แท็ก
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ประเทศญี่ปุ่น
thailand
japan
สมอง
สศอ.-สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ร่วมประชุม"The Second Japan-Thailand Steel Dialogue"กับประเทศญี่ปุ่น เปิดเวทีระดมสมองเร่งวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดเหล็กโลก พร้อมเสนอญี่ปุ่นจัดส่งผู้เชี่ยวชาญอุตฯเหล็กร่วมพัฒนาบุคลากรไทยเพิ่มศักยภาพการผลิตสู้ตลาดโลก
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทย ร่วมประชุม "The Second Japan-Thailand Steel Dialogue"กับผู้แทนกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม[METI
]ประเทศญี่ปุ่น และผู้แทนสมาคมเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศญี่ปุ่น [JISF
] เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์เหล็กของทั้งสองประเทศ และสร้างความร่วมมือทางการค้าและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทย เนื่องจาก ประเทศญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมเหล็กในระดับโลก รวมทั้ง ผลกระทบที่อาจจะเกิดจากประเทศต่างๆในโลก โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเหล็กเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ สศอ. และคณะผู้แทนฝ่ายไทยได้เสนอขอความร่วมมือจากญี่ปุ่นให้พิจารณาจัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเหล็กมาประจำที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้คำปรึกษาและอบรมบุคลากรในโรงงานผลิตเหล็กในประเทศให้สามารถพัฒนาการผลิตได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาแนวโน้มของตลาดเหล็กไทย คาดว่า ยังคงมีอัตราการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นไปตามอุปสงค์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะ โครงการใหญ่ของภาครัฐที่กำลังอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการให้เสร็จทันกำหนดเวลา ประกอบกับ ได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา และเวียดนาม มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ทำให้ผู้ผลิตเหล็กไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ส่วนการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดเหล็ก พบว่า ปัจจุบันผู้ผลิตเหล็กเริ่มหันมาเป็นพันธมิตรทางการค้ามากขึ้น เช่นเดียวกับกรณีที่ประเทศผู้ผลิตเหล็ก 3 รายใหญ่ของโลก หันมาควบรวมกิจการกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้การผลิตเหล็กร้อยละ 75 อยู่ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ คาดว่า การสร้างพันธมิตรทางการค้าจะช่วยขจัดปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างการผลิตและความต้องการ และก่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคาในระยะยาว
ด้านแนวโน้มตลาดเหล็กของโลก คาดว่า จะมุ่งเน้นไปที่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง โดยในปี 2548-2549 อุตสาหกรรมเหล็กยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อไป แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ขณะที่ อินเดียเป็นประเทศที่น่าจับตามองรองจากจีน เนื่องจาก ปัจจุบันได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม จะเห็นได้จากภาครัฐมีการทุ่มเงินมูลค่ามหาศาลในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเพิ่มจำนวนมาก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทย ร่วมประชุม "The Second Japan-Thailand Steel Dialogue"กับผู้แทนกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม[METI
]ประเทศญี่ปุ่น และผู้แทนสมาคมเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศญี่ปุ่น [JISF
] เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์เหล็กของทั้งสองประเทศ และสร้างความร่วมมือทางการค้าและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทย เนื่องจาก ประเทศญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมเหล็กในระดับโลก รวมทั้ง ผลกระทบที่อาจจะเกิดจากประเทศต่างๆในโลก โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเหล็กเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ สศอ. และคณะผู้แทนฝ่ายไทยได้เสนอขอความร่วมมือจากญี่ปุ่นให้พิจารณาจัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเหล็กมาประจำที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้คำปรึกษาและอบรมบุคลากรในโรงงานผลิตเหล็กในประเทศให้สามารถพัฒนาการผลิตได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาแนวโน้มของตลาดเหล็กไทย คาดว่า ยังคงมีอัตราการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นไปตามอุปสงค์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะ โครงการใหญ่ของภาครัฐที่กำลังอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการให้เสร็จทันกำหนดเวลา ประกอบกับ ได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา และเวียดนาม มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ทำให้ผู้ผลิตเหล็กไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ส่วนการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดเหล็ก พบว่า ปัจจุบันผู้ผลิตเหล็กเริ่มหันมาเป็นพันธมิตรทางการค้ามากขึ้น เช่นเดียวกับกรณีที่ประเทศผู้ผลิตเหล็ก 3 รายใหญ่ของโลก หันมาควบรวมกิจการกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้การผลิตเหล็กร้อยละ 75 อยู่ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ คาดว่า การสร้างพันธมิตรทางการค้าจะช่วยขจัดปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างการผลิตและความต้องการ และก่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคาในระยะยาว
ด้านแนวโน้มตลาดเหล็กของโลก คาดว่า จะมุ่งเน้นไปที่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง โดยในปี 2548-2549 อุตสาหกรรมเหล็กยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อไป แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ขณะที่ อินเดียเป็นประเทศที่น่าจับตามองรองจากจีน เนื่องจาก ปัจจุบันได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม จะเห็นได้จากภาครัฐมีการทุ่มเงินมูลค่ามหาศาลในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเพิ่มจำนวนมาก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-