การพัฒนาศักยภาพการผลิต โดยเฉพาะอุปกรณ์ทางด้านการเกษตรเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ได้จริง และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยคือ จุดมุ่งหมายหลักของนักศึกษาที่ศึกษาด้านเทคโนโลยีการเกษตร โดยการนำเอาความรู้ที่ได้เรียนมา มาประยุกต์ ปรับปรุงดัดแปลงเพื่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ
ล่าสุด เครื่องรีดยางพาราชนิดให้ความร้อนโดยใช้ก๊าซหุงต้ม ผลงานของ สิรวิชญ์ อินวงศ์ และ สุทธิศักดิ์ วิจิตรสมบัติ นักศึกษาจากภาควิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและแปรสภาพ คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมี อาจารย์มโน สุวรรณคำ เป็นที่ปรึกษา เป็นอีกสิ่งประดิษฐ์หนึ่งจากมันสมองของเด็กไทย ซึ่งในปัจจุบันนี้กระบวนการผลิตยางแผ่นจะมี 2 ขั้นตอน คือการรีดยาง และการตากแห้งหรือรมควัน ซึ่งในขั้นตอนการรีดยางนั้นได้มีการพัฒนาเครื่องรีดโดยใช้แหล่งความร้อนจากหลอดรังสีอินฟาเรดที่บรรจุอยู่ภายในลูกรีดช่วยลดความชื้นแผ่นยางพาราไปพร้อมๆ กัน การใช้แหล่งความร้อนจากไฟฟ้าก็ยังประสบปัญหา เจ้าของผลงานบอกว่า "โดยจุดมุ่งหมายหลักของเราคือ การแก้ปัญหาที่เกิดจากการรีดแผ่นยางแบบเดิมที่ใช้แหล่งความร้อนจากระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายเทความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอของผิวลูกรีด ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น เราจึงได้ศึกษาและพัฒนาระบบการให้ความร้อนของต้นแบบเครื่องรีดยางพาราชนิดให้ความร้อน โดยใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) เป็นแหล่งความร้อนแทนพลังงานจากไฟฟ้า
โดยตัวเครื่องประกอบด้วยชุดลูกรีด 3 ชุด คือลูกรีดลดขนาด ลูกรีดกลมเกลี้ยง และลูกรีดขึ้นลาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.8 เซนติเมตร หน้ากว้าง 40 เซนติเมตร ขับเคลื่อนด้วยโซ่ พร้อมชุดเฟืองทด และมอเตอร์ ขนาด 1 แรงม้า ภายในลูกรีดแต่ละชุดจะบรรจุท่อก๊าซหุงต้มเพื่อให้ความร้อนกับผิวลูกรีด
จากการทดสอบความสามารถอัตราการรีดยางสูงสุดเท่ากับ 77.60 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง และอัตราส่วนการระเหยน้ำสูงสุดเท่ากับ 0.40 กิโลกรัม ต่อกิโลกรัม อัตราการลดความชื้นเท่ากับ 18.58 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง ค่าใช้จ่ายจะอยู่ประมาณ 0.13 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าผิวลูกรีดมีความร้อนสูงและสม่ำเสมอ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีต้นทุนการใช้จ่ายไม่มากนัก และสามารถนำไปใช้ได้จริง
อย่างไรก็ตาม เจ้าของโปรเจคได้บอกว่า ในอนาคตจะต้องมีการปรับปรุงอีกบางประการ เช่น หน้ากว้างของลูกรีดสั้นเกินไป ทำให้แผ่นยางมีขนาดไม่ได้มาตรฐานและการเพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกรีดเพื่อให้การเผาไหม้สมบูรณ์ และมีพื้นที่สัมผัสความร้อนเพิ่มขึ้น และการใช้ระบบเฟืองแทนโซ่ ส่งกำลังเพื่อให้ปรับระยะห่างลูกรีดให้เที่ยงตรงและมีความสะดวกขึ้น
ผู้ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามไปได้ที่ คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หมายเลขโทรศัพท์ (02) 549-3300
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ล่าสุด เครื่องรีดยางพาราชนิดให้ความร้อนโดยใช้ก๊าซหุงต้ม ผลงานของ สิรวิชญ์ อินวงศ์ และ สุทธิศักดิ์ วิจิตรสมบัติ นักศึกษาจากภาควิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและแปรสภาพ คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมี อาจารย์มโน สุวรรณคำ เป็นที่ปรึกษา เป็นอีกสิ่งประดิษฐ์หนึ่งจากมันสมองของเด็กไทย ซึ่งในปัจจุบันนี้กระบวนการผลิตยางแผ่นจะมี 2 ขั้นตอน คือการรีดยาง และการตากแห้งหรือรมควัน ซึ่งในขั้นตอนการรีดยางนั้นได้มีการพัฒนาเครื่องรีดโดยใช้แหล่งความร้อนจากหลอดรังสีอินฟาเรดที่บรรจุอยู่ภายในลูกรีดช่วยลดความชื้นแผ่นยางพาราไปพร้อมๆ กัน การใช้แหล่งความร้อนจากไฟฟ้าก็ยังประสบปัญหา เจ้าของผลงานบอกว่า "โดยจุดมุ่งหมายหลักของเราคือ การแก้ปัญหาที่เกิดจากการรีดแผ่นยางแบบเดิมที่ใช้แหล่งความร้อนจากระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายเทความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอของผิวลูกรีด ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น เราจึงได้ศึกษาและพัฒนาระบบการให้ความร้อนของต้นแบบเครื่องรีดยางพาราชนิดให้ความร้อน โดยใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) เป็นแหล่งความร้อนแทนพลังงานจากไฟฟ้า
โดยตัวเครื่องประกอบด้วยชุดลูกรีด 3 ชุด คือลูกรีดลดขนาด ลูกรีดกลมเกลี้ยง และลูกรีดขึ้นลาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.8 เซนติเมตร หน้ากว้าง 40 เซนติเมตร ขับเคลื่อนด้วยโซ่ พร้อมชุดเฟืองทด และมอเตอร์ ขนาด 1 แรงม้า ภายในลูกรีดแต่ละชุดจะบรรจุท่อก๊าซหุงต้มเพื่อให้ความร้อนกับผิวลูกรีด
จากการทดสอบความสามารถอัตราการรีดยางสูงสุดเท่ากับ 77.60 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง และอัตราส่วนการระเหยน้ำสูงสุดเท่ากับ 0.40 กิโลกรัม ต่อกิโลกรัม อัตราการลดความชื้นเท่ากับ 18.58 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง ค่าใช้จ่ายจะอยู่ประมาณ 0.13 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าผิวลูกรีดมีความร้อนสูงและสม่ำเสมอ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีต้นทุนการใช้จ่ายไม่มากนัก และสามารถนำไปใช้ได้จริง
อย่างไรก็ตาม เจ้าของโปรเจคได้บอกว่า ในอนาคตจะต้องมีการปรับปรุงอีกบางประการ เช่น หน้ากว้างของลูกรีดสั้นเกินไป ทำให้แผ่นยางมีขนาดไม่ได้มาตรฐานและการเพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกรีดเพื่อให้การเผาไหม้สมบูรณ์ และมีพื้นที่สัมผัสความร้อนเพิ่มขึ้น และการใช้ระบบเฟืองแทนโซ่ ส่งกำลังเพื่อให้ปรับระยะห่างลูกรีดให้เที่ยงตรงและมีความสะดวกขึ้น
ผู้ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามไปได้ที่ คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หมายเลขโทรศัพท์ (02) 549-3300
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-