วันนี้ (17 ต.ค.48) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ์ สิทธีอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณีที่รัฐบาลจะเสนอร่างกฎกระทรวงพาณิชย์ กำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขอใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเข้า ครม.ในวันที่ 18 ต.ค.นี้ว่า พรรคขอให้รัฐบาลถอนวาระการนำกฎกระทรวงดังกล่าวจากที่ประชุม ครม.จนกว่าจะมีการศึกษาและมีการชี้แจงกับประชาชนว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์อย่างไรบ้าง เนื่องจากภาวการณ์เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก
นายเกียรติ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับหลายประเทศ และมีการลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ต้องนำเงื่อนไขการเจรจาเอฟทีเอทั้งหมดมาเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษา และรัฐบาลต้องชี้แจงด้วยว่าเหตุใดต้องเปิดเสรีธุรกิจทั้ง 20 สาขา ในขณะที่ธุรกิจดังกล่าวมีกฎหมายเฉพาะรองรับอยู่แล้ว
“ควรมาดูว่ากฎหมายเฉพาะในบางสาขาสามารถดูแลได้อย่างเข้มงวดหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลบอกว่าจะแก้ไขกฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้น และว่าฝ่ายค้านเคยเสนอกฎหมายให้ควบคุมธุรกิจค้าปลีกของต่างชาติ แต่รัฐบาลนิ่งเฉยไม่ทำอะไร ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่แนะนำแล้วไม่ดำเนินการ แต่วันนี้ดูเหมือนเร่งออกกฎกระทรวงดังกล่าว”นายเกียรติ์ กล่าวว่า
นายเกียรติ์ กล่าวต่อว่า การให้ต่างประเทศทำธุรกิจสถาบันการเงินจะทำให้ได้เปรียบประเทศไทยอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนและพัฒนาทักษะของสถาบันการเงินของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะธุรกิจประกันภัย รวมถึงการให้ต่างชาติมาบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจะต้องมีการทบทวนว่าให้เข้ามาบริหารมากน้อยแค่ไหน และการให้สินเชื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งหลายประเทศเกิดวิกฤต
“กรณีเฮดจ์ฟันด์ (กองทุนประกันความเสี่ยง) ที่รัฐบาลควรนำมาเป็นกรณีศึกษา เพราะมีการปล่อยกู้ได้ 100 กว่าเท่าของต้นทุนเพื่อใช้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น กฎกระทรวงดังกล่าวควรมีการทบทวนจนกว่าจะมีกรอบกติกาใหม่มาควบคุมมากกว่านี้ ที่ตนมีความเป็นห่วง หากจู่ๆ จะเปิดประตูให้ต่างชาติเข้ามาทันทีจะเกิดผลกระทบและอันตรายมาก” นายเกียรติ์กล่าว
นายเกียรติ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการทำข้อตกลงเอฟทีเอกับหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกานั้น สังคมแทบไม่รู้ว่ามีการเจรจาในหัวข้ออะไรบ้าง ทั้งที่ควรมีการเปิดเผยเนื้อหาให้สาธารณชนทราบก่อนการลงนาม อย่างกรณีออสเตรเลียที่มีการเปิดเสรีธุรกิจเหมืองแร่ ทั้งที่อยู่ในประเภทบัญชี 2 ที่ ครม.มีอำนาจอนุมัติ แต่พอเปิดเอฟทีเอทำให้ออสเตรเลียสามารถเข้ามาดำเนินการได้โดยไม่มีเงื่อนไข โดยไม่ต้องผ่านมติ ครม.อีกต่อไป
“เรื่องนี้เหมือนเป็นการเอาเหมืองแร่ไปแลกกับธุรกิจโทรคมนาคม โดยมีการเปิดช่องให้ธุรกิจโทรคมนาคมของไทยเข้าไปทำได้โดยไม่มีข้อจำกัด และมีชื่อบริษัทอย่างชัดเจนด้วย ซึ่งบรรยากาศดังกล่าวรัฐบาลต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับเอฟทีเอที่เกี่ยวข้องกับบางประเทศหรือไม่ เพราะมีนักลงทุนต่างชาติหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่เปิดธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทยเสียที มีแต่ไทยไปเปิดในประเทศอื่น หรือกลัวว่าจะกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องหลายคนในรัฐบาลหรือไม่ หากแน่จริงรัฐบาลควรเปิดเสรีธุรกิจนี้เพราะเรามีความพร้อมอยู่แล้ว” นายเกียรติ์ กล่าว
คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่หลายคนเป็นห่วงกรณีเอฟทีเอกับสหรัฐฯ ที่จนถึงขณะนี้ยังไม่เปิดเผยการเจรจากับสหรัฐฯ โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และเท่าที่ทราบบางเงื่อนไขสหรัฐฯ เสนอมาสูงกว่าเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก หรือ WTO ดังนั้น การเสนอกฎกระทรวงดังกล่าวในช่วงนี้รัฐบาลต้องทบทวน เพราะเคยเกิดกรณีตัวอย่างในประเทศเม็กซิโกที่ทำนาฟตา (การเปิดเขตการค้าเสรีแอตแลนติกเหนือ) กับสหรัฐฯ จากเดิมที่เม็กซิโกมีธนาคารพาณิชย์อยู่ 100 กว่าแห่งในเวลาเพียง 10 ปีเหลือเพียง 10 กว่าแห่ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ต.ค. 2548--จบ--
นายเกียรติ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับหลายประเทศ และมีการลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ต้องนำเงื่อนไขการเจรจาเอฟทีเอทั้งหมดมาเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษา และรัฐบาลต้องชี้แจงด้วยว่าเหตุใดต้องเปิดเสรีธุรกิจทั้ง 20 สาขา ในขณะที่ธุรกิจดังกล่าวมีกฎหมายเฉพาะรองรับอยู่แล้ว
“ควรมาดูว่ากฎหมายเฉพาะในบางสาขาสามารถดูแลได้อย่างเข้มงวดหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลบอกว่าจะแก้ไขกฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้น และว่าฝ่ายค้านเคยเสนอกฎหมายให้ควบคุมธุรกิจค้าปลีกของต่างชาติ แต่รัฐบาลนิ่งเฉยไม่ทำอะไร ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่แนะนำแล้วไม่ดำเนินการ แต่วันนี้ดูเหมือนเร่งออกกฎกระทรวงดังกล่าว”นายเกียรติ์ กล่าวว่า
นายเกียรติ์ กล่าวต่อว่า การให้ต่างประเทศทำธุรกิจสถาบันการเงินจะทำให้ได้เปรียบประเทศไทยอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนและพัฒนาทักษะของสถาบันการเงินของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะธุรกิจประกันภัย รวมถึงการให้ต่างชาติมาบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจะต้องมีการทบทวนว่าให้เข้ามาบริหารมากน้อยแค่ไหน และการให้สินเชื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งหลายประเทศเกิดวิกฤต
“กรณีเฮดจ์ฟันด์ (กองทุนประกันความเสี่ยง) ที่รัฐบาลควรนำมาเป็นกรณีศึกษา เพราะมีการปล่อยกู้ได้ 100 กว่าเท่าของต้นทุนเพื่อใช้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น กฎกระทรวงดังกล่าวควรมีการทบทวนจนกว่าจะมีกรอบกติกาใหม่มาควบคุมมากกว่านี้ ที่ตนมีความเป็นห่วง หากจู่ๆ จะเปิดประตูให้ต่างชาติเข้ามาทันทีจะเกิดผลกระทบและอันตรายมาก” นายเกียรติ์กล่าว
นายเกียรติ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการทำข้อตกลงเอฟทีเอกับหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกานั้น สังคมแทบไม่รู้ว่ามีการเจรจาในหัวข้ออะไรบ้าง ทั้งที่ควรมีการเปิดเผยเนื้อหาให้สาธารณชนทราบก่อนการลงนาม อย่างกรณีออสเตรเลียที่มีการเปิดเสรีธุรกิจเหมืองแร่ ทั้งที่อยู่ในประเภทบัญชี 2 ที่ ครม.มีอำนาจอนุมัติ แต่พอเปิดเอฟทีเอทำให้ออสเตรเลียสามารถเข้ามาดำเนินการได้โดยไม่มีเงื่อนไข โดยไม่ต้องผ่านมติ ครม.อีกต่อไป
“เรื่องนี้เหมือนเป็นการเอาเหมืองแร่ไปแลกกับธุรกิจโทรคมนาคม โดยมีการเปิดช่องให้ธุรกิจโทรคมนาคมของไทยเข้าไปทำได้โดยไม่มีข้อจำกัด และมีชื่อบริษัทอย่างชัดเจนด้วย ซึ่งบรรยากาศดังกล่าวรัฐบาลต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับเอฟทีเอที่เกี่ยวข้องกับบางประเทศหรือไม่ เพราะมีนักลงทุนต่างชาติหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่เปิดธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทยเสียที มีแต่ไทยไปเปิดในประเทศอื่น หรือกลัวว่าจะกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องหลายคนในรัฐบาลหรือไม่ หากแน่จริงรัฐบาลควรเปิดเสรีธุรกิจนี้เพราะเรามีความพร้อมอยู่แล้ว” นายเกียรติ์ กล่าว
คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่หลายคนเป็นห่วงกรณีเอฟทีเอกับสหรัฐฯ ที่จนถึงขณะนี้ยังไม่เปิดเผยการเจรจากับสหรัฐฯ โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และเท่าที่ทราบบางเงื่อนไขสหรัฐฯ เสนอมาสูงกว่าเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก หรือ WTO ดังนั้น การเสนอกฎกระทรวงดังกล่าวในช่วงนี้รัฐบาลต้องทบทวน เพราะเคยเกิดกรณีตัวอย่างในประเทศเม็กซิโกที่ทำนาฟตา (การเปิดเขตการค้าเสรีแอตแลนติกเหนือ) กับสหรัฐฯ จากเดิมที่เม็กซิโกมีธนาคารพาณิชย์อยู่ 100 กว่าแห่งในเวลาเพียง 10 ปีเหลือเพียง 10 กว่าแห่ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ต.ค. 2548--จบ--