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของ มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดย มูลค่าการส่งออกในช่วงของปี 2547 มีจำนวน 380.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2546 ในอัตราร้อยละ 8 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ
3). กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น (ตารางกลุ่มที่ 3) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2547 ประมาณ 693.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนถึงร้อยละ 89 ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวที่ค่อนข้างสูงมาก โดยมีผลิตภัณฑ์ประเภทไม้แปรรูปและไม้อัด มีสัดส่วนการขยายตัวในมูลค่าการส่งออกที่ค่อนข้างสูง ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 661.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ในอัตราร้อยละ 32.02 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากพม่า และมาเลเซีย และในส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทไม้หรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
3. สรุปและแนวโน้มปี 2548
ในปี 2547 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเองและความต้องการโดยการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่มีต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีการขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องเรือนไม้ของไทยที่ทำมาจากไม้ยางพารา ยังเป็นที่ต้องการอีกมากในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องแหล่งวัตถุดิบที่สามารถหาได้เองภายในประเทศ ทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องวัตถุดิบ แต่อย่างไรก็ตามจากความต้องการไม้ยางพาราในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งของผู้ประกอบการภายในเอง และการสั้งชื้อวัตถุดิบดังกล่าวจากประเทศ คู่แข่งโดยเฉพาะประเทศจีนและมาเลเชีย ทำให้ราคาวัตถุดิบไม้ยางพารามีการปรับตัวค่อนข้างสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลระทบต่ออุตสาหกรรมในอนาคต ทำให้ผู้ประกอบการภายในประเทศต้องปรับตัว นอกจากนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการแสวงหาตลาดใหม่ๆ ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องของไทยต่อไปในอนาคต
และแนวโน้มในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะมี แนวโน้มที่จะชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและแนวโน้มของการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับเหตุการณ์ของภัยพิบัติของธรรมชาติคลื่นยักษ์ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะออกเฉียงใต้ จะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง ซึ่งจากผลกระทบดังกล่าวน่าจะทำให้ภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนภายในประเทศจะต้องชะลอตัวลงบ้างเล็กน้อยตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แต่การฟื้นฟูจากภัยพิบัติดังกล่าว เพื่อปรับปรุงบูรณะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ซึ่งจะสร้างอุปสงค์ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมแต่น่าจะเป็นเพียงใน ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-