ศูนย์ข่าวขอนแก่น-นักวิชาการม.ขอนแก่น พบไหมอีรี่ แมลงเศรษฐกิจ ที่มีศักยภาพสูงเชิงพาณิชย์ พบเส้นใยไหมทอเป็นผ้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตรงความต้องการของกลุ่มไฮโซ ดันส่งออกทั่วโลก ขณะที่ตัวอ่อนทั้งดักแด้ และหนอน แปรรูปเป็นอาหาร ทอดกรอบ คล้ายหนอนรถด่วน ชี้มีบริษัทเอกชนสนใจแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว แนะส่งเสริมชาวไร่มันฯ ในภาคอีสานเลี้ยงเสริมรายได้ พร้อม เตรียมตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาไหมป่า หวังพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยยั่งยืน
อุตสาหกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ในประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแหล่งเลี้ยงไหมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมมากถึงประมาณ 150,000 ครัวเรือน โดยพันธุ์ที่เลี้ยงคือ ไหมบ้านพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ผสมต่างประเทศ ที่หน่วยงานรัฐให้การส่งเสริมมายาวนาน ขณะที่ไหมป่า ยังไม่มีการเลี้ยงอย่างจริงจัง ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่า ไหมป่า เป็นไหมอีกชนิดที่มีคุณสมบัติเด่นเหมาะที่จะส่งเสริมเลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรม
รศ.ดร.ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผย "ผู้จัดการ" ถึงผลงานวิจัยด้านกีฏวิทยาว่า ภาควิชากีฏวิทยา ได้ศึกษาวิจัยไหมอีรี่ ซึ่งเป็นไหมป่าพันธุ์หนึ่ง ต้นกำเนิดพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย โดยคณะผู้วิจัยศึกษามาตั้งแต่ปี 2534 ได้วิจัยและพัฒนาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน กระทั่งสรุปได้ว่า ไหมอีรี่เป็นแมลงเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่ศักยภาพเชิงพาณิชย์สูง
จากการศึกษาคุณสมบัติของไหมอีรี่ พบคุณสมบัติโดดเด่นหลายประการ สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับคน และปลาสวยงาม จากตัวดักแด้ และตัวหนอน ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จากเส้นใยไหม เมื่อทอเป็นผ้าไหม มีเอกลักษณ์ โดดเด่น สวยงามเหมือนผ้าขนสัตว์ เนื้อผ้านุ่ม เบาเหมือนผ้าฝ้าย ตรงกับความต้องการ
ชี้ผ้าไหมมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
จับตลาดระดับบนเน้นส่งออก
"เส้นใยจากดักแด้ไหมอีรี่ เมื่อนำไปทอเป็นผืนผ้า พบว่า มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผ้าทอที่ได้จากเส้นไหมที่ผลิตจากไน สามารถให้ผ้าที่มีลายเฉพาะตัว สวยคลาสสิก ลักษณะคล้ายทำจากขนสัตว์ น้ำหนักอยู่ตัว แต่เบา เมื่อทอร่วมกับเส้นใยชนิดอื่น ยังทำให้สวยแปลกตา สามารถซัก รีด ดูแลรักษาง่าย อีกทั้งมีความทนทานกว่าไหมบ้าน"รศ.ดร.ศิวิลัยกล่าวและว่า
ส่วนผ้าทอจากเส้นที่ได้จากการสาวไหม พบว่าเนื้อผ้าที่ได้มีความนุ่ม สวยแปลกตา สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ระดับบน (high end) ได้อย่างลงตัว เนื่องจากจุดเด่นคุณสมบัติของเส้นไหมที่ได้ ตรงกับกระแสความต้องการตลาด กระบวนการเลี้ยงจนทอเป็นผ้า ไม่ใช้สารเคมี สามารถชูจุดขายเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Green product) กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดญี่ปุ่น และตลาดสหภาพยุโรป เช่น เยอรมัน ที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติในระดับสูง
นอกจากนี้ ไหมอีรี่ยังมีความพิเศษ ที่มีรังไหมแบบเปิด ตัวไหมสามารถเจาะรังไหมออกมาได้ การผลิตเส้นไหม ไม่จำเป็นต้องฆ่าดักแด้ เป็นอีกจุดเด่นของผ้าไหมที่ได้จากไหมอีรี่ เป็นจุดขาย สื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ไหมที่ต้องการผ้าไหมที่มีความบริสุทธิ์ ไม่ทำลายชีวิตสัตว์อื่น
หนอน-ดักแด้สุดยอดอาหารเลิศรส
รศ.ดร.ศิวิลัย กล่าวต่อว่า ตัวอ่อนดักแด้ และหนอนไหม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะโปรตีน มีสูงถึง 66% สูงกว่าไหมบ้านที่มีโปรตีน 54-56% อีกทั้งมีกรดไฮโดรไซยานิกต่ำ อยู่ในระดับปลอดภัยต่อการบริโภค เหมาะที่จะนำมาทอดกรอบ บริโภค ในลักษณะคล้ายหนอนรถด่วน จากเยื่อไม้ไผ่ ที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ
คุณสมบัติเด่นของรสชาติ ไหมอีรี่ และคุณค่าทางโภชนาการ ขณะที่ต่างประเทศ นำตัวหนอนไหม ใช้เป็นอาหารคนและสัตว์มานานแล้ว ลู่ทางการผลิตเป็นอาหารส่งออก จึงเป็นไปได้สูง ขณะนี้มีบริษัท เอกชน ติดต่อมาที่ภาควิชากีฏวิทยา แสดงความสนใจที่จะนำดักแด้ และตัวหนอนไหมอีรี่ ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร หนอนทอดกรอบ บรรจุกระป๋อง ส่งจำหน่ายต่างประเทศ
ทั้งนี้การนำตัวอ่อนดักแด้ และหนอนไหม ไปแปรรูปเป็นอาหารกระป๋องส่งออกนั้น จะต้องใช้วัตถุดิบไม่น้อยกว่า 100,000 กิโลกรัม/เดือน จึงจะเพียงพอต่อการผลิตเบื้องต้น ขณะที่การเลี้ยงไหมอีรี่ เป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย ยังไม่มีเกษตรกรเลี้ยงไหมพันธุ์นี้อย่างจริงจัง ต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมเลี้ยงไหมอีรี่เชิงอุตสาหกรรมให้เพียงพอกับการแปรรูปด้วย
ล่าสุด คณะผู้วิจัยได้จดสิทธิบัตรเป็นอาหารคนในหลายๆตำรับ คือ "ด่วน มข." ผลิตภัณฑ์ตัวหนอนไหมอีรี่ทอดกรอบ และ "แซ่บ มข." ผลิตภัณฑ์ดักแด้ทอดกรอบ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิด มีรสชาติอร่อย กรอบ มัน เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่โดดเด่น ทดลองให้ผู้บริโภคแมลงชิมจำนวนมาก สร้างความประทับใจในรสชาติ กับผู้ที่ลิ้มลองมาแล้ว
ต้นทุนต่ำเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี
แนะส่งเสริมชาวไร่มันอีสาน
อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา กล่าวต่อว่า แนวทางการเลี้ยงไหมอีรี่ ในเชิงอุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้น มีความเป็นไปได้ เนื่องจาก ไหมอีรี่เลี้ยงง่าย มีความทนต่อโรคสูง ทนแมลงศัตรู ให้อาหารเพียง 1 มื้อ/วัน ขณะที่ไหมบ้านต้องให้อาหารถึง 3 มื้อ/วัน จึงประหยัดแรงงาน และต้นทุนเลี้ยงลงได้มาก โดยรูปแบบการเลี้ยง สามารถใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นลักษณะเดียวกับเลี้ยงไหมบ้าน
ไหมอีรี่สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี แม้กระทั่งในฤดูร้อน เพราะไหมอีรี่มีพืชอาหารหลายชนิด อาทิ ละหุ่ง ใบมันสำปะหลัง อ้อยช้าง ฯลฯ ขณะที่ไหมบ้านต้องเลี้ยงด้วยใบหม่อน มักขาดแคลนในฤดูร้อน
"การส่งเสริมเกษตรกรในภาคอีสาน โดยเฉพาะชาวไร่มันสำปะหลัง เป็นแนวทางเหมาะสมที่สุด เนื่องจากภาคอีสานเป็นแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังใหญ่ที่สุดของประเทศ จากการศึกษา การเก็บใบมันสำปะหลังที่ถูกวิธีไม่เกิน 30% ของปริมาณใบทั้งหมด เมื่อมันมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป จะทำให้ผลผลิตหัวมันเพิ่ม เป็นการเสริมรายได้ทั้งในแง่ผลผลิตมันและรายได้จากการขายเส้นไหมและตัวอ่อนดักแด้และหนอนไหม"รศ.ดร.ศิวิลัยกล่าวและว่า
ประกอบกับมันสำปะหลัง เป็นพืชพลังงานทดแทน ที่ภาครัฐส่งเสริมปลูก ป้อนวัตถุดิบหัวมันให้กับโรงงานผลิตเอทานอล ขณะนี้มี 1 โรงงานตั้งอยู่ที่กิ่งอ.โนนศิลา จังหวัดขอนแก่นแล้ว และมีลู่ทางที่จะตั้งโรงงานเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นในภาคอีสานจึงมีพืชอาหารของไหมอีรี่อุดมสมบูรณ์
เตรียมตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาไหมอีรี่ต่อ
นอกจากคุณสมบัติเด่นของเส้นใยและตัวอ่อนของไหมอีรี่แล้ว แม้แต่รังไหม การศึกษาวิจัยในเบื้องต้น พบรายงานว่ามีกรดอะมิโนแอซิดบางชนิดที่ดี สามารถนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ ขณะนี้นักวิจัยกำลังให้ความสนใจศึกษาคุณสมบัติเด่นทั้งสองแนวทางนี้เช่นกัน
ไหมอีรี่มีคุณสมบัติเด่นที่น่าสนใจอีกมาก ที่ต้องศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง ดังนั้นรศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เห็นความสำคัญกับการศึกษาค้นคว้า จึงให้การสนับสนุนเพื่อให้มีการจัดตั้งสถาบันพัสตราภรณ์ และศูนย์วิจัยเฉพาะทาง "ศูนย์วิจัยและพัฒนาไหมป่า" ขึ้นมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้ง
บทบาทของศูนย์วิจัยดังกล่าว จะทำหน้าที่หลักในการรับผิดชอบ ให้คำปรึกษา แนะนำฝึกอบรม กลุ่มแม่บ้านสตรีทอผ้าไหมและอุตสาหกรรมผ้าไหม รวมทั้งดำเนินการวิจัยและพัฒนาผ้าไหมในประเทศไทย ให้สามารถรองรับและขยายผลพระราชกรณียกิจขององค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์อย่างยั่งยืน
อีกทั้งเพื่อดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ จากเส้นใยชนิดอื่น และการประยุกต์ใช้เป็นอาภรณ์ เครื่องประดับ และแฟชั่น ตลอดจนมีนโยบายในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องขึ้นมา เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยในที่สุด
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ในประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแหล่งเลี้ยงไหมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมมากถึงประมาณ 150,000 ครัวเรือน โดยพันธุ์ที่เลี้ยงคือ ไหมบ้านพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ผสมต่างประเทศ ที่หน่วยงานรัฐให้การส่งเสริมมายาวนาน ขณะที่ไหมป่า ยังไม่มีการเลี้ยงอย่างจริงจัง ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่า ไหมป่า เป็นไหมอีกชนิดที่มีคุณสมบัติเด่นเหมาะที่จะส่งเสริมเลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรม
รศ.ดร.ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผย "ผู้จัดการ" ถึงผลงานวิจัยด้านกีฏวิทยาว่า ภาควิชากีฏวิทยา ได้ศึกษาวิจัยไหมอีรี่ ซึ่งเป็นไหมป่าพันธุ์หนึ่ง ต้นกำเนิดพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย โดยคณะผู้วิจัยศึกษามาตั้งแต่ปี 2534 ได้วิจัยและพัฒนาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน กระทั่งสรุปได้ว่า ไหมอีรี่เป็นแมลงเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่ศักยภาพเชิงพาณิชย์สูง
จากการศึกษาคุณสมบัติของไหมอีรี่ พบคุณสมบัติโดดเด่นหลายประการ สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับคน และปลาสวยงาม จากตัวดักแด้ และตัวหนอน ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จากเส้นใยไหม เมื่อทอเป็นผ้าไหม มีเอกลักษณ์ โดดเด่น สวยงามเหมือนผ้าขนสัตว์ เนื้อผ้านุ่ม เบาเหมือนผ้าฝ้าย ตรงกับความต้องการ
ชี้ผ้าไหมมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
จับตลาดระดับบนเน้นส่งออก
"เส้นใยจากดักแด้ไหมอีรี่ เมื่อนำไปทอเป็นผืนผ้า พบว่า มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผ้าทอที่ได้จากเส้นไหมที่ผลิตจากไน สามารถให้ผ้าที่มีลายเฉพาะตัว สวยคลาสสิก ลักษณะคล้ายทำจากขนสัตว์ น้ำหนักอยู่ตัว แต่เบา เมื่อทอร่วมกับเส้นใยชนิดอื่น ยังทำให้สวยแปลกตา สามารถซัก รีด ดูแลรักษาง่าย อีกทั้งมีความทนทานกว่าไหมบ้าน"รศ.ดร.ศิวิลัยกล่าวและว่า
ส่วนผ้าทอจากเส้นที่ได้จากการสาวไหม พบว่าเนื้อผ้าที่ได้มีความนุ่ม สวยแปลกตา สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ระดับบน (high end) ได้อย่างลงตัว เนื่องจากจุดเด่นคุณสมบัติของเส้นไหมที่ได้ ตรงกับกระแสความต้องการตลาด กระบวนการเลี้ยงจนทอเป็นผ้า ไม่ใช้สารเคมี สามารถชูจุดขายเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Green product) กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดญี่ปุ่น และตลาดสหภาพยุโรป เช่น เยอรมัน ที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติในระดับสูง
นอกจากนี้ ไหมอีรี่ยังมีความพิเศษ ที่มีรังไหมแบบเปิด ตัวไหมสามารถเจาะรังไหมออกมาได้ การผลิตเส้นไหม ไม่จำเป็นต้องฆ่าดักแด้ เป็นอีกจุดเด่นของผ้าไหมที่ได้จากไหมอีรี่ เป็นจุดขาย สื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ไหมที่ต้องการผ้าไหมที่มีความบริสุทธิ์ ไม่ทำลายชีวิตสัตว์อื่น
หนอน-ดักแด้สุดยอดอาหารเลิศรส
รศ.ดร.ศิวิลัย กล่าวต่อว่า ตัวอ่อนดักแด้ และหนอนไหม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะโปรตีน มีสูงถึง 66% สูงกว่าไหมบ้านที่มีโปรตีน 54-56% อีกทั้งมีกรดไฮโดรไซยานิกต่ำ อยู่ในระดับปลอดภัยต่อการบริโภค เหมาะที่จะนำมาทอดกรอบ บริโภค ในลักษณะคล้ายหนอนรถด่วน จากเยื่อไม้ไผ่ ที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ
คุณสมบัติเด่นของรสชาติ ไหมอีรี่ และคุณค่าทางโภชนาการ ขณะที่ต่างประเทศ นำตัวหนอนไหม ใช้เป็นอาหารคนและสัตว์มานานแล้ว ลู่ทางการผลิตเป็นอาหารส่งออก จึงเป็นไปได้สูง ขณะนี้มีบริษัท เอกชน ติดต่อมาที่ภาควิชากีฏวิทยา แสดงความสนใจที่จะนำดักแด้ และตัวหนอนไหมอีรี่ ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร หนอนทอดกรอบ บรรจุกระป๋อง ส่งจำหน่ายต่างประเทศ
ทั้งนี้การนำตัวอ่อนดักแด้ และหนอนไหม ไปแปรรูปเป็นอาหารกระป๋องส่งออกนั้น จะต้องใช้วัตถุดิบไม่น้อยกว่า 100,000 กิโลกรัม/เดือน จึงจะเพียงพอต่อการผลิตเบื้องต้น ขณะที่การเลี้ยงไหมอีรี่ เป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย ยังไม่มีเกษตรกรเลี้ยงไหมพันธุ์นี้อย่างจริงจัง ต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมเลี้ยงไหมอีรี่เชิงอุตสาหกรรมให้เพียงพอกับการแปรรูปด้วย
ล่าสุด คณะผู้วิจัยได้จดสิทธิบัตรเป็นอาหารคนในหลายๆตำรับ คือ "ด่วน มข." ผลิตภัณฑ์ตัวหนอนไหมอีรี่ทอดกรอบ และ "แซ่บ มข." ผลิตภัณฑ์ดักแด้ทอดกรอบ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิด มีรสชาติอร่อย กรอบ มัน เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่โดดเด่น ทดลองให้ผู้บริโภคแมลงชิมจำนวนมาก สร้างความประทับใจในรสชาติ กับผู้ที่ลิ้มลองมาแล้ว
ต้นทุนต่ำเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี
แนะส่งเสริมชาวไร่มันอีสาน
อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา กล่าวต่อว่า แนวทางการเลี้ยงไหมอีรี่ ในเชิงอุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้น มีความเป็นไปได้ เนื่องจาก ไหมอีรี่เลี้ยงง่าย มีความทนต่อโรคสูง ทนแมลงศัตรู ให้อาหารเพียง 1 มื้อ/วัน ขณะที่ไหมบ้านต้องให้อาหารถึง 3 มื้อ/วัน จึงประหยัดแรงงาน และต้นทุนเลี้ยงลงได้มาก โดยรูปแบบการเลี้ยง สามารถใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นลักษณะเดียวกับเลี้ยงไหมบ้าน
ไหมอีรี่สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี แม้กระทั่งในฤดูร้อน เพราะไหมอีรี่มีพืชอาหารหลายชนิด อาทิ ละหุ่ง ใบมันสำปะหลัง อ้อยช้าง ฯลฯ ขณะที่ไหมบ้านต้องเลี้ยงด้วยใบหม่อน มักขาดแคลนในฤดูร้อน
"การส่งเสริมเกษตรกรในภาคอีสาน โดยเฉพาะชาวไร่มันสำปะหลัง เป็นแนวทางเหมาะสมที่สุด เนื่องจากภาคอีสานเป็นแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังใหญ่ที่สุดของประเทศ จากการศึกษา การเก็บใบมันสำปะหลังที่ถูกวิธีไม่เกิน 30% ของปริมาณใบทั้งหมด เมื่อมันมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป จะทำให้ผลผลิตหัวมันเพิ่ม เป็นการเสริมรายได้ทั้งในแง่ผลผลิตมันและรายได้จากการขายเส้นไหมและตัวอ่อนดักแด้และหนอนไหม"รศ.ดร.ศิวิลัยกล่าวและว่า
ประกอบกับมันสำปะหลัง เป็นพืชพลังงานทดแทน ที่ภาครัฐส่งเสริมปลูก ป้อนวัตถุดิบหัวมันให้กับโรงงานผลิตเอทานอล ขณะนี้มี 1 โรงงานตั้งอยู่ที่กิ่งอ.โนนศิลา จังหวัดขอนแก่นแล้ว และมีลู่ทางที่จะตั้งโรงงานเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นในภาคอีสานจึงมีพืชอาหารของไหมอีรี่อุดมสมบูรณ์
เตรียมตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาไหมอีรี่ต่อ
นอกจากคุณสมบัติเด่นของเส้นใยและตัวอ่อนของไหมอีรี่แล้ว แม้แต่รังไหม การศึกษาวิจัยในเบื้องต้น พบรายงานว่ามีกรดอะมิโนแอซิดบางชนิดที่ดี สามารถนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ ขณะนี้นักวิจัยกำลังให้ความสนใจศึกษาคุณสมบัติเด่นทั้งสองแนวทางนี้เช่นกัน
ไหมอีรี่มีคุณสมบัติเด่นที่น่าสนใจอีกมาก ที่ต้องศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง ดังนั้นรศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เห็นความสำคัญกับการศึกษาค้นคว้า จึงให้การสนับสนุนเพื่อให้มีการจัดตั้งสถาบันพัสตราภรณ์ และศูนย์วิจัยเฉพาะทาง "ศูนย์วิจัยและพัฒนาไหมป่า" ขึ้นมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้ง
บทบาทของศูนย์วิจัยดังกล่าว จะทำหน้าที่หลักในการรับผิดชอบ ให้คำปรึกษา แนะนำฝึกอบรม กลุ่มแม่บ้านสตรีทอผ้าไหมและอุตสาหกรรมผ้าไหม รวมทั้งดำเนินการวิจัยและพัฒนาผ้าไหมในประเทศไทย ให้สามารถรองรับและขยายผลพระราชกรณียกิจขององค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์อย่างยั่งยืน
อีกทั้งเพื่อดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ จากเส้นใยชนิดอื่น และการประยุกต์ใช้เป็นอาภรณ์ เครื่องประดับ และแฟชั่น ตลอดจนมีนโยบายในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องขึ้นมา เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยในที่สุด
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-