(ต่อ1) ยุทธศาสตร์การป้องกันภัยพิบัติและอุบัติภัย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 18, 2005 15:22 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                    4) ระบบการจัดการอุบัติเหตุและกรณีฉุกเฉิน (Incident Management and Emergency Response Systems) เพื่อส่งข้อมูลตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุหรือจุดติดขัดจราจร ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว เพื่อให้สามารถช่วยคนบาดเจ็บได้รวดเร็วขึ้นและลดอัตราเสียชีวิต 
6.3.5 รัฐควรพัฒนาประสิทธิภาพของระบบโครงข่ายการขนส่งสินค้า (Improving Efficiency of Thailand's Freight Transport Network) ด้วยการพัฒนาแบบจำลองการการเดินทาง (Traffic Assignment Model) เพื่อให้ปริมาณการขนส่งสินค้าเกิดประสิทธิภาพ ความสะดวก ความรวดเร็ว และความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
6.3.6 รัฐควรเพิ่มมาตรการจัดระบบการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดย
1) จัดให้มีสำนักงานตรวจรับรองด้านการจราจร (Certified Traffic Officer) เพื่อตรวจสอบรับรอง อบรม ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจราจรให้มีความเชี่ยวชาญ ซื่อตรง เฉียบขาด รวดเร็ว
2) ระบบการสอบใบขับขี่ให้แยกประเภทรับจ้างและบุคคล ออกจากกันอย่างเด็ดขาด(Leveling Driver Licenses)
3) จัดวางแนวการขับรถยนต์และจักรยานยนต์อย่างเคร่งครัด (Driving Restriction Rule)
4) จัดให้มีระบบใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ (Traffic Ticket Information System) หรือระบบ(Wireless and Information System) ที่รวดเร็วในการดำเนินการ โดยเปลี่ยนใบขับขี่เป็นสมารทการ์ด ให้เจ้าของบัตรเติมเงินค่าปรับไว้ 1,000 บาท (ขั้นต่ำ 500 บาท) เมื่อผู้ขับขี่กระทำความผิดและถูกจับได้ให้ตำรวจบันทึกความผิดเป็นออนไลน์ (online) พร้อมปรับและตัดแต้มทันที และถ้าไม่มีเงินในบัตรให้ยกเลิกการขับขี่ชั่วคราว ซึ่งเงินในบัตรดังกล่าว ยังสามารถนำเป็นกองทุนเพื่อสวัสดิการตำรวจผู้เสี่ยงภัยบนถนนได้อีกด้วย รวมทั้งควรพิจารณาการจัดตั้งศาลจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่
6.3.7 รัฐควรเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสัญญาณไฟจราจร เช่น มีระบบนับเวลาถอยหลังทุกจุดสัญญาณไฟ
6.3.8 รัฐควรสนับสนุนระบบอาสาจราจรให้เป็นเครือข่ายครอบคลุมทั้งประเทศ
6.3.9 รัฐควรจัดระบบประสานภารกิจของผู้มีหน้าที่จัดระบบความปลอดภัยทางถนนให้ชัดเจน
6.3.10 รัฐควรมีการปรับเปลี่ยนระบบการประกันภัยใหม่ให้เกิดแรงจูงใจระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยใช้ระบบประกันภัยที่ตัวผู้ขับขี่ ประกอบระบบประกันภัยที่ตัวรถ ทั้งนี้รถทุกประเภทที่จะนำมาใช้บนถนนสาธารณะต้องมีการจัดทำประกันภัย
6.3.11 รัฐควรพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) โดยเริ่มที่สถานศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา และสนับสนุนให้องค์กรภาคเอกชนในทุกจังหวัดมีส่วนร่วมในกิจกรรมความปลอดภัย
6.3.12 รัฐควรปรับระบบการจราจรในระยะเร่งด่วนก่อน ดังต่อไปนี้
1) กระทรวงคมนาคมควรจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนแห่งชาติ โดยมีสำนักงานนโยบายแผนการขนส่งและจราจรทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
2) ควรกำหนดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนไว้ในรายละเอียดแนบท้ายสัญญา (TOR) ของงานออกแบบก่อสร้าง ตลอดจนงานจราจรทุกโครงการและรัฐสนับสนุนงบประมาณเพื่อการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนดังกล่าว
3) จัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
4) ควรแก้ไขกฎหมาย เพื่อบังคับให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนสำหรับโครงการถนนทุกประเภทของทุกๆ โครงการ
5) สนับสนุนให้มีแผนความปลอดภัยการจราจรระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6) เพิ่มการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ขับขี่ในลักษณะประมาทและหวาดเสียว
7) ควรสนับสนุนการวิจัยด้านพฤติกรรมการขับขี่เพิ่มขึ้น
8) จัดทำระเบียบการใช้รถมอเตอร์ไซด์ เพื่อรับส่งผู้โดยสารให้ปลอดภัย
9) ควรเพิ่มมาตรฐานรถโดยสารให้ปลอดภัยขึ้น
10) นำมาตรการสยบการจราจร (Traffic calming) มาใช้ในการลดความเร็วของ
ยานพาหนะในเขตชุมชน
11) อนุญาตให้ขับขี่ด้วยความเร็วในเมืองได้ไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถที่วิ่งผ่านโรงเรียนควรกำหนดให้ขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
12) ให้ติดสันระนาด (rumble strip) เตือนผู้ขับขี่ควบคุมความเร็วรถให้วิ่งช้าลงในบริเวณที่จำกัดความเร็ว เช่น มีสะพาน ทางตัดรถไฟ สัญญาณไฟจราจรข้างหน้า หรือ บริเวณที่อาจมีรถอื่นวิ่งตัดหน้ารวมทั้งเตือนเมื่อเข้าเขตชุมชนและโรงเรียนหรือติดสันระนาดที่ไหล่ทางหรือบริเวณเส้นแบ่งทางจราจรกลางถนนเพื่อให้ผู้ขับขี่รู้ว่ากำลังวิ่งออกนอกเส้นทาง
13) เพิ่มเทคโนโลยีเครื่องตรวจระดับแอลกอฮอล์ (Alcohol screening test) และเครื่องตรวจจับความเร็ว (Speed camera) ประจำรถตำรวจ และเพิ่มจุดตรวจแอลกอฮอล์
14) ปรับมาตรฐานสถานตรวจสภาพรถเอกชน เพื่อให้ตรวจสภาพรถได้เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะรถมอเตอร์ไซด์
15) จัดระเบียบป้ายบอกทางไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ถนน
16) ทบทวนการปรับปรุงทางแยกให้เป็นวงเวียนเพื่อลดอุบัติเหตุ
17) ออกแบบและปรับปรุงทางข้ามถนนให้ปลอดภัย เช่น มีระบบไฟสัญญาณนับเวลา มีที่พักขณะข้าม มีเครื่องป้องกันในขณะข้ามถนน และไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อความสะดวกคนพิการ
18) ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันคนเดินเท้าที่แข็งแรงเพียงพอ ตามจุดเสี่ยงอันตราย
19) สะพานคนข้ามไม่ควรมีสายไฟลอดผ่าน รวมทั้งต้องมีราวจับบนสะพานให้เด็ก
20) ตัดพุ่มไม้ข้างถนนไม่ให้ขึ้นบังรัศมีการมองเห็นของผู้ขับขี่
21) ให้ติดแผ่นสะท้อนแสงกับวัสดุหรืออุปกรณ์ข้างถนนตลอดเส้นทาง
22) บริเวณทางเข้า ทางออก หรือทางเชื่อมต่างๆ ของถนนควรติดตั้งอุปกรณ์กันกระแทก
ข้างถนน เช่น ในสหรัฐอเมริกาได้ใช้ถังผูกติดกันใส่น้ำกันรถกระแทกบริเวณข้างถนน
23) ปรับปรุงจุดตัดของถนนกับถนน หรือถนนกับรางรถไฟให้เป็นมุมฉากแทนที่บางจุดที่เป็นมุมทแยงเพราะทำให้ผู้ขับขี่มองเห็นอีกด้านไม่ชัดเจน
24) กำหนดห้ามอนุญาตนำเข้ายางรถที่หมดอายุเข้าประเทศ
25) ควรยกเลิกการอนุญาตให้ใช้หลอดไฟตาเพชรหน้ารถยนต์หรือจักรยานยนต์ เพื่อส่องสว่างเวลากลางคืน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นของผู้ขับขี่สวนทาง
26) โครงการเงินกู้จากต่างประเทศทุกโครงการ ควรระบุให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน
6.3.13 รัฐควรเข้มงวดในการสอบใบขับขี่ เช่น การส่งเสริมให้มีโรงเรียนสอนขับรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของเอกชนที่ได้มาตรฐานสากล ภายใต้การควบคุมตรวจสอบรับรองของกรมการขนส่งทางบก แทนการขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และผู้มีสิทธิ์สอบใบขับขี่จะต้องสอบผ่านหลักสูตรนี้เสียก่อน
ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ