วันนี้ (13 ก.ค.) นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางคลื่นวิทยุ 101.0 ในรายการ ข่าวยามเช้า ในช่วง ‘ตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ ถึงกรณีการออกมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐบาลว่า ต้องลำดับเหตุการณ์เให้เห็นภาพรวมของเศรษฐกิจก่อน ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจผันผวน ประกอบทั้งยังมีปัจจัยจากภายนอกในเรื่องของราคาน้ำมัน บวกกับการใช้จ่าย และการเร่งตัวทางเศรษฐกิจ ในแง่ของการขยายตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ต้องเจอกับปัญหา 2 ด้านคือ 1. ราคาสินค้าแพง การขาดดูลการค้า ขาดดูลบัญชีเดินสะพัด 2.ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จากราคาสินค้าที่สูงขึ้น พร้อมๆกับการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ ที่สืบเนื่องมาจากความไม่แน่นอนต่างๆ
สิ่งที่รัฐบาลกำลังพยายามทำขณะนี้ โดยเฉพาะในแนวคิดของนายกฯยังใช้กรอบความคิดเดิมเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ก็ยึดว่าทำอย่างไรก็ได้ ขอให้เศรษฐกิจขยายตัวมากๆ โดยการให้คนมีเงินจับจ่ายใช้สอย ซึ่งภาวะก่อนหน้านี้อาจจะใช้แนวทางนี้ได้ เพราะว่าดอกเบี้ยต้ำ เงินเฟ้อต่ำ ขาดดูลการค้า ขาดดูลบัญชีเดินสะพัดไม่มี แต่วันนี้หากจะดำเนินตามกรอบความคิดเดิม ตนเห็นว่ามีความเสี่ยงในแง่ของปัญหาเสถียรภาพ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวมาตรการตนอยากให้รัฐบาลมองในมุมว่าเป็นมาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า เพราะหากคิดว่าจะต้องเให้ประชาชนใช้จ่ายเยอะๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอาจไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่หากมองว่าการใส่เงินกระเป๋าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จะทำให้การแก้ปัญหาอยู่ในกรอบที่ถูกต้องในเชิงทิศทางมากกว่า
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับมาตรการที่มีลักษณะการลดหย่อนภาษี ในกรณีที่เอกชนไปช่วยเติมเงินให้คนของตนเอง เหตุผลที่ตนเห็นด้วยในมาตรการนี้เพราะว่า ตนเคยเสนอว่าจริงแล้วเรื่องผู้ใช้แรงงาน สิ่งที่ควรนำมาใช้คือการลดหย่อน ในเรื่องของการกำหนดอัตราเงินสบทบเข้าสู่กองทุนประกันสังคม
มาตรการนี้เป็นมาตรการในทางภาษีที่รัฐบาลประกาศ ตนเห็นด้วยเพราะเป็นการเคลื่อนกำลังซื้อให้กับประชาชน คือประชาชนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของต้นทุน หรือการทำให้ขีดความสามารถในการผลิตของธุรกิจ ได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้นในเรื่องของมาตรการเรื่องประกันสังคม เป็นเรื่องที่ควรรีบเอามาพิจารณาไปพร้อมๆกันกับค่าแรง เพราะแนวโน้มค่าแรงต้องผ่านกลไกลของคณะกรรมการไตรภาคี
ส่วนมาตรการขึ้นเงินเดือน หรือเพิ่มค่าแรง เข้าใจว่าเพื่อช่วยลดความเดือดร้อนของคนกลุ่มต่างๆ แต่ทั้งนี้รัฐบาลต้องเตรียมการเพิ่มอีกอย่างน้อย 3 ด้าน 1.วันนี้เงินเดือนข้าราชการยังไม่ขึ้น เพราะจะขึ้นในเดือนตุลาคม ค่าแรงยังต้องไปผ่านคณะกรรมการไตรภาคี แต่สิ่งที่คาดเดาได้เมื่อน้ำมันลอยตัว คือเรื่องของราคาสินค้า ยิ่งถ้ามีการประกาศล่วงหน้า และมีการปรับเปลี่ยนปัจจัยต่างๆในระยะถี่ๆ ราคาสินค้าก็จะขยับขึ้นๆเรื่อยๆ สุดท้ายเมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาก เงินเฟ้อเพิ่มสูงมาก และสิ่งที่คาดว่าคนจะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ก็ไม่ได้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นจริง
เพราะรายได้ หรือเงินเดือนเพิ่มขึ้นเท่าๆกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ทุกอย่างก็มีค่าเท่าเดิม และผู้ที่ไม่ได้มีเงินเพิ่มขึ้น จะได้รับผลกระทบมากขึ้น
‘เดิมผม (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ) มีกำหนดว่าจะได้พบกับรับมนตรีว่าการกระทรวงพาริชย์ในวันพรุ่งนี้ แต่บังเอิญได้รับแจ้งว่าท่านเดินทางกลับจากต่างประเทศไม่ทัน ดังนั้นผมคงให้พรรคจัดทำเป็นรูปแบบของข้อเสนอส่งไป’นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนที่ 2 ที่รัฐบาลต้องทำคือหากมาตรการของรัฐบาลกระทบกับภาคผลิต อาจจะส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างก็เท่ากับว่าเกิดความเดือดร้อนขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องมีมาตรการดูแลด้านการผลิตด้วย จะดูเพียงด้านกำลังซื้อของคนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะภาวะเศรษฐกิจไม่เหมือนในอดีต 2-3 ปีที่แล้ว
ส่วนที่ 3 คือกรณีการปล่อยลอยตัวราคาน้ำมัน ซึ่งตนเสนอมาแต่ต้นว่าในภาวะที่น้ำมันราคาสูงขนาดนี้ รัฐบาลควรยอมเสียสละในส่วนของภาษีสรรพสามิต เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้คือแนวคิดและมุมมองต่อมาตรการว่าทำไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่อยากให้ดูไปถึงราคาสินค้า เพื่อไม่ให้เป็นการดำเนินการที่สูญเปล่า 2. ต้องการให้ดูมาตรการด้านการผลิต เพื่อไม่ให้มีปัญหาในด้านต้นทุนการผลิตจนนำไปสู่ปัญหาการเลิกจ้าง 3. รัฐบาลควรยอมเสียสละในส่วนมาตรการของภาษีมากกว่านี้
‘และผมอยากย้ำว่าเมื่อวานมีสัญญณ มาตรการเยอะพอสมควร งบประมาณก็ใช้พอสมควร คงต้องเรียกร้องว่ารัฐบาลต้องทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส โดยการใช้กระบวนการกรรมาธิการ งบประมาณของสภาในขณะนี้จัดเงินในงบประมาณโครงการให้มีชัดเจน เช่นการจะเพิ่มเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุ หรือการเพิ่มเงินเดือน’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว่า ที่ต้องหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพราะที่ผ่านมีการถกเถียงถึงเรื่อง 30 บาทค่อนข้างมาก แต่รัฐมนตรีและนายกฯ ต่างออกมาบอกว่าปีนี้ไม่มีปัญหาอะไร เพิ่มงบประมาณให้เป็น 1,600 กว่าบาท แต่ตอนอภิปรายพิจารณางบประมาณรัฐมนตรียอมรับกับสภาว่าไม่มีการจัดไว้ในกฎหมายงบประมาณ มีการจัดไว้เพียง1,402 บาท เพราะฉะนั้นก็แสดงว่าเงินขาดอยู่ 200 กว่าบาทต่อหัว เมื่อคำนวนแล้ว 13,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับหลายยอดที่รัฐบาล ซึ่งนายกฯได้กล่าวเมื่อวาน (12ก.ค.)ตนอยากให้มีการปรับออกมาจากงบที่เป็นงบลอยอยู่ อย่าปล่อยให้มีงบลอย เพราะในที่สุดก็จะมีปัจจัยทางการเมืองไปชี้นำว่าจะใช้เงินอย่างไร และสุดท้ายหาเงินไม่ได้ เพราพฉะนั้นในเรื่องนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจน ว่างบลอยทั้งหลายที่อยู่ใน พ.ร.บ.งบประมาณฯ ต้องเปิดไฟเขียวให้กรรมาธิการงบประมาณปรับออกมาใช้ในเชิงการตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้(ประกาศคืนวันที่ 12 ก.ค.)จึงจะเกิดความมั่นใจ ความโปร่งใสในการจะเดินหน้าต่อไป
กรณีเสียสละภาษีสรรพสามิตเรื่องน้ำมันลิตรละบาท นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตนได้เสนอมาแต่ต้นว่ายังเหลือ 1.30 บาท ซึ่งจริงๆแล้วก็เท่ากับที่ต้องเพิ่มขึ้นมา และลักษณะที่ประกาศขึ้นซึ่งถือว่าขึ้นค่อนข้างแรง ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีเสียงท้วงติงว่าการขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ควรจะมีการตรวจสอบสต็อก เพราะฉะนั้นอาจมีผู้ได้ประโยชน์ไปโดยไม่สมควร เรื่องนี้ต้องระวัง เพราะมีบทเรียนมาจากครั้งที่แล้ว
ต่อข้อถามที่ว่า สวนดุสิตโพลให้คะแนนนายกฯกับการประกาศมาตรการประหยัดพลังงาน 7.05 เต็ม 10 นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่ายังคงจะสรุปไม่ได้ทันที แต่ตนเห็นว่าหลายเรื่องเป็นเรื่องที่ดีที่จะบรรเทาความเดือดร้อน แต่ว่าต้องตามประเมินปัญหาให้ครบวงจร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ก.ค. 2548--จบ--
สิ่งที่รัฐบาลกำลังพยายามทำขณะนี้ โดยเฉพาะในแนวคิดของนายกฯยังใช้กรอบความคิดเดิมเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ก็ยึดว่าทำอย่างไรก็ได้ ขอให้เศรษฐกิจขยายตัวมากๆ โดยการให้คนมีเงินจับจ่ายใช้สอย ซึ่งภาวะก่อนหน้านี้อาจจะใช้แนวทางนี้ได้ เพราะว่าดอกเบี้ยต้ำ เงินเฟ้อต่ำ ขาดดูลการค้า ขาดดูลบัญชีเดินสะพัดไม่มี แต่วันนี้หากจะดำเนินตามกรอบความคิดเดิม ตนเห็นว่ามีความเสี่ยงในแง่ของปัญหาเสถียรภาพ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวมาตรการตนอยากให้รัฐบาลมองในมุมว่าเป็นมาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า เพราะหากคิดว่าจะต้องเให้ประชาชนใช้จ่ายเยอะๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอาจไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่หากมองว่าการใส่เงินกระเป๋าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จะทำให้การแก้ปัญหาอยู่ในกรอบที่ถูกต้องในเชิงทิศทางมากกว่า
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับมาตรการที่มีลักษณะการลดหย่อนภาษี ในกรณีที่เอกชนไปช่วยเติมเงินให้คนของตนเอง เหตุผลที่ตนเห็นด้วยในมาตรการนี้เพราะว่า ตนเคยเสนอว่าจริงแล้วเรื่องผู้ใช้แรงงาน สิ่งที่ควรนำมาใช้คือการลดหย่อน ในเรื่องของการกำหนดอัตราเงินสบทบเข้าสู่กองทุนประกันสังคม
มาตรการนี้เป็นมาตรการในทางภาษีที่รัฐบาลประกาศ ตนเห็นด้วยเพราะเป็นการเคลื่อนกำลังซื้อให้กับประชาชน คือประชาชนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของต้นทุน หรือการทำให้ขีดความสามารถในการผลิตของธุรกิจ ได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้นในเรื่องของมาตรการเรื่องประกันสังคม เป็นเรื่องที่ควรรีบเอามาพิจารณาไปพร้อมๆกันกับค่าแรง เพราะแนวโน้มค่าแรงต้องผ่านกลไกลของคณะกรรมการไตรภาคี
ส่วนมาตรการขึ้นเงินเดือน หรือเพิ่มค่าแรง เข้าใจว่าเพื่อช่วยลดความเดือดร้อนของคนกลุ่มต่างๆ แต่ทั้งนี้รัฐบาลต้องเตรียมการเพิ่มอีกอย่างน้อย 3 ด้าน 1.วันนี้เงินเดือนข้าราชการยังไม่ขึ้น เพราะจะขึ้นในเดือนตุลาคม ค่าแรงยังต้องไปผ่านคณะกรรมการไตรภาคี แต่สิ่งที่คาดเดาได้เมื่อน้ำมันลอยตัว คือเรื่องของราคาสินค้า ยิ่งถ้ามีการประกาศล่วงหน้า และมีการปรับเปลี่ยนปัจจัยต่างๆในระยะถี่ๆ ราคาสินค้าก็จะขยับขึ้นๆเรื่อยๆ สุดท้ายเมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาก เงินเฟ้อเพิ่มสูงมาก และสิ่งที่คาดว่าคนจะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ก็ไม่ได้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นจริง
เพราะรายได้ หรือเงินเดือนเพิ่มขึ้นเท่าๆกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ทุกอย่างก็มีค่าเท่าเดิม และผู้ที่ไม่ได้มีเงินเพิ่มขึ้น จะได้รับผลกระทบมากขึ้น
‘เดิมผม (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ) มีกำหนดว่าจะได้พบกับรับมนตรีว่าการกระทรวงพาริชย์ในวันพรุ่งนี้ แต่บังเอิญได้รับแจ้งว่าท่านเดินทางกลับจากต่างประเทศไม่ทัน ดังนั้นผมคงให้พรรคจัดทำเป็นรูปแบบของข้อเสนอส่งไป’นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนที่ 2 ที่รัฐบาลต้องทำคือหากมาตรการของรัฐบาลกระทบกับภาคผลิต อาจจะส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างก็เท่ากับว่าเกิดความเดือดร้อนขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องมีมาตรการดูแลด้านการผลิตด้วย จะดูเพียงด้านกำลังซื้อของคนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะภาวะเศรษฐกิจไม่เหมือนในอดีต 2-3 ปีที่แล้ว
ส่วนที่ 3 คือกรณีการปล่อยลอยตัวราคาน้ำมัน ซึ่งตนเสนอมาแต่ต้นว่าในภาวะที่น้ำมันราคาสูงขนาดนี้ รัฐบาลควรยอมเสียสละในส่วนของภาษีสรรพสามิต เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้คือแนวคิดและมุมมองต่อมาตรการว่าทำไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่อยากให้ดูไปถึงราคาสินค้า เพื่อไม่ให้เป็นการดำเนินการที่สูญเปล่า 2. ต้องการให้ดูมาตรการด้านการผลิต เพื่อไม่ให้มีปัญหาในด้านต้นทุนการผลิตจนนำไปสู่ปัญหาการเลิกจ้าง 3. รัฐบาลควรยอมเสียสละในส่วนมาตรการของภาษีมากกว่านี้
‘และผมอยากย้ำว่าเมื่อวานมีสัญญณ มาตรการเยอะพอสมควร งบประมาณก็ใช้พอสมควร คงต้องเรียกร้องว่ารัฐบาลต้องทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส โดยการใช้กระบวนการกรรมาธิการ งบประมาณของสภาในขณะนี้จัดเงินในงบประมาณโครงการให้มีชัดเจน เช่นการจะเพิ่มเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุ หรือการเพิ่มเงินเดือน’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว่า ที่ต้องหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพราะที่ผ่านมีการถกเถียงถึงเรื่อง 30 บาทค่อนข้างมาก แต่รัฐมนตรีและนายกฯ ต่างออกมาบอกว่าปีนี้ไม่มีปัญหาอะไร เพิ่มงบประมาณให้เป็น 1,600 กว่าบาท แต่ตอนอภิปรายพิจารณางบประมาณรัฐมนตรียอมรับกับสภาว่าไม่มีการจัดไว้ในกฎหมายงบประมาณ มีการจัดไว้เพียง1,402 บาท เพราะฉะนั้นก็แสดงว่าเงินขาดอยู่ 200 กว่าบาทต่อหัว เมื่อคำนวนแล้ว 13,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับหลายยอดที่รัฐบาล ซึ่งนายกฯได้กล่าวเมื่อวาน (12ก.ค.)ตนอยากให้มีการปรับออกมาจากงบที่เป็นงบลอยอยู่ อย่าปล่อยให้มีงบลอย เพราะในที่สุดก็จะมีปัจจัยทางการเมืองไปชี้นำว่าจะใช้เงินอย่างไร และสุดท้ายหาเงินไม่ได้ เพราพฉะนั้นในเรื่องนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจน ว่างบลอยทั้งหลายที่อยู่ใน พ.ร.บ.งบประมาณฯ ต้องเปิดไฟเขียวให้กรรมาธิการงบประมาณปรับออกมาใช้ในเชิงการตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้(ประกาศคืนวันที่ 12 ก.ค.)จึงจะเกิดความมั่นใจ ความโปร่งใสในการจะเดินหน้าต่อไป
กรณีเสียสละภาษีสรรพสามิตเรื่องน้ำมันลิตรละบาท นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตนได้เสนอมาแต่ต้นว่ายังเหลือ 1.30 บาท ซึ่งจริงๆแล้วก็เท่ากับที่ต้องเพิ่มขึ้นมา และลักษณะที่ประกาศขึ้นซึ่งถือว่าขึ้นค่อนข้างแรง ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีเสียงท้วงติงว่าการขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ควรจะมีการตรวจสอบสต็อก เพราะฉะนั้นอาจมีผู้ได้ประโยชน์ไปโดยไม่สมควร เรื่องนี้ต้องระวัง เพราะมีบทเรียนมาจากครั้งที่แล้ว
ต่อข้อถามที่ว่า สวนดุสิตโพลให้คะแนนนายกฯกับการประกาศมาตรการประหยัดพลังงาน 7.05 เต็ม 10 นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่ายังคงจะสรุปไม่ได้ทันที แต่ตนเห็นว่าหลายเรื่องเป็นเรื่องที่ดีที่จะบรรเทาความเดือดร้อน แต่ว่าต้องตามประเมินปัญหาให้ครบวงจร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ก.ค. 2548--จบ--