วันนี้ (20 ธันวาคม 2548) คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบมาตรการภาษี 3 เรื่องที่กระทรวงการคลังได้นำเสนอ ซึ่งประกอบด้วย
(1) การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชีย
(2) การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสิ่งพิมพ์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้
คนไทยเข้าสู่องค์ความรู้จากต่างประเทศด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคเอเชีย และ
(3) มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งสนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและกระตุ้นการขยายการลงทุน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ดร. ทนง พิทยะ) ได้เปิดเผยเพิ่มเติมในรายละเอียดของแต่ละมาตรการภาษีที่กระทรวงการคลังได้นำเสนอเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการ กระตุ้นการลงทุนในภาคเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชนและผู้ประกอบการ ดังนี้
1. การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะประกอบด้วย การปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องลงเหลือร้อยละ 0 เป็นการทั่วไป จำนวน 768 ประเภทย่อย ซึ่งประกอบด้วย สินแร่ เคมีภัณฑ์ขั้นต้น เหล็กขั้นต้น และเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น และการปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตเป็นการเฉพาะสำหรับวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป จำนวน 104 ประเภทย่อย ซึ่งประกอบด้วย หลอดภาพโทรทัศน์ แผงวงจรพิมพ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นต้น
2. การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ จะประกอบด้วยการปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ลงเหลือร้อยละ 0 จำนวน 92 ประเภทย่อย ซึ่งประกอบด้วย กระดาษและเยื่อกระดาษ แผ่นฟิล์มที่ใช้สำหรับทำแม่พิมพ์ และเครื่องจักร ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เป็นต้น รวมทั้งการปรับลดอัตราอากรขาเข้าหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนลงเหลือร้อยละ 0 จำนวน 13 ประเภทย่อย
3. มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ จะประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
(1) มาตรการสนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ซึ่งในปัจจุบัน กำหนดให้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีกำไรจากการขายเครื่องจักรซึ่งใช้ในการประกอบกิจการ ต้องนำกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีนิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ภาคเอกชนมีเงินลงทุนในเครื่องจักรใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่าที่ใช้อยู่ในการประกอบกิจการ กระทรวงการคลังจึงเสนอให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด อนึ่ง การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้ สำหรับการขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(2) มาตรการกระตุ้นการลงทุน เนื่องจากการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงการคลังจึงเสนอมาตรการภาษีเพื่อเป็นการกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนฯทำการขยายการลงทุน โดยให้บริษัทจดทะเบียนฯที่มีรายจ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ รถยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามความหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต สามารถหักรายจ่ายได้เพิ่มเติมจากค่าเสื่อมราคาปกติอีกร้อยละ 25 ของเงินลงทุนในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ สำหรับมูลค่าของโครงการตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด อนึ่งการลงทุนที่จะได้รับสิทธิตามมาตรการนี้ ต้องกระทำภายในช่วงสามรอบระยะเวลาบัญชี เริ่มตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 120/2548 20 ธันวาคม 48--
(1) การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชีย
(2) การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสิ่งพิมพ์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้
คนไทยเข้าสู่องค์ความรู้จากต่างประเทศด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคเอเชีย และ
(3) มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งสนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและกระตุ้นการขยายการลงทุน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ดร. ทนง พิทยะ) ได้เปิดเผยเพิ่มเติมในรายละเอียดของแต่ละมาตรการภาษีที่กระทรวงการคลังได้นำเสนอเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการ กระตุ้นการลงทุนในภาคเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชนและผู้ประกอบการ ดังนี้
1. การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะประกอบด้วย การปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องลงเหลือร้อยละ 0 เป็นการทั่วไป จำนวน 768 ประเภทย่อย ซึ่งประกอบด้วย สินแร่ เคมีภัณฑ์ขั้นต้น เหล็กขั้นต้น และเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น และการปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตเป็นการเฉพาะสำหรับวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป จำนวน 104 ประเภทย่อย ซึ่งประกอบด้วย หลอดภาพโทรทัศน์ แผงวงจรพิมพ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นต้น
2. การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ จะประกอบด้วยการปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ลงเหลือร้อยละ 0 จำนวน 92 ประเภทย่อย ซึ่งประกอบด้วย กระดาษและเยื่อกระดาษ แผ่นฟิล์มที่ใช้สำหรับทำแม่พิมพ์ และเครื่องจักร ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เป็นต้น รวมทั้งการปรับลดอัตราอากรขาเข้าหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนลงเหลือร้อยละ 0 จำนวน 13 ประเภทย่อย
3. มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ จะประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
(1) มาตรการสนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ซึ่งในปัจจุบัน กำหนดให้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีกำไรจากการขายเครื่องจักรซึ่งใช้ในการประกอบกิจการ ต้องนำกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีนิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ภาคเอกชนมีเงินลงทุนในเครื่องจักรใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่าที่ใช้อยู่ในการประกอบกิจการ กระทรวงการคลังจึงเสนอให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด อนึ่ง การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้ สำหรับการขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(2) มาตรการกระตุ้นการลงทุน เนื่องจากการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงการคลังจึงเสนอมาตรการภาษีเพื่อเป็นการกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนฯทำการขยายการลงทุน โดยให้บริษัทจดทะเบียนฯที่มีรายจ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ รถยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามความหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต สามารถหักรายจ่ายได้เพิ่มเติมจากค่าเสื่อมราคาปกติอีกร้อยละ 25 ของเงินลงทุนในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ สำหรับมูลค่าของโครงการตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด อนึ่งการลงทุนที่จะได้รับสิทธิตามมาตรการนี้ ต้องกระทำภายในช่วงสามรอบระยะเวลาบัญชี เริ่มตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 120/2548 20 ธันวาคม 48--