การประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันฝึกอบรมและวิจัยประกันภัยแห่งอาเซียน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 9, 2005 13:30 —คปภ.

          การประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันฝึกอบรมและวิจัยประกันภัยแห่งอาเซียน ครั้งที่ 2/2548 (The 2nd AITRI Management Board Meeting) การประชุมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน ครั้งที่ 8 (The 8th ASEAN Insurance Regulators Meeting) และการประชุมร่วมกันระหว่างผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน สภาประกันภัยอาเซียน และสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดน (The Joint Meeting between AIRM, AIC and CoB) ณ เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน — 1 ธันวาคม 2548 
อธิบดีกรมการประกันภัย นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันฝึกอบรมและวิจัยประกันภัยแห่งอาเซียนครั้งที่ 2/2548 (The 2nd ASEAN Insurance Training and Research Institute Management Board Meeting) การประชุมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน ครั้งที่ 8 (The 8th ASEAN Insurance Regulators Meeting) และการประชุมร่วมกันระหว่างผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน สภาประกันภัยอาเซียน และสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดน (The Joint Meeting between The ASEAN Insurance Regulators, The ASEAN Insurance Council and The Council of Bureaux)ณ เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2548 ผลการประชุมสามารถสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันฝึกอบรมและวิจัยประกันภัยแห่งอาเซียน ครั้งที่ 2/2548 (The 2nd AITRI Management Board Meeting) สถาบันฝึกอบรมและวิจัยประกันภัยแห่งอาเซียน (ASEAN Insurance Training and Research Institute: AITRI) เป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรและทำการวิจัยด้านวิชาการในสาขาประกันภัยของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ประกอบด้วยนายทะเบียนของหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจประกันภัย จากประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงค์โปร์ และไทย โดยมีการพิจารณาเรื่องสำคัญๆ โดยสรุป ดังนี้
1.1 AITRI ได้แจ้งที่ประชุมฯ ทราบ เรื่องการเปิดบัญชีของ AITRI การส่งเงินสมทบของประเทศสมาชิก และผลการดำเนินงานตามโครงการอบรม/สัมมนาสำหรับผู้กำกับดูแลที่ได้จัดขึ้นในปี 2548
1.2 ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาหลักสูตรการอบรม/สัมมนาสำหรับผู้กำกับดูแล ในปี 2549 ซึ่งประกอบด้วย (1) Workshop on Consumer Protection and Education towards observing ICP 25 (2) The 2nd Workshop on self assessment of selected IAIS ICP และ (3) Seminar on advanced risk management and insurance accounting ทั้งนี้ที่ประชุมพิจารณาและเห็นชอบกับโครงการอบรม/สัมมนา 3 เรื่องข้างต้น พร้อมได้อนุมัติงบประมาณสำหรับการอบรม/สัมมนาดังกล่าว
2. การประชุมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน ครั้งที่ 8 (The 8th ASEAN Insurance Regulators Meeting) เป็นการประชุมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียนที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะเวียนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในแต่ละปี โดยในปีนี้ มีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยที่ประชุมได้เลือกกัมพูชาเป็นประธานและอินโดนีเซียเป็นรองประธานการประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้หารือกันในเรื่องต่างๆ ดังนี้
2.1 ความร่วมมือด้านการประกันภัย (Insurance Cooperation) ที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย 1) เรื่องรายงานสถิติธุรกิจประกันภัยที่เป็นรูปแบบเดียวกัน (ASEAN Unified Form of Statistics :AUFS) 2) ความร่วมมือเรื่องกฎหมายประกันภัย (Harmonization of Insurance Laws) โดยไทยได้รายงานให้ ที่ประชุมทราบว่า ขณะนี้ไทยอยู่ในระหว่างการแก้ไขกฎหมายซึ่งครอบคลุมประเด็น Corporate Governance และ 3) ASEAN Insurance Training and Research Institute (AITRI) โดย AITRI ได้รายงานที่ประชุมฯ เรื่องการส่งเงินสมทบของประเทศสมาชิก ผลการดำเนินงานตามโครงการอบรม/สัมมนาสำหรับผู้กำกับดูแลที่ได้จัดขึ้นในปี 2548 และหลักสูตรการอบรม/สัมมนาสำหรับผู้กำกับดูแลในปี 2549 พร้อมกับงบประมาณที่ใช้ในการฝึกอบรม/สัมมนา
2.2 การดำเนินการตามพิธีสารฉบับที่ 5 ว่าด้วยแผนการประกันภัยรถภาคบังคับของอาเซียน (Implementation of Protocol 5 on ASEAN Scheme of Compulsory Motor Vehicle Insurance) เลขาธิการอาเซียนรายงานที่ประชุมถึงความคืบหน้าในการดำเนินการตามพิธีสารฉบับที่ 5 ว่า National Bureaux ทุกประเทศในอาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการประกันภัยรถผ่านแดนระหว่างประเทศ (Inter-Bureaux Agreement) เรียบร้อยแล้ว ส่วนการใช้ระบบ Blue Card ซึ่งเป็นเอกสารติดหน้ากระจกรถเพื่อแสดงว่าการประกันภัยรถภาคบังคับนั้น มีหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยแสดงความพร้อมที่จะใช้ระบบนี้แล้ว
2.3 ความคืบหน้าเรื่องการเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยในกรอบอาเซียน (Progress of Liberalization of Insurance Sector under the ASEAN Framework Agreement on Service; AFAS) เลขาธิการอาเซียนรายงานที่ประชุมฯ ถึงแนวทางการเจรจาการเปิดเสรีฯ โดยให้ประเทศสมาชิกเตรียม sub-sector และ mode ในการเปิดเสรีใน ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งจะมีการเริ่มเจรจาในเดือนมีนาคม 2549 ผ่านทาง the Working Committee on Financial Services Liberalization under AFAS ทั้งนี้ อินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม AIRM ในครั้งต่อไป
3. การประชุมร่วมกันระหว่างผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน สภาประกันภัยอาเซียน และสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดน (The Joint Meeting between AIR, AIC and CoB) เป็นการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกันระหว่างผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน สภาประกันภัยอาเซียน และสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดน โดยที่ประชุมฯ ได้หารือกันในเรื่องต่างๆ ดังนี้
3.1 ประธานการประชุมสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนได้รายงานผลการประชุม The 6th Meeting of the Council of Bureaux under the Protocol 5: ASEAN Scheme of Compulsory Motor Vehicle Insurance ซึ่งเป็นการประชุมของสภาประกันภัยรถผ่านแดนและมี National Bureau ของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศที่ทำหน้าที่ในการรับประกันภัยรถบรรทุกผ่านแดนเข้าร่วมประชุม โดยที่ร่วมประชุมฯ ได้หารือเรื่องที่สำคัญ เช่น การเพิ่มประเภทรถที่สามารถใช้ Blue Card และการปรับปรุงรูปแบบลักษณะของ Blue Card ให้มีความสะดวกมากขึ้น
3.2 ประธานสภาประกันภัยอาเซียนได้รายงานผลการประชุม The 31st ASEAN Insurance Council Meeting ซึ่งเป็นการประชุมของภาคธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคอาเซียน โดยประธานสภาประกันภัยอาเซียนได้ขอให้ ผู้กำกับดูแลฯ พิจารณาแนวทางในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในเรื่องต่างๆ โดยไทยได้รายงานที่ประชุมฯ ถึงแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจฯ ในประเด็นต่างๆ เช่น 1) ไทยอยู่ระหว่างการจัดทำ Insurance Master Plan ร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัย สมาคมนายหน้าประกันภัย และสมาคมตัวแทนประกันชีวิต 2) ไทยมีการจัดทำการศึกษาเรื่อง Risk-Based Capital และ 3) ภาครัฐและภาคธุรกิจประกันภัยของไทย มีความร่วมมือกันและประสานงานกันเป็นอย่างดี เช่น มีการหารือร่วมกันในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย มีการร่วมมือกันในการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยแก่ประชาชน และประเทศไทยสนับสนุน Self-Regulation โดยสมาคมประกันภัยได้จัดทำ Code of Conduct หรือ Code of Best Practice เป็นต้น
ที่มา: http://www.doi.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ