นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปรายถึงความไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าสิ่งทุกฝ่ายกำลังค้นหาคือความปองดอง อลุ่มอล่วย เป็นสิ่งซึ่งจำเป็นในการแก้ปัญหาสำคัญของประเทศชาติ วันนี้เรามาอภิปรายถึงปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อเสนอของรัฐบาล ตามมาตร 213 แห่งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งอันที่จริงแล้ว พวกกระผมพยายามที่จะเสนอแนะและเรียกร้องให้มีการเปิดรัฐสภา เพื่อประชุมร่วมกันในการที่จะอภิปรายปัญหานี้มานานแล้ว เหมือนที่ท่านหัวหน้าฝ่ายค้านได้กราบเรียนไปเมื่อช่วงเช้า และถ้าหากว่าการเปิดประชุมในลักษณะนี้เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ กระผมคิดว่าเราอาจจะหลีกเลี่ยงความสูญเสียความรุนแรง ความขัดแย้งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งนำความสูญเสียนำความเสียหาย นำความบาดเจ็บ มาสู่บุคลากร ครอบครัวและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามวันนี้เรามาเริ่มต้นกันใหม่ เริ่มต้นด้วยความสมานฉันท์ พยายามทำความเข้าใจของต้นตอปัญหา ที่เกิดขึ้น พยายามที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จากอดีต พยามที่จะหาข้อยุติร่วมกันว่าทางเดินที่ถูกต้อง สำหรับประเทศชาติ สำหรับรัฐบาล ที่มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาจะเลือกเดินทางใด ควรจะเดินทางใดกันแน่ ที่ยืนยันว่าวันนี้เดินมาถูกทางนั้น ผมเชื่อว่าอาจจะเป็นการยอมรับว่าอาจจะจำเป็นต้องประเมินใหม่ ซึ่งท่านนายกฯได้กราบเรียนท่านประธานไปแล้วว่า ช่วงเวลาที่ได้ไปพักผ่อนนั้น ได้ประเมินสถานการณ์ใหม่ และก็หาข้อยุติได้ คล้ายๆกับสิ่งที่พวกเรากำลังนำเสนออยู่ในขระนี้ ซึ่งก็เป็นนิมิตรหมายที่ดี
ท่านประธานที่เคารพครับ ประเด็นปัญหาเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บางครั้งเรียกว่า 4 บางครั้งเรียกว่า 5 ในขณะที่มีหน่วยงานที่เรียกว่าศูนย์อำนวยการบริหารราชการ จังหวัดภาคใต้หรือ ศอ. บต. หมายความว่าทั้ง 5 จังหวัด รวมทั้งสงขลา และสตูลด้วย รากเหง้าต้นตอมานานอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่าเฉพาะเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ได้ถูกกำหนดขึ้นยังไม่ถึง 100 ปีครับ เมื่อปีค.ศ. 1909 คือ อีก4 ปี จะครบร้อย
เพราะฉะนั้นความเป็นไปของพื้นที่ส่วนนั้นจึงมีความสลับซับซ้อน ค่อนข้างจะอ่อนไหว และมีประเด็นปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เกี่ยวพันกับเชื้อชาติ และภาษา ศาสนาและประวัติศาสตร์ อย่างมากมาย ประเด็นที่กระผมอยากกราบเรียนเบื้องต้นก็คือว่าสภาพของปัญหา ความสลับซับซ้อนของปัญหา บุคคลคนเดียวไม่สามารถเข้าใจได้ หรือหน่วยงานเดียวไม่สามารถเข้าใจได้ หรือกลุ่มบุคคลเดียวไม่สามารถเข้าใจทุกมิติ ทุกปัญหา ทุกองศาของปัญหา ที่เรากำลังเผชิญอยู่ขณะนี้
เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่จำเป็นต้องเปลี่ยน คือทัศนคติของผู้บริหารที่มีอำนาจ จะเป็นระดับไหนก็ตามแต่ที่เคยคิดว่ารู้ปัญหาคนเดียว ไม่ต้องถามใคร เข้ามาวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาเป็นความเข้าใจผิด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ท่านประธานที่เคารพครับการพยายามที่สร้างชาติ ทุกประเทศต้องเผชิญกับปัญหา ของความแตกต่างหลากหลายที่เกิดขึ้น ที่ดำรงอยู่ในสังคมประเทศชาติ
ช่วงล้นเกล้าราชการที่ 5 มีกรณี ผีบุญ เงี้ยว ชนกลุ่มน้อยในภาคอีสาน ในภาคพายัพ ที่คิดพยายามรักษาเอกรักษ์ของตนเองไว้ ก็เกิดปัญหาความขัดแย้ง และขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาความไม่สงบใน 7 หัวเมืองภาคใต้ เพราะฉะนั้นการที่จะรวบยอดว่าสามารถเข้าใจปัยหาเองโดยไม่พึ่งใครนั้นเป็นไปไม่ได้ มันสลับซับซ้อน ยังต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ล้นเกล้าฯราชการที่ 6 มีพระบรมราโชบายว่าการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะต้องสรรหาบุคคลภายในมาก่อน คือคนที่เป็นเจ้าของพื้นที่คนที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมดินแดนนั้นจริงๆ
รอบที่แล้วท่านอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย ได้มีโอกาสแต่งตั้งผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 4 พล.ท.ณรงค์ เดชอุดม จากปัตตานี เป็นมุสลิม และในอดีตผู้บัญชาการภาคที่ 4 ก็เป็นคนในพื้นที่ ไม่สุราษฎร์ก็ สตูล ไม่ก็ปัตตานี ถ้าไม่ใช่คนในท้องที่ก็เป็นคนที่โตในกองทัพภาคที่4 คือมีประสบการณ์ตรงนั้น
มา 4 ปีที่ผ่านมา 2-3 ปีที่ผ่านมาเป็นบุคคลจากข้างนอก เป็นบุคคลที่ไม่มีเครือข่ายโยงใยที่ได้ข้อมูล ที่จะได้ปรึกษา ที่ได้รับความรู้ประสบประการณ์ อาจจะเป็นความสัมพันธ์ ส่วนตัวจึงเกิดปัญหา ปีงบประมาณเดียวเปลี่ยนผู้บัญชาการภาคที่ 4 ถึง 4 คน ในอดีตที่ผ่านมาผู้ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ ศอ.บต. ก่อนที่จะถูกยุบไปก็คือบุคลากรในพื้นที่ เกิดในพื้นที่ โตในพื้นที่ เพราะต้องการคนที่รู้ปัญหา เข้าใจปัญหา เข้าใจ เข้าถึง เพื่อการพัฒนาจริงๆ
แต่เมื่อ มีการเปลี่ยนนโยบายว่ารู้จากคนเดียวรู้จากส่วนกลาง ตรงนี้ละครับคือช่องว่างของปัญหา จึงนำไปสู่การกำหนดตัวบุคคลผิด เป็นตัวบุคคลทึ่ไม่มีประสบการณ์ตัวบุคลที่ไม่เคยรับรู้ปัญหา ไม่มีพักพวก เครือข่ายในพื้นที่ จึงเกิดช่องว่างในพื้นที่ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องเปลี่ยน คือทัศนคติที่ว่ากรุงเทพฯรู้ปัญหาทุกอย่างครบถ้วน คนเดียวเข้าใจทุกอย่างพวกผมจึงมีความคิดว่า ลักษณะความผิดแบบซีอีโอ ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ หรือระดับพื้นที่ระดับจังหวัด นี่คือจุดบกพร่องเบื้องต้นของการแก้ปัญหา
ท่านประธานที่เคารพ สิ่งที่สอง ที่จำเป็นต้องมี คือความเป็นเอกภาพในการวิเคราะห์ และดำเนินการแก้ไขปัญหา 3-4 ปีที่ผ่านมานั้นพูดไปคนละเรื่องคนละทาง ท่านอดีตรองนายกดูเรื่องความมั่นคงของประเทศ บอกว่าเป็นเรื่องภายใน ไม่ได้เกี่ยวกับข้างนอก แต่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงบอกว่าเป็นเรื่องของเจไอ และอีกหลายท่านที่วิจารณ์ว่าเป็นเรื่องของยาเสพติด เรื่องของยาเสพติด เรื่องตนว่างงาน
ท่านประธานที่เคารพครับความเป็นเอกภาพของการวิเคราะห์ปัญหา เป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นก่อน แต่ในอดีตที่ผ่านมานั้นไม่มีทิศทาง ท่านประธานเองตอนขึ้นมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใหม่ๆ ก็ลั่นวาจาออกมาเป็นนโยบายว่าจะไม่มีกรอุ้มฆ่าอีกแล้ว ก็แสดงว่าวิธีการแก้ปัญหาก่อนหน้านั้น มีการอุ้มฆ่า เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง การกำหนดทิศทางที่ไม่ถูกต้อง การไม่มีความพยายามที่จะประสานเรื่องนโยบาย และพูดกันให้ตรงว่าจะเอาอย่างไรแน่
การที่จะให้มีหลักนิติธรรมในการแก้ปัญหาก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องมีความเป็นเอกภาพในการแก้ไขปัญหา สัญญาณที่ออกไปในวันนี้ ที่ท่านนายกนตอบหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ การที่ยืนยันว่าต่อไปนี้จะไม่มีการเผชิญหน้าอีกแล้ว การยืนยันว่าต่อไปนี้จะใช้ความพยายามรับความจริง เผชิญความจริง และแก้ไขปัญหาตามครรลอง ตากกฎหมายและกรอบของรัฐธรรมนูญ นั้นคือความคิดที่ถูกต้องแล้ว แต่ในอดีตไม่เป็นเช่นนั้น ในอดีตประชาชนในพื้นที่ ท่านนายกฯ พูดเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 48 ที่ผ่านมาเหตุที่เกิดขึ้นจากการปราบยาเสพติด แต่ท่านไปเข้าใจผิดที่บอกว่าการปราบปรามยาเสพติดผู้ที่สูญเสียประโยชน์ มารวมตัวกันเพื่อต่อต้านรัฐบาล แต่คนในพื้นที่เขาไม่คิดอย่างนั้นครับ คนในพื้นที่บอกว่าการใช้อำนาจเกินขอบเขต เบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่มีโอกาสจะได้ประโยชน์จากกระบวนยุติธรรม ไม่มีหลักประกันในชีวิต และทรัพย์สิน โดนอุ้มกลางคืน เชิญไปกลางคืน 2 วันให้หลังกลายเป็นศพ
นี่คือสิ่งที่ประชาชนเห็น ไม่ใช่ปราบปรามยาเสพติดแล้วเสียประโยชน์ อาจจะมีบางคน แต่ว่าที่รู้สึกกันจริงๆในพื้นที่ก็คือการปราบปราบยาเสพติด 2500ศพ ที่เสียไป และได้รับการยืนยันว่าใน 3-4จังหวัดภาคใต้นอกเหนือจาก2500ศพ พวกนั้นละครับที่เขาไม่กล้าออกมาแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการแก้ไข เพราะไม่มีความมั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของรัฐ นี่คือความเป้นเอกภาพที่ต้องให้เกิดขึ้นถ้าหากต้องการที่จะแก้ไขปัญหานี้
อันที่สาม คือการมีส่วนร่วมของประชาชน หลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกครับและท่านนายกฯและรัฐบาลไม่มีสิทธิไปน้อยใจว่าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ผมกราบเรียนไปแล้วว่าหากเขาเข้ามามีส่วนร่วม อะไรคือหลักประกันของความปลอดภัยของประชาชน ที่จะไม่ได้รับการรังแกจากฝ่ายใดก็ตามแต่ เมื่อที่สูญหายไป ที่เป็นคุณพ่อ แม่ ป้า น้า อา ญาติ พี่น้องยังไม่มีการชี้แจงใดๆทั้งสิ้น
ตรงนี้ละครับที่สำคัญที่ต้องมีศอ.บต. ก็เปรียบเหมือนองค์กรใหญ่เป็นปิรมิดบานกว้างที่ทุกฝ่ายในสังคมส่วนนั้นของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ ภาคการเมืองท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นภาคผู้นำชุมชุน ศาสนา การศึกษา ทุกศาสนาต่างมีส่วนเป็นเจ้าของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีส่วนในการที่จะร่วมแก้ไขปัญหา ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของ มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะหามาตรการในการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อยุบไปทุกฝ่ายที่เคยมีบทบาท ไม่ว่าจะเป็น อบต. ไม่ว่าจะเป็น สจ. ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชนมีความรู้สึกว่าธุระไม่ใช่ ไม่มีฐานะไม่มีตำแหน่ง ไม่มีบทบาท ไม่มีการปรึกษาหารือ ไม่มีโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมใดๆทั้งสิ้น
ตรงนี้ล่ะครับมันถึงเกิดช่องว่าง เพราะฉะนั้นท่านจะจัดตั้งอะไรก็ตามแต่ กลไกเรียกว่าอะไรก็ตามแต่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความมีส่วนร่วมที่ดำรงอยู่ในอดีตตั้งแต่ 2524 เป็นต้นมา มันถูกทำลายลง มันถูกปิดกั้น มันถูกปฏิเสธ จึงเกิดความรู้สึกว่าธุระไม่ใช่ ไม่ใช่เจ้าของปัญหา ไม่มีส่วนในการที่ร่วมแก้ไข ท่านจะคิดตั้งหน่วยงานใดก็ตามแต่ ท่านจะต้องคิดถึงการมีส่วนร่วมในลักษณะนี้ เมื่อมีการมีส่วนร่วม ก็ต้องเข้าใจในความละเอียดอ่อนของความรู้สึกของพี่น้องประชาชน คำพูดใดๆที่เกิดขึ้นที่จะนำไปสู่ความรู้สึกบาดใจ น้อยใจ ถูกดูหมิ่น ถูกเหยียดหยาม ต้องหลีกเลี่ยงเป็นที่สุด เมื่อเกิดเหตุการณ์ตากใบ คำพูดออกมาบอกว่าที่สูญเสียชีวิตไป 80 กว่าราย พวกนี้อ่อนเพลียจากการถือศีลอด
ท่านประธานครับมันเป็นการ เจาะความรู้สึกที่มันรู้สึกเจ็บปวด และก็ไม่เฉพาะคนมุสลิมในประเทศไทยเท่านั้น
ที่รู้สึก เป็นข่าวที่โพทะนาไปทั่วโลกว่านี่คือคำพูด ที่บอกว่าคนพวกนี้ส่วนหนึ่งตายเพราะอ่อนเพลียจากการถือศีลอด ถือศีลอดแล้วไม่ตายก็เยอะ ท่านประธานที่เคารพครับเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2547 1 เดือนโดยประมาณจากเหตุการณ์ที่เจาะไอร้อง การวิเคราะห์ปัญหาระดับสูงสุดที่ออกมาที่เป็นที่ประจักษ์เข้าหูพี่น้องประชาชน คือปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด คือปัญหาเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงมีหน้าที่ที่ต้องปรับปรุงพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา ระบบความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ เพื่อให้เขาเห็นว่าไม่ต้องรอชาติหน้าหรอก ชาตินี้ถ้าเราเป็นคนรับผิดชอบ เป็นคนทุ่มเทรับผิดชอบต่อลูกที่ให้กำเนิดมา รับผิดชอบต่อครอบครัวที่ตัวเองตัดสินใจมีครอบครัว แล้วไม่เฉพาะอยากจะมีแต่เซ็กส์
ขอกราบเรียนท่านประธานครับ สิ่งที่เราพูดกันวันนี้เราต้องการแสวงหาความจริง อาจจะบาดใจบ้าง อาจจะมีความรู้สึกกระทบกระเทือนบ้าง แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพยายามที่จะเจาะให้ถึงพื้นฐานของปัญหา ท่านประธานไปถามคนมุสลิม คนคริสต์ คนที่นับถือศาสนาฮินดู คือเชื่อในชาติหน้า เป็นหลักความเชื่อขั้นพื้นฐานที่ละทิ้ง ละเว้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะบอกว่าพัฒนาชาตินี้ให้เจริญก้าวหน้า ไม่ต้องรอชาติหน้าหรอกเป็นการแสดงออกซึ่งความเข้าใจที่ไม่ละเอียดอ่อน และไม่ลึกซึ้งในความรู้สึกและในหลักความเชื่อของพี่น้องประชาชนในส่วนนั้น นี่คือที่มาของปัญหา คือไม่อ่อนไหวต่อความเชื่อและหลักศรัทธาของพี่น้องประชาชน
การแก้ปัญหาต่างๆมักจะแก้ปัญหาเหมือนกับการหักด้ามพล้าด้วยเข่า ยกตัวอย่างเรื่องการจัดการเรื่องฮัจ รอบที่แล้วรัฐบาลต้องการทำฮัจเอื้ออาทร เพราะทำเอื้ออาทรมาแล้วหลายอย่าง คนที่เค้าจัดการด้านการบริหารฮัจ ผู้ประกอบการเขาบอกเขาไม่พร้อม ยังเก็บเงินไม่ได้ รัฐบาลบอกออกเงินให้ก่อน 100 ล้านบาท และก็ไปโฆษณาให้พี่น้องประชาชนทราบว่าจะได้ไปอยู่อาคารที่สะดวกสบาย จะไปประกอบพิธีอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ ปรากฏว่าฮัจเอื้ออาทรกลายเป็นฮัทมาราธอน รอแล้วรออีกเครื่องบินไม่มี รอแล้วรออีกวีซ่าออกไม่ได้ ถึงที่สุดก็ไม่ได้ไปอยู่ในที่ที่บอกว่าจะได้ไปอยู่ อัตคัด คับแคบ ไกลจากที่ที่ต้องไปประกอบพิธี นี่คือการแก้ปัญหาด้วยการหักด้ามพล้าด้วยเข่า ถือว่ามีเงิน ถือว่ามีอำนาจ ก็ต้องการจะแก้ ท่านประธานครับผมไม่ต้องการที่จะยกประเด็นเหล่านี้มา เพื่อที่จะบอกว่า รัฐบาลไม่ได้เจตนาดีที่จะทำสิ่งที่อยากจะทำ ผมอยากจะเรียนว่าถ้าไม่เข้าใจปัญหา ถ้าไม่ลึกซึ้งในประเด็น ถ้าไม่รอบคอบ เจตนาดีอาจจะนำไปสู่ผลร้ายที่พี่น้องหมื่นกว่าคนได้รับผลกระทบในรอบที่ผ่านมา นี่คือกรณีหนึ่ง
กรณีต่อไปก็คือ เรื่องที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้นำเรียนท่านประธานไว้แล้ว การจัดสร้างอนุสาวรีย์นก การได้มีส่วนร่วมแสดงความเป็นห่วงกังวล โดยเชื้อเชิญให้พี่น้องทั้งประเทศพับนก และมีส่วนร่วมในการส่งความรู้สึก ความห่วงกังวล ไปสู่พี่น้องในพื้นที่ส่วนนั้นเป็นสิ่งที่ดีครับท่านประธานครับ แต่ว่าต้องเข้าใจความละเอียดอ่อน พื้นฐาน เบื้องลึก ความเชื่อ จิตวิทยา สังคม แง่มุมทางด้านศาสนา เพราะว่าในประวัติศาสตร์ในพระมหาคัมภีร์อัลกุลาอ่าน พูดถึงฝูงนกที่พระผู้เป็นเจ้าส่งมาปราบปรามผู้ซึ่งยกกองทัพมาเพื่อที่จะยึดเมืองเมกกะ เพราะฉะนั้นการที่จะไปสร้างอนุสาวรีย์นก มันมีความละเอียดอ่อนอยู่ 2 ระดับ อันที่ 1. รูปปั้นรูปพรรณสัณฐานใดๆจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจในพื้นที่ สำหรับพี่น้องที่นับถือศาสนาอิสลาม เพราะมันจะกลายเป็นการสร้างอนุสาวรีย์สิ่งที่มีชีวิต และอาจจะมีผลในเรื่องจิตใจ อาจจะกลายเป็นที่กราบไหว้บูชา อาจจะกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ เป็นเรื่องความอ่อนไหวครับท่านประธานครับ
ระดับที่ 2. ที่อ่อนไหว คือมันมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเรื่องฝูงนกนำก้อนหินมาโยนใส่ศัตรูที่มาเข้าไปยึดเมืองเมกกะ คนในพื้นที่เขามีความรู้สึกว่า เขาเป็นคนที่สร้างปัญหาให้กับประเทศชาติ สร้างปัญหาให้กับศาสนา สร้างปัญหาให้กับสังคม สร้างปัญหาให้กับพื้นที่ถึงมีนกฝูงนี้บินข้ามหัวมา และโปรยใส่ เห็นมั้ยครับว่าความเข้าใจมันขัดแย้งกันระหว่างผู้ให้ พวกเรา กับ ผู้รับ พวกเขา พี่น้องในพื้นที่ เราตีความแสดงความเมตตา แสดงความห่วงใย เขาตีความว่านำเอาปัญหาที่เกิดขึ้นไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ที่มีจารึกอยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุลาอ่าน และเราได้ส่งฝูงนกนำก้อนหิน ซึ่งนำมาจากนรกเบื้องลึกมาโยนใส่ฝูงศัตรูเหล่านั้น เขามีความรู้สึกว่าสิ่งนี้ล่ะครับ เป็นการเปรียบเทียบเขาเหมือนกับศัตรูของศาสนาในอดีต เป็นความละเอียดอ่อน ลึกซึ้งที่ท่านประธานก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจ ที่ผู้นำรัฐบาลในระดับต่างๆก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจลึกซึ้งได้ ขอเถอะครับ เรื่องอนุสาวรีย์นกที่นราธิวาส คิดให้รอบคอบกว่านี้ ถ้าไม่สร้างได้จะดีที่สุดครับ ท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ เรื่องต่อไปที่ผมจะกราบเรียนก็คือว่า ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมา ระยะเวลา 3 4 ปีที่ผ่านมา สูญเสียกันไปเยอะ รุนแรงกันมาก ล้มตายกันไป สูญหายกันไป สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก็คือ จะต้องค้นหาความจริงให้ได้ ว่าอะไรมันเกิดขึ้น กับใครบ้าง กี่คน ที่ไหน เมื่อไหร่ และมีใครเกี่ยวข้อง ในแอฟริกาใต้ก่อนที่เขาจะมีความสมานฉันท์ระดับชาติ ระดับประเทศ และเริ่มต้นกันใหม่ ระหว่างผิวขาวกับผิวดำ เขาตั้งคณะกรรมาธิการแสวงหาความจริงขึ้นมา
ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะไปชี้เพื่อที่จะไปกำหนดบทโทษให้กับทุกรายที่เกิดขึ้น เพราะหลายรายค้นหาความจริงอาจจะไม่สามารถที่จะไปกำหนดชี้ตัวได้ทุกเรื่องทุกกรณี แต่อย่างนี้มีบางรายยังหายอยู่ มีบางรายยังไม่รู้ชะตา มีบางรายยังไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนเป็นตายหรือถูกจับกุมคุมขังอยู่ในส่วนใดของประเทศนี่และความกระจ่างที่ต้องเกิดขึ้น ถ้าจะเริ่มต้นใหม่ด้วยความสมานฉันท์ ถ้าจะเริ่มต้นใหม่ด้วยความรู้ปรองดองไว้ใจซึ่งกันและกันสิ่งที่จะเป็นต้องเกิดขึ้นคือต้องหาความจริงว่าแต่ละกรณีแต่ละประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกรือเซะ ตากใบ สะบ้าย้อย ทีมฟุตบอล คุณสมชาย นีละไพจิตร ทั้งหมดทั้งหลายแต่ละเรื่องแต่ละกรณีหมายรวมถึงช่วงที่สูญหายไปในช่วงของการปราบปรามยาเสพติดด้วยก็ยังไม่มีคำตอบ ยังไม่มีความกระจ่าง มีปัญหาเรื่องการที่จะแต่งงานลูกสาวใครจะเป็นผู้อนุญาต แบ่งปันมรดกทำได้เมื่อไร ทำได้หรือไม่ มอบอำนาจไว้ให้ใครมีปัญหาเกี่ยวพันกับชีวิตของเขาสลับซับซ้อนและอ่อนไหวและนำไปสู่ปัญหาที่ค้างคาอยู่
ถ้าพี่น้อง ถ้าท่านประธานและเพื่อนสมาชิกเข้าใจถึงปัยหาเหล่านี้ท่านจะรู้สึกเป็นห่วงและเจ็บปวดแทนเขาด้วย เพราะฉะนั้นต้องค้นหาความจริงให้เจอก่อนที่จะเริ่มต้นกันใหม่ ท่านประธานที่เคารพรัฐบาลชอบพูดเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การสร้างงานการสร้างเมกะโปรเจ็ค แต่สิ่งที่กระผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด เพราะว่าพื้นที่ใน 3-4 จังหวัดภาคใต้ คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อนอื่น เพราะถ้าเราไปพัฒนาโครงการใหญ่ ๆ โรงไฟฟ้าที่สะบ้าย้อยสมมติ โรงแยกแก๊สที่จะนะสมมติ เขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่อะไรก็ตามแต่คนในพื้นที่ยังไม่พร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่เพื่อที่จะได้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ เหล่านั้น ถึงที่สุดยังมีทุนจากข้างนอกมาลงทุนจะมีผู้จัดการผู้บริหารจากข้างนอกจัดการบริหารกับสิ่งเหล่านั้นจะมีเทคโนโลยีจากข้างนอกจะมีผู้บริหารเทคโนโลยีจากข้างนอกมาดำเนินการอยู่ในพื้นที่ตรงนั้นท้ายที่สุดก็จะเกิดช่องว่างเกิดขึ้นกว้างยิ่งขึ้น และมันจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง ก่อให้เกิดการเผชิญหน้า ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น เพราะฉะนั้นการพัฒนาทรัยากรมนษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญรีบเร่งก่อนการพัฒนาเศรษฐกิจหรือโครงสร้างพื้นฐานอื่นใดต้องโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพยากรมนุษย์ก่อน พูดกันมากเรื่องพัฒนาปอเนาะ พัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ท่านประธานที่เคารพอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่าอย่ามองสถาบันปอเนาะหรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเป็นที่ซ่องสุม เป็นที่เสี่ยมสอนคนให้นิยมความรุนแรง นิยมการก่อการร้าย แต่ต้องมองว่ามันเป็นทรัพยากรทางสังคม มันเป็นโอกาส ในพื้นที่ในจังหวัดใน 3 จังหวัดภาคใต้มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เปิดสอนหลักสูตรสามัญบูรณาการพร้อม ๆ กับวิชาศาสนาอิสลามแล้ว 129 โรง มีนักเรียนอยู่ 89,875 คน มีอีกจำนวนหนึ่งที่จบม.6 แล้วขอเรียนศาสนาต่อ เรียนภาคสามัญบูรณาการแล้วขอเรียนต่อจำนวนจึงเป็น 91,630 คน ส่วนโรงเรียนที่เป็นปอเนาะแบบดั้งเดิมเดียวนี้เรียกว่าสถาบันศึกษาปอเนาะ นั่นคือศัพท์ใหม่ที่บัญญัติขึ้นมีอยู่ 268 โรง มีนักเรียนอยู่ 17,890 คน ท่านประธานจะเห็นว่าจำนวนที่บูรณาการแล้วมีมากกว่ามากมายเป็น 7 เท่า 8 เท่า กระผมอยากจะเห็นรัฐบาลมุ่งไปที่โรงเรียนที่บูรณาการแล้ว โรงเรียนที่เปิดสอนภาคสามัญแล้ว แต่ไปพัฒนา 5 วิชาหลักเพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาจากสถาบันเหล่านี้มีความสามารถในการที่จะไปแข่งขันกับนักศึกษาที่ออกมาจากสถาบันอื่น ๆ ทั่วประเทศ นั่นก็คือสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งอยู่ในวิสัยที่รัฐบาลทำได้เพิ่มครูภาษาไทย เทรนครูภาษาไทย อบรมผู้สอน ช่วยเหลือเรื่องตำรา จัดแคมป์จัดค่ายเพื่อที่จะให้มีการพัฒนาด้านภาษาทักษะภาษาที่ใช้ได้ สอบเข้าแข่งขันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยได้ เข้าไปเรียนในภาคสาขาวิชาต่าง ๆ ได้
ท่านประธานที่เคารพวิชาต่อไปคือภาษาอังกฤษช่วยกันทำได้ เพราะนั่นคือวิชาที่ต้องไปทดสอบก่อนที่จะเข้าไปเรียนแพทย์ ก่อนที่จะเข้าไปเรียนวิศวะ ก่อนที่จะเข้าไปเรียนสาขาวิชาต่าง ๆ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สถาบันอุดมศึกษาต้องการทดสอบภาษาอังกฤษ ท่านประธานที่เคารพคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารอินฟอร์มเมชั่นเทคโนโลยี 5 วิชานี้ที่จะเปิดคอขวดสำหรับนักศึกษา 89,000 กว่าคนที่เรียนอยู่ในขณะนี้ และเปิดโลกให้เขากว้างขึ้น ให้โอกาสเขามากขึ้น แต่ต้องไปแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเข้าไปในมหาวิทยาลัยเรียนแข่งขันกับคนอื่นเขาได้ไม่ต้องไปมีปัญหาในระดับอุดมศึกษาต่อไป ถ้ารัฐบาลมุ่งเน้นที่จะพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 129โรงเรียน โดยเน้น 5 วิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร แล้วเราจะเปิดคอขวดให้โอกาสกับนักเรียนนักศึกษาเหล่านี้ เยาวชนเหล่านี้พัฒนาตนเองเป็นทรัพยากรมนุษย์พร้อมที่จะรองรับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ของรัฐบาลต่อไป
ท่านประธานที่เคารพกระผมเห็นด้วยกับการพัฒนาเศรษฐกิจแต่ว่าในการศึกษาปัญหาของพวกเราที่ไปดูพื้นที่มา ที่ไปสอบถามพี่น้องประชาชน ที่ไปจัดการประชุมกลุ่มย่อย ท่านประธานเขาต้องการพัฒนาในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป เขาต้องการพัฒนาในลักษณะที่เป็นเศรษฐกิจชุมชนที่พอเพียงยืนอยู่บนลำแข้งลำขาตัวเองได้ก่อนที่จะก้าวกระโดดไปสู่การพัฒนาขนาดใหญ่ ขนาดเมกะโปรเจ็คที่คิดกันที่พยายามทำกันพอถึงที่สุดแล้วเขาไม่สามารถที่จะตามทันก็ไม่สามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้ เขาไม่สามารถที่จะใช้โอกาสที่เกิดขึ้นได้ถึงที่สุดมันจะเป็นโอกาสของคนข้างนอก และจะไปมีปัญหาต่อไปในอนาคต เพราะฉะนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องคิดถึงความเหมาะสมความพอเพียงและเข้ากับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อในพื้นที่ด้วยอย่าคิดว่าเงินและการสร้างงานและการสร้างโครงการใหญ่ ๆ การขุดค้นทรัพยากรในพื้นที่มาใช้แล้วจะเป็นการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ไม่ใช่ มันอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้ง มันอาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้ามากยิ่งขึ้น
ท่านประธานที่เคารพประเด็นสุดท้ายที่กระผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานเพื่อให้รัฐบาลนำไปพิจารณาก็คือประเด็นเรื่องนิติด้านต่างประเทศท่านหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เอ่ยถึงประเด็นนี้บ้างแล้ว แต่ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่า 3-4 ปีที่ผ่านมามีปัญหามากในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารการประสานงานในเรื่องนี้กับต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของประเทศใกล้เคียงเพื่อนบ้านหรือองค์กร หรือรัฐบาลที่ไกลออกไป การประชุมโอไอซีคราวที่แล้วท่านประธานในฐานะรัฐมนตรีมหาดไทยไปเอง แต่นั่นก็เป็นเหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้นมีปัญหาท่านถึงไป ก่อนหน้านั้นไม่ได้ให้ความสำคัญ ก่อนหน้านั้นไม่ได้เข้าไปมีส่วนผูกพันอะไรกับเข้าทั้ง ๆ ที่มันเป็นเวทีของเราโดยเฉพาะ ท่านประธานที่เคารพกับประเทศเพื่อนบ้านทุกทั้งที่มีความร่วมมือทุกคนแย้งกันพูดตำรวจก็พูด ต่างประเทศก็พูด ทหารก็พูด พลเรือนก็พูด แล้วพูดแล้วไม่พอพูดแล้วโพนธนาในสื่อด้วยมันมีความขัดแย้งภายในในเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ เกี่ยวกับความร่วมมือตรงนี้อยากจะฝากท่านประธานไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีถึงรัฐบาลว่าต้องระวังอย่าละเลยและต้องรอบคอบในการที่จะดำเนินการ กระผมมีข้อเสนอ 7 ข้อ อภิปรายไปด้วย เสนอเป็นแง่คิดไปด้วย ยกตัวอย่างไปด้วย และเป็นข้อเสนอเพื่อนำไปพิจารณาแก้ไขปัญหาสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศเรา ขอบพระคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
ท่านประธานที่เคารพครับ ประเด็นปัญหาเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บางครั้งเรียกว่า 4 บางครั้งเรียกว่า 5 ในขณะที่มีหน่วยงานที่เรียกว่าศูนย์อำนวยการบริหารราชการ จังหวัดภาคใต้หรือ ศอ. บต. หมายความว่าทั้ง 5 จังหวัด รวมทั้งสงขลา และสตูลด้วย รากเหง้าต้นตอมานานอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่าเฉพาะเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ได้ถูกกำหนดขึ้นยังไม่ถึง 100 ปีครับ เมื่อปีค.ศ. 1909 คือ อีก4 ปี จะครบร้อย
เพราะฉะนั้นความเป็นไปของพื้นที่ส่วนนั้นจึงมีความสลับซับซ้อน ค่อนข้างจะอ่อนไหว และมีประเด็นปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เกี่ยวพันกับเชื้อชาติ และภาษา ศาสนาและประวัติศาสตร์ อย่างมากมาย ประเด็นที่กระผมอยากกราบเรียนเบื้องต้นก็คือว่าสภาพของปัญหา ความสลับซับซ้อนของปัญหา บุคคลคนเดียวไม่สามารถเข้าใจได้ หรือหน่วยงานเดียวไม่สามารถเข้าใจได้ หรือกลุ่มบุคคลเดียวไม่สามารถเข้าใจทุกมิติ ทุกปัญหา ทุกองศาของปัญหา ที่เรากำลังเผชิญอยู่ขณะนี้
เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่จำเป็นต้องเปลี่ยน คือทัศนคติของผู้บริหารที่มีอำนาจ จะเป็นระดับไหนก็ตามแต่ที่เคยคิดว่ารู้ปัญหาคนเดียว ไม่ต้องถามใคร เข้ามาวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาเป็นความเข้าใจผิด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ท่านประธานที่เคารพครับการพยายามที่สร้างชาติ ทุกประเทศต้องเผชิญกับปัญหา ของความแตกต่างหลากหลายที่เกิดขึ้น ที่ดำรงอยู่ในสังคมประเทศชาติ
ช่วงล้นเกล้าราชการที่ 5 มีกรณี ผีบุญ เงี้ยว ชนกลุ่มน้อยในภาคอีสาน ในภาคพายัพ ที่คิดพยายามรักษาเอกรักษ์ของตนเองไว้ ก็เกิดปัญหาความขัดแย้ง และขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาความไม่สงบใน 7 หัวเมืองภาคใต้ เพราะฉะนั้นการที่จะรวบยอดว่าสามารถเข้าใจปัยหาเองโดยไม่พึ่งใครนั้นเป็นไปไม่ได้ มันสลับซับซ้อน ยังต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ล้นเกล้าฯราชการที่ 6 มีพระบรมราโชบายว่าการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะต้องสรรหาบุคคลภายในมาก่อน คือคนที่เป็นเจ้าของพื้นที่คนที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมดินแดนนั้นจริงๆ
รอบที่แล้วท่านอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย ได้มีโอกาสแต่งตั้งผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 4 พล.ท.ณรงค์ เดชอุดม จากปัตตานี เป็นมุสลิม และในอดีตผู้บัญชาการภาคที่ 4 ก็เป็นคนในพื้นที่ ไม่สุราษฎร์ก็ สตูล ไม่ก็ปัตตานี ถ้าไม่ใช่คนในท้องที่ก็เป็นคนที่โตในกองทัพภาคที่4 คือมีประสบการณ์ตรงนั้น
มา 4 ปีที่ผ่านมา 2-3 ปีที่ผ่านมาเป็นบุคคลจากข้างนอก เป็นบุคคลที่ไม่มีเครือข่ายโยงใยที่ได้ข้อมูล ที่จะได้ปรึกษา ที่ได้รับความรู้ประสบประการณ์ อาจจะเป็นความสัมพันธ์ ส่วนตัวจึงเกิดปัญหา ปีงบประมาณเดียวเปลี่ยนผู้บัญชาการภาคที่ 4 ถึง 4 คน ในอดีตที่ผ่านมาผู้ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ ศอ.บต. ก่อนที่จะถูกยุบไปก็คือบุคลากรในพื้นที่ เกิดในพื้นที่ โตในพื้นที่ เพราะต้องการคนที่รู้ปัญหา เข้าใจปัญหา เข้าใจ เข้าถึง เพื่อการพัฒนาจริงๆ
แต่เมื่อ มีการเปลี่ยนนโยบายว่ารู้จากคนเดียวรู้จากส่วนกลาง ตรงนี้ละครับคือช่องว่างของปัญหา จึงนำไปสู่การกำหนดตัวบุคคลผิด เป็นตัวบุคคลทึ่ไม่มีประสบการณ์ตัวบุคลที่ไม่เคยรับรู้ปัญหา ไม่มีพักพวก เครือข่ายในพื้นที่ จึงเกิดช่องว่างในพื้นที่ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องเปลี่ยน คือทัศนคติที่ว่ากรุงเทพฯรู้ปัญหาทุกอย่างครบถ้วน คนเดียวเข้าใจทุกอย่างพวกผมจึงมีความคิดว่า ลักษณะความผิดแบบซีอีโอ ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ หรือระดับพื้นที่ระดับจังหวัด นี่คือจุดบกพร่องเบื้องต้นของการแก้ปัญหา
ท่านประธานที่เคารพ สิ่งที่สอง ที่จำเป็นต้องมี คือความเป็นเอกภาพในการวิเคราะห์ และดำเนินการแก้ไขปัญหา 3-4 ปีที่ผ่านมานั้นพูดไปคนละเรื่องคนละทาง ท่านอดีตรองนายกดูเรื่องความมั่นคงของประเทศ บอกว่าเป็นเรื่องภายใน ไม่ได้เกี่ยวกับข้างนอก แต่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงบอกว่าเป็นเรื่องของเจไอ และอีกหลายท่านที่วิจารณ์ว่าเป็นเรื่องของยาเสพติด เรื่องของยาเสพติด เรื่องตนว่างงาน
ท่านประธานที่เคารพครับความเป็นเอกภาพของการวิเคราะห์ปัญหา เป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นก่อน แต่ในอดีตที่ผ่านมานั้นไม่มีทิศทาง ท่านประธานเองตอนขึ้นมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใหม่ๆ ก็ลั่นวาจาออกมาเป็นนโยบายว่าจะไม่มีกรอุ้มฆ่าอีกแล้ว ก็แสดงว่าวิธีการแก้ปัญหาก่อนหน้านั้น มีการอุ้มฆ่า เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง การกำหนดทิศทางที่ไม่ถูกต้อง การไม่มีความพยายามที่จะประสานเรื่องนโยบาย และพูดกันให้ตรงว่าจะเอาอย่างไรแน่
การที่จะให้มีหลักนิติธรรมในการแก้ปัญหาก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องมีความเป็นเอกภาพในการแก้ไขปัญหา สัญญาณที่ออกไปในวันนี้ ที่ท่านนายกนตอบหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ การที่ยืนยันว่าต่อไปนี้จะไม่มีการเผชิญหน้าอีกแล้ว การยืนยันว่าต่อไปนี้จะใช้ความพยายามรับความจริง เผชิญความจริง และแก้ไขปัญหาตามครรลอง ตากกฎหมายและกรอบของรัฐธรรมนูญ นั้นคือความคิดที่ถูกต้องแล้ว แต่ในอดีตไม่เป็นเช่นนั้น ในอดีตประชาชนในพื้นที่ ท่านนายกฯ พูดเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 48 ที่ผ่านมาเหตุที่เกิดขึ้นจากการปราบยาเสพติด แต่ท่านไปเข้าใจผิดที่บอกว่าการปราบปรามยาเสพติดผู้ที่สูญเสียประโยชน์ มารวมตัวกันเพื่อต่อต้านรัฐบาล แต่คนในพื้นที่เขาไม่คิดอย่างนั้นครับ คนในพื้นที่บอกว่าการใช้อำนาจเกินขอบเขต เบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่มีโอกาสจะได้ประโยชน์จากกระบวนยุติธรรม ไม่มีหลักประกันในชีวิต และทรัพย์สิน โดนอุ้มกลางคืน เชิญไปกลางคืน 2 วันให้หลังกลายเป็นศพ
นี่คือสิ่งที่ประชาชนเห็น ไม่ใช่ปราบปรามยาเสพติดแล้วเสียประโยชน์ อาจจะมีบางคน แต่ว่าที่รู้สึกกันจริงๆในพื้นที่ก็คือการปราบปราบยาเสพติด 2500ศพ ที่เสียไป และได้รับการยืนยันว่าใน 3-4จังหวัดภาคใต้นอกเหนือจาก2500ศพ พวกนั้นละครับที่เขาไม่กล้าออกมาแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการแก้ไข เพราะไม่มีความมั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของรัฐ นี่คือความเป้นเอกภาพที่ต้องให้เกิดขึ้นถ้าหากต้องการที่จะแก้ไขปัญหานี้
อันที่สาม คือการมีส่วนร่วมของประชาชน หลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกครับและท่านนายกฯและรัฐบาลไม่มีสิทธิไปน้อยใจว่าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ผมกราบเรียนไปแล้วว่าหากเขาเข้ามามีส่วนร่วม อะไรคือหลักประกันของความปลอดภัยของประชาชน ที่จะไม่ได้รับการรังแกจากฝ่ายใดก็ตามแต่ เมื่อที่สูญหายไป ที่เป็นคุณพ่อ แม่ ป้า น้า อา ญาติ พี่น้องยังไม่มีการชี้แจงใดๆทั้งสิ้น
ตรงนี้ละครับที่สำคัญที่ต้องมีศอ.บต. ก็เปรียบเหมือนองค์กรใหญ่เป็นปิรมิดบานกว้างที่ทุกฝ่ายในสังคมส่วนนั้นของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ ภาคการเมืองท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นภาคผู้นำชุมชุน ศาสนา การศึกษา ทุกศาสนาต่างมีส่วนเป็นเจ้าของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีส่วนในการที่จะร่วมแก้ไขปัญหา ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของ มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะหามาตรการในการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อยุบไปทุกฝ่ายที่เคยมีบทบาท ไม่ว่าจะเป็น อบต. ไม่ว่าจะเป็น สจ. ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชนมีความรู้สึกว่าธุระไม่ใช่ ไม่มีฐานะไม่มีตำแหน่ง ไม่มีบทบาท ไม่มีการปรึกษาหารือ ไม่มีโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมใดๆทั้งสิ้น
ตรงนี้ล่ะครับมันถึงเกิดช่องว่าง เพราะฉะนั้นท่านจะจัดตั้งอะไรก็ตามแต่ กลไกเรียกว่าอะไรก็ตามแต่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความมีส่วนร่วมที่ดำรงอยู่ในอดีตตั้งแต่ 2524 เป็นต้นมา มันถูกทำลายลง มันถูกปิดกั้น มันถูกปฏิเสธ จึงเกิดความรู้สึกว่าธุระไม่ใช่ ไม่ใช่เจ้าของปัญหา ไม่มีส่วนในการที่ร่วมแก้ไข ท่านจะคิดตั้งหน่วยงานใดก็ตามแต่ ท่านจะต้องคิดถึงการมีส่วนร่วมในลักษณะนี้ เมื่อมีการมีส่วนร่วม ก็ต้องเข้าใจในความละเอียดอ่อนของความรู้สึกของพี่น้องประชาชน คำพูดใดๆที่เกิดขึ้นที่จะนำไปสู่ความรู้สึกบาดใจ น้อยใจ ถูกดูหมิ่น ถูกเหยียดหยาม ต้องหลีกเลี่ยงเป็นที่สุด เมื่อเกิดเหตุการณ์ตากใบ คำพูดออกมาบอกว่าที่สูญเสียชีวิตไป 80 กว่าราย พวกนี้อ่อนเพลียจากการถือศีลอด
ท่านประธานครับมันเป็นการ เจาะความรู้สึกที่มันรู้สึกเจ็บปวด และก็ไม่เฉพาะคนมุสลิมในประเทศไทยเท่านั้น
ที่รู้สึก เป็นข่าวที่โพทะนาไปทั่วโลกว่านี่คือคำพูด ที่บอกว่าคนพวกนี้ส่วนหนึ่งตายเพราะอ่อนเพลียจากการถือศีลอด ถือศีลอดแล้วไม่ตายก็เยอะ ท่านประธานที่เคารพครับเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2547 1 เดือนโดยประมาณจากเหตุการณ์ที่เจาะไอร้อง การวิเคราะห์ปัญหาระดับสูงสุดที่ออกมาที่เป็นที่ประจักษ์เข้าหูพี่น้องประชาชน คือปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด คือปัญหาเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงมีหน้าที่ที่ต้องปรับปรุงพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา ระบบความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ เพื่อให้เขาเห็นว่าไม่ต้องรอชาติหน้าหรอก ชาตินี้ถ้าเราเป็นคนรับผิดชอบ เป็นคนทุ่มเทรับผิดชอบต่อลูกที่ให้กำเนิดมา รับผิดชอบต่อครอบครัวที่ตัวเองตัดสินใจมีครอบครัว แล้วไม่เฉพาะอยากจะมีแต่เซ็กส์
ขอกราบเรียนท่านประธานครับ สิ่งที่เราพูดกันวันนี้เราต้องการแสวงหาความจริง อาจจะบาดใจบ้าง อาจจะมีความรู้สึกกระทบกระเทือนบ้าง แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพยายามที่จะเจาะให้ถึงพื้นฐานของปัญหา ท่านประธานไปถามคนมุสลิม คนคริสต์ คนที่นับถือศาสนาฮินดู คือเชื่อในชาติหน้า เป็นหลักความเชื่อขั้นพื้นฐานที่ละทิ้ง ละเว้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะบอกว่าพัฒนาชาตินี้ให้เจริญก้าวหน้า ไม่ต้องรอชาติหน้าหรอกเป็นการแสดงออกซึ่งความเข้าใจที่ไม่ละเอียดอ่อน และไม่ลึกซึ้งในความรู้สึกและในหลักความเชื่อของพี่น้องประชาชนในส่วนนั้น นี่คือที่มาของปัญหา คือไม่อ่อนไหวต่อความเชื่อและหลักศรัทธาของพี่น้องประชาชน
การแก้ปัญหาต่างๆมักจะแก้ปัญหาเหมือนกับการหักด้ามพล้าด้วยเข่า ยกตัวอย่างเรื่องการจัดการเรื่องฮัจ รอบที่แล้วรัฐบาลต้องการทำฮัจเอื้ออาทร เพราะทำเอื้ออาทรมาแล้วหลายอย่าง คนที่เค้าจัดการด้านการบริหารฮัจ ผู้ประกอบการเขาบอกเขาไม่พร้อม ยังเก็บเงินไม่ได้ รัฐบาลบอกออกเงินให้ก่อน 100 ล้านบาท และก็ไปโฆษณาให้พี่น้องประชาชนทราบว่าจะได้ไปอยู่อาคารที่สะดวกสบาย จะไปประกอบพิธีอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ ปรากฏว่าฮัจเอื้ออาทรกลายเป็นฮัทมาราธอน รอแล้วรออีกเครื่องบินไม่มี รอแล้วรออีกวีซ่าออกไม่ได้ ถึงที่สุดก็ไม่ได้ไปอยู่ในที่ที่บอกว่าจะได้ไปอยู่ อัตคัด คับแคบ ไกลจากที่ที่ต้องไปประกอบพิธี นี่คือการแก้ปัญหาด้วยการหักด้ามพล้าด้วยเข่า ถือว่ามีเงิน ถือว่ามีอำนาจ ก็ต้องการจะแก้ ท่านประธานครับผมไม่ต้องการที่จะยกประเด็นเหล่านี้มา เพื่อที่จะบอกว่า รัฐบาลไม่ได้เจตนาดีที่จะทำสิ่งที่อยากจะทำ ผมอยากจะเรียนว่าถ้าไม่เข้าใจปัญหา ถ้าไม่ลึกซึ้งในประเด็น ถ้าไม่รอบคอบ เจตนาดีอาจจะนำไปสู่ผลร้ายที่พี่น้องหมื่นกว่าคนได้รับผลกระทบในรอบที่ผ่านมา นี่คือกรณีหนึ่ง
กรณีต่อไปก็คือ เรื่องที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้นำเรียนท่านประธานไว้แล้ว การจัดสร้างอนุสาวรีย์นก การได้มีส่วนร่วมแสดงความเป็นห่วงกังวล โดยเชื้อเชิญให้พี่น้องทั้งประเทศพับนก และมีส่วนร่วมในการส่งความรู้สึก ความห่วงกังวล ไปสู่พี่น้องในพื้นที่ส่วนนั้นเป็นสิ่งที่ดีครับท่านประธานครับ แต่ว่าต้องเข้าใจความละเอียดอ่อน พื้นฐาน เบื้องลึก ความเชื่อ จิตวิทยา สังคม แง่มุมทางด้านศาสนา เพราะว่าในประวัติศาสตร์ในพระมหาคัมภีร์อัลกุลาอ่าน พูดถึงฝูงนกที่พระผู้เป็นเจ้าส่งมาปราบปรามผู้ซึ่งยกกองทัพมาเพื่อที่จะยึดเมืองเมกกะ เพราะฉะนั้นการที่จะไปสร้างอนุสาวรีย์นก มันมีความละเอียดอ่อนอยู่ 2 ระดับ อันที่ 1. รูปปั้นรูปพรรณสัณฐานใดๆจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจในพื้นที่ สำหรับพี่น้องที่นับถือศาสนาอิสลาม เพราะมันจะกลายเป็นการสร้างอนุสาวรีย์สิ่งที่มีชีวิต และอาจจะมีผลในเรื่องจิตใจ อาจจะกลายเป็นที่กราบไหว้บูชา อาจจะกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ เป็นเรื่องความอ่อนไหวครับท่านประธานครับ
ระดับที่ 2. ที่อ่อนไหว คือมันมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเรื่องฝูงนกนำก้อนหินมาโยนใส่ศัตรูที่มาเข้าไปยึดเมืองเมกกะ คนในพื้นที่เขามีความรู้สึกว่า เขาเป็นคนที่สร้างปัญหาให้กับประเทศชาติ สร้างปัญหาให้กับศาสนา สร้างปัญหาให้กับสังคม สร้างปัญหาให้กับพื้นที่ถึงมีนกฝูงนี้บินข้ามหัวมา และโปรยใส่ เห็นมั้ยครับว่าความเข้าใจมันขัดแย้งกันระหว่างผู้ให้ พวกเรา กับ ผู้รับ พวกเขา พี่น้องในพื้นที่ เราตีความแสดงความเมตตา แสดงความห่วงใย เขาตีความว่านำเอาปัญหาที่เกิดขึ้นไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ที่มีจารึกอยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุลาอ่าน และเราได้ส่งฝูงนกนำก้อนหิน ซึ่งนำมาจากนรกเบื้องลึกมาโยนใส่ฝูงศัตรูเหล่านั้น เขามีความรู้สึกว่าสิ่งนี้ล่ะครับ เป็นการเปรียบเทียบเขาเหมือนกับศัตรูของศาสนาในอดีต เป็นความละเอียดอ่อน ลึกซึ้งที่ท่านประธานก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจ ที่ผู้นำรัฐบาลในระดับต่างๆก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจลึกซึ้งได้ ขอเถอะครับ เรื่องอนุสาวรีย์นกที่นราธิวาส คิดให้รอบคอบกว่านี้ ถ้าไม่สร้างได้จะดีที่สุดครับ ท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ เรื่องต่อไปที่ผมจะกราบเรียนก็คือว่า ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมา ระยะเวลา 3 4 ปีที่ผ่านมา สูญเสียกันไปเยอะ รุนแรงกันมาก ล้มตายกันไป สูญหายกันไป สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก็คือ จะต้องค้นหาความจริงให้ได้ ว่าอะไรมันเกิดขึ้น กับใครบ้าง กี่คน ที่ไหน เมื่อไหร่ และมีใครเกี่ยวข้อง ในแอฟริกาใต้ก่อนที่เขาจะมีความสมานฉันท์ระดับชาติ ระดับประเทศ และเริ่มต้นกันใหม่ ระหว่างผิวขาวกับผิวดำ เขาตั้งคณะกรรมาธิการแสวงหาความจริงขึ้นมา
ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะไปชี้เพื่อที่จะไปกำหนดบทโทษให้กับทุกรายที่เกิดขึ้น เพราะหลายรายค้นหาความจริงอาจจะไม่สามารถที่จะไปกำหนดชี้ตัวได้ทุกเรื่องทุกกรณี แต่อย่างนี้มีบางรายยังหายอยู่ มีบางรายยังไม่รู้ชะตา มีบางรายยังไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนเป็นตายหรือถูกจับกุมคุมขังอยู่ในส่วนใดของประเทศนี่และความกระจ่างที่ต้องเกิดขึ้น ถ้าจะเริ่มต้นใหม่ด้วยความสมานฉันท์ ถ้าจะเริ่มต้นใหม่ด้วยความรู้ปรองดองไว้ใจซึ่งกันและกันสิ่งที่จะเป็นต้องเกิดขึ้นคือต้องหาความจริงว่าแต่ละกรณีแต่ละประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกรือเซะ ตากใบ สะบ้าย้อย ทีมฟุตบอล คุณสมชาย นีละไพจิตร ทั้งหมดทั้งหลายแต่ละเรื่องแต่ละกรณีหมายรวมถึงช่วงที่สูญหายไปในช่วงของการปราบปรามยาเสพติดด้วยก็ยังไม่มีคำตอบ ยังไม่มีความกระจ่าง มีปัญหาเรื่องการที่จะแต่งงานลูกสาวใครจะเป็นผู้อนุญาต แบ่งปันมรดกทำได้เมื่อไร ทำได้หรือไม่ มอบอำนาจไว้ให้ใครมีปัญหาเกี่ยวพันกับชีวิตของเขาสลับซับซ้อนและอ่อนไหวและนำไปสู่ปัญหาที่ค้างคาอยู่
ถ้าพี่น้อง ถ้าท่านประธานและเพื่อนสมาชิกเข้าใจถึงปัยหาเหล่านี้ท่านจะรู้สึกเป็นห่วงและเจ็บปวดแทนเขาด้วย เพราะฉะนั้นต้องค้นหาความจริงให้เจอก่อนที่จะเริ่มต้นกันใหม่ ท่านประธานที่เคารพรัฐบาลชอบพูดเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การสร้างงานการสร้างเมกะโปรเจ็ค แต่สิ่งที่กระผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด เพราะว่าพื้นที่ใน 3-4 จังหวัดภาคใต้ คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อนอื่น เพราะถ้าเราไปพัฒนาโครงการใหญ่ ๆ โรงไฟฟ้าที่สะบ้าย้อยสมมติ โรงแยกแก๊สที่จะนะสมมติ เขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่อะไรก็ตามแต่คนในพื้นที่ยังไม่พร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่เพื่อที่จะได้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ เหล่านั้น ถึงที่สุดยังมีทุนจากข้างนอกมาลงทุนจะมีผู้จัดการผู้บริหารจากข้างนอกจัดการบริหารกับสิ่งเหล่านั้นจะมีเทคโนโลยีจากข้างนอกจะมีผู้บริหารเทคโนโลยีจากข้างนอกมาดำเนินการอยู่ในพื้นที่ตรงนั้นท้ายที่สุดก็จะเกิดช่องว่างเกิดขึ้นกว้างยิ่งขึ้น และมันจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง ก่อให้เกิดการเผชิญหน้า ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น เพราะฉะนั้นการพัฒนาทรัยากรมนษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญรีบเร่งก่อนการพัฒนาเศรษฐกิจหรือโครงสร้างพื้นฐานอื่นใดต้องโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพยากรมนุษย์ก่อน พูดกันมากเรื่องพัฒนาปอเนาะ พัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ท่านประธานที่เคารพอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่าอย่ามองสถาบันปอเนาะหรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเป็นที่ซ่องสุม เป็นที่เสี่ยมสอนคนให้นิยมความรุนแรง นิยมการก่อการร้าย แต่ต้องมองว่ามันเป็นทรัพยากรทางสังคม มันเป็นโอกาส ในพื้นที่ในจังหวัดใน 3 จังหวัดภาคใต้มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เปิดสอนหลักสูตรสามัญบูรณาการพร้อม ๆ กับวิชาศาสนาอิสลามแล้ว 129 โรง มีนักเรียนอยู่ 89,875 คน มีอีกจำนวนหนึ่งที่จบม.6 แล้วขอเรียนศาสนาต่อ เรียนภาคสามัญบูรณาการแล้วขอเรียนต่อจำนวนจึงเป็น 91,630 คน ส่วนโรงเรียนที่เป็นปอเนาะแบบดั้งเดิมเดียวนี้เรียกว่าสถาบันศึกษาปอเนาะ นั่นคือศัพท์ใหม่ที่บัญญัติขึ้นมีอยู่ 268 โรง มีนักเรียนอยู่ 17,890 คน ท่านประธานจะเห็นว่าจำนวนที่บูรณาการแล้วมีมากกว่ามากมายเป็น 7 เท่า 8 เท่า กระผมอยากจะเห็นรัฐบาลมุ่งไปที่โรงเรียนที่บูรณาการแล้ว โรงเรียนที่เปิดสอนภาคสามัญแล้ว แต่ไปพัฒนา 5 วิชาหลักเพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาจากสถาบันเหล่านี้มีความสามารถในการที่จะไปแข่งขันกับนักศึกษาที่ออกมาจากสถาบันอื่น ๆ ทั่วประเทศ นั่นก็คือสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งอยู่ในวิสัยที่รัฐบาลทำได้เพิ่มครูภาษาไทย เทรนครูภาษาไทย อบรมผู้สอน ช่วยเหลือเรื่องตำรา จัดแคมป์จัดค่ายเพื่อที่จะให้มีการพัฒนาด้านภาษาทักษะภาษาที่ใช้ได้ สอบเข้าแข่งขันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยได้ เข้าไปเรียนในภาคสาขาวิชาต่าง ๆ ได้
ท่านประธานที่เคารพวิชาต่อไปคือภาษาอังกฤษช่วยกันทำได้ เพราะนั่นคือวิชาที่ต้องไปทดสอบก่อนที่จะเข้าไปเรียนแพทย์ ก่อนที่จะเข้าไปเรียนวิศวะ ก่อนที่จะเข้าไปเรียนสาขาวิชาต่าง ๆ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สถาบันอุดมศึกษาต้องการทดสอบภาษาอังกฤษ ท่านประธานที่เคารพคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารอินฟอร์มเมชั่นเทคโนโลยี 5 วิชานี้ที่จะเปิดคอขวดสำหรับนักศึกษา 89,000 กว่าคนที่เรียนอยู่ในขณะนี้ และเปิดโลกให้เขากว้างขึ้น ให้โอกาสเขามากขึ้น แต่ต้องไปแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเข้าไปในมหาวิทยาลัยเรียนแข่งขันกับคนอื่นเขาได้ไม่ต้องไปมีปัญหาในระดับอุดมศึกษาต่อไป ถ้ารัฐบาลมุ่งเน้นที่จะพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 129โรงเรียน โดยเน้น 5 วิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร แล้วเราจะเปิดคอขวดให้โอกาสกับนักเรียนนักศึกษาเหล่านี้ เยาวชนเหล่านี้พัฒนาตนเองเป็นทรัพยากรมนุษย์พร้อมที่จะรองรับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ของรัฐบาลต่อไป
ท่านประธานที่เคารพกระผมเห็นด้วยกับการพัฒนาเศรษฐกิจแต่ว่าในการศึกษาปัญหาของพวกเราที่ไปดูพื้นที่มา ที่ไปสอบถามพี่น้องประชาชน ที่ไปจัดการประชุมกลุ่มย่อย ท่านประธานเขาต้องการพัฒนาในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป เขาต้องการพัฒนาในลักษณะที่เป็นเศรษฐกิจชุมชนที่พอเพียงยืนอยู่บนลำแข้งลำขาตัวเองได้ก่อนที่จะก้าวกระโดดไปสู่การพัฒนาขนาดใหญ่ ขนาดเมกะโปรเจ็คที่คิดกันที่พยายามทำกันพอถึงที่สุดแล้วเขาไม่สามารถที่จะตามทันก็ไม่สามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้ เขาไม่สามารถที่จะใช้โอกาสที่เกิดขึ้นได้ถึงที่สุดมันจะเป็นโอกาสของคนข้างนอก และจะไปมีปัญหาต่อไปในอนาคต เพราะฉะนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องคิดถึงความเหมาะสมความพอเพียงและเข้ากับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อในพื้นที่ด้วยอย่าคิดว่าเงินและการสร้างงานและการสร้างโครงการใหญ่ ๆ การขุดค้นทรัพยากรในพื้นที่มาใช้แล้วจะเป็นการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ไม่ใช่ มันอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้ง มันอาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้ามากยิ่งขึ้น
ท่านประธานที่เคารพประเด็นสุดท้ายที่กระผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานเพื่อให้รัฐบาลนำไปพิจารณาก็คือประเด็นเรื่องนิติด้านต่างประเทศท่านหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เอ่ยถึงประเด็นนี้บ้างแล้ว แต่ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่า 3-4 ปีที่ผ่านมามีปัญหามากในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารการประสานงานในเรื่องนี้กับต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของประเทศใกล้เคียงเพื่อนบ้านหรือองค์กร หรือรัฐบาลที่ไกลออกไป การประชุมโอไอซีคราวที่แล้วท่านประธานในฐานะรัฐมนตรีมหาดไทยไปเอง แต่นั่นก็เป็นเหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้นมีปัญหาท่านถึงไป ก่อนหน้านั้นไม่ได้ให้ความสำคัญ ก่อนหน้านั้นไม่ได้เข้าไปมีส่วนผูกพันอะไรกับเข้าทั้ง ๆ ที่มันเป็นเวทีของเราโดยเฉพาะ ท่านประธานที่เคารพกับประเทศเพื่อนบ้านทุกทั้งที่มีความร่วมมือทุกคนแย้งกันพูดตำรวจก็พูด ต่างประเทศก็พูด ทหารก็พูด พลเรือนก็พูด แล้วพูดแล้วไม่พอพูดแล้วโพนธนาในสื่อด้วยมันมีความขัดแย้งภายในในเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ เกี่ยวกับความร่วมมือตรงนี้อยากจะฝากท่านประธานไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีถึงรัฐบาลว่าต้องระวังอย่าละเลยและต้องรอบคอบในการที่จะดำเนินการ กระผมมีข้อเสนอ 7 ข้อ อภิปรายไปด้วย เสนอเป็นแง่คิดไปด้วย ยกตัวอย่างไปด้วย และเป็นข้อเสนอเพื่อนำไปพิจารณาแก้ไขปัญหาสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศเรา ขอบพระคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-