กรุงเทพ--13 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยกับสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2548 ว่าตนได้พบหารือทวิภาคีกับนายทาโร อะโซ (Mr. Taro Aso) รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมาร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 120 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่นซึ่งจะมาถึงในปี 2550 ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นแจ้งว่าจะได้ส่งคณะแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมาประเทศไทยในปีหน้า เพื่อหารือถึงกิจกรรมการเฉลิมฉลองดังกล่าวต่อไป นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความคาดหวังว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่นจะสามารถจัดทำได้สมบูรณ์พร้อมสำหรับการลงนามในเดือนมีนาคม 2549 นอกจากนี้ ฝ่ายไทยหวังว่า ญี่ปุ่นจะสามารถมีบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond) ในกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ด้วย
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเรื่องการหายตัวไปของนางสาวอโนชา ปันจ้อย ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่ามิได้มีการยกขึ้นกับรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ โดยขณะนี้ทางการไทยยังคงเน้นติดต่อประสานงานโดยตรงกับทางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ทั้งผ่านทางเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือ และข้อมูลล่าสุดที่ได้รับคือ ฝ่ายเกาหลีเหนือยังคงปฏิเสธเรื่องนี้อยู่ แต่ฝ่ายไทยจะยังคงพยายามประสานงานต่อไป
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ จีน-ญี่ปุ่น รัฐมนตรีว่าการประทรวงการต่างประเทศให้ความเห็นว่าไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับทั้งสองประเทศ และทั้งสองประเทศมีบทบาทสำคัญต่อภูมิภาค จึงไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสอง ไทยเข้าใจดีว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เกี่ยวกับความรู้สึกและประวัติศาสตร์ แต่ก็อยากให้โดยอยากให้ทั้งสองประเทศทำความเข้าใจกันและมองไปสู่อนาคตมากกว่า และก็ยอมรับว่าความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นมีผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกในระดับหนึ่ง แต่น่าจะไม่มีผลกระทบสำคัญต่อความร่วมมืออันดีที่ทั้งสองประเทศมีกับอาเซียน
สำหรับความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย โดยเฉพาะกรณี 131 คนนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่า การที่ฝ่ายมาเลเซียได้ส่งบุคคลที่เป็นที่ต้องการของทางการไทยกลับมา 1 คนตามคำขอของรัฐบาลไทยนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงบวกและความสามารถที่จะทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป
เกี่ยวกับไข้หวัดนก รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่าไทยได้ให้ความช่วยเหลือประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (ในกรอบ ACMECS) ในเรื่องการต่อสู้กับไข้หวัดนก โดยเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชน และการวิจัยร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ฝ่ายไทยต้องการให้สามารถมีการขนย้ายวัคซีนระหว่างประเทศได้ ไทยและอาเซียนให้ความสำคัญกับเรื่องไข้หวัดนกเป็นอย่างมาก โดยเชื่อว่าหากทำให้แต่ละประเทศปลอดภัย ภูมิภาคปลอดภัย โลกก็จะปลอดภัยเช่นเดียวกัน โดยไทยเห็นว่าจำเป็นต้องมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และความโปร่งใสในการดำเนินการระหว่างประเทศในเรื่องนี้ ที่ผ่านมาบทบาทของไทยได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแก้ปัญหาไข้หวัดนก ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนโครงการต่างๆ ของประเทศไทยในด้านการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยกับสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2548 ว่าตนได้พบหารือทวิภาคีกับนายทาโร อะโซ (Mr. Taro Aso) รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมาร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 120 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่นซึ่งจะมาถึงในปี 2550 ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นแจ้งว่าจะได้ส่งคณะแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมาประเทศไทยในปีหน้า เพื่อหารือถึงกิจกรรมการเฉลิมฉลองดังกล่าวต่อไป นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความคาดหวังว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่นจะสามารถจัดทำได้สมบูรณ์พร้อมสำหรับการลงนามในเดือนมีนาคม 2549 นอกจากนี้ ฝ่ายไทยหวังว่า ญี่ปุ่นจะสามารถมีบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond) ในกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ด้วย
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเรื่องการหายตัวไปของนางสาวอโนชา ปันจ้อย ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่ามิได้มีการยกขึ้นกับรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ โดยขณะนี้ทางการไทยยังคงเน้นติดต่อประสานงานโดยตรงกับทางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ทั้งผ่านทางเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือ และข้อมูลล่าสุดที่ได้รับคือ ฝ่ายเกาหลีเหนือยังคงปฏิเสธเรื่องนี้อยู่ แต่ฝ่ายไทยจะยังคงพยายามประสานงานต่อไป
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ จีน-ญี่ปุ่น รัฐมนตรีว่าการประทรวงการต่างประเทศให้ความเห็นว่าไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับทั้งสองประเทศ และทั้งสองประเทศมีบทบาทสำคัญต่อภูมิภาค จึงไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสอง ไทยเข้าใจดีว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เกี่ยวกับความรู้สึกและประวัติศาสตร์ แต่ก็อยากให้โดยอยากให้ทั้งสองประเทศทำความเข้าใจกันและมองไปสู่อนาคตมากกว่า และก็ยอมรับว่าความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นมีผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกในระดับหนึ่ง แต่น่าจะไม่มีผลกระทบสำคัญต่อความร่วมมืออันดีที่ทั้งสองประเทศมีกับอาเซียน
สำหรับความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย โดยเฉพาะกรณี 131 คนนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่า การที่ฝ่ายมาเลเซียได้ส่งบุคคลที่เป็นที่ต้องการของทางการไทยกลับมา 1 คนตามคำขอของรัฐบาลไทยนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงบวกและความสามารถที่จะทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป
เกี่ยวกับไข้หวัดนก รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่าไทยได้ให้ความช่วยเหลือประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (ในกรอบ ACMECS) ในเรื่องการต่อสู้กับไข้หวัดนก โดยเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชน และการวิจัยร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ฝ่ายไทยต้องการให้สามารถมีการขนย้ายวัคซีนระหว่างประเทศได้ ไทยและอาเซียนให้ความสำคัญกับเรื่องไข้หวัดนกเป็นอย่างมาก โดยเชื่อว่าหากทำให้แต่ละประเทศปลอดภัย ภูมิภาคปลอดภัย โลกก็จะปลอดภัยเช่นเดียวกัน โดยไทยเห็นว่าจำเป็นต้องมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และความโปร่งใสในการดำเนินการระหว่างประเทศในเรื่องนี้ ที่ผ่านมาบทบาทของไทยได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแก้ปัญหาไข้หวัดนก ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนโครงการต่างๆ ของประเทศไทยในด้านการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-