เวลา 08.30 น.วันนี้ ( 5 ต.ค.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการวิทยุรัฐสภาพบผู้นำฝ่ายค้าน ถึงปัญหาน้ำท่วมว่าขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นทุกภาค ดังนั้นจึงของให้พี่น้องประชาชนอย่าได้ประมาท และขอให้ติดตามลมฟ้าอากาศอย่างใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาตนได้ไปพบปะประชาชนในพื้นที่หนองจอก ลาดกระบัง ซึ่งประสบกับปัญหาน้ำท่วมจากการไม่สามารถระบายน้ำเหนือลงทะเล ปัญหาหนึ่งสืบเนื่องมาจากการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งได้มีการถมคลองไป ในขณะที่กรมชลประธานกำลังพยามขุดคลองเพื่อที่จะเป็นช่องทางระบายน้ำ
ซึ่งตนได้ไปพบประกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อรับฟังความเดือดร้อน โดยได้ให้ทางกรุงเทพมหานคร แก้ไขปัญหาเฉพาะก่อนในระดับหนึ่ง แต่ยังมีเรื่องค้างคาในเรื่องของการชดเชย ค่าเสียหายต่างๆในพื้นที่ ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาทั้งหมดได้นำเสนอไปยังกรุงเทพมหานครแล้วว่าปัญหาที่เกิดจากการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นปัญหาทีจะต้องที่ต้องมีการแก้ไข โดยเฉพาะการจัดวางผังเมือง ซึ่งต้องปรับเข้ากับพื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ได้มีการหารือถึงแผนการที่จะหามาตรการรองรับ และพัฒนาพื้นที่ที่เป็นปัญหาอย่างเป็นระบบ
ขณะที่ภาคเหนือ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปพบปะประชาชนในจังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ และมอบของเพื่อช่วยเหลือปัญหาเฉพาะไป ส่วนปัญหาระยะกลาง ระยะยาวก็เช่นเดียวกัน การที่ต้องพิจารณาถึงโครงการที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องติดตามต่อไป ซึ่งในเรื่องนี้ กทม. ก็กำลังดำเนินการในการหามาตรการป้องกัน และก็คงต้องมีการปรับปรุงแก้ปัญหาและเป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย ในการที่จะช่วยกันดูแลแก้ไข หรือว่าบรรเทาปัญหาด้วยกัน
การจัดเวทีสาธารณะกับสื่อมวลชน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการจัดเวทีสาธารณะในเรื่องของสื่อมวลชน ว่าสืบเนื่องมาจากสภาพปัญหาการครอบงำสื่อซึ่งเกิดขึ้น จึงได้มีการเชิญทั้ง ส.ว. นักวิชาการ ทั้งผู้ประกอบการด้านสื่อมาตั้งวงสนทนา ว่าควรจะมีทางออกอย่างไร ซึ่งมีทั้งข้อเสนอ และข้อสรุป โดยเฉพาะปัญหาการครอบงำสื่อ การแทรกแซงสื่อ
พรรคมีความรู้สึกว่าใครที่ควรได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ ก็ควรจะได้ใช้สิทธิทางศาลยุติธรรมด้วย เพราะว่า การถูกละเมิดสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญก็มีบทบัญญัติให้มีการหยิบเรื่องนี้ขึ้นไปเพื่อใช้ในการแย้งสิทธิ์ หรือเป็นการร้องต่อศาลได้ เพราะว่าหากไม่ให้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกลดทอนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย เพราะว่าการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน รอบด้าน คือพื้นฐานสำคัญสำหรับประชาชนพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นจะเป็นสิ่งที่จะถูกนำมาใช้แสดงความคิดเห็น ในการที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องราวของบ้านเมือง เพราะฉะนั้นจึงมีความสำคัญมาก
แต่ว่านอกเหนือจากการใช้สิทธิทางศาล ขณะนี้มีการไล่ดูว่า การตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญในแง่ของการคุ้มครองในเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ หรือ ในแง่ของการที่จะมาป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพไม่ว่าจากรัฐ หรืออำนาจทุน เพราะว่าการเป็นเจ้าของสื่อ ซึ่งต้องประกอบธุรกิจด้วย ทำอย่างไรจะมีเส้นแบ่งกันในระหว่างบทบาทของความเป็นทุน ความเป็นเจ้าของ กับความเป็นอิสระในทางวิชาชีพในการที่จะสามารถเสนอข่าวสารต่าง ๆ ต่อสังคมได้ อย่างตรงไปตรงมาได้ มาตราที่เกี่ยวข้องในรัฐธรรมนูญก็มีมาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 41 ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ทางพรรคฝ่ายค้าน จะได้มีการดำเนินการในการที่จะจัดทำร่างกฎหมายเพื่อที่จะช่วยคุ้มครองในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของสื่อ
‘เราก็ทราบดีครับว่าการเป็นเสียงข้างน้อยนั้น กฎหมายจะประสบความสำเร็จหรือไม่อยากไรก็ต้องอาศัยเสียงข้างมากด้วย ซึ่งวิธีหนึ่งที่จะช่วยโน้มน้าวทำให้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ได้ เราก็ได้เสนอไปยังผู้ประกอบการทางด้านสื่อ และทางองค์การเอกชนที่ให้ความสนใจ ใส่ใจในเรื่องนี้ว่า น่าจะได้มีการยกร่างกฎหมายซึ่งประชาชน 5 หมื่นคน เข้าชื่อในการที่จะเสนอได้ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการสร้างกระแสเพื่อนำไปสู่การทำให้รัฐบาลนั้นต้องยอมรับ ในการที่จะเสนอกฎหมายในลักษณะนี้ เพื่อที่จะมาช่วยป้องกันและแก้ไขในเรื่องของสื่อปัญหาต่อไปในวันข้างหน้า เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในสังคมประชาธิปไตย ถ้าหากว่าเราไม่สิทธิเสรีภาพในเรื่องนี้แล้ว การที่จะมีส่วนร่วม การที่จะมีโอกาสทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญก็คงจะทำได้ยาก เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็จะต้องมีการดำเนินการต่อไป’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า เวทีสาธารณะที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพราะเห็นว่านอกจากทำหน้าที่ในเรื่องของการติดตามวาระการประชุมของรัฐสภาแล้ว ต่อไปนี้จะมีการจัดเวทีอย่างนี้มากขึ้น โดยสัปดาห์หน้า จะมีการจัดเวทีลักษณะเดียวกัน แต่ว่าจะเป็นการประเมินการใช้พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาแล้ว และก็จะหมดอายุลงคือครบ 90 วัน ในกลางเดือนนี้ ซึ่งก็จะต้องมีการประเมินเพื่อที่จะเป็นเสียงสะท้อนไปยังรัฐบาลในการที่จะนำพรก.นี้มาใช้ประกาศใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือการประกาศใช้อำนาจใดหรือไม่อย่างไรต่อไป อันนี้ก็เป็นงานที่จะได้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
สมัชชาประชาชน
นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วันที่ 8 — 9 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดเวทีสมัชชาประชาชนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการที่จะสร้างช่องทางของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการเมืองรูปแบบใหม่ โดยมีสมาชิกสมัชชา 3,201 คน โดยทางพรรคได้มีการกำหนดวาระการประชุมเอาไว้ชัดเจนและพรรคจะไม่ชี้นำอะไร
เพราะพรรคต้องการรับฟังคน 3,000 กว่าคนนี้มากกว่า ตลอดทั้ง ส.ส. พรรค กรรมการบริหารพรรค ทั่วประเทศด้วยว่าต้องการจะเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไร มีความรู้สึกว่าอะไรเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุด แล้วมีแนวคิดในเรื่องของทางออกของสังคมอย่างไร โดยวิธีการจัดสมัชชาอย่างนี้จะอาศัยกระบวนการของการให้มีการจับคู่สนทนา ให้มีการจัดกลุ่มย่อย แล้วมารวมกลุ่มใหญ่ จนมีการรายงานต่อที่ประชุม ซึ่งในงานนี้พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคการเมืองตัวแทนของประชาชน จะได้นำไปรวบรวมเพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการทำงานทางการเมือง และจะนำเสนอเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนในการบริหารประเทศต่อไป
‘การจัดงานนี้เนื่องจากเป็นการจัดงานในรูปแบบนี้เป็นครั้งแรก อาจมีการขลุกขลักในการประสานงานบ้าง เพราะฉะนั้นถ้าหากว่ามีท่านผู้ฟังหรือพี่น้องประชาชนซึ่งได้เคยสนใจสมัครเข้ามา หรือว่าได้บอกผ่านสมาชิกของพรรคว่าได้มีการสมัครเข้ามา ได้มีปัญหาไม่ทราบชัดเจนว่าจะได้เข้ามาร่วมหรือไม่อย่างไร เพราะขณะนี้ทางพรรคได้ทำจดหมายตอบขอบคุณผู้ที่จะเข้าร่วมรวมทั้งส่งบัตรในการที่จะเข้าร่วมประชุมไปแล้ว แต่ถ้าหากว่ามีปัญหา วิธีการตรวจสอบ ขณะนี้ก็จะต้องเป็นทางอินเทอร์เน็ต โดยเข้าไปทางเวปไซต์ของทางสมัชชาประชาชนที่จัดโดยพรรคประชาธิปัตย์นะครับคือ www.peopleassembly.org ว่ามีรายชื่อหรือไม่ หรือว่าจะเข้าผ่านทางเวปไซต์ของพรรค www.democrat.or.th’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามพรรคจะจัดเวทีนี้อีกหลายครั้ง เพราะว่าจะมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่การระดมความเห็นเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง ในการแก้ไขปัญหาของประเทศให้ได้ในที่สุด เพราะพรรคเชื่อมั่นในแนวทางของการมีส่วนรวมของประชาชน
‘เราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของประชาชนที่จะมาเชื่อมโยงกับพรรคการเมืองซึ่งจะทำให้ระบอบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม ความเป็นเจ้าของประเทศของประชาชน มีความเข้มแข็งขึ้น อันนี้ก็อยากให้มีการติดตามและก็ท่านที่ติดตามเรื่องนี้ จะมาร่วมโดยตรงหรือติดตามอยู่ มีข้อเสนอแนะอะไรขอให้บอกมาได้ พรรคจะได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป เพราะพรรคถือเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหา เพราะว่าปัญหาการมีส่วนร่วมหรือเรื่องของการที่จะให้ประชาชนมีช่องทางในการที่จะดูแลแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ประชาธิปัตย์ แคมปัสทัวร์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าจากการพบปะกับประชาชน และนักธุรกิจหลายกลุ่ม ที่จังหวัดสระบุรี พบว่าปัญหาการมีส่วนร่วมยังคงเป็นปัญหาอยู่มาก พรรคจึงมองว่าอยากจะให้มีส่วนร่วมมากขึ้น เพื่อจะสะท้อนปัญหาในการที่จะชี้นำเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ในหลายจังหวัดอย่าง เช่นสระบุรี ต้องถือว่าเศรษฐกิจก็เงียบหรือซบเซาเนื่องมาจากราคาน้ำมันส่วนหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่งประชาชนในจังหวัดนั้นๆมองว่าในจังหวัดของเขามีศักยภาพในการที่จะพัฒนา แต่ว่ายังไม่ได้มีโอกาสในการที่จะมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดแนวทางทิศทางในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จากการพบปะประชาชนที่อำเภอแก่งคอย จึงทราบว่าประชาชนกำลังมีความหวั่นวิตกในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า แก่งคอย 2 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ย้ายมาจากประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีปัญหาก่อนหน้านี้ และขณะนี้การก่อสร้างก็กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งตนได้รับเรื่องร้องเรียนและเรื่องผลกระทบ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นมาด้วยเพื่อจะได้มีการดำเนินการของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการที่จะติดตามดังกล่าว
‘สิ่งที่เขาต้องการก็คือว่าการได้รับข้อมูล การชี้แจง ที่ถูกต้อง และเมื่อมีความคิดเห็นนำเสนออะไร ไม่อยากให้มีการคุกคามกัน เพราะว่าแกนนำที่มีการเคลื่อนไหว รณรงค์ในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกังวลต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก็ได้มาร้องเรียนว่าถูกคุกคามด้วย อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งซึ่งผมบอกว่าเป็นหน้าที่ที่ทางฝ่ายนิติบัญญัติและพรรคประชาธิปัตย์ พรรคร่วมฝ่ายค้านยินดีเสมอ ท่านมีอะไรสามารถที่จะร้องมาถึงผมได้นะครับ ที่ตู้ ป.ณ. 44 อยู่ที่รัฐสภา มีเวปไซต์ส่วนตัวของผม ทางจดหมาย ทางอีเมล์ ได้ทั้งสิ้น แล้วเราจะพยายามติดตามเรื่องเหล่านี้ให้’ นายอภิสิทธิ์
บ้านสีดำ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงกรณี เรื่องบ้านสีดำ ของนางรัตนา ที่เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานานนับ 10 ปี ว่าตนได้ติดตามเรื่องมาโดยตลอดและจะมีวาระเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รายงานมา ว่าได้เข้าไปสอบการดำเนินการตั้งแต่ปี 2546 และสรุปมาว่าจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือแก้ไขให้ทางนางรัตนา และต้องแก้ไขปรับปรุงในเชิงนโยบายโดยเสนอเรื่องไปที่กทม. และที่สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ปรากฎว่าหลังจากที่คณะกรรมการเสนอไปแล้ว นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่ากทม.ในขณะนั้น ได้ทำหนังสือชี้แจงแย้งความเห็นของคณะกรรมการเสร็จไปหลายเรื่อง แต่โดยสาระสำคัญก็คือว่า ผู้ว่ากทม. (นายสมัคร)ยืนยันว่าทุกอย่างได้ปฎิบัติตามกฎหมายแล้ว มีการสอบสวนเจ้าหน้าที่ไปแล้ว ลงโทษไปด้วยการตัดเงินเดือน สอบแล้วเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง แต่ว่าในที่สุดคณะกรรมการสิทธิฯเห็นว่าข้อเสนอหรือมาตรการที่เสนอไป ยังไม่ได้รับการดำเนินการ เพราะฉะนั้นนอกจาก กทม. หรือ สคบ. และหน่วยงานอื่น ๆ แล้ว ทางกรรมการสิทธิฯจึงเสนอเรื่องนี้ต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายปี 2546 ก็ปรากฎว่ายังไม่ได้มีการดำเนินการอีก เรื่องนี้จึงมีการปฎิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมถึงกรรมสิทธิ์ก็เสนอเรื่องนี้เพื่อที่จะให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณา เพื่อที่จะให้ทางฝ่ายบริหารมาตอบว่าเหตุใดการดำเนินการเรื่องนี้หลังจากที่กรรมการสิทธิฯ สอบไปในปี 2546 ไม่มีการมาแก้ไขเรื่องราวต่าง ๆ
‘ผมเรียนว่าในส่วนของท่านผู้ว่ากทม.คนปัจจุบันคือ ได้เข้ามาดูปัญหานี้เป็นระยะเวลาหลายเดือนแล้วเหมือนกัน แล้วก็ได้มีการดำเนินการเบื้องต้น คือพยายามที่จะเยียวยาในเรื่องของการจัดหาบ้านให้คุณรัตนา ในที่สุดก็พบความเป็นจริงว่าทางกรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจในการที่จะไปจัดซื้อบ้านเพื่อเยียวยาให้คุณรัตนาได้ แต่ว่าด้วยหลักการที่เห็นว่า เรื่องนี้ควรจะได้รับการเยียวยา ขณะนี้ทางกทม.ก็ได้มีการหารือไปยังทางรัฐบาล แล้วก็รัฐบาลก็ยอมรับว่าควรจะมีการดำเนินการเรื่องนี้ เพราะกทม.เสนอไปว่าควรจะทำอย่างนี้ แต่ว่าอำนาจในการจัดซื้อหรือในการจัดหาบ้าน รองนายกพินิจท่านรับไป เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามต่อไป ว่าเราก็อยากเร่งรัดให้ทางรัฐบาลซึ่งเป็นผู้มีอำนาจที่จะทำเรื่องนี้ได้ในการที่จะทำการจัดหาบ้านอย่างน้อยที่เป็นการเยียวยาเบื้องต้น’นายอภิสิทิกล่าว
นายอภิสิทธิ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ผู้ว่ากทม.ได้เสนอชื่อกรรมการไปให้ทางนายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกแล้ว ปรากฎว่านายพินิจ บอกว่ารอเพื่อให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ดูชื่อกรรมการ เพื่อจะอนุมัติ เพราะฉะนั้นงานที่กทม.ได้เสนอไปแล้ว คือการที่จะให้รัฐบาลได้ตั้งกรรมการร่วมขึ้นมาสอบ หรือ การจัดหาบ้าน รัฐบาลได้รับไปดำเนินการ ตนคงจะใช้โอกาสในการอภิปรายในสภา โดยให้ทางฝ่ายค้านขอให้รัฐบาลเร่งรัดในเรื่องนี้
“อยากจะเรียนว่านอกเหนือจากการเยียวยาในเรื่องบ้านและในเรื่องของการสอบ อีกส่วนหนึ่งก็คือในแง่ของสิทธิของคุณรัตนาเอง ที่จะฟ้องร้องก็เป็นเรื่องที่สามารถที่จะดำเนินการได้ และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่พี่น้องประชาชนสอบถามผมมามาก ว่าขณะนี้มีการดำเนินการอย่างไร ผมก็ตรวจสอบแล้ว ก็เรียนให้ทราบว่าขณะนี้จริง ๆ ปัญหาเรื่องนี้ค้างมาตั้งแต่ปี 46 และผู้ว่าท่านคนปัจจุบันพยายามที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา แต่ว่ามีบางเรื่องนอกเหนืออำนาจของผู้ว่ากทม. ขณะนี้เสนอรัฐบาลไปก็น่าจะเป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้ว แล้วก็คงจะให้ทางฝ่ายค้านใช้โอกาสนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาจะเร่งรัดให้รัฐบาลแก้ไขเรื่องนี้ต่อไป” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ต.ค. 2548--จบ--
สัปดาห์ที่ผ่านมาตนได้ไปพบปะประชาชนในพื้นที่หนองจอก ลาดกระบัง ซึ่งประสบกับปัญหาน้ำท่วมจากการไม่สามารถระบายน้ำเหนือลงทะเล ปัญหาหนึ่งสืบเนื่องมาจากการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งได้มีการถมคลองไป ในขณะที่กรมชลประธานกำลังพยามขุดคลองเพื่อที่จะเป็นช่องทางระบายน้ำ
ซึ่งตนได้ไปพบประกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อรับฟังความเดือดร้อน โดยได้ให้ทางกรุงเทพมหานคร แก้ไขปัญหาเฉพาะก่อนในระดับหนึ่ง แต่ยังมีเรื่องค้างคาในเรื่องของการชดเชย ค่าเสียหายต่างๆในพื้นที่ ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาทั้งหมดได้นำเสนอไปยังกรุงเทพมหานครแล้วว่าปัญหาที่เกิดจากการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นปัญหาทีจะต้องที่ต้องมีการแก้ไข โดยเฉพาะการจัดวางผังเมือง ซึ่งต้องปรับเข้ากับพื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ได้มีการหารือถึงแผนการที่จะหามาตรการรองรับ และพัฒนาพื้นที่ที่เป็นปัญหาอย่างเป็นระบบ
ขณะที่ภาคเหนือ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปพบปะประชาชนในจังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ และมอบของเพื่อช่วยเหลือปัญหาเฉพาะไป ส่วนปัญหาระยะกลาง ระยะยาวก็เช่นเดียวกัน การที่ต้องพิจารณาถึงโครงการที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องติดตามต่อไป ซึ่งในเรื่องนี้ กทม. ก็กำลังดำเนินการในการหามาตรการป้องกัน และก็คงต้องมีการปรับปรุงแก้ปัญหาและเป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย ในการที่จะช่วยกันดูแลแก้ไข หรือว่าบรรเทาปัญหาด้วยกัน
การจัดเวทีสาธารณะกับสื่อมวลชน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการจัดเวทีสาธารณะในเรื่องของสื่อมวลชน ว่าสืบเนื่องมาจากสภาพปัญหาการครอบงำสื่อซึ่งเกิดขึ้น จึงได้มีการเชิญทั้ง ส.ว. นักวิชาการ ทั้งผู้ประกอบการด้านสื่อมาตั้งวงสนทนา ว่าควรจะมีทางออกอย่างไร ซึ่งมีทั้งข้อเสนอ และข้อสรุป โดยเฉพาะปัญหาการครอบงำสื่อ การแทรกแซงสื่อ
พรรคมีความรู้สึกว่าใครที่ควรได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ ก็ควรจะได้ใช้สิทธิทางศาลยุติธรรมด้วย เพราะว่า การถูกละเมิดสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญก็มีบทบัญญัติให้มีการหยิบเรื่องนี้ขึ้นไปเพื่อใช้ในการแย้งสิทธิ์ หรือเป็นการร้องต่อศาลได้ เพราะว่าหากไม่ให้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกลดทอนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย เพราะว่าการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน รอบด้าน คือพื้นฐานสำคัญสำหรับประชาชนพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นจะเป็นสิ่งที่จะถูกนำมาใช้แสดงความคิดเห็น ในการที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องราวของบ้านเมือง เพราะฉะนั้นจึงมีความสำคัญมาก
แต่ว่านอกเหนือจากการใช้สิทธิทางศาล ขณะนี้มีการไล่ดูว่า การตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญในแง่ของการคุ้มครองในเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ หรือ ในแง่ของการที่จะมาป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพไม่ว่าจากรัฐ หรืออำนาจทุน เพราะว่าการเป็นเจ้าของสื่อ ซึ่งต้องประกอบธุรกิจด้วย ทำอย่างไรจะมีเส้นแบ่งกันในระหว่างบทบาทของความเป็นทุน ความเป็นเจ้าของ กับความเป็นอิสระในทางวิชาชีพในการที่จะสามารถเสนอข่าวสารต่าง ๆ ต่อสังคมได้ อย่างตรงไปตรงมาได้ มาตราที่เกี่ยวข้องในรัฐธรรมนูญก็มีมาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 41 ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ทางพรรคฝ่ายค้าน จะได้มีการดำเนินการในการที่จะจัดทำร่างกฎหมายเพื่อที่จะช่วยคุ้มครองในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของสื่อ
‘เราก็ทราบดีครับว่าการเป็นเสียงข้างน้อยนั้น กฎหมายจะประสบความสำเร็จหรือไม่อยากไรก็ต้องอาศัยเสียงข้างมากด้วย ซึ่งวิธีหนึ่งที่จะช่วยโน้มน้าวทำให้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ได้ เราก็ได้เสนอไปยังผู้ประกอบการทางด้านสื่อ และทางองค์การเอกชนที่ให้ความสนใจ ใส่ใจในเรื่องนี้ว่า น่าจะได้มีการยกร่างกฎหมายซึ่งประชาชน 5 หมื่นคน เข้าชื่อในการที่จะเสนอได้ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการสร้างกระแสเพื่อนำไปสู่การทำให้รัฐบาลนั้นต้องยอมรับ ในการที่จะเสนอกฎหมายในลักษณะนี้ เพื่อที่จะมาช่วยป้องกันและแก้ไขในเรื่องของสื่อปัญหาต่อไปในวันข้างหน้า เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในสังคมประชาธิปไตย ถ้าหากว่าเราไม่สิทธิเสรีภาพในเรื่องนี้แล้ว การที่จะมีส่วนร่วม การที่จะมีโอกาสทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญก็คงจะทำได้ยาก เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็จะต้องมีการดำเนินการต่อไป’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า เวทีสาธารณะที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพราะเห็นว่านอกจากทำหน้าที่ในเรื่องของการติดตามวาระการประชุมของรัฐสภาแล้ว ต่อไปนี้จะมีการจัดเวทีอย่างนี้มากขึ้น โดยสัปดาห์หน้า จะมีการจัดเวทีลักษณะเดียวกัน แต่ว่าจะเป็นการประเมินการใช้พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาแล้ว และก็จะหมดอายุลงคือครบ 90 วัน ในกลางเดือนนี้ ซึ่งก็จะต้องมีการประเมินเพื่อที่จะเป็นเสียงสะท้อนไปยังรัฐบาลในการที่จะนำพรก.นี้มาใช้ประกาศใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือการประกาศใช้อำนาจใดหรือไม่อย่างไรต่อไป อันนี้ก็เป็นงานที่จะได้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
สมัชชาประชาชน
นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วันที่ 8 — 9 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดเวทีสมัชชาประชาชนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการที่จะสร้างช่องทางของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการเมืองรูปแบบใหม่ โดยมีสมาชิกสมัชชา 3,201 คน โดยทางพรรคได้มีการกำหนดวาระการประชุมเอาไว้ชัดเจนและพรรคจะไม่ชี้นำอะไร
เพราะพรรคต้องการรับฟังคน 3,000 กว่าคนนี้มากกว่า ตลอดทั้ง ส.ส. พรรค กรรมการบริหารพรรค ทั่วประเทศด้วยว่าต้องการจะเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไร มีความรู้สึกว่าอะไรเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุด แล้วมีแนวคิดในเรื่องของทางออกของสังคมอย่างไร โดยวิธีการจัดสมัชชาอย่างนี้จะอาศัยกระบวนการของการให้มีการจับคู่สนทนา ให้มีการจัดกลุ่มย่อย แล้วมารวมกลุ่มใหญ่ จนมีการรายงานต่อที่ประชุม ซึ่งในงานนี้พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคการเมืองตัวแทนของประชาชน จะได้นำไปรวบรวมเพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการทำงานทางการเมือง และจะนำเสนอเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนในการบริหารประเทศต่อไป
‘การจัดงานนี้เนื่องจากเป็นการจัดงานในรูปแบบนี้เป็นครั้งแรก อาจมีการขลุกขลักในการประสานงานบ้าง เพราะฉะนั้นถ้าหากว่ามีท่านผู้ฟังหรือพี่น้องประชาชนซึ่งได้เคยสนใจสมัครเข้ามา หรือว่าได้บอกผ่านสมาชิกของพรรคว่าได้มีการสมัครเข้ามา ได้มีปัญหาไม่ทราบชัดเจนว่าจะได้เข้ามาร่วมหรือไม่อย่างไร เพราะขณะนี้ทางพรรคได้ทำจดหมายตอบขอบคุณผู้ที่จะเข้าร่วมรวมทั้งส่งบัตรในการที่จะเข้าร่วมประชุมไปแล้ว แต่ถ้าหากว่ามีปัญหา วิธีการตรวจสอบ ขณะนี้ก็จะต้องเป็นทางอินเทอร์เน็ต โดยเข้าไปทางเวปไซต์ของทางสมัชชาประชาชนที่จัดโดยพรรคประชาธิปัตย์นะครับคือ www.peopleassembly.org ว่ามีรายชื่อหรือไม่ หรือว่าจะเข้าผ่านทางเวปไซต์ของพรรค www.democrat.or.th’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามพรรคจะจัดเวทีนี้อีกหลายครั้ง เพราะว่าจะมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่การระดมความเห็นเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง ในการแก้ไขปัญหาของประเทศให้ได้ในที่สุด เพราะพรรคเชื่อมั่นในแนวทางของการมีส่วนรวมของประชาชน
‘เราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของประชาชนที่จะมาเชื่อมโยงกับพรรคการเมืองซึ่งจะทำให้ระบอบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม ความเป็นเจ้าของประเทศของประชาชน มีความเข้มแข็งขึ้น อันนี้ก็อยากให้มีการติดตามและก็ท่านที่ติดตามเรื่องนี้ จะมาร่วมโดยตรงหรือติดตามอยู่ มีข้อเสนอแนะอะไรขอให้บอกมาได้ พรรคจะได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป เพราะพรรคถือเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหา เพราะว่าปัญหาการมีส่วนร่วมหรือเรื่องของการที่จะให้ประชาชนมีช่องทางในการที่จะดูแลแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ประชาธิปัตย์ แคมปัสทัวร์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าจากการพบปะกับประชาชน และนักธุรกิจหลายกลุ่ม ที่จังหวัดสระบุรี พบว่าปัญหาการมีส่วนร่วมยังคงเป็นปัญหาอยู่มาก พรรคจึงมองว่าอยากจะให้มีส่วนร่วมมากขึ้น เพื่อจะสะท้อนปัญหาในการที่จะชี้นำเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ในหลายจังหวัดอย่าง เช่นสระบุรี ต้องถือว่าเศรษฐกิจก็เงียบหรือซบเซาเนื่องมาจากราคาน้ำมันส่วนหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่งประชาชนในจังหวัดนั้นๆมองว่าในจังหวัดของเขามีศักยภาพในการที่จะพัฒนา แต่ว่ายังไม่ได้มีโอกาสในการที่จะมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดแนวทางทิศทางในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จากการพบปะประชาชนที่อำเภอแก่งคอย จึงทราบว่าประชาชนกำลังมีความหวั่นวิตกในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า แก่งคอย 2 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ย้ายมาจากประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีปัญหาก่อนหน้านี้ และขณะนี้การก่อสร้างก็กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งตนได้รับเรื่องร้องเรียนและเรื่องผลกระทบ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นมาด้วยเพื่อจะได้มีการดำเนินการของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการที่จะติดตามดังกล่าว
‘สิ่งที่เขาต้องการก็คือว่าการได้รับข้อมูล การชี้แจง ที่ถูกต้อง และเมื่อมีความคิดเห็นนำเสนออะไร ไม่อยากให้มีการคุกคามกัน เพราะว่าแกนนำที่มีการเคลื่อนไหว รณรงค์ในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกังวลต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก็ได้มาร้องเรียนว่าถูกคุกคามด้วย อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งซึ่งผมบอกว่าเป็นหน้าที่ที่ทางฝ่ายนิติบัญญัติและพรรคประชาธิปัตย์ พรรคร่วมฝ่ายค้านยินดีเสมอ ท่านมีอะไรสามารถที่จะร้องมาถึงผมได้นะครับ ที่ตู้ ป.ณ. 44 อยู่ที่รัฐสภา มีเวปไซต์ส่วนตัวของผม ทางจดหมาย ทางอีเมล์ ได้ทั้งสิ้น แล้วเราจะพยายามติดตามเรื่องเหล่านี้ให้’ นายอภิสิทธิ์
บ้านสีดำ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงกรณี เรื่องบ้านสีดำ ของนางรัตนา ที่เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานานนับ 10 ปี ว่าตนได้ติดตามเรื่องมาโดยตลอดและจะมีวาระเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รายงานมา ว่าได้เข้าไปสอบการดำเนินการตั้งแต่ปี 2546 และสรุปมาว่าจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือแก้ไขให้ทางนางรัตนา และต้องแก้ไขปรับปรุงในเชิงนโยบายโดยเสนอเรื่องไปที่กทม. และที่สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ปรากฎว่าหลังจากที่คณะกรรมการเสนอไปแล้ว นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่ากทม.ในขณะนั้น ได้ทำหนังสือชี้แจงแย้งความเห็นของคณะกรรมการเสร็จไปหลายเรื่อง แต่โดยสาระสำคัญก็คือว่า ผู้ว่ากทม. (นายสมัคร)ยืนยันว่าทุกอย่างได้ปฎิบัติตามกฎหมายแล้ว มีการสอบสวนเจ้าหน้าที่ไปแล้ว ลงโทษไปด้วยการตัดเงินเดือน สอบแล้วเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง แต่ว่าในที่สุดคณะกรรมการสิทธิฯเห็นว่าข้อเสนอหรือมาตรการที่เสนอไป ยังไม่ได้รับการดำเนินการ เพราะฉะนั้นนอกจาก กทม. หรือ สคบ. และหน่วยงานอื่น ๆ แล้ว ทางกรรมการสิทธิฯจึงเสนอเรื่องนี้ต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายปี 2546 ก็ปรากฎว่ายังไม่ได้มีการดำเนินการอีก เรื่องนี้จึงมีการปฎิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมถึงกรรมสิทธิ์ก็เสนอเรื่องนี้เพื่อที่จะให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณา เพื่อที่จะให้ทางฝ่ายบริหารมาตอบว่าเหตุใดการดำเนินการเรื่องนี้หลังจากที่กรรมการสิทธิฯ สอบไปในปี 2546 ไม่มีการมาแก้ไขเรื่องราวต่าง ๆ
‘ผมเรียนว่าในส่วนของท่านผู้ว่ากทม.คนปัจจุบันคือ ได้เข้ามาดูปัญหานี้เป็นระยะเวลาหลายเดือนแล้วเหมือนกัน แล้วก็ได้มีการดำเนินการเบื้องต้น คือพยายามที่จะเยียวยาในเรื่องของการจัดหาบ้านให้คุณรัตนา ในที่สุดก็พบความเป็นจริงว่าทางกรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจในการที่จะไปจัดซื้อบ้านเพื่อเยียวยาให้คุณรัตนาได้ แต่ว่าด้วยหลักการที่เห็นว่า เรื่องนี้ควรจะได้รับการเยียวยา ขณะนี้ทางกทม.ก็ได้มีการหารือไปยังทางรัฐบาล แล้วก็รัฐบาลก็ยอมรับว่าควรจะมีการดำเนินการเรื่องนี้ เพราะกทม.เสนอไปว่าควรจะทำอย่างนี้ แต่ว่าอำนาจในการจัดซื้อหรือในการจัดหาบ้าน รองนายกพินิจท่านรับไป เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามต่อไป ว่าเราก็อยากเร่งรัดให้ทางรัฐบาลซึ่งเป็นผู้มีอำนาจที่จะทำเรื่องนี้ได้ในการที่จะทำการจัดหาบ้านอย่างน้อยที่เป็นการเยียวยาเบื้องต้น’นายอภิสิทิกล่าว
นายอภิสิทธิ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ผู้ว่ากทม.ได้เสนอชื่อกรรมการไปให้ทางนายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกแล้ว ปรากฎว่านายพินิจ บอกว่ารอเพื่อให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ดูชื่อกรรมการ เพื่อจะอนุมัติ เพราะฉะนั้นงานที่กทม.ได้เสนอไปแล้ว คือการที่จะให้รัฐบาลได้ตั้งกรรมการร่วมขึ้นมาสอบ หรือ การจัดหาบ้าน รัฐบาลได้รับไปดำเนินการ ตนคงจะใช้โอกาสในการอภิปรายในสภา โดยให้ทางฝ่ายค้านขอให้รัฐบาลเร่งรัดในเรื่องนี้
“อยากจะเรียนว่านอกเหนือจากการเยียวยาในเรื่องบ้านและในเรื่องของการสอบ อีกส่วนหนึ่งก็คือในแง่ของสิทธิของคุณรัตนาเอง ที่จะฟ้องร้องก็เป็นเรื่องที่สามารถที่จะดำเนินการได้ และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่พี่น้องประชาชนสอบถามผมมามาก ว่าขณะนี้มีการดำเนินการอย่างไร ผมก็ตรวจสอบแล้ว ก็เรียนให้ทราบว่าขณะนี้จริง ๆ ปัญหาเรื่องนี้ค้างมาตั้งแต่ปี 46 และผู้ว่าท่านคนปัจจุบันพยายามที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา แต่ว่ามีบางเรื่องนอกเหนืออำนาจของผู้ว่ากทม. ขณะนี้เสนอรัฐบาลไปก็น่าจะเป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้ว แล้วก็คงจะให้ทางฝ่ายค้านใช้โอกาสนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาจะเร่งรัดให้รัฐบาลแก้ไขเรื่องนี้ต่อไป” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ต.ค. 2548--จบ--