นายไชยยศ สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 38 ระหว่างวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม 2548 และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งที่ 8 ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ดังนี้
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 38
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 38ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 โดยมีใจความสำคัญว่า นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลสามารถปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่างๆ เช่น การตั้งเป้าหมายในการขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไปภายในปี 2552 การเน้นการพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การเน้นการเพิ่มมูลค่าการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านตามกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในประเทศลุ่มแม่น้ำอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ซึ่งเป็นการเสริมนโยบายการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ของธนาคารพัฒนาเอเชีย และได้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือในการขจัดความยากจนในภูมิภาคเอเชีย โดยได้เพิ่มเงินบริจาคถึงร้อยละ 20 ให้แก่กองทุนพัฒนาเอเชียในการเพิ่มทุนครั้งที่ 9 และสนับสนุนการเปิดสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชียในประเทศไทยซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทยและธนาคารพัฒนาเอเชียสามารถร่วมมือกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคและในภูมิภาคเอเชียมากขึ้นด้วย
2. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งที่ 8
ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ คือ (1) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค (2) การพิจารณาความคืบหน้าของการดำเนินมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และ (3) การทบทวนมาตรการริเริ่มที่เชียงใหม่ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (Mr. Haruhiko Kuroda) ได้นำเสนอความเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน+3 ว่าในปี 2548 จะมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี แต่ในอัตราเฉลี่ยที่ต่ำกว่าปี 2547 สืบเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงจากภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่อเนื่องของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยของประเทศอาเซียน+3 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.2 ซึ่งลดลงจากปี 2547 ที่อยู่ในระดับร้อยละ 4.6
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมต่อที่ประชุมโดยแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า แม้ว่าระบบเศรษฐกิจในภูมิภาครวมทั้งประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงและความแปรปรวนประเภทต่างๆ ในปัจจุบัน แต่ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมด้านนโยบายที่จะป้องกันหรือลดผลกระทบในเชิงลบที่อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหรือความแปรปรวนเหล่านั้น และมีความมั่นใจต่อแนวนโยบายเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญต่อเป้าหมายทางการคลังที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต และจะมุ่งเน้นการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
2.2 มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินมาตรการดังกล่าวว่าได้มีความคืบหน้าไปอย่างมาก (รายงานผลการดำเนินมาตรการฯ ฉบับสมบูรณ์ปรากฏบน Asian Bonds Online Website หรือ ABW ) ดังนี้
1) ประเทศไทยได้ออกประกาศยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่นักลงทุนที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่ลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยรัฐบาล รัฐวิสาหกิจที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เมื่อเดือนมกราคม 2548 ซึ่งประเทศมาเลเซียได้ดำเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
2) ได้มีการจัดตั้ง Asian Bonds Online Website (ABW) เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาดตราสารหนี้ของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2547
3) มีการออกพันธบัตรประเภท Collateralized Bond Obligations (CBOs) โดยสาธารณรัฐเกาหลีร่วมกับประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ “Pan-Asia Bond” ซึ่งเสนอขายเป็นเงินสกุลเยนในประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ให้แก่นักลงทุนเอเชียทั่วไป เมื่อเดือนธันวาคม 2547
4) มีการค้ำประกันหุ้นกู้ที่ออกโดยบรรษัทข้ามชาติของเอเชียในประเทศไทยโดย Japan Bank for International Cooperation (JBIC)
5) การออกพันธบัตรสกุลเงินริงกิตในประเทศมาเลเซียโดย Asian Development Bank (ADB) และ International Financial Corporation (IFC) ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2547 ตามลำดับ
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ให้ความเห็นชอบต่อข้อเสนอการพิจารณาแนวทางการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ASEAN+3 Withholding Tax Proposal) สำหรับการซื้อขายพันธบัตร/ตราสารหนี้ข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นข้อเสนอของกระทรวงการคลังประเทศไทย โดยชักชวนให้แต่ละประเทศสมาชิกนำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการดำเนินการในอนาคตเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของตลาดพันธบัตรในภูมิภาคและส่งเสริมการซื้อขายพันธบัตร/ตราสารหนี้ข้ามพรมแดน
2.3 มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ย้ำถึงวัตถุประสงค์หลักของการดำเนินมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ 2 ประการ ได้แก่ (1) เป็นกลไกความร่วมมือทางการเงินที่ช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องระยะสั้นในภูมิภาค และ (2) เป็นเครื่องมือเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่อาจรับจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน โครงข่ายการแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ได้ขยายตัวค่อนข้างมากโดยมีมูลค่า 39.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้ขยายวงเงินภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน (ASEAN Swap Arrangement) จาก 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 2 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ อีกด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการต่อแนวทางการยกระดับการดำเนินการของ CMI ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้
1) ปรับปรุงกลไกการสอดส่องภาวะเศรษฐกิจอาเซียน+3 ให้เป็นระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจใน
การเสริมการดำเนินการของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
2) สร้างความชัดเจนในขั้นตอนการเบิกถอนของการแลกเปลี่ยนเงินตราให้มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น พร้อมทั้ง การพัฒนาไปสู่รูปแบบพหุภาคี (Multilateralization) ต่อไปในอนาคต
3) เพิ่มวงเงินการแลกเปลี่ยนเงินตราประมาณ 1 เท่าตัว โดยเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิก
คู่สัญญาเจรจาเรื่องวงเงินและวิธีการตามที่จะตกลงกัน
ขยายสัดส่วนของการเบิกถอนวงเงินที่มิจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับการรับความช่วยเหลือด้านการเงินจาก IMF ให้มากขึ้นจากเดิมร้อยละ 10 ให้เป็นร้อยละ 20 เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อความแปรปรวนที่อาจจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน
3. การพบหารือทวิภาคีกับหน่วยงานต่างๆ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้พบหารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาของประเทศลักเซ็มเบิร์ก และสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งในการหารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (นาย Haruhiko Kuroda) นั้น ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวแสดงความชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และยินดีสนับสนุนโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) ของประเทศไทย ในขณะที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แสดงความยินดีกับนาย Kuroda ที่เข้ารับตำแหน่งประธานธนาคารพัฒนาเอเชียคนใหม่ และขอบคุณธนาคารฯ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคในการจัดทำแผนฟื้นฟูเขตอันดามันที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ และได้ยืนยันที่จะร่วมมือกับธนาคารฯ ในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งได้สนับสนุนให้ธนาคารฯ เพิ่มทุนครั้งใหม่เพื่อที่ประเทศไทยจะได้มีโอกาสในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมากขึ้น
ในการพบปะหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาของประเทศลักเซ็มเบิร์ก และผู้บริหารจากสถาบันการเงินต่างๆ เช่น International Financial Corporation (IFC) โดยผู้บริหารจากหลายหน่วยงานดังกล่าว ได้แสดงความชื่นชมในความสำเร็จของรัฐบาลไทยในการบริหารเศรษฐกิจ และได้สอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากสึนามิ แนวนโยบายโครงการ Mega Projects และความคืบหน้าในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 39 และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งที่ 9 จะจัดขึ้นที่เมืองHyderabad ประเทศอินเดีย ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2549
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 31/2548 9 พฤษภาคม 48--
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 38
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 38ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 โดยมีใจความสำคัญว่า นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลสามารถปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่างๆ เช่น การตั้งเป้าหมายในการขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไปภายในปี 2552 การเน้นการพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การเน้นการเพิ่มมูลค่าการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านตามกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในประเทศลุ่มแม่น้ำอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ซึ่งเป็นการเสริมนโยบายการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ของธนาคารพัฒนาเอเชีย และได้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือในการขจัดความยากจนในภูมิภาคเอเชีย โดยได้เพิ่มเงินบริจาคถึงร้อยละ 20 ให้แก่กองทุนพัฒนาเอเชียในการเพิ่มทุนครั้งที่ 9 และสนับสนุนการเปิดสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชียในประเทศไทยซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทยและธนาคารพัฒนาเอเชียสามารถร่วมมือกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคและในภูมิภาคเอเชียมากขึ้นด้วย
2. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งที่ 8
ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ คือ (1) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค (2) การพิจารณาความคืบหน้าของการดำเนินมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และ (3) การทบทวนมาตรการริเริ่มที่เชียงใหม่ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (Mr. Haruhiko Kuroda) ได้นำเสนอความเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน+3 ว่าในปี 2548 จะมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี แต่ในอัตราเฉลี่ยที่ต่ำกว่าปี 2547 สืบเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงจากภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่อเนื่องของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยของประเทศอาเซียน+3 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.2 ซึ่งลดลงจากปี 2547 ที่อยู่ในระดับร้อยละ 4.6
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมต่อที่ประชุมโดยแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า แม้ว่าระบบเศรษฐกิจในภูมิภาครวมทั้งประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงและความแปรปรวนประเภทต่างๆ ในปัจจุบัน แต่ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมด้านนโยบายที่จะป้องกันหรือลดผลกระทบในเชิงลบที่อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหรือความแปรปรวนเหล่านั้น และมีความมั่นใจต่อแนวนโยบายเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญต่อเป้าหมายทางการคลังที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต และจะมุ่งเน้นการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
2.2 มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินมาตรการดังกล่าวว่าได้มีความคืบหน้าไปอย่างมาก (รายงานผลการดำเนินมาตรการฯ ฉบับสมบูรณ์ปรากฏบน Asian Bonds Online Website หรือ ABW ) ดังนี้
1) ประเทศไทยได้ออกประกาศยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่นักลงทุนที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่ลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยรัฐบาล รัฐวิสาหกิจที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เมื่อเดือนมกราคม 2548 ซึ่งประเทศมาเลเซียได้ดำเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
2) ได้มีการจัดตั้ง Asian Bonds Online Website (ABW) เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาดตราสารหนี้ของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2547
3) มีการออกพันธบัตรประเภท Collateralized Bond Obligations (CBOs) โดยสาธารณรัฐเกาหลีร่วมกับประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ “Pan-Asia Bond” ซึ่งเสนอขายเป็นเงินสกุลเยนในประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ให้แก่นักลงทุนเอเชียทั่วไป เมื่อเดือนธันวาคม 2547
4) มีการค้ำประกันหุ้นกู้ที่ออกโดยบรรษัทข้ามชาติของเอเชียในประเทศไทยโดย Japan Bank for International Cooperation (JBIC)
5) การออกพันธบัตรสกุลเงินริงกิตในประเทศมาเลเซียโดย Asian Development Bank (ADB) และ International Financial Corporation (IFC) ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2547 ตามลำดับ
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ให้ความเห็นชอบต่อข้อเสนอการพิจารณาแนวทางการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ASEAN+3 Withholding Tax Proposal) สำหรับการซื้อขายพันธบัตร/ตราสารหนี้ข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นข้อเสนอของกระทรวงการคลังประเทศไทย โดยชักชวนให้แต่ละประเทศสมาชิกนำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการดำเนินการในอนาคตเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของตลาดพันธบัตรในภูมิภาคและส่งเสริมการซื้อขายพันธบัตร/ตราสารหนี้ข้ามพรมแดน
2.3 มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ย้ำถึงวัตถุประสงค์หลักของการดำเนินมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ 2 ประการ ได้แก่ (1) เป็นกลไกความร่วมมือทางการเงินที่ช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องระยะสั้นในภูมิภาค และ (2) เป็นเครื่องมือเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่อาจรับจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน โครงข่ายการแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ได้ขยายตัวค่อนข้างมากโดยมีมูลค่า 39.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้ขยายวงเงินภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน (ASEAN Swap Arrangement) จาก 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 2 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ อีกด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการต่อแนวทางการยกระดับการดำเนินการของ CMI ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้
1) ปรับปรุงกลไกการสอดส่องภาวะเศรษฐกิจอาเซียน+3 ให้เป็นระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจใน
การเสริมการดำเนินการของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
2) สร้างความชัดเจนในขั้นตอนการเบิกถอนของการแลกเปลี่ยนเงินตราให้มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น พร้อมทั้ง การพัฒนาไปสู่รูปแบบพหุภาคี (Multilateralization) ต่อไปในอนาคต
3) เพิ่มวงเงินการแลกเปลี่ยนเงินตราประมาณ 1 เท่าตัว โดยเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิก
คู่สัญญาเจรจาเรื่องวงเงินและวิธีการตามที่จะตกลงกัน
ขยายสัดส่วนของการเบิกถอนวงเงินที่มิจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับการรับความช่วยเหลือด้านการเงินจาก IMF ให้มากขึ้นจากเดิมร้อยละ 10 ให้เป็นร้อยละ 20 เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อความแปรปรวนที่อาจจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน
3. การพบหารือทวิภาคีกับหน่วยงานต่างๆ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้พบหารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาของประเทศลักเซ็มเบิร์ก และสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งในการหารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (นาย Haruhiko Kuroda) นั้น ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวแสดงความชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และยินดีสนับสนุนโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) ของประเทศไทย ในขณะที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แสดงความยินดีกับนาย Kuroda ที่เข้ารับตำแหน่งประธานธนาคารพัฒนาเอเชียคนใหม่ และขอบคุณธนาคารฯ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคในการจัดทำแผนฟื้นฟูเขตอันดามันที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ และได้ยืนยันที่จะร่วมมือกับธนาคารฯ ในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งได้สนับสนุนให้ธนาคารฯ เพิ่มทุนครั้งใหม่เพื่อที่ประเทศไทยจะได้มีโอกาสในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมากขึ้น
ในการพบปะหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาของประเทศลักเซ็มเบิร์ก และผู้บริหารจากสถาบันการเงินต่างๆ เช่น International Financial Corporation (IFC) โดยผู้บริหารจากหลายหน่วยงานดังกล่าว ได้แสดงความชื่นชมในความสำเร็จของรัฐบาลไทยในการบริหารเศรษฐกิจ และได้สอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากสึนามิ แนวนโยบายโครงการ Mega Projects และความคืบหน้าในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 39 และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งที่ 9 จะจัดขึ้นที่เมืองHyderabad ประเทศอินเดีย ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2549
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 31/2548 9 พฤษภาคม 48--