โทษทางอาญาที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 28, 2005 13:19 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ความเห็นและข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับโทษทางอาญาที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
1. ความเป็นมา
คณะทำงานการบริการและการท่องเที่ยว สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ติดตามศึกษากรณีปัญหา ผลกระทบจากการใช้โทษทางอาญาไปกำกับกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจ จนสร้างความเสียหายและกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ถึง 51 มาตรา ปรากฏอยู่ในหมวด 3 และหมวด 8 ตามลำดับ เนื่องจาก ในปัจจุบันลักษณะของการกระทำความผิด มีความเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยปรากฏในอดีตอย่างมาก การกระทำความผิดซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยในการดำรงชีพ กระทำโดยใช้กำลังรุนแรง ไม่ซับซ้อนและกระทำโดยปัจเจกชน ดังเช่นปรากฏให้เห็นในอดีตได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการกระทำความผิดในลักษณะฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในทางธุรกิจ การค้า ทำให้เกิดความยากลำบากในการแยกเจตนาทุจริต ออกจากความมุ่งหมายในการแสวงหาผลประโยชน์ในทางการค้าให้ได้มากที่สุด โดยไม่คำนึงถึง จริยธรรมในทางอาชีพ หรือวิชาชีพ ซึ่งในบางครั้ง การนำเอาโทษทางอาญามาควบคุมกำกับการกระทำความผิดประเภทนี้ อาจไม่เหมาะสม บางครั้งกลายเป็นเรื่องที่เข้าไปกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น จึงมีข้อพิจารณาการใช้โทษทางอาญาที่ไม่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพ แต่มุ่งดำเนินการกับทรัพย์สิน ตลอดจนใช้มาตรการเสริมประเภทต่างๆ ซึ่งจะมีความเหมาะสมมากกว่า ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำลายความมุ่งหมายในการกระทำความผิด ซึ่งในปัจจุบันมุ่งประโยชน์ในด้านทรัพย์สินเป็นหลักได้มากกว่า นอกจากนี้ยังไม่เป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากจนเกินความจำเป็น
2. การดำเนินงานของคณะทำงานการบริการและการท่องเที่ยว
คณะทำงานการบริการและการท่องเที่ยว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการใช้โทษทางอาญาที่เกินความจำเป็น ซึ่งนำไปสู่การกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มุ่งให้ความคุ้มครอง จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ วิจัยทางด้านเอกสารเกี่ยวกับโทษทางอาญาในลักษณะความผิดต่างๆ ทั้งโทษทางอาญาที่เกี่ยวกับการใช้กำลังรุนแรง โทษทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางธุรกิจและการค้า โทษทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับความผิดเล็กน้อยหรือความผิดลหุโทษ เพื่อให้ได้รับคำตอบจากประชาชนและเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม คณะทำงานการบริการและการท่องเที่ยว สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดประชุมเพื่อ รับฟังความคิดเห็นในจังหวัดสำคัญใน 5 ภาค คือ จังหวัดชลบุรีจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และกรุงเทพมหานคร ผลที่ได้รับจากการสัมมนา คณะทำงานการบริการและการท่องเที่ยว ได้นำมาประมวล วิเคราะห์และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นต่อรัฐบาลต่อไป
3. ผลจากการศึกษาวิจัยของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผลจากการศึกษาวิจัย ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่ามีประเด็นเรื่องโทษทางอาญาที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่เกี่ยวกับโทษทางอาญากับลักษณะของการกระทำความผิด ว่ามีความเหมาะสมในการนำมาบังคับใช้หรือไม่ ซึ่งสามารถสรุปได้ 3 ระดับ ดังต่อไปนี้
1. ลักษณะของการกระทำความผิด ที่มีความเหมาะสมกับโทษทางอาญา ซึ่งใช้มาตรการบังคับรุนแรงและส่วนใหญ่จะเป็นความผิดที่กระทบต่อเนื้อตัว ร่างกาย สถาบันที่สำคัญของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ
2. ลักษณะของการกระทำความผิดที่มีความเหมาะสมกับโทษทางอาญา ซึ่งใช้มาตรการบังคับที่ไม่รุนแรงและควรใช้มาตรการอื่นมาเสริม เช่น ความผิดบางประเภทของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมการค้าการพาณิชย์
3. ลักษณะของการกระทำความผิดที่ไม่เหมาะสมกับโทษทางอาญา แต่ควรใช้มาตรการอื่นแทน เช่น มาตรการบริการสังคม มาตรการชดใช้คืนแก่สังคมและมาตรการทางด้านทรัพย์สิน ความผิดเหล่านั้น ได้แก่ ความผิดเล็กน้อย ความผิดที่เกิดจากข้อห้าม หรือความผิดลหุโทษ
สำหรับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับโทษทางอาญาที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และจำเป็นที่รัฐบาลต้องดำเนินการแก้ไข ดังนี้
3.1 แนวความคิดในการใช้โทษทางอาญาในการกำกับกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ของประเทศไทย ยังขาดความชัดเจน มีการใช้โทษทางอาญาที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินความจำเป็นจะสังเกตได้ว่า กฎหมายที่บัญญัติออกมาในปัจจุบันเกือบทุกฉบับ จะต้องมีการกำหนดโทษทางอาญาเป็นบทบังคับด้วยเสมอ ดังนั้น ควรมีหลักเกณฑ์ในการบัญญัติกฎหมายที่มีโทษทางอาญา ซึ่งจะต้องไม่ไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างชัดเจน โดยต้องตรวจสอบดูด้วยว่า การออกกฎหมายไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพนั้น มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง รวมทั้งพิจารณาว่าการเยียวยาการละเมิดกฎหมายบางลักษณะนั้น น่าจะใช้มาตรการอื่น เช่น มาตรการทางแพ่งยิ่งกว่ามาตรการทางอาญา
3.2 ในเรื่องโทษทางอาญาที่ใช้กำกับกิจกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ยังไม่ได้สัดส่วนกับความผิดและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐและประชาชนในส่วนรวม
3.3 โทษทางอาญาที่ใช้กำกับกิจกรรมทางการค้าเห็นได้ว่า โทษทางอาญาไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษ โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เป็นต้น การใช้โทษทางอาญากำกับความผิดประเภทนี้ ก่อให้เกิดปัญหามากกว่าที่จะมุ่งคุ้มครองผู้ถูกกระทำความผิด มาตรการเยียวยากฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติสิทธิบัตร เป็นต้น ควรใช้มาตรการทางแพ่งตามแนวทางของอารยประเทศมาใช้แทนโทษทางอาญา
3.4 ในความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความผิดที่ส่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม การลงโทษทางอาญา โดยเฉพาะโทษที่เกี่ยวกับเสรีภาพ ไม่สามารถแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสังคมส่วนรวมได้ ข้อพิจารณาในกรณีนี้คือ นอกเหนือไปจากการบังคับโทษทางอาญาแล้ว ควรมีมาตรการเสริมเพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขฟื้นฟูให้สภาพแวดล้อมที่สูญเสียไปกลับคืนมาดีเหมือนเดิม
3.5 ความผิดต่อพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เป็นอีกกรณีหนึ่งที่บ่งชี้ถึงปัญหาในการใช้โทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากลักษณะของความผิดเป็นการกระทำของนิติบุคคล ดังนั้นโทษทางอาญาที่เกี่ยวกับเสรีภาพ คือ โทษจำคุก โทษกักขัง ไม่สามารถนำมาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดประเภทนี้ ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้ ดังนั้นโทษทางอาญาที่บังคับเอากับทรัพย์สินจึงถูกนำมาพิจารณาว่า มีความเหมาะสมกับการกระทำความผิดประเภทนี้
3.6 ในส่วนของความผิดทางอาญา ซึ่งแยกออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ ส่วนของความผิดที่เรียกว่า Mala In se (ความผิดในตัวเอง) กับความผิดที่เรียกว่า Mala Prohibita (ความผิดที่รัฐห้าม/กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด) มีปัญหาให้วิเคราะห์ต่อไปว่า โทษทางอาญาที่ใช้กับความผิดประเภทนี้มีความเหมาะสมมากน้อยพียงใด การใช้มาตรการอื่นแทนโทษทางอาญา สังคมและผู้กระทำความผิดจะได้รับประโยชน์มากขึ้นหรือไม่ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
3.7 สำหรับโทษทางอาญาที่ใช้กับผู้กระทำความผิดนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ โทษที่บังคับเอากับชีวิต ซึ่งได้แก่ โทษประหารชีวิต โทษที่บังคับเอากับเสรีภาพ ซึ่งได้แก่ โทษจำคุกและโทษกักขัง และโทษที่บังคับเอากับทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ โทษปรับและโทษริบทรัพย์สิน ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มของการกระทำความผิดมุ่งเพื่อได้รับผลประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินจำนวนมาก เป็นมูลเหตุจูงใจของการกระทำความผิด ดังนั้นมาตรการดำเนินการทางด้านทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้การป้องปรามอาชญากรรมประสบความสำเร็จได้มากว่าการใช้โทษทางอาญาในรูปแบบอื่นๆ
3.8 ปัจจุบันนอกเหนือจากโทษทางอาญาแล้ว ประเทศต่างๆ หันมาใช้มาตรการทางปกครองกับความผิดบางประเภทมากขึ้น เพราะหลักเกณฑ์สำคัญในการเอามาตรการทางปกครองมาใช้กับความผิดบางประเภทนั้น ก็เพื่อมุ่งคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนให้ได้ผลอย่างจริงจังมากขึ้นมากกว่าที่กำหนดไว้ในโทษทางอาญา ดังนั้น มาตรการทางปกครองจะถูกนำมาใช้เพียงใดและอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาต่อไป
3.9 เนื่องจากการลงโทษทางอาญาในปัจจุบัน โดยเฉพาะโทษที่บังคับต่อชีวิตและโทษ
ที่บังคับต่อเสรีภาพนั้น จะส่งผลในการป้องปรามการกระทำความผิดได้เฉพาะตัวผู้กระทำความผิดเท่านั้น แต่สังคมซึ่งได้รับความเสียหายด้วยจากการกระทำความผิด มิได้รับการบำบัดหรือแก้ไขความเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น แนวความคิดในการใช้มาตรการบริการสังคมแทนการลงโทษทางอาญาจึงเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากสังคมจะได้รับการชดใช้คืนแล้ว การบริการสังคมยังไม่ไปกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ ของตัวผู้กระทำความผิดมากจนเกินสมควร ดังนั้น มาตรการนี้จึงถูกนำมาพิจารณาเพื่อให้มีการนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
4. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการเรื่องโทษทางอาญาที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ดังต่อไปนี้
4.1 เพื่อวางแนวทางที่จะไม่ใช้โทษทางอาญาไปกระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเกินกว่ากรณีจำต้องกระทำ รัฐต้องยึดหลักเกณฑ์ในการจัดระบบคุ้มครองและการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังต่อไปนี้
4.1.1 การจำกัดสิทธิเสรีภาพต้องเป็นไปเพื่อคุ้มครองสังคมและคุ้มครองเสรีภาพของผู้อื่น และการจำกัดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวต้องตราขึ้นเป็นกฎหมายจากองค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาชนตามครรลองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
4.1.2 การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของรัฐ ในขณะที่รัฐตรากฎหมายมาจำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐเองก็ต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองประชาชนด้วย การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจากการละเมิดของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ มีอยู่ 3 ระดับด้วยกัน
ก. รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า สิทธิและเสรีภาพบางอย่าง รัฐไม่สามารถตรากฎหมายออกมาจำกัดได้เลย สิทธิและเสรีภาพเช่นนี้ เป็นสิทธิเสรีภาพที่มีการรับรองไว้อย่างสมบูรณ์ ถ้ารัฐตรากฎหมายออกมาจำกัดสิทธิเสรีภาพที่มีการรับรองอย่างสมบูรณ์ดังกล่าว ก็เท่ากับว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังกล่าวหามีผลบังคับได้ไม่
ข. การจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้น ต้องตราเป็นกฎหมายที่มาจากรัฐสภา ซึ่งแสดงออกถึงเจตนารมณ์ของประชาชน
ค. ถ้ามีการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐต้องจัดให้มีองค์กรของรัฐทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนที่ถูกทำละเมิด เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง เป็นต้น นอกจากนี้ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิ เสรีภาพและขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐต้องมีองค์กรชี้ขาดในเรื่องดังกล่าว เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
4.1.3 การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพจากการละเมิดของบุคคลอื่น รัฐมีหน้าที่ต้องควบคุมมิให้ปัจเจกชนคนหนึ่งคนใดมาทำละเมิดสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนอื่น การกระทำตามหน้าที่ดังกล่าวของรัฐเป็นไปเพื่อปกป้องคุ้มครองคนทุกคนในสังคมให้มีความสงบสุข และต้องมีการกำหนดโทษไว้ ถ้ามีการละเมิดเกิดขึ้นทั้งทางแพ่งและทางอาญา
4.1.4 การกำหนดหน้าที่แก่รัฐที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิเสรีภาพใหม่ เมื่อรัฐให้สิทธิเสรีภาพและคุ้มครองแก่ประชาชนแล้ว รัฐก็มีพันธะหรือหน้าที่ที่ต้องกระทำด้วย เช่น รัฐให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกตั้ง รัฐก็มีหน้าที่ในการจัดการการเลือกตั้ง อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาเลือกตั้ง หรือสิทธิเสรีภาพในการศึกษาที่ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐในการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน
สำหรับเกณฑ์ในการตรวจสอบว่ากฎหมายใดละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1) การกระทำอันใดอันหนึ่งที่กฎหมายจะจำกัดนั้น อยู่ในขอบเขตของสิทธิขั้นพื้นฐาน
ที่ได้รับการคุ้มครองหรือไม่
2) กฎเกณฑ์ของกฎหมายที่จำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานนั้น แทรกแซงในขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
3) การแทรกแซงในสิทธิและเสรีภาพนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจาก
(1) กระบวนการร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้หรือไม่
(2) การตรวจสอบสิทธิและเสรีภาพกับเงื่อนไขของกฎหมายต้องพิจารณาดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นสิทธิและเสรีภาพกับเงื่อนไขกฎหมายพิเศษ การจำกัดสิทธิของกฎหมายนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่
(ข) ในกรณีที่เป็นสิทธิและเสรีภาพที่ปราศจากเงื่อนไขของกฎหมาย การแทรกแซงสิทธิและเสรีภาพนั้นเป็นไป เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอื่น หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
(3) ในกรณีที่มีการแทรกแซงในสิทธิและเสรีภาพ กฎหมายนั้น ได้กำหนดรายละเอียดอันเป็นสาระสำคัญที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องเป็นผู้กำหนดเองนั้น ได้มีการกำหนดไว้อย่างเพียงพอหรือไม่
(4) กฎหมายที่แทรกแซงสิทธิและเสรีภาพนั้น เป็นไปตามหลักความได้
สัดส่วน (Verhaeltnismaessigkeitsgrundsatz) หรือไม่
(5) กฎหมายที่แทรกแซงในสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว กระทบกระเทือน
สาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ ( Wesengehalt des Grundrechts) หรือไม่
(6) กฎหมายที่แทรกแซงในสิทธิและเสรีภาพนั้น เป็นการบัญญัติเพื่อใช้เฉพาะแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือไม่
(7) เฉพาะกรณีของสิทธิและเสรีภาพกับเงื่อนไขของกฎหมาย กฎหมายที่แทรกแซงสิทธิและเสรีภาพนั้น “ได้กล่าวอ้างมาตราของสิทธิและเสรีภาพที่มาแทรกแซง ( Zitiergebot) หรือไม่ และ
(8) กฎหมายที่แทรกแซงสิทธิและเสรีภาพนั้น ได้กำหนดองค์ประกอบและผลของกฎหมายแน่นอนชัดเจนเพียงพอหรือไม่ โดยในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้วางแนวทางในการตรากฎหมายที่มีโทษทางอาญาที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อสำคัญจะต้องคำนึงถึง 3 ประการ คือ
- การพิจารณาถึงความจำเป็นในการตรากฎหมาย
- ข้อพิจารณาในการตรากฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ
- การพิจารณาแนวนโยบายของรัฐ
หากผู้ร่างกฎหมายและผู้ตรากฎหมายได้พิจารณาข้อสำคัญทุกครั้งที่มีการร่างกฎหมาย หรือตรากฎหมายเพื่อออกมาใช้บังคับกับประชาชน กฎหมายฉบับดังกล่าวก็ย่อมเป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดหรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หรือหากจะกระทบก็เป็นไปในแนวทางหรือภายในขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น
4.2 ในเรื่องโทษทางอาญาของพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นั้น ผลจากการสัมมนา มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มโทษทางอาญาต่อผู้ที่กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติเหล่านี้ เพราะเป็นความผิดที่สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ กระบวนการยุติธรรมมีความยากลำบากต่อการดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านี้ ในขณะเดียวกันโทษทางอาญากลับน้อยมาก
4.3 สำหรับโทษทางอาญาที่เกี่ยวกับกฎหมายกำกับกิจกรรมทางการค้านั้น พบว? นโยบายการใช?บทลงโทษทางอาญาของไทยยังขาดความชัดเจน กระบวนการบังคับใช?กฎหมายอาญายังขาดประสิทธิภาพ การบังคับใช?กฎหมายอาญาในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เป?นภาระให?รัฐต?องสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมากเพื่อปกป?องสิทธิให?เจ?ของลิขสิทธิ์ รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษทางอาญาเป?นการจำกัดการพัฒนาทางวิชาการและมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล ดังนั้น จึงควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ในประเด็นต่อไปนี้
4.3.1 การใช้บทลงโทษทางอาญาในกฎหมายลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กำหนดโทษทางอาญาถึง 9 มาตรา คือ มาตรา 69 ถึงมาตรา 77 ส?วนความผิดทางแพ?ง มีเพียงมาตราเดียว คือ มาตรา 64 การใช้บทลงโทษทางอาญา ควรใช้เฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ใช้ในกรณีที่การเยียวยาทางแพ่งไม่เกิดผลและไม่เป็นธรรมต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือ ใช้ในกรณีที่เป็นการละเมิดในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ นอกนั้นควรเป็นโทษทางแพ่งหรือการเยียวยาทางแพ่งเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการกระทบต่อผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่กระทบต่อผลประโยชน์ของประชาชนและผู้บริโภคโดยตรง
4.3.2 การกำหนดอัตราโทษทางอาญา เพื่อความชัดเจนของขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย การกำหนดโทษทางอาญาต้องเหมาะสมกับลักษณะของการละเมิดหรือการกระทำความผิด โดยจัดระดับและประเภทของการกระทำความผิด เช่น ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ควรกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ขนาดใหญ่ในอัตราที่สูงกว่าผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ขนาดรองลงมาและควรยกเว้นโทษทางอาญาแก่รายย่อย ตลอดจนแยกประเภทของการละเมิดโดยการจำหน่ายและการเผยแพร่ต่อสาธารณชนออกจากกัน
เป็นต้น
4.3.3 ความเหมาะสมในการกำหนดอัตราโทษทางอาญา พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้กำหนดโทษทางอาญาให้เหมาะสมกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในแต่ละลักษณะ เช่น การเปิดเพลงในสถานบริการหรือร้านอาหารจากแผ่นซีดี โดยไม่ได้รับอนุญาตมีอัตราโทษเท่ากับการผลิตแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ในโรงงาน เป็นต้น
4.3.4 การใช้โทษทางอาญาเป็นเครื่องมือในการใช้สิทธิโดยมิชอบของเจ้าของลิขสิทธิ์ การคอร์รัปชั่นของตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพราะอาจอ้างโทษทางอาญาข่มขู่ให้ผู้กระทำผิดยอมให้ผลตอบแทนแทนการถูกดำเนินคดี ซึ่งจะได้รับโทษทางอาญา ประกอบกับการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จึงควรกำหนดโทษจำคุกสำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่เท่านั้น สำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์อื่นๆ ควรมีเพียงโทษปรับหรือการเรียกค่าเสียหายในทางแพ่ง
4.3.5 การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ควรมีระบบการจัดเก็บที่เหมาะสมและเป็นธรรม และสามารถแก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยการจัดตั้งคณะกรรมการกลาง เพื่อทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บ และองค์กรกลาง เพื่อทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์
4.3.6 ระยะเวลาในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ควรกำหนดระยะเวลาในการคุ้มครอง
ให้เหมาะสมกับลักษณะของงานที่คุ้มครองแต่ละประเภท เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่ เช่น ระยะเวลาในการคุ้มครองโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ควรเกิน 5 ปี เป็นต้น
4.3.7 การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย พร้อมทั้งโทษทางอาญาและสภาพบังคับของกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายและผลกระทบของกฎหมายดังกล่าว แต่ที่ผ่านมาการประชาสัมพันธ์ยังมีน้อยและอยู่ในวงจำกัด ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับทราบถึงข้อเท็จจริง จึงทำให้มีการแอบอ้างนำโทษทางอาญาในกฎหมายลิขสิทธิ์ไปใช้ข่มขู่รีดไถประชาชน ซึ่งมีความเกรงกลัวต่อโทษทางอาญา ดังนั้น ในการออกกฎหมาย รัฐบาลควรได?มีการประชาสัมพันธ์ให?ประชาชนผู้ซึ่งต้องรับผลของการใช?กฎหมายนั้นๆ ได้รับทราบ และควรให้โอกาสประชาชนได้มีส่วนในการแสดงความคิดเห็น ก่อนที่จะมีการประกาศใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญา
นอกจากนี้ยังมีข้อพิจารณาในเรื่องพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างกว้างขวางอีกบางประการ เช่น คำว่า “การเผยแพร่ต่อสาธารณชน” ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายต่อประชาชนอย่างยิ่ง เปิดโอกาสให้นายทุนร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ จนบางคนกล่าวว่า การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ในส่วนนี้กลายเป็นการกรรโชกทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นจึงเห็นสมควรแก้ไขถ้อยคำให้กระชับมากกว่านี้ คือ แก้ไขเป็น “การเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้า” จะได้เป็นการบังคับใช้กฎหมายให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงมากกว่า
4.4 ในส่วนของความเหมาะสมของโทษทางอาญาในความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตาม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 นั้น เห็นว่า ควรมีการปรับปรุงให้มีการใช้โทษปรับที่สัมพันธ์กับความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมและผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายได้รับในขณะที่คงกระทำการฝ่าฝืนอยู่และควรมีการใช้มาตรการทางปกครองที่เหมาะสมให้มากขึ้น รวมทั้งใช้กลไกและมาตรการด้านอื่นๆ เพื่อเสริมกลไกและมาตรการที่มีอยู่ในกฎหมายเดิม เช่น การบังคับให้ผู้ประกอบการที่เสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมลพิษต้องทำประกันภัย หรือจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเยียวยาความเสียหายจากสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ ควรมีการปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ เพื่อลดภาระการพิสูจน์ของผู้เสียหายหรือโจทก์ในคดีสิ่งแวดล้อมลง และปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและกระบวนพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมตามหลัก citizen suit และ class action เพื่อให้มีการใช้สิทธิและทำให้การใช้สิทธิฟ้องคดีด้านสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.5 ในส่วนของความเหมาะสมของโทษทางอาญาในความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตาม
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 นั้น กฎหมายฉบับนี้มีการใช้มาตรการทางปกครองเป็นมาตรการหลัก ส่วนบทกำหนดโทษอาญาที่มีอยู่ อยู่ในกรอบการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญฯ จึงไม่มีปัญหาด้านความชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ แต่พบว่า โทษอาญาที่กำหนดไว้ ส่วนใหญ่กำหนดไว้เป็นโทษปรับตายตัวและมีจำนวนไม่สูงคือปรับสูงสุดเพียงสี่แสนบาท ซึ่งหากพิจารณาถึงผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของผู้ประกอบการขณะที่ยังฝ่าฝืนกฎหมายนี้แล้ว อาจเห็นได้ว่า โทษปรับดังกล่าวมีจำนวนต่ำมาก ซึ่งไม่ทำให้ผู้กระทำผิดเกิดความเกรงกลัว จึงควรกำหนดโทษปรับในลักษณะสัมพันธ์กับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจดังกล่าว ตลอดจนความเสียหายที่สังคมได้รับเนื่องจากการกระทำผิดนั้น
4.6 ในส่วนของความเหมาะสมของโทษทางอาญาในความผิดลหุโทษนั้น ควรจะยกเลิกโทษทางอาญาในบทบัญญัติความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา และนำเอามาตรการทางปกครองหรือมาตรการทางบริหาร รวมถึงมาตรการทำงานบริการสังคมมาใช้แทนการลงโทษทางอาญา อาทิเช่น การให้เจ้าพนักงานมีอำนาจออกคำสั่งให้กระทำการ ระงับการกระทำการ หรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายอันเกิดจากการกระทำผิด รวมถึงการให้อำนาจเจ้าพนักงานเรียกตัวผู้กระทำความผิดมาอบรม ตักเตือนและให้คำแนะนำในเรื่องการประพฤติปฏิบัติตน ซึ่งการนำมาตรการทางปกครองมาใช้จะให้ประสิทธิผลในการบังคับใช้กฎหมายในความผิดลหุโทษ หรือความผิดเล็กน้อยมากกว่าการนำโทษทางอาญามาบังคับ เนื่องจากโทษทางอาญาขาดความยืดหยุ่นในการนำมาตรการอื่นที่เหมาะสมมาใช้บังคับ แต่ทั้งนี้การยกเลิกโทษทางอาญาในความผิดลหุโทษในประมวลกฎหมายอาญา จะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีความใกล้เคียงหรือซ้ำซ้อนกับความผิดลหุโทษดังกล่าวให้มีความสอดคล้องกันด้วย
4.7 ในส่วนของมาตรการทางด้านทรัพย์สินนั้น พิจารณาเห็นว่า เป็นมาตรการที่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้กระทำความผิดได้มากกว่าการใช้โทษทางอาญาในส่วนของเสรีภาพ และเป็นการลดปัญหานักโทษล้นเรือนจำ ในขณะเดียวกันรัฐก็ได้รับประโยชน์จากการริบให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินและก็เป็นการตอบโต้ผู้กระทำความผิด ในส่วนของมูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิด คือ เงินหรือทรัพย์สินจำนวนมาก การทำลายทรัพย์สินทั้งหมดของผู้กระทำความผิด โดยริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน ก็ถือว่าเป็นการตอบโต้ที่สาสมเช่นกัน มาตรการทางด้านทรัพย์สิน ได้แก่
4.7.1 การใช้มาตรการริบทรัพย์สินทางแพ่ง (Civil Forfeiture) ควบคู่ไปกับการริบทรัพย์สินทางอาญา (Criminal Forfeiture) ซึ่งสามารถติดตามทรัพย์ไปได้ แม้จะมีการเปลี่ยนสภาพไปกี่ทอดก็ตาม
4.7.2 การใช้โทษปรับที่ไม่มีอัตราค่าปรับขั้นสูง แต่ให้สามารถปรับได้ใกล้เคียงกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิด นอกจากนั้นยังเสนอให้มีการปรับแบบ Day Fine System อีกด้วย
4.7.3 มาตรการกำหนดสภาพบังคับ โดยยึดหลักชดเชยความเสียหาย (Restitution) โดยการคืนทรัพย์สินที่ทำให้เสียหาย หรือจ่ายค่าทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น
4.7.4 ใช้มาตรการป้องปรามมิให้เกิดความผิดขึ้นอีก โดยการโฆษณาการกระทำความผิดของตนผ่านสื่อต่างๆ ด้วยเงินของผู้กระทำความผิดเอง (Notice to Victim)
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ