บันทึกการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และนายสุชน
ชาลีเครือ รองประธานรัฐสภา ขึ้นบัลลังก์ ประธานรัฐสภากล่าวเปิดประชุม จากนั้น
ได้ให้เลขาธิการรัฐสภาอ่านพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง นายสันติ ทักราล และ
พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ เป็นองคมนตรี
ต่อจากนั้น ประธานรัฐสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง การถ่ายทอด
การพิจารณาคณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา นอกจากมีการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุ
กระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาตามปกติแล้ว ประธานรัฐสภา
ได้อนุญาตให้มีการถ่ายทอดการประชุม ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑
กรมประชาสัมพันธ์ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๙ วรรคสอง
จนเสร็จสิ้นการประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ประธานรัฐสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน คือ คณะรัฐมนตรี
แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา ๒๑๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
ดังต่อไปนี้
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช
๒๕๔๘ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม
พุทธศักราช ๒๕๔๘ นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว
โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นระบอบการปกครองและสถาบันที่พึงปรารถนาและเหมาะสม
สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชนชาวไทยอย่างแท้จริง และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ตามบทบัญญัติในหมวด ๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบาย
ดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาล
ในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง
เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนชาวไทย
ทุกคน
โดยที่รัฐบาลคณะนี้ บริหารราชการแผ่นดินต่อเนื่องจากรัฐบาลคณะที่แล้ว
และได้ประกาศนโยบายในระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า สี่ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลา
แห่งการซ่อมความหายนะจากวิกฤตของประเทศ แต่สี่ปีต่อจากนี้ไปเป็นช่วงเวลา
แห่งการสร้างชาติให้แข็งแกร่งยั่งยืน ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องขอรายงานให้เห็นภาพ
ในอดีตเพื่อความต่อเนื่องเชื่อมโยงไปยังอนาคต กล่าวคือ เมื่อรัฐบาลเข้าบริหารราชการ
แผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ประเทศไทยในขณะนั้น กำลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจ
ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอันเนื่องจากระบบเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาต่างประเทศสูง โดยเฉพาะ
ในไตรมาสแรกของปี ๒๕๔๔ เศรษฐกิจขยายตัวได้เพียงร้อยละ ๑.๗ เท่านั้น มูลค่า
การส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ ๑.๓ ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมากอยู่ที่ประมาณ ๔๓.๒ บาท
ต่อดอลลาร์สหรัฐ หนี้สาธารณะสูงถึงร้อยละ ๕๕.๙ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
จำนวนคนว่างงานยังคงสูงถึง ๑.๒ ล้านคน และจำนวนคนจนมีมากถึง ๘.๙ ล้านคน จึงมี
ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเอาใจใส่และทุ่มเทเป็นพิเศษในการบริหารให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ในช่วงที่เป็นรัฐบาลในสมัยแรกได้ปรับแนวคิดในการแก้ไขปัญหาของประเทศ
โดยดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์คู่ขนาน กล่าวคือ ให้ความสำคัญแก่การกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในระดับรากหญ้าและสังคมผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่
โดยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่ภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยคำนึงถึงการสร้าง
เสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ และมุ่งเน้นการบริหารการเงินการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินนโยบายของรัฐบาลตลอดสี่ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้เศรษฐกิจ
ขยายตัวสูงถึงร้อยละ ๖.๙ และร้อยละ ๖.๑ ในปี ๒๕๔๖ และ ๒๕๔๗ ตามลำดับ ค่าเงินบาท
มีเสถียรภาพมากขึ้นที่ระดับประมาณ ๔๐ บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูง
ถึงร้อยละ ๒๓ ในปี ๒๕๔๗ อันเนื่องมาจากการเจรจาเปิดการค้าเสรีกับหลายประเทศ และ
การพัฒนาศักยภาพใหม่ให้แก่ภาคบริการที่มีความได้เปรียบจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
การลงทุนของเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕.๓ ในปี ๒๕๔๗ หนี้สาธารณะลดลงเหลือประมาณ
ร้อยละ ๔๗.๘ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ และทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก
เป็นประวัติการณ์ที่ระดับ ๔๙,๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่าสี่เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้สร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ได้ง่ายขึ้น ก่อให้เกิดการกระจายเม็ดเงินลงทุน ตลอดจนการสร้างงานและรายได้ในระดับรากหญ้า
ในขณะที่ทางด้านสังคม ประชาชนได้รับหลักประกันสุขภาพสูงถึงร้อยละ ๙๕.๔ เพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ ๗๘.๒ ในปี ๒๕๔๓ ทั้งนี้เนื่องมาจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค
และประชาชนมีงานทำเพิ่มขึ้น ๓.๖ ล้านคนในช่วง ๔ ปี จำนวนคนยากจนลดลงเหลือ ๖ ล้านคน
อันเนื่องมาจากการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินและแหล่งความรู้เพื่อสร้างงานและสร้างอาชีพ
จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้นจาก ๗.๒ ในปี ๒๕๔๓ เป็น ๘.๑ ในปี ๒๕๔๗ เพราะ
การขยายโอกาสทางการศึกษาและ ผ่อนคลายกฎระเบียบของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
จำนวนคดียาเสพติดลดลงจาก ๔๒๐.๗ ในปี ๒๕๔๓ เหลือ ๑๑๖.๕ ต่อประชากรแสนคนในปี ๒๕๔๗
เนื่องจากรัฐบาลได้เอาจริงเอาจัง กับการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและผู้ค้ายาเสพติด
นายกรัฐมนตรีขอบคุณประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ไว้วางใจ
ให้รัฐบาลเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต่อเนื่องเป็นสมัยที่สอง ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่น
ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลว่าเดินมาอย่างถูกทิศทาง และการบริหาร
ประเทศมีประสิทธิภาพโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ในระยะสี่ปีที่ผ่านมา การดำเนินนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา
และสร้างโอกาสใหม่ให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งประสบความสำเร็จไปในระดับหนึ่ง
แต่ก็ยังมีปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนิน
นโยบายแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความยากจน
ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
ของประเทศ โดยรัฐบาลจะดูแลคุณภาพคนไทยตั้งแต่แรกเกิดจนสูงอายุ และขจัดยาเสพติด
ผู้มีอิทธิพล และทุจริตคอร์รัปชันให้หมดไปจากสังคมไทย
โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ยังคงมีสัดส่วนไม่สมดุลระหว่าง
ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร โดยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยังเป็นการรับจ้างผลิต
ตามคำสั่ง หรือรูปแบบที่คิดค้นโดยเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ทำให้ต้อง
พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ ทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระดับสูง ประเทศไทยจึงได้
ผลตอบแทนเพียงแค่จากแรงงานและวัตถุดิบเป็นหลักซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อยของห่วงโซ่
การผลิต เข้าลักษณะการ "ทำมากได้น้อย"
ภาคการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังประสบกับความผันผวน
ของราคาพืชผลในตลาดโลกและประสบความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ความ
เสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทั้งดินและน้ำ การขายวัตถุดิบส่งออกให้แก่ต่างประเทศ
และประสบปัญหาการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ในขณะที่ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยว
ยังพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ในการเพิ่มมูลค่า
ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ มิฉะนั้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ
จะนำไปสู่วงจรการขาดดุลการค้าและการแข่งขันด้านราคา อันเป็นข้อจำกัดในการขยายตัว
ของประเทศอย่างยั่งยืน
นอกจากความท้าทายที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมในประเทศเหล่านี้ รัฐบาล
ยังต้องเผชิญกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมโลก อันได้แก่
(๑) การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ซึ่งแนวโน้มการเปิดเสรีการค้า
ของประเทศต่าง ๆ จะทำให้ประเทศไทยมีโอกาสในการขยายการส่งออก
การท่องเที่ยวและการลงทุนมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก
ดังนั้น เราจึงต้องรู้เท่าทันและเตรียมรับมือจากการขับเคลื่อนอย่างเสรีของข่าวสารความรู้
เทคโนโลยี แรงงานและประชากร เงินทุน การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อนำมาใช้
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(๒) ความไม่สมดุลในเศรษฐกิจโลกและการเก็งกำไร ที่อาจส่งผลต่อความผันผวน
ของอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าในตลาดโลก
(๓) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด เนื่องจาก
การพัฒนาของเทคโนโลยีหลักทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ
และนาโนเทคโนโลยี ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
(๔) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม อันเนื่องมาจากโครงสร้างประชากรของโลกที่เข้า
สู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น การขยายตัวของสังคมเมือง รวมทั้งการรับรู้และแลกเปลี่ยนในวิถีชีวิตและ
วัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่มีต่อกระบวนการ ในการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์และอนาคตของประเทศ และ
(๕) ความผันผวนที่อาจมีผลกระทบ เช่น สถานการณ์การเมืองและ
ความมั่นคงในโลก การระบาดของโรคอุบัติใหม่ ยาเสพติดในรูปแบบที่หลากหลาย
ความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศที่นำไปสู่ภัยธรรมชาติ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้จำเป็นต้อง
วางมาตรการป้องกันและแก้ไขทั้งในระดับชาติและนานาชาติเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ
ที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจและวิถีชีวิตในสังคมไทย
อนึ่ง รัฐบาลตระหนักดีว่าการบริหารประเทศที่เผชิญความท้าทายเหล่านี้
จำเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์และการวางแผนที่ดี ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ การมีตัวบท
กฎหมายตลอดจนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เพียงพอ เป็นธรรม และทันสมัย และ
ความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใสในการปฏิบัติราชการทุกระดับ ตลอดจนการมีส่วนร่วมจาก
ทุกภาคส่วนที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ
สี่ปีข้างหน้าต่อไปนี้จะเป็นสี่ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนในทุกทาง
รัฐบาลจะสร้างโอกาสเพื่ออนาคต วางรากฐานใหม่ให้แก่ประเทศ
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง โดยเน้นการคืนความเข้มแข็งสู่ท้องถิ่น
คืนความสมบูรณ์ของดินและน้ำสู่ธรรมชาติ และคืนอำนาจการตัดสินปัญหาสู่ชุมชน โดยให้ความสำคัญ
แก่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ระบบเศรษฐกิจ
ปฏิรูปการศึกษาเพื่อนำไปสู่สังคมเศรษฐกิจบนฐานความรู้ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตามแนวพระราชดำริ เพื่อนำประเทศไปสู่โครงสร้างที่มี
ความสมดุล มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน โดยรัฐบาลจะดำเนินนโยบายเก้าประการ ดังต่อไปนี้
๑. นโยบายขจัดความยากจน
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายและมาตรการในการขจัดความยากจนของประเทศ
ให้หมดสิ้นไป โดยปรับปรุงระบบบริหารจัดการทั้งระบบ เชื่อมโยงการแก้ไขความยากจน
ทุกระดับ ตั้งแต่ บุคคล ชุมชน และประเทศ ตลอดจนสร้างกลไกที่เชื่อมโยงให้คนยากจน
ในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ในระดับบุคคล รัฐบาลจะเน้นการขยายโอกาส สร้างรายได้ ลดรายจ่าย
เพิ่มช่องทางการเข้าถึงทุน ซึ่งรวมถึง เงินทุน กรรมสิทธิ์ที่ดิน และองค์ความรู้ โดยเร่งรัด
การกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขยายโอกาสการเข้าสู่ทุนผ่านระบบการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
รวมทั้งส่งเสริมระบบสหกรณ์และกระบวนการเรียนรู้ในการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ทั้งนี้
รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงรุก โดยจัดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่
แก้ปัญหาความยากจนที่เรียกว่า "คาราวานแก้จน" เพื่อให้คำแนะนำและบริการต่าง ๆ
ในการประกอบอาชีพและเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ
ในระดับชุมชน รัฐบาลจะดำเนินการเสริมสร้างขบวนการชุมชนเข้มแข็งและ
ให้คนยากจนสามารถเชื่อมโยงประโยชน์จากปัจจัยแวดล้อมระดับมหภาคไปถึงคนจน
ในชุมชน รัฐบาลจะพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรในระดับชุมชน เช่น โรงสีชุมชน
โรงปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ชุมชน ซึ่งจะต้องจัดให้มีทั่วถึงทุกอำเภอ และสหกรณ์เครื่องจักรกล
เกษตรขั้นพื้นฐาน การสร้างระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าเกษตร และระบบการตลาดสินค้า
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นจะพัฒนาระบบการเงินที่สนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากจากกองทุน
หมู่บ้านที่มีความพร้อมสู่ธนาคารหมู่บ้านที่ให้โอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน อย่างยั่งยืน รัฐบาลเห็นว่า
ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นพลังสำคัญในการต่อสู้ความยากจน
ดังนั้น รัฐบาลจะได้จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (Small Medium Large: SML)
ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถใช้บริหารแก้ไขปัญหาของตนเอง
ในระดับประเทศ รัฐบาลจะส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินอย่างทั่วถึงและพอเพียง
เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในระยะยาวได้ โดยบริหารการใช้ที่ดิน
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพดิน รัฐบาลจะเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการทรัพยากรน้ำ จัดหาและจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับความเหมาะสมของพื้นที่และ
ความต้องการในระบบการผลิตของเกษตรกรอย่างทั่วถึง และจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ
(Special Purpose Vehicles: SPV) เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการด้านการผลิต การแปรรูป
การตลาด และแหล่งทุน เพื่อลดความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร จัดตั้งระบบการบริหารจัดการ
สินค้าเกษตรรายผลิตภัณฑ์ เพื่อเน้นการสร้างเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตรที่ให้
ผลตอบแทนต่อเกษตรกรอย่างเป็นธรรม รวมทั้งจะขยายขอบเขตการประกันสังคมให้
ครอบคลุมแรงงานนอกระบบและแรงงานในภาคเกษตรอีกด้วย
๒. นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
เป้าหมายของการพัฒนาคือการทำให้คนมีความสุข ซึ่งจะต้องประกอบด้วย
การมีสุขภาพแข็งแรง ครอบครัวที่อบอุ่น มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีสังคมที่สันติและเอื้ออาทร
รัฐบาลจึงถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะต้องพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ รวมถึงอนุรักษ์
ส่งเสริมทุนทางสังคมที่เข้มแข็งของประเทศไทยซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจ
มีความมั่นคงและยั่งยืนได้
รัฐบาลจะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มี
ความรู้และจริยธรรม เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิด โดยให้ความสำคัญแก่การสร้างสภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสม ครอบครัวที่อบอุ่น และสถานศึกษาที่เอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดด้วยการ
ปลูกฝังความรู้ที่ทันโลกและคุณค่าที่ดีของวัฒนธรรมไทย สร้างความเข้าใจให้แก่พ่อแม่
ถึงวิธีการดูแลบุตรที่ถูกต้องตามระดับการพัฒนาของสมองด้วยหน่วยบริการเคลื่อนที่เข้าถึงตัว
ซึ่งเรียกว่า "คาราวานเสริมสร้างเด็ก"
รัฐบาลจะส่งเสริมบทบาทของคณะสงฆ์ วงการศาสนา กิจกรรมลูกเสือ
เนตรนารี โรงเรียน และครอบครัวที่ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ตลอดจนสนับสนุนให้
สื่อมวลชนร่วมมีบทบาทในด้านเหล่านี้ยิ่งขึ้น และจะจัดให้มีสถานที่เพื่อการปฏิบัติธรรม และความสงบ
ร่มเย็นทางจิตใจในทำนองเดียวกับพุทธมณฑลให้ครอบคลุมทั่วราชอาณาจักร
รัฐบาลจะเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอน
ทุกรูปแบบสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และสนับสนุน
ให้มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยคำนึงถึงคุณค่าของ
ลักษณะเฉพาะและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รัฐบาลจะส่งเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือ
อย่างจริงจังตั้งแต่เด็กจนตลอดชีวิต เพื่อรองรับสังคมเศรษฐกิจบนฐานความรู้ พัฒนาทักษะและ
การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในช่วงวัยทำงานอย่างเป็นระบบ และพัฒนามาตรฐาน
วิชาชีพของแรงงาน เยาวชนไทยทุกคนจะได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างน้อย ๑๒ ปี
รัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (Income Contingency Loans: ICL)
สนับสนุนการศึกษาของเยาวชนตั้งแต่ ปวส. ถึงอุดมศึกษา โดยรัฐจะให้โอกาส
ในการศึกษาก่อนและผ่อนชำระเมื่อมีรายได้
รัฐบาลตระหนักดีว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อ
การเรียนรู้ในระบบและนอกระบบ ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อให้สังคมไทยเป็น
สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาความรู้ และเป็นสังคมที่
ประชาชนมีความสุข สนุกสนานกับการหาประสบการณ์และความรู้ใหม่ ๆ ดังนั้น รัฐบาลจะ
ร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อสร้างแหล่งบริการองค์ความรู้ให้กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
อย่างสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น อาทิ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยาน
การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนา
ด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติกและผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ
ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งจะดำเนินการเชื่อมเครือข่าย
ความรู้ของทุกโรงเรียนเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ รัฐบาลจะพิจารณา
สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่ให้แก่ภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการเหล่านี้
รัฐบาลจะสนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงอุดมศึกษา เช่น การเพิ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ การให้สถาบันวิจัย
มีส่วนร่วมในการผลิตบุคลากรระดับปริญญาโทและเอก เป็นต้น จะผลักดันให้ประชาชน
มีความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียิ่งขึ้น
รัฐบาลจะสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีชื่อเสียงสามารถระดมทุนเองได้ เพื่อสร้างเครือข่าย
ของโรงเรียน และเป็นพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีความต้องการ
ร่วมสร้างคุณภาพการศึกษา รวมทั้งจัดตั้งเขตปลอดอบายมุขรอบสถานศึกษา โดยผลักดัน
กฎหมายและมาตรการเพื่อให้อบายมุข ยาเสพติด และสิ่งยั่วยุทางเพศ อยู่ห่างไกลจาก
เยาวชน
นโยบายทางด้านวัฒนธรรม ในอีกสี่ปีต่อไปนี้จะเน้นที่การส่งเสริมให้วัยรุ่นไทยเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
รักชาติในทางที่ถูก มีคุณธรรมเอื้ออาทรต่อผู้อื่น และเข้าใจถึงคุณค่า ซาบซึ้งในความสุนทรีย์ของศิลปะ
เพื่อก่อให้เกิดศิลปินรุ่นใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์งานศิลป์
ได้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดย (๑) จัดหาพื้นที่ถาวรทางศิลปะประเภทต่าง ๆ ให้เด็ก
และเยาวชนได้เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และเป็นเวทีพบปะศิลปิน (๒) ส่งเสริม
สนับสนุน และให้ทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพหรือส่อแววด้านศิลปะ
(๓) ส่งเสริมให้เกิดการประกวด แข่งขันผลงานศิลปะหลากหลายประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่น
ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อค้นหาศิลปินรุ่นใหม่ และ (๔) ประสานกับหน่วยงาน
ทางการศึกษา เพื่อจัดหาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ศิลปะอย่างสร้างสรรค์
ในด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชน รัฐบาลจะเพิ่มคุณภาพของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาท
และปฏิรูประบบบริหารจัดการสาธารณสุขที่มี
ประสิทธิภาพและครบวงจร ทั้งการซ่อม สร้าง และเสริมสุขภาพ โดยปรับระบบบริการ
ทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
การนำมาตรการภาษีการบริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาใช้กระตุ้นการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมบุคคลให้ ลด ละ และเลิก พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ และนำรายได้จากภาษี
ดังกล่าวมาส่งเสริมกิจกรรมสุขภาพและสังคม รัฐบาลจะปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์
และสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน
รวมทั้งจะจัดตั้งศูนย์ศึกษาและวิจัยทางการแพทย์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่
รัฐบาลจะส่งเสริมการกีฬาเพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะทางด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศ
ที่จะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ สร้างนิสัยรักการกีฬาและใช้เวลาว่าง
ให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นและมั่วสุมกับสิ่งอบายมุขและยาเสพติด รวมทั้ง
ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสออกกำลังกายโดยการเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี
ในด้านความมั่นคงของชีวิตและสังคม รัฐบาลจะสนับสนุนให้ประชาชนมีความมั่นคงในการเป็น
เจ้าของที่อยู่อาศัย ทั้งในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการที่อยู่อาศัยราคาถูกจากโครงการของรัฐ
และในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยโดยผ่อนชำระ
แต่ยังขาดระบบเงินกู้ระยะยาวในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมอย่างพอเพียง และโดยมาตรการ
คุ้มครองผู้บริโภค นอกจากการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยแล้ว รัฐบาลจะพัฒนาสภาพแวดล้อม
ในชุมชนให้น่าอยู่ เช่น การมีสวนสุขภาพในชุมชน เป็นต้น
รัฐบาลจะดำเนินการต่อเนื่องอย่างจริงจังที่จะปราบปรามผู้มีอิทธิพลและ
ยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย โดยยังคงยึดหลักการ "ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษา
ส่วนผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
ของชุมชนควบคู่กับมาตรการปราบปรามทางกฎหมาย และตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของ
ผู้มีอิทธิพลในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการค้ายาเสพติด การตัดไม้ทำลายป่า การค้ามนุษย์
และการเป็นเจ้ามือการพนัน เป็นต้น
รัฐบาลจะสร้างหลักประกันความเสมอภาคและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้เด็กและสตรี
โดยจะขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป ขจัดการเลือกปฏิบัติและ
การละเมิดสิทธิเด็กและสตรีในทุกรูปแบบและอย่างเด็ดขาด รวมทั้งส่งเสริมความรู้และอาชีพ
ให้สตรีสามารถพึ่งพาตนเองได้
สำหรับการเตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ จะยึดหลักการให้
ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นผู้สูงอายุ
ที่มีสุขภาพดี ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสร้างหลักประกันด้านรายได้และระบบการออมใน
ช่วงวัยทำงานที่เพียงพอสำหรับช่วงวัยชรา สร้างพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย
สนับสนุนครอบครัวให้เข้มแข็งสามารถดูแลสมาชิกได้อย่างมีคุณภาพ ยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับผู้มีอายุเกิน ๖๕ ปี และส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนา
ประเทศโดยระบบคลังสมอง
รัฐบาลจะสร้างความสุขให้คนกรุงเทพฯ ด้วยนโยบายกรุงเทพฯ แข็งแรงและ
น่าอยู่ โดยเร่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีโรงเรียนใกล้บ้าน มีความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน และเดินทางสะดวกสบาย โดยปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทาง
และพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดการใช้
น้ำมันเชื้อเพลิง และลดมลภาวะ
๓. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้
สิ่งที่ท้าทายในอนาคตมิได้มีเพียงแต่การรักษาให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างพอเพียง
ต่อการจ้างงานและสร้างรายได้ แต่ที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ให้มีคุณภาพ ที่สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืน กระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง
และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้น ในช่วงสี่ปีต่อไป
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง
รัฐบาลจะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งระบบโดยมุ่งไปสู่การเพิ่มมูลค่า
ผลผลิตบนพื้นฐานความรู้และความเป็นไทย โดยผนวกฐานทรัพยากรธรรมชาติ
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทย เข้ากับการสร้างผู้ประกอบการใหม่ การบริหาร
จัดการที่ดี การใช้นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ การสร้างตราสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับ และการ
จัดระบบการตลาดให้มีการผลิตและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกเพื่อ
การขยายตัวอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต
ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร รัฐบาลจะสนับสนุนการเพิ่มมูลค่า
ให้แก่สินค้าเกษตร โดยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
ควบคู่ไปกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และกระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนในการเพิ่มมูลค่า
สินค้า โดยให้ความสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และนำผลผลิตเกษตร
ไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง การผลิตสินค้าเกษตรที่มี
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และนายสุชน
ชาลีเครือ รองประธานรัฐสภา ขึ้นบัลลังก์ ประธานรัฐสภากล่าวเปิดประชุม จากนั้น
ได้ให้เลขาธิการรัฐสภาอ่านพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง นายสันติ ทักราล และ
พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ เป็นองคมนตรี
ต่อจากนั้น ประธานรัฐสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง การถ่ายทอด
การพิจารณาคณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา นอกจากมีการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุ
กระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาตามปกติแล้ว ประธานรัฐสภา
ได้อนุญาตให้มีการถ่ายทอดการประชุม ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑
กรมประชาสัมพันธ์ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๙ วรรคสอง
จนเสร็จสิ้นการประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ประธานรัฐสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน คือ คณะรัฐมนตรี
แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา ๒๑๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
ดังต่อไปนี้
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช
๒๕๔๘ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม
พุทธศักราช ๒๕๔๘ นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว
โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นระบอบการปกครองและสถาบันที่พึงปรารถนาและเหมาะสม
สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชนชาวไทยอย่างแท้จริง และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ตามบทบัญญัติในหมวด ๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบาย
ดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาล
ในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง
เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนชาวไทย
ทุกคน
โดยที่รัฐบาลคณะนี้ บริหารราชการแผ่นดินต่อเนื่องจากรัฐบาลคณะที่แล้ว
และได้ประกาศนโยบายในระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า สี่ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลา
แห่งการซ่อมความหายนะจากวิกฤตของประเทศ แต่สี่ปีต่อจากนี้ไปเป็นช่วงเวลา
แห่งการสร้างชาติให้แข็งแกร่งยั่งยืน ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องขอรายงานให้เห็นภาพ
ในอดีตเพื่อความต่อเนื่องเชื่อมโยงไปยังอนาคต กล่าวคือ เมื่อรัฐบาลเข้าบริหารราชการ
แผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ประเทศไทยในขณะนั้น กำลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจ
ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอันเนื่องจากระบบเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาต่างประเทศสูง โดยเฉพาะ
ในไตรมาสแรกของปี ๒๕๔๔ เศรษฐกิจขยายตัวได้เพียงร้อยละ ๑.๗ เท่านั้น มูลค่า
การส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ ๑.๓ ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมากอยู่ที่ประมาณ ๔๓.๒ บาท
ต่อดอลลาร์สหรัฐ หนี้สาธารณะสูงถึงร้อยละ ๕๕.๙ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
จำนวนคนว่างงานยังคงสูงถึง ๑.๒ ล้านคน และจำนวนคนจนมีมากถึง ๘.๙ ล้านคน จึงมี
ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเอาใจใส่และทุ่มเทเป็นพิเศษในการบริหารให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ในช่วงที่เป็นรัฐบาลในสมัยแรกได้ปรับแนวคิดในการแก้ไขปัญหาของประเทศ
โดยดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์คู่ขนาน กล่าวคือ ให้ความสำคัญแก่การกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในระดับรากหญ้าและสังคมผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่
โดยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่ภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยคำนึงถึงการสร้าง
เสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ และมุ่งเน้นการบริหารการเงินการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินนโยบายของรัฐบาลตลอดสี่ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้เศรษฐกิจ
ขยายตัวสูงถึงร้อยละ ๖.๙ และร้อยละ ๖.๑ ในปี ๒๕๔๖ และ ๒๕๔๗ ตามลำดับ ค่าเงินบาท
มีเสถียรภาพมากขึ้นที่ระดับประมาณ ๔๐ บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูง
ถึงร้อยละ ๒๓ ในปี ๒๕๔๗ อันเนื่องมาจากการเจรจาเปิดการค้าเสรีกับหลายประเทศ และ
การพัฒนาศักยภาพใหม่ให้แก่ภาคบริการที่มีความได้เปรียบจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
การลงทุนของเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕.๓ ในปี ๒๕๔๗ หนี้สาธารณะลดลงเหลือประมาณ
ร้อยละ ๔๗.๘ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ และทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก
เป็นประวัติการณ์ที่ระดับ ๔๙,๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่าสี่เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้สร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ได้ง่ายขึ้น ก่อให้เกิดการกระจายเม็ดเงินลงทุน ตลอดจนการสร้างงานและรายได้ในระดับรากหญ้า
ในขณะที่ทางด้านสังคม ประชาชนได้รับหลักประกันสุขภาพสูงถึงร้อยละ ๙๕.๔ เพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ ๗๘.๒ ในปี ๒๕๔๓ ทั้งนี้เนื่องมาจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค
และประชาชนมีงานทำเพิ่มขึ้น ๓.๖ ล้านคนในช่วง ๔ ปี จำนวนคนยากจนลดลงเหลือ ๖ ล้านคน
อันเนื่องมาจากการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินและแหล่งความรู้เพื่อสร้างงานและสร้างอาชีพ
จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้นจาก ๗.๒ ในปี ๒๕๔๓ เป็น ๘.๑ ในปี ๒๕๔๗ เพราะ
การขยายโอกาสทางการศึกษาและ ผ่อนคลายกฎระเบียบของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
จำนวนคดียาเสพติดลดลงจาก ๔๒๐.๗ ในปี ๒๕๔๓ เหลือ ๑๑๖.๕ ต่อประชากรแสนคนในปี ๒๕๔๗
เนื่องจากรัฐบาลได้เอาจริงเอาจัง กับการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและผู้ค้ายาเสพติด
นายกรัฐมนตรีขอบคุณประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ไว้วางใจ
ให้รัฐบาลเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต่อเนื่องเป็นสมัยที่สอง ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่น
ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลว่าเดินมาอย่างถูกทิศทาง และการบริหาร
ประเทศมีประสิทธิภาพโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ในระยะสี่ปีที่ผ่านมา การดำเนินนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา
และสร้างโอกาสใหม่ให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งประสบความสำเร็จไปในระดับหนึ่ง
แต่ก็ยังมีปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนิน
นโยบายแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความยากจน
ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
ของประเทศ โดยรัฐบาลจะดูแลคุณภาพคนไทยตั้งแต่แรกเกิดจนสูงอายุ และขจัดยาเสพติด
ผู้มีอิทธิพล และทุจริตคอร์รัปชันให้หมดไปจากสังคมไทย
โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ยังคงมีสัดส่วนไม่สมดุลระหว่าง
ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร โดยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยังเป็นการรับจ้างผลิต
ตามคำสั่ง หรือรูปแบบที่คิดค้นโดยเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ทำให้ต้อง
พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ ทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระดับสูง ประเทศไทยจึงได้
ผลตอบแทนเพียงแค่จากแรงงานและวัตถุดิบเป็นหลักซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อยของห่วงโซ่
การผลิต เข้าลักษณะการ "ทำมากได้น้อย"
ภาคการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังประสบกับความผันผวน
ของราคาพืชผลในตลาดโลกและประสบความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ความ
เสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทั้งดินและน้ำ การขายวัตถุดิบส่งออกให้แก่ต่างประเทศ
และประสบปัญหาการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ในขณะที่ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยว
ยังพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ในการเพิ่มมูลค่า
ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ มิฉะนั้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ
จะนำไปสู่วงจรการขาดดุลการค้าและการแข่งขันด้านราคา อันเป็นข้อจำกัดในการขยายตัว
ของประเทศอย่างยั่งยืน
นอกจากความท้าทายที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมในประเทศเหล่านี้ รัฐบาล
ยังต้องเผชิญกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมโลก อันได้แก่
(๑) การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ซึ่งแนวโน้มการเปิดเสรีการค้า
ของประเทศต่าง ๆ จะทำให้ประเทศไทยมีโอกาสในการขยายการส่งออก
การท่องเที่ยวและการลงทุนมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก
ดังนั้น เราจึงต้องรู้เท่าทันและเตรียมรับมือจากการขับเคลื่อนอย่างเสรีของข่าวสารความรู้
เทคโนโลยี แรงงานและประชากร เงินทุน การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อนำมาใช้
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(๒) ความไม่สมดุลในเศรษฐกิจโลกและการเก็งกำไร ที่อาจส่งผลต่อความผันผวน
ของอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าในตลาดโลก
(๓) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด เนื่องจาก
การพัฒนาของเทคโนโลยีหลักทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ
และนาโนเทคโนโลยี ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
(๔) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม อันเนื่องมาจากโครงสร้างประชากรของโลกที่เข้า
สู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น การขยายตัวของสังคมเมือง รวมทั้งการรับรู้และแลกเปลี่ยนในวิถีชีวิตและ
วัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่มีต่อกระบวนการ ในการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์และอนาคตของประเทศ และ
(๕) ความผันผวนที่อาจมีผลกระทบ เช่น สถานการณ์การเมืองและ
ความมั่นคงในโลก การระบาดของโรคอุบัติใหม่ ยาเสพติดในรูปแบบที่หลากหลาย
ความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศที่นำไปสู่ภัยธรรมชาติ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้จำเป็นต้อง
วางมาตรการป้องกันและแก้ไขทั้งในระดับชาติและนานาชาติเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ
ที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจและวิถีชีวิตในสังคมไทย
อนึ่ง รัฐบาลตระหนักดีว่าการบริหารประเทศที่เผชิญความท้าทายเหล่านี้
จำเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์และการวางแผนที่ดี ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ การมีตัวบท
กฎหมายตลอดจนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เพียงพอ เป็นธรรม และทันสมัย และ
ความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใสในการปฏิบัติราชการทุกระดับ ตลอดจนการมีส่วนร่วมจาก
ทุกภาคส่วนที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ
สี่ปีข้างหน้าต่อไปนี้จะเป็นสี่ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนในทุกทาง
รัฐบาลจะสร้างโอกาสเพื่ออนาคต วางรากฐานใหม่ให้แก่ประเทศ
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง โดยเน้นการคืนความเข้มแข็งสู่ท้องถิ่น
คืนความสมบูรณ์ของดินและน้ำสู่ธรรมชาติ และคืนอำนาจการตัดสินปัญหาสู่ชุมชน โดยให้ความสำคัญ
แก่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ระบบเศรษฐกิจ
ปฏิรูปการศึกษาเพื่อนำไปสู่สังคมเศรษฐกิจบนฐานความรู้ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตามแนวพระราชดำริ เพื่อนำประเทศไปสู่โครงสร้างที่มี
ความสมดุล มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน โดยรัฐบาลจะดำเนินนโยบายเก้าประการ ดังต่อไปนี้
๑. นโยบายขจัดความยากจน
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายและมาตรการในการขจัดความยากจนของประเทศ
ให้หมดสิ้นไป โดยปรับปรุงระบบบริหารจัดการทั้งระบบ เชื่อมโยงการแก้ไขความยากจน
ทุกระดับ ตั้งแต่ บุคคล ชุมชน และประเทศ ตลอดจนสร้างกลไกที่เชื่อมโยงให้คนยากจน
ในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ในระดับบุคคล รัฐบาลจะเน้นการขยายโอกาส สร้างรายได้ ลดรายจ่าย
เพิ่มช่องทางการเข้าถึงทุน ซึ่งรวมถึง เงินทุน กรรมสิทธิ์ที่ดิน และองค์ความรู้ โดยเร่งรัด
การกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขยายโอกาสการเข้าสู่ทุนผ่านระบบการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
รวมทั้งส่งเสริมระบบสหกรณ์และกระบวนการเรียนรู้ในการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ทั้งนี้
รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงรุก โดยจัดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่
แก้ปัญหาความยากจนที่เรียกว่า "คาราวานแก้จน" เพื่อให้คำแนะนำและบริการต่าง ๆ
ในการประกอบอาชีพและเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ
ในระดับชุมชน รัฐบาลจะดำเนินการเสริมสร้างขบวนการชุมชนเข้มแข็งและ
ให้คนยากจนสามารถเชื่อมโยงประโยชน์จากปัจจัยแวดล้อมระดับมหภาคไปถึงคนจน
ในชุมชน รัฐบาลจะพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรในระดับชุมชน เช่น โรงสีชุมชน
โรงปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ชุมชน ซึ่งจะต้องจัดให้มีทั่วถึงทุกอำเภอ และสหกรณ์เครื่องจักรกล
เกษตรขั้นพื้นฐาน การสร้างระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าเกษตร และระบบการตลาดสินค้า
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นจะพัฒนาระบบการเงินที่สนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากจากกองทุน
หมู่บ้านที่มีความพร้อมสู่ธนาคารหมู่บ้านที่ให้โอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน อย่างยั่งยืน รัฐบาลเห็นว่า
ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นพลังสำคัญในการต่อสู้ความยากจน
ดังนั้น รัฐบาลจะได้จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (Small Medium Large: SML)
ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถใช้บริหารแก้ไขปัญหาของตนเอง
ในระดับประเทศ รัฐบาลจะส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินอย่างทั่วถึงและพอเพียง
เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในระยะยาวได้ โดยบริหารการใช้ที่ดิน
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพดิน รัฐบาลจะเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการทรัพยากรน้ำ จัดหาและจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับความเหมาะสมของพื้นที่และ
ความต้องการในระบบการผลิตของเกษตรกรอย่างทั่วถึง และจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ
(Special Purpose Vehicles: SPV) เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการด้านการผลิต การแปรรูป
การตลาด และแหล่งทุน เพื่อลดความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร จัดตั้งระบบการบริหารจัดการ
สินค้าเกษตรรายผลิตภัณฑ์ เพื่อเน้นการสร้างเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตรที่ให้
ผลตอบแทนต่อเกษตรกรอย่างเป็นธรรม รวมทั้งจะขยายขอบเขตการประกันสังคมให้
ครอบคลุมแรงงานนอกระบบและแรงงานในภาคเกษตรอีกด้วย
๒. นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
เป้าหมายของการพัฒนาคือการทำให้คนมีความสุข ซึ่งจะต้องประกอบด้วย
การมีสุขภาพแข็งแรง ครอบครัวที่อบอุ่น มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีสังคมที่สันติและเอื้ออาทร
รัฐบาลจึงถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะต้องพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ รวมถึงอนุรักษ์
ส่งเสริมทุนทางสังคมที่เข้มแข็งของประเทศไทยซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจ
มีความมั่นคงและยั่งยืนได้
รัฐบาลจะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มี
ความรู้และจริยธรรม เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิด โดยให้ความสำคัญแก่การสร้างสภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสม ครอบครัวที่อบอุ่น และสถานศึกษาที่เอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดด้วยการ
ปลูกฝังความรู้ที่ทันโลกและคุณค่าที่ดีของวัฒนธรรมไทย สร้างความเข้าใจให้แก่พ่อแม่
ถึงวิธีการดูแลบุตรที่ถูกต้องตามระดับการพัฒนาของสมองด้วยหน่วยบริการเคลื่อนที่เข้าถึงตัว
ซึ่งเรียกว่า "คาราวานเสริมสร้างเด็ก"
รัฐบาลจะส่งเสริมบทบาทของคณะสงฆ์ วงการศาสนา กิจกรรมลูกเสือ
เนตรนารี โรงเรียน และครอบครัวที่ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ตลอดจนสนับสนุนให้
สื่อมวลชนร่วมมีบทบาทในด้านเหล่านี้ยิ่งขึ้น และจะจัดให้มีสถานที่เพื่อการปฏิบัติธรรม และความสงบ
ร่มเย็นทางจิตใจในทำนองเดียวกับพุทธมณฑลให้ครอบคลุมทั่วราชอาณาจักร
รัฐบาลจะเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอน
ทุกรูปแบบสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และสนับสนุน
ให้มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยคำนึงถึงคุณค่าของ
ลักษณะเฉพาะและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รัฐบาลจะส่งเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือ
อย่างจริงจังตั้งแต่เด็กจนตลอดชีวิต เพื่อรองรับสังคมเศรษฐกิจบนฐานความรู้ พัฒนาทักษะและ
การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในช่วงวัยทำงานอย่างเป็นระบบ และพัฒนามาตรฐาน
วิชาชีพของแรงงาน เยาวชนไทยทุกคนจะได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างน้อย ๑๒ ปี
รัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (Income Contingency Loans: ICL)
สนับสนุนการศึกษาของเยาวชนตั้งแต่ ปวส. ถึงอุดมศึกษา โดยรัฐจะให้โอกาส
ในการศึกษาก่อนและผ่อนชำระเมื่อมีรายได้
รัฐบาลตระหนักดีว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อ
การเรียนรู้ในระบบและนอกระบบ ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อให้สังคมไทยเป็น
สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาความรู้ และเป็นสังคมที่
ประชาชนมีความสุข สนุกสนานกับการหาประสบการณ์และความรู้ใหม่ ๆ ดังนั้น รัฐบาลจะ
ร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อสร้างแหล่งบริการองค์ความรู้ให้กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
อย่างสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น อาทิ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยาน
การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนา
ด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติกและผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ
ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งจะดำเนินการเชื่อมเครือข่าย
ความรู้ของทุกโรงเรียนเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ รัฐบาลจะพิจารณา
สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่ให้แก่ภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการเหล่านี้
รัฐบาลจะสนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงอุดมศึกษา เช่น การเพิ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ การให้สถาบันวิจัย
มีส่วนร่วมในการผลิตบุคลากรระดับปริญญาโทและเอก เป็นต้น จะผลักดันให้ประชาชน
มีความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียิ่งขึ้น
รัฐบาลจะสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีชื่อเสียงสามารถระดมทุนเองได้ เพื่อสร้างเครือข่าย
ของโรงเรียน และเป็นพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีความต้องการ
ร่วมสร้างคุณภาพการศึกษา รวมทั้งจัดตั้งเขตปลอดอบายมุขรอบสถานศึกษา โดยผลักดัน
กฎหมายและมาตรการเพื่อให้อบายมุข ยาเสพติด และสิ่งยั่วยุทางเพศ อยู่ห่างไกลจาก
เยาวชน
นโยบายทางด้านวัฒนธรรม ในอีกสี่ปีต่อไปนี้จะเน้นที่การส่งเสริมให้วัยรุ่นไทยเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
รักชาติในทางที่ถูก มีคุณธรรมเอื้ออาทรต่อผู้อื่น และเข้าใจถึงคุณค่า ซาบซึ้งในความสุนทรีย์ของศิลปะ
เพื่อก่อให้เกิดศิลปินรุ่นใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์งานศิลป์
ได้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดย (๑) จัดหาพื้นที่ถาวรทางศิลปะประเภทต่าง ๆ ให้เด็ก
และเยาวชนได้เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และเป็นเวทีพบปะศิลปิน (๒) ส่งเสริม
สนับสนุน และให้ทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพหรือส่อแววด้านศิลปะ
(๓) ส่งเสริมให้เกิดการประกวด แข่งขันผลงานศิลปะหลากหลายประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่น
ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อค้นหาศิลปินรุ่นใหม่ และ (๔) ประสานกับหน่วยงาน
ทางการศึกษา เพื่อจัดหาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ศิลปะอย่างสร้างสรรค์
ในด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชน รัฐบาลจะเพิ่มคุณภาพของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาท
และปฏิรูประบบบริหารจัดการสาธารณสุขที่มี
ประสิทธิภาพและครบวงจร ทั้งการซ่อม สร้าง และเสริมสุขภาพ โดยปรับระบบบริการ
ทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
การนำมาตรการภาษีการบริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาใช้กระตุ้นการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมบุคคลให้ ลด ละ และเลิก พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ และนำรายได้จากภาษี
ดังกล่าวมาส่งเสริมกิจกรรมสุขภาพและสังคม รัฐบาลจะปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์
และสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน
รวมทั้งจะจัดตั้งศูนย์ศึกษาและวิจัยทางการแพทย์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่
รัฐบาลจะส่งเสริมการกีฬาเพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะทางด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศ
ที่จะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ สร้างนิสัยรักการกีฬาและใช้เวลาว่าง
ให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นและมั่วสุมกับสิ่งอบายมุขและยาเสพติด รวมทั้ง
ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสออกกำลังกายโดยการเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี
ในด้านความมั่นคงของชีวิตและสังคม รัฐบาลจะสนับสนุนให้ประชาชนมีความมั่นคงในการเป็น
เจ้าของที่อยู่อาศัย ทั้งในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการที่อยู่อาศัยราคาถูกจากโครงการของรัฐ
และในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยโดยผ่อนชำระ
แต่ยังขาดระบบเงินกู้ระยะยาวในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมอย่างพอเพียง และโดยมาตรการ
คุ้มครองผู้บริโภค นอกจากการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยแล้ว รัฐบาลจะพัฒนาสภาพแวดล้อม
ในชุมชนให้น่าอยู่ เช่น การมีสวนสุขภาพในชุมชน เป็นต้น
รัฐบาลจะดำเนินการต่อเนื่องอย่างจริงจังที่จะปราบปรามผู้มีอิทธิพลและ
ยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย โดยยังคงยึดหลักการ "ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษา
ส่วนผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
ของชุมชนควบคู่กับมาตรการปราบปรามทางกฎหมาย และตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของ
ผู้มีอิทธิพลในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการค้ายาเสพติด การตัดไม้ทำลายป่า การค้ามนุษย์
และการเป็นเจ้ามือการพนัน เป็นต้น
รัฐบาลจะสร้างหลักประกันความเสมอภาคและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้เด็กและสตรี
โดยจะขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป ขจัดการเลือกปฏิบัติและ
การละเมิดสิทธิเด็กและสตรีในทุกรูปแบบและอย่างเด็ดขาด รวมทั้งส่งเสริมความรู้และอาชีพ
ให้สตรีสามารถพึ่งพาตนเองได้
สำหรับการเตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ จะยึดหลักการให้
ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นผู้สูงอายุ
ที่มีสุขภาพดี ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสร้างหลักประกันด้านรายได้และระบบการออมใน
ช่วงวัยทำงานที่เพียงพอสำหรับช่วงวัยชรา สร้างพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย
สนับสนุนครอบครัวให้เข้มแข็งสามารถดูแลสมาชิกได้อย่างมีคุณภาพ ยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับผู้มีอายุเกิน ๖๕ ปี และส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนา
ประเทศโดยระบบคลังสมอง
รัฐบาลจะสร้างความสุขให้คนกรุงเทพฯ ด้วยนโยบายกรุงเทพฯ แข็งแรงและ
น่าอยู่ โดยเร่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีโรงเรียนใกล้บ้าน มีความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน และเดินทางสะดวกสบาย โดยปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทาง
และพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดการใช้
น้ำมันเชื้อเพลิง และลดมลภาวะ
๓. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้
สิ่งที่ท้าทายในอนาคตมิได้มีเพียงแต่การรักษาให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างพอเพียง
ต่อการจ้างงานและสร้างรายได้ แต่ที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ให้มีคุณภาพ ที่สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืน กระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง
และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้น ในช่วงสี่ปีต่อไป
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง
รัฐบาลจะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งระบบโดยมุ่งไปสู่การเพิ่มมูลค่า
ผลผลิตบนพื้นฐานความรู้และความเป็นไทย โดยผนวกฐานทรัพยากรธรรมชาติ
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทย เข้ากับการสร้างผู้ประกอบการใหม่ การบริหาร
จัดการที่ดี การใช้นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ การสร้างตราสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับ และการ
จัดระบบการตลาดให้มีการผลิตและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกเพื่อ
การขยายตัวอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต
ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร รัฐบาลจะสนับสนุนการเพิ่มมูลค่า
ให้แก่สินค้าเกษตร โดยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
ควบคู่ไปกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และกระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนในการเพิ่มมูลค่า
สินค้า โดยให้ความสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และนำผลผลิตเกษตร
ไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง การผลิตสินค้าเกษตรที่มี