ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2548 ชะลอตัว โดยทางด้านอุปสงค์ กิจกรรมการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอลง การส่งออกเร่งตัวขึ้นในขณะที่การนำเข้าชะลอลง ทางด้านอุปทาน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมส่งออกเร่งตัวขึ้นตามการผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งขยายตัวในเกณฑ์ดี ภาคบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สำหรับรายได้เกษตรกรลดลงเนื่องจากทั้งผลผลิตและราคาพืชผลหลักลดลง ขณะที่แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานเพิ่มขึ้นมาก ด้านเงินฝากชะลอตัว และสินเชื่อขยายตัวตามการโอนสินเชื่อของธนาคารใหม่ที่ปรับสถานะจากบริษัทเงินทุน
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักในเดือนนี้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 ตามผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียวที่ลดลงร้อยละ 5.4 และ 2.4 ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลัง แต่ผลผลิตมันสำปะหลังก็ลดลงจากกระทบแล้ง ส่วนหอมแดงลดลงร้อยละ 9.2 เนื่องจากราคาในปีก่อนไม่จูงใจ ขณะที่ผลผลิตลำไยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 ด้านราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 3.6 ตามการลดลงของราคาลำไย เป็นสำคัญ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัว โดยมูลค่าการผลิตและส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนในเดือนนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.9 เป็น 151.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากที่หดตัวใน 2 เดือนที่ผ่านมา สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึก และอัญมณี สำหรับการผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เป็น 118.1 พันเมตริกตัน ชะลอตัวจากเดือนก่อน ขณะที่การผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 6.2 เหลือ 8,830 เมตริกตัน แต่ราคาขายเพิ่มขึ้น
3. ภาคบริการ ภาคบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามฤดูกาล แต่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติยังขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และข่าวแผ่นดินไหวที่ส่งผลในด้านจิตวิทยา ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยประสบกับภาวะค่าใช้จ่ายที่ปรับเพิ่มขึ้น และส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวบางกลุ่มชะลอการเดินทางในช่วงประสบภัย โดยกิจกรรมภาคบริการที่สำคัญได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เป็นการลดลงเดือนแรกในรอบ 20 เดือน ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารลดลงร้อยละ 3.0 และอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงเหลือร้อยละ 51.9 เทียบกับร้อยละ 54.6 ในระยะเดียวกันปีก่อน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวแต่มีทิศทางชะลอลง ตามความระมัดระวังในการใช้จ่ายของผู้บริโภคจากราคาน้ำมันและรายได้เกษตรกรที่ลดลง โดยกิจกรรมสำคัญได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทค้าส่งค้าปลีกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 ในเดือนก่อน ชะลอลงทั้งภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง อย่างไรก็ดีปริมาณจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 และ 4.6 ตามลำดับ เร่งตัวจากเดือนก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 0.8 และร้อยละ 10.3 ตามลำดับ เนื่องจากกลยุทธ์ส่งเสริมการขายของภาคธุรกิจและการทยอยส่งรถให้แก่ผู้บริโภค
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนเพื่อการก่อสร้างชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่สัญญาณการลงทุนเพื่อการก่อสร้างยังคงชะลอตัวต่อเนื่องโดยพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 7.5 ตามการลดลงของประเภทบริการ อาทิ หอพักและโรงแรม ขณะที่ประเภทพาณิชย์และที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาณการลงทุนเพื่อการผลิต ซึ่งสะท้อนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI มี 6 แห่ง เงินลงทุน 453.7 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.3 เป็นโครงการเกี่ยวกับการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.0 เป็น 227.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.8 เดือนก่อน
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 189.8 เป็น 33.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมูลค่าส่งออกใบยาสูบ อัญมณี และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เป็น 151.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึก และอัญมณี โดยส่งออกไปที่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอิสราเอล
อย่างไรก็ดีการส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 1.4 เหลือ 42.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่า เป็นสำคัญโดยลดลงร้อยละ 14.9 เนื่องจากพม่ายังคงเข้มงวดการค้าชายแดนบริเวณด่านแม่สอดและแม่สาย และการส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 24.1 ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้ยังเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.0 เป็น 124.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากร้อยละ 18.5เดือนก่อน
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เป็น 1.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อน โดยสินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นได้แก่เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอจาก ญี่ปุ่น และอินเดีย
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 เป็น 117.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อน สินค้าสำคัญที่นำเข้าเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องจักรและเครื่องจักรกล และอัญมณี
การนำผ่านเข้าด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 5.9 เหลือ 5.5 ล้านดอลลาร์ ตามการลดลงของการนำเข้าจากพม่า และจีนตอนใต้ ส่วนการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว
ดุลการค้า เกินดุล 102.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 78 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในระยะเดียวกันปีก่อน
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนมากและต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 5 เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และ 5.5 ตามลำดับ โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจากแหล่งผลิตและพื้นที่บางจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วม รองลงมาได้แก่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ สัตว์น้ำ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนกรกฎาคม 2548 มีกำลังแรงงานรวมในภาคเหนือ 6.8 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.4 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 98.8 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามการจ้างงานในภาคเกษตรที่ลดลงร้อยละ 3.9 ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ด้านอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในเดือนสิงหาคม 2548 มีจำนวน 563,752 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 และร้อยละ 5.1 ตามลำดับ
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 302,044 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 ชะลอตัวจากเดือนก่อน ตามการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณในหลายจังหวัด อาทิ เชียงราย เพชรบูรณ์ ลำปาง นครสวรรค์ และเชียงใหม่ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 232,429 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 โดยมีอัตราขยายตัวสูงที่สุดในรอบกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการโอนสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ซึ่งปรับสถานะจากบริษัทเงินทุน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักในเดือนนี้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 ตามผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียวที่ลดลงร้อยละ 5.4 และ 2.4 ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลัง แต่ผลผลิตมันสำปะหลังก็ลดลงจากกระทบแล้ง ส่วนหอมแดงลดลงร้อยละ 9.2 เนื่องจากราคาในปีก่อนไม่จูงใจ ขณะที่ผลผลิตลำไยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 ด้านราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 3.6 ตามการลดลงของราคาลำไย เป็นสำคัญ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัว โดยมูลค่าการผลิตและส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนในเดือนนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.9 เป็น 151.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากที่หดตัวใน 2 เดือนที่ผ่านมา สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึก และอัญมณี สำหรับการผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เป็น 118.1 พันเมตริกตัน ชะลอตัวจากเดือนก่อน ขณะที่การผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 6.2 เหลือ 8,830 เมตริกตัน แต่ราคาขายเพิ่มขึ้น
3. ภาคบริการ ภาคบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามฤดูกาล แต่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติยังขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และข่าวแผ่นดินไหวที่ส่งผลในด้านจิตวิทยา ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยประสบกับภาวะค่าใช้จ่ายที่ปรับเพิ่มขึ้น และส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวบางกลุ่มชะลอการเดินทางในช่วงประสบภัย โดยกิจกรรมภาคบริการที่สำคัญได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เป็นการลดลงเดือนแรกในรอบ 20 เดือน ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารลดลงร้อยละ 3.0 และอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงเหลือร้อยละ 51.9 เทียบกับร้อยละ 54.6 ในระยะเดียวกันปีก่อน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวแต่มีทิศทางชะลอลง ตามความระมัดระวังในการใช้จ่ายของผู้บริโภคจากราคาน้ำมันและรายได้เกษตรกรที่ลดลง โดยกิจกรรมสำคัญได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทค้าส่งค้าปลีกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 ในเดือนก่อน ชะลอลงทั้งภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง อย่างไรก็ดีปริมาณจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 และ 4.6 ตามลำดับ เร่งตัวจากเดือนก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 0.8 และร้อยละ 10.3 ตามลำดับ เนื่องจากกลยุทธ์ส่งเสริมการขายของภาคธุรกิจและการทยอยส่งรถให้แก่ผู้บริโภค
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนเพื่อการก่อสร้างชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่สัญญาณการลงทุนเพื่อการก่อสร้างยังคงชะลอตัวต่อเนื่องโดยพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 7.5 ตามการลดลงของประเภทบริการ อาทิ หอพักและโรงแรม ขณะที่ประเภทพาณิชย์และที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาณการลงทุนเพื่อการผลิต ซึ่งสะท้อนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI มี 6 แห่ง เงินลงทุน 453.7 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.3 เป็นโครงการเกี่ยวกับการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.0 เป็น 227.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.8 เดือนก่อน
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 189.8 เป็น 33.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมูลค่าส่งออกใบยาสูบ อัญมณี และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เป็น 151.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึก และอัญมณี โดยส่งออกไปที่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอิสราเอล
อย่างไรก็ดีการส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 1.4 เหลือ 42.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่า เป็นสำคัญโดยลดลงร้อยละ 14.9 เนื่องจากพม่ายังคงเข้มงวดการค้าชายแดนบริเวณด่านแม่สอดและแม่สาย และการส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 24.1 ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้ยังเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.0 เป็น 124.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากร้อยละ 18.5เดือนก่อน
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เป็น 1.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อน โดยสินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นได้แก่เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอจาก ญี่ปุ่น และอินเดีย
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 เป็น 117.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อน สินค้าสำคัญที่นำเข้าเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องจักรและเครื่องจักรกล และอัญมณี
การนำผ่านเข้าด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 5.9 เหลือ 5.5 ล้านดอลลาร์ ตามการลดลงของการนำเข้าจากพม่า และจีนตอนใต้ ส่วนการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว
ดุลการค้า เกินดุล 102.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 78 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในระยะเดียวกันปีก่อน
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนมากและต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 5 เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และ 5.5 ตามลำดับ โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจากแหล่งผลิตและพื้นที่บางจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วม รองลงมาได้แก่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ สัตว์น้ำ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนกรกฎาคม 2548 มีกำลังแรงงานรวมในภาคเหนือ 6.8 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.4 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 98.8 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามการจ้างงานในภาคเกษตรที่ลดลงร้อยละ 3.9 ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ด้านอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในเดือนสิงหาคม 2548 มีจำนวน 563,752 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 และร้อยละ 5.1 ตามลำดับ
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 302,044 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 ชะลอตัวจากเดือนก่อน ตามการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณในหลายจังหวัด อาทิ เชียงราย เพชรบูรณ์ ลำปาง นครสวรรค์ และเชียงใหม่ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 232,429 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 โดยมีอัตราขยายตัวสูงที่สุดในรอบกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการโอนสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ซึ่งปรับสถานะจากบริษัทเงินทุน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--