ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2547 ยังคงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการ
ขยายตัวจากทางทั้งทางด้านการลงทุนจากทางภาครัฐและการส่งออกในทางการค้าระหว่างประเทศ แม้จะมีปัจจัยทาง
ด้านลบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาไข้หวัดนกภายในภูมิภาค สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชาย
แดนภาคใต้ และภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ใน 6 จังหวัดภายใต้ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง คาดว่าเศรษฐกิจ
ของไทยในปี 2547 จะมีการขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ, 7 ธันวาคม 2547)
ส่วนภาพรวมของภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2547 นั้น ยังคงมีการขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ทางด้านมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดในต่างประเทศ ที่มีมูลค่าการส่ง
ออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน อันมีสาเหตุมาจากการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการภายในประเทศ และการ
แสวงหาตลาดใหม่ๆ และการขยายตลาดไปในประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการส่งเสริมจากทางภาครัฐในการจัดทำ
FTA (Free Trade Area) กับประเทศคู่ค้าใหม่ๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศในตะวันออกกลาง จีน รวม
ถึง ออสเตรเลีย ส่งผลให้สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรรมไม้และเครื่องเรือนมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัย
ภายในประเทศ ยังเป็นแรงเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเตรื่องเรือนภายในประเทศ จะเห็นได้จาก
การขยายตัวในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี
นี้ ส่งผลให้สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2547 อยู่ในทิศทางที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 25.56
ล้านชิ้นปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.56 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงอันมีเหตุผลมาจาก การที่ผู้ประกอบ
การหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตที่เน้นที่คุณภาพของสินค้ามากขึ้น โดยพยายามพัฒนาจากรูปแบบการผลิตในลักษณะ
Mass Products มาเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือเป็นลักษณะ
Branding มากขึ้น ซึ่งจะมุ่งเน้นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ค่อนข้างสูง จะเห็นได้จากมูลค่าในการส่ง
ออกของสินค้าในประเภทอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2547 ที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปี
ก่อน ๆ ประกอบกับความต้องการสินค้าและความนิยมของสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนของไทยในตลาดต่าง
ประเทศ โดยเฉพาะสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนที่ทำมาจากไม้ยางพารา
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
การผลิต 2545 2546 2547 อัตราการขยายตัว (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4* 2546/2547
เครื่องเรือน 8.81 9.01 8.87 7.08 6.48 6.24 7.27 7.19 6.88 5.56 6.71 6.41 -5.96
ทำด้วยไม้
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2547 มี
การขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 21 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกของปีก่อน ด้วยมูลค่าการส่งออก
1,980.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
สามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1). กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน (ตารางกลุ่มที่ 1) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่า
การส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก
1,082.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหรือปี 2546 ประมาณร้อยละ18 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่
มีสัดส่วนการขยายตัวในการส่งออกสูงที่สุดคือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนชิ้นส่วน ในอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับปีที่
แล้วร้อยละ 24 ซึ่งมีตลาดส่งออกสำคัญในกลุ่มสินค้าดังกล่าวนี้ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป
2). กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ (ตารางกลุ่มที่ 2) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของ
มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้
ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดย
มูลค่าการส่งออกในช่วงของปี 2547 มีจำนวน 380.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงปี
2546 ในอัตราร้อยละ 8 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ
3). กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น (ตารางกลุ่มที่ 3) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออก
คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้
ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมี
มูลค่าการส่งออกในปี 2547 ประมาณ 693.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก
ปีก่อนถึงร้อยละ 89 ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวที่ค่อนข้างสูงมาก โดยมีผลิตภัณฑ์ประเภทไม้แปรรูปและไม้
อัด มีสัดส่วนการขยายตัวในมูลค่าการส่งออกที่ค่อนข้างสูง ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น
ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2545 2546 2547 อัตราการขยายตัว (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 2546
/2547
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 188.4 182.9 236.6 218.1 227.3 209 222.6 258.5 256.9 258.1 272.6 294.7 18
1.1 เครื่องเรือนไม้* 130 122.9 165.5 142.4 154.5 129.7 142.1 161.5 163.3 163.9 172.3 188.7 17
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ* 42.6 42.5 51 55 50.8 55.5 55 63.7 63.1 62.1 67.7 71.75 18
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 15.8 17.5 20.1 20.7 22 23.8 25.5 33.3 30.5 32.1 32.6 34.18 24
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 77 83.6 96.3 93.4 87.2 80.7 91.1 91.8 87 88.6 103.1 101.37 8
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 24.7 28.1 31 30.8 26.4 26.2 30.9 27.8 25.3 25.9 30.1 27.79 -2
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 24 23.7 27.8 26.9 27.7 26.7 25.6 28.8 28 28.8 31.3 32.45 11
2.3 กรอบรูปไม้ 20.8 25.2 29.1 27.5 24.1 19.8 24.7 25.4 24 21.9 30.9 29.13 13
2.4 รูปแกะสลัก ฯ ไม้ 7.5 6.6 8.4 8.2 9 8 9.9 9.8 9.7 12 10.8 12.01 21
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 71.2 88.4 87.2 79.6 90.3 93.2 93.2 90.2 109.7 309.7 129.4 144.86 89
3.1 ไม้แปรรูป 21.3 26.1 24.4 27.2 38.7 38 35 34.1 43.7 59.8 49 57.39 44
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 1.9 2.1 2.2 2 2.4 1.3 2 2.4 2.5 2.5 2.1 2.17 14
3.3 ไม้อัด 12.2 14.4 15.5 11.8 10.4 12.7 13.3 14.8 14.3 22 32.5 34.95 103
3.4 Fiber Board 22.6 22.1 23.8 22 22.2 25.1 22.7 23.8 24.8 31.8 28.3 29.65 22
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 13.2 23.7 21.3 16.6 16.6 16.1 20.2 15.1 24.4 17.9 17.5 20.71 18
รวม 336.6 354.9 420.1 391.1 404.8 382.9 406.9 440.5 453.6 480.7 505.1 540.9 21
ที่มา : กรมเจรจากการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้า
วัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในปี 2547 มีมูลค่าการ
นำเข้ารวมกันจำนวน 661.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ในอัตราร้อยละ 32.02 แหล่งนำเข้าที่
สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากพม่า และมาเลเซีย และในส่วนผลิตภัณฑ์
ประเภทไม้หรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2545 2545 2547 อัตราการขยาย
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 2546/2547
1.ไม้ซุง แปรรูปอื่น ๆ 83.1 100.8 96.6 97.8 97.3 104.2 114 104.4 132.7 142.7 130.8 136.9 29.34
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 12.7 14.2 13.1 18.3 17 23.2 19.8 21.5 26.4 28.4 29.1 34.9 45.76
รวม 95.8 115 109.7 116.1 114.3 127.4 133.8 125.9 159.1 171.1 159.9 171.86 32.02
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
3. สรุปและแนวโน้มปี 2548
ในปี 2547 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อ
เนื่อง ทั้งนี้จากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเองและความต้องการโดยการส่งออกไปยังตลาดต่าง
ประเทศที่มีต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีการขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องเรือน
ไม้ของไทยที่ทำมาจากไม้ยางพารา ยังเป็นที่ต้องการอีกมากในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับ
ประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องแหล่งวัตถุดิบที่สามารถหาได้เองภายในประเทศ ทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องวัตถุ
ดิบ แต่อย่างไรก็ตามจากความต้องการไม้ยางพาราในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งของผู้ประกอบการภายในเอง และการสั้งชื้อ
วัตถุดิบดังกล่าวจากประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะประเทศจีนและมาเลเชีย ทำให้ราคาวัตถุดิบไม้ยางพารามีการปรับตัวค่อน
ข้างสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลระทบต่อ
อุตสาหกรรมในอนาคต ทำให้ผู้ประกอบการภายในประเทศต้องปรับตัว นอกจากนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการแสวงหา
ตลาดใหม่ๆ ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องของไทยต่อไปใน
อนาคต และแนวโน้มในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง อัน
เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและแนวโน้มของการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับเหตุการณ์ของภัย
พิบัติของธรรมชาติคลื่นยักษ์ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะออกเฉียงใต้ จะส่ง
ผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง ซึ่งจากผลกระทบดังกล่าวน่าจะทำให้ภาวะอุตสาหกรรมไม้
และเครื่องเรือนภายในประเทศจะต้องชะลอตัวลงบ้างเล็กน้อยตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แต่การฟื้นฟูจากภัยพิบัติดัง
กล่าว เพื่อปรับปรุงบูรณะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ซึ่งจะสร้างอุปสงค์ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมแต่น่าจะเป็น
เพียงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ขยายตัวจากทางทั้งทางด้านการลงทุนจากทางภาครัฐและการส่งออกในทางการค้าระหว่างประเทศ แม้จะมีปัจจัยทาง
ด้านลบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาไข้หวัดนกภายในภูมิภาค สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชาย
แดนภาคใต้ และภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ใน 6 จังหวัดภายใต้ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง คาดว่าเศรษฐกิจ
ของไทยในปี 2547 จะมีการขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ, 7 ธันวาคม 2547)
ส่วนภาพรวมของภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2547 นั้น ยังคงมีการขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ทางด้านมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดในต่างประเทศ ที่มีมูลค่าการส่ง
ออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน อันมีสาเหตุมาจากการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการภายในประเทศ และการ
แสวงหาตลาดใหม่ๆ และการขยายตลาดไปในประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการส่งเสริมจากทางภาครัฐในการจัดทำ
FTA (Free Trade Area) กับประเทศคู่ค้าใหม่ๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศในตะวันออกกลาง จีน รวม
ถึง ออสเตรเลีย ส่งผลให้สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรรมไม้และเครื่องเรือนมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัย
ภายในประเทศ ยังเป็นแรงเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเตรื่องเรือนภายในประเทศ จะเห็นได้จาก
การขยายตัวในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี
นี้ ส่งผลให้สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2547 อยู่ในทิศทางที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 25.56
ล้านชิ้นปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.56 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงอันมีเหตุผลมาจาก การที่ผู้ประกอบ
การหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตที่เน้นที่คุณภาพของสินค้ามากขึ้น โดยพยายามพัฒนาจากรูปแบบการผลิตในลักษณะ
Mass Products มาเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือเป็นลักษณะ
Branding มากขึ้น ซึ่งจะมุ่งเน้นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ค่อนข้างสูง จะเห็นได้จากมูลค่าในการส่ง
ออกของสินค้าในประเภทอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2547 ที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปี
ก่อน ๆ ประกอบกับความต้องการสินค้าและความนิยมของสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนของไทยในตลาดต่าง
ประเทศ โดยเฉพาะสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนที่ทำมาจากไม้ยางพารา
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
การผลิต 2545 2546 2547 อัตราการขยายตัว (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4* 2546/2547
เครื่องเรือน 8.81 9.01 8.87 7.08 6.48 6.24 7.27 7.19 6.88 5.56 6.71 6.41 -5.96
ทำด้วยไม้
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2547 มี
การขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 21 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกของปีก่อน ด้วยมูลค่าการส่งออก
1,980.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
สามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1). กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน (ตารางกลุ่มที่ 1) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่า
การส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก
1,082.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหรือปี 2546 ประมาณร้อยละ18 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่
มีสัดส่วนการขยายตัวในการส่งออกสูงที่สุดคือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนชิ้นส่วน ในอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับปีที่
แล้วร้อยละ 24 ซึ่งมีตลาดส่งออกสำคัญในกลุ่มสินค้าดังกล่าวนี้ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป
2). กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ (ตารางกลุ่มที่ 2) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของ
มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้
ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดย
มูลค่าการส่งออกในช่วงของปี 2547 มีจำนวน 380.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงปี
2546 ในอัตราร้อยละ 8 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ
3). กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น (ตารางกลุ่มที่ 3) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออก
คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้
ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมี
มูลค่าการส่งออกในปี 2547 ประมาณ 693.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก
ปีก่อนถึงร้อยละ 89 ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวที่ค่อนข้างสูงมาก โดยมีผลิตภัณฑ์ประเภทไม้แปรรูปและไม้
อัด มีสัดส่วนการขยายตัวในมูลค่าการส่งออกที่ค่อนข้างสูง ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น
ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2545 2546 2547 อัตราการขยายตัว (%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 2546
/2547
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 188.4 182.9 236.6 218.1 227.3 209 222.6 258.5 256.9 258.1 272.6 294.7 18
1.1 เครื่องเรือนไม้* 130 122.9 165.5 142.4 154.5 129.7 142.1 161.5 163.3 163.9 172.3 188.7 17
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ* 42.6 42.5 51 55 50.8 55.5 55 63.7 63.1 62.1 67.7 71.75 18
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 15.8 17.5 20.1 20.7 22 23.8 25.5 33.3 30.5 32.1 32.6 34.18 24
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 77 83.6 96.3 93.4 87.2 80.7 91.1 91.8 87 88.6 103.1 101.37 8
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 24.7 28.1 31 30.8 26.4 26.2 30.9 27.8 25.3 25.9 30.1 27.79 -2
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 24 23.7 27.8 26.9 27.7 26.7 25.6 28.8 28 28.8 31.3 32.45 11
2.3 กรอบรูปไม้ 20.8 25.2 29.1 27.5 24.1 19.8 24.7 25.4 24 21.9 30.9 29.13 13
2.4 รูปแกะสลัก ฯ ไม้ 7.5 6.6 8.4 8.2 9 8 9.9 9.8 9.7 12 10.8 12.01 21
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 71.2 88.4 87.2 79.6 90.3 93.2 93.2 90.2 109.7 309.7 129.4 144.86 89
3.1 ไม้แปรรูป 21.3 26.1 24.4 27.2 38.7 38 35 34.1 43.7 59.8 49 57.39 44
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 1.9 2.1 2.2 2 2.4 1.3 2 2.4 2.5 2.5 2.1 2.17 14
3.3 ไม้อัด 12.2 14.4 15.5 11.8 10.4 12.7 13.3 14.8 14.3 22 32.5 34.95 103
3.4 Fiber Board 22.6 22.1 23.8 22 22.2 25.1 22.7 23.8 24.8 31.8 28.3 29.65 22
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 13.2 23.7 21.3 16.6 16.6 16.1 20.2 15.1 24.4 17.9 17.5 20.71 18
รวม 336.6 354.9 420.1 391.1 404.8 382.9 406.9 440.5 453.6 480.7 505.1 540.9 21
ที่มา : กรมเจรจากการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้า
วัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในปี 2547 มีมูลค่าการ
นำเข้ารวมกันจำนวน 661.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ในอัตราร้อยละ 32.02 แหล่งนำเข้าที่
สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากพม่า และมาเลเซีย และในส่วนผลิตภัณฑ์
ประเภทไม้หรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2545 2545 2547 อัตราการขยาย
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 2546/2547
1.ไม้ซุง แปรรูปอื่น ๆ 83.1 100.8 96.6 97.8 97.3 104.2 114 104.4 132.7 142.7 130.8 136.9 29.34
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 12.7 14.2 13.1 18.3 17 23.2 19.8 21.5 26.4 28.4 29.1 34.9 45.76
รวม 95.8 115 109.7 116.1 114.3 127.4 133.8 125.9 159.1 171.1 159.9 171.86 32.02
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
3. สรุปและแนวโน้มปี 2548
ในปี 2547 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อ
เนื่อง ทั้งนี้จากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเองและความต้องการโดยการส่งออกไปยังตลาดต่าง
ประเทศที่มีต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีการขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องเรือน
ไม้ของไทยที่ทำมาจากไม้ยางพารา ยังเป็นที่ต้องการอีกมากในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับ
ประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องแหล่งวัตถุดิบที่สามารถหาได้เองภายในประเทศ ทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องวัตถุ
ดิบ แต่อย่างไรก็ตามจากความต้องการไม้ยางพาราในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งของผู้ประกอบการภายในเอง และการสั้งชื้อ
วัตถุดิบดังกล่าวจากประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะประเทศจีนและมาเลเชีย ทำให้ราคาวัตถุดิบไม้ยางพารามีการปรับตัวค่อน
ข้างสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลระทบต่อ
อุตสาหกรรมในอนาคต ทำให้ผู้ประกอบการภายในประเทศต้องปรับตัว นอกจากนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการแสวงหา
ตลาดใหม่ๆ ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องของไทยต่อไปใน
อนาคต และแนวโน้มในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง อัน
เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและแนวโน้มของการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับเหตุการณ์ของภัย
พิบัติของธรรมชาติคลื่นยักษ์ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะออกเฉียงใต้ จะส่ง
ผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง ซึ่งจากผลกระทบดังกล่าวน่าจะทำให้ภาวะอุตสาหกรรมไม้
และเครื่องเรือนภายในประเทศจะต้องชะลอตัวลงบ้างเล็กน้อยตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แต่การฟื้นฟูจากภัยพิบัติดัง
กล่าว เพื่อปรับปรุงบูรณะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ซึ่งจะสร้างอุปสงค์ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมแต่น่าจะเป็น
เพียงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-