วันนี้(22 ส.ค.)เวลา 11.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ์ สิทธีอมร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์แถลงว่าการจัดซื้อจัดจ้างหลังคาผ้าใบติดตั้งที่อาคารเทียบอากาศยานสุวรรณภูมิออกอาการวัสดุไม่ได้คุณภาพตามสเป๊กหรือข้อกำหนดทางเทคนิคของสัญญา สัญญาระหว่างบทม.กับ ITO ได้กำหนด ให้ ITO จัดหาและติดตั้งผ้าใบหลังคา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ชั้นนอก ซึ่งเคลือบเพื่อ สะท้อนรังสียูวี ชั้นกลางเพื่อกักเสียงและกระจายความร้อน และชั้นใน ซึ่งถักทอจากเส้นใยเคลือบ Solaflon พิเศษเพื่อกระจายแสง รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 2,400 ล้านบาท และได้เริ่มดำเนินการติดตั้งมา ตั้งแต่ปลายปี 2546 หลังจากติดตั้งวัสดุผ้าใบได้ไม่นาน ก็ปรากฏร่องรอยความผิดปกติในตัวผ้าใบ หลังคาชั้นใน เช่น ลายผ้าใบที่ไม่สม่ำเสมอ และในหลายพื้นที่ปรากฏจุดขาวบนผิวผ้าใบซึ่งคาดว่า เกิดจากกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานที่กำหนด
ต่อมาได้มีคำสั่งให้ผู้รับเหมาพยายามทำความสะอาด และทาสีทับรอยด่าง ซึ่งเป็นการแก้ ปัญหาที่ผิดวิธี จนในที่สุดบทม.ออกคำสั่งโดยหนังสือเลขที่ NBIA/ITO/TC/1925 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2548 ให้รื้อถอนและเปลี่ยนผ้าใบ เกือบทั้งหมดของอาคารเทียบอากาศยาน เรื่องนี้มีสิ่ง ผิดปกติหลายประเด็นที่รัฐบาลและผู้บริหารของบทม.ต้องชี้แจง
1. ทำไมติดตั้งไปแล้วเกือบ 2 ปีแล้วจึงเพิ่งมีคำสั่งให้เปลี่ยน? ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากการนำวัสดุมาติดตั้งเป็นระยะเวลา 2-3 เดือนก็พบความผิดปกติแล้ว โดยปกติก่อนที่จะ นำวัสดุที่มีความสำคัญเช่นผ้าใบหลังคาไปติดตั้ง ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องและรับรอง คุณภาพก่อน ในกรณีนี้ได้ปล่อยให้วัสดุที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานนำไปติดตั้ง ทำไมทำเป็น ไม่รู้ไม่เห็นมาเกือบสองปีแล้วจึงสั่งเปลี่ยน หรือเป็นเพราะถูกกดดันจากกระแสสังคมเรื่องการ ตรวจสอบทุจริตที่สนามบินหนองงูเห่า เพราะคำสั่งรื้อถอนออกมาในวันที่ 22 มิถุนายน 2548 เพียง 5 วันก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจเท่านั้น
2. กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างส่อเค้าซ้ำรอยกับกรณีซีทีเอ็กซ์คือมีการซื้อของผ่านตัวกลางหลายทอด กำไร ภาษี และค่าดำเนินการหลายทอด สิ้นเปลืองงบประมาณภาษีของประชาชน ส่วนต่าง ราคาสัญญาในแต่ละทอด ไม่มีการเปิดเผยให้สังคมตรวจสอบ ในกรณีนี้แทนที่ ITO จะซื้อตรง กับบริษัท Interglas technologies ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตในเยอรมัน กลับซื้อผ่านบริษัทตัวกลางใน ญี่ปุ่นก็คือบริษัท Ogawatec Corporation
3. ผลแล๊ปทั้งในและต่างประเทศซึ่งรายงานตั้งแต่เดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2547 ล้วนแสดง ให้เห็นว่าผ้าใบที่ติดตั้งชั้นในมีคุณภาพต่ำกว่าสเป๊ก
3.1. ผลแล๊ปจากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่าผ้าใบ ที่นำมาติดตั้งมีมาตรฐานการถักทอที่ไม่สม่ำเสมอ ช่องว่างระยะห่างระหว่างเส้นใยไม่ เท่ากัน และมาตรฐานความหนาของผ้าใบแต่ละชิ้นไม่คงที่
3.2. ผลแล๊ปจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งตรวจความยืดหยุ่นพบว่าตัวอย่างผ้าใบ แต่ละผืนที่นำมาทดสอบมีค่าความยืดหยุ่นที่ต่างกันมาก และมีค่าที่ต่ำกว่าสเป๊กที่กำหนด ไว้ (ค่าความยืดหยุ่นตามสเป๊กของเส้นยืนอยู่ที่ 3,500 N/5cm และของเส้นตามขวางอยู่ที่ 3,250 N/5cm ในขณะที่ค่าที่ตรวจวัดได้จากห้องแล๊ปอยู่ที่เฉลี่ย 2,250 และ 1,650 ตาม ลำดับ)
3.3. ผลแล็ปในเยอรมันจากศูนย์ Bavarian Center for Applied Energy Research พบว่า ค่าการกระจายและการส่งผ่านของแสงและรังสียูวีไม่ตรงตามค่ามาตรฐาน ซึ่งหากสนาม บินเปิดใช้อาจส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก และสิ้นเปลืองพลังงานเกิน กำหนด
4. ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน และเปลี่ยนผ้าใบที่ผิดสเป๊ก ซึ่งประเมินคร่าวๆ แล้ว ประมาณ 800-1,000 ล้านบาท ไม่อยากเห็นกรณีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากความบกพร่องนี้ถูกนำ ไปแอบซุกในงานเพิ่มของสัญญา แล้วทำไม่รู้ไม่เห็นอนุมัติงบฯโดยไม่ชี้แจงความบกพร่องให้ ประชาชนทราบ
5. ในการรื้อและติดตั้งใหม่ทั้งหมดจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นประมาณ 6-8 เดือน ยังไม่รวมถึงผลกระทบ ต่องานอื่นซึ่งจะทำให้งานของสนามบินล่าช้ามากขึ้นอีก ความล่าช้าและความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งหมดใครรับผิดชอบ?
ข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้ส่อให้เห็นว่าอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น รัฐบาลต้องออกมาชี้แจงทุก ประเด็น จะปล่อยให้เรื่องผ่านไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นไม่ได้โดยเด็ดขาด ด้วยกรณีเช่นนี้ทำให้ เกิดข้อสงสัยว่าจะมีกรณีวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ได้คุณภาพตามข้อกำหนดสัญญาอีกมากน้อยแค่ ไหน ดังนั้นรัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการที่มีความน่าเชื่อถือพร้อมองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สตง. สภาวิศวกรแห่งประเทศไทย เป็นต้น เข้ามาตรวจสอบ เรื่องนี้ต้องมีการสืบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อนำคนผิดมาลงโทษและรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่เช่นนั้นสุวรรณภูมิจะ กลายเป็นศูนย์กลางความขายหน้า ให้กับประเทศไทยมากไปกว่านี้ได้
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่ากรณีการทุจรติในหลายส่วนของสนามบินสุวรรณภูมิ พรรคได้มีข้อเสนอไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทันทีที่มารับตำแหน่ง โดยเรียกร้องให้มีการตรวจสอบโครงการต่างๆในสนามบินสุวรรณภูมิ ว่าโครงการใดที่ส่อเจตนาทุจริตให้เร่งดำเนินสะสางให้เรียบร้อย โดยพรรคได้มีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ให้กับรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล เข้ามารับตำแหน่งก็ยังไม่ดำเนินการใดๆในการที่จะไปสะสางปัญหาภายในสนามบินสุวรรณภูมิ นอกจากนั้นยังมีความพยายามที่จะเบี่ยงประเด็นว่าพรรคประชาธิปัตย์นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเกมการเมือง แต่ตนขอย้ำว่าพรรคไม่ได้เล่นเกมการเมือง และไม่อยากให้รัฐบาลมองการตรวจสอบการทุจริตเป็นเพียงเรื่องการเล่นเกม แต่ควรมองผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ส.ค. 2548--จบ--
ต่อมาได้มีคำสั่งให้ผู้รับเหมาพยายามทำความสะอาด และทาสีทับรอยด่าง ซึ่งเป็นการแก้ ปัญหาที่ผิดวิธี จนในที่สุดบทม.ออกคำสั่งโดยหนังสือเลขที่ NBIA/ITO/TC/1925 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2548 ให้รื้อถอนและเปลี่ยนผ้าใบ เกือบทั้งหมดของอาคารเทียบอากาศยาน เรื่องนี้มีสิ่ง ผิดปกติหลายประเด็นที่รัฐบาลและผู้บริหารของบทม.ต้องชี้แจง
1. ทำไมติดตั้งไปแล้วเกือบ 2 ปีแล้วจึงเพิ่งมีคำสั่งให้เปลี่ยน? ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากการนำวัสดุมาติดตั้งเป็นระยะเวลา 2-3 เดือนก็พบความผิดปกติแล้ว โดยปกติก่อนที่จะ นำวัสดุที่มีความสำคัญเช่นผ้าใบหลังคาไปติดตั้ง ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องและรับรอง คุณภาพก่อน ในกรณีนี้ได้ปล่อยให้วัสดุที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานนำไปติดตั้ง ทำไมทำเป็น ไม่รู้ไม่เห็นมาเกือบสองปีแล้วจึงสั่งเปลี่ยน หรือเป็นเพราะถูกกดดันจากกระแสสังคมเรื่องการ ตรวจสอบทุจริตที่สนามบินหนองงูเห่า เพราะคำสั่งรื้อถอนออกมาในวันที่ 22 มิถุนายน 2548 เพียง 5 วันก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจเท่านั้น
2. กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างส่อเค้าซ้ำรอยกับกรณีซีทีเอ็กซ์คือมีการซื้อของผ่านตัวกลางหลายทอด กำไร ภาษี และค่าดำเนินการหลายทอด สิ้นเปลืองงบประมาณภาษีของประชาชน ส่วนต่าง ราคาสัญญาในแต่ละทอด ไม่มีการเปิดเผยให้สังคมตรวจสอบ ในกรณีนี้แทนที่ ITO จะซื้อตรง กับบริษัท Interglas technologies ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตในเยอรมัน กลับซื้อผ่านบริษัทตัวกลางใน ญี่ปุ่นก็คือบริษัท Ogawatec Corporation
3. ผลแล๊ปทั้งในและต่างประเทศซึ่งรายงานตั้งแต่เดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2547 ล้วนแสดง ให้เห็นว่าผ้าใบที่ติดตั้งชั้นในมีคุณภาพต่ำกว่าสเป๊ก
3.1. ผลแล๊ปจากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่าผ้าใบ ที่นำมาติดตั้งมีมาตรฐานการถักทอที่ไม่สม่ำเสมอ ช่องว่างระยะห่างระหว่างเส้นใยไม่ เท่ากัน และมาตรฐานความหนาของผ้าใบแต่ละชิ้นไม่คงที่
3.2. ผลแล๊ปจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งตรวจความยืดหยุ่นพบว่าตัวอย่างผ้าใบ แต่ละผืนที่นำมาทดสอบมีค่าความยืดหยุ่นที่ต่างกันมาก และมีค่าที่ต่ำกว่าสเป๊กที่กำหนด ไว้ (ค่าความยืดหยุ่นตามสเป๊กของเส้นยืนอยู่ที่ 3,500 N/5cm และของเส้นตามขวางอยู่ที่ 3,250 N/5cm ในขณะที่ค่าที่ตรวจวัดได้จากห้องแล๊ปอยู่ที่เฉลี่ย 2,250 และ 1,650 ตาม ลำดับ)
3.3. ผลแล็ปในเยอรมันจากศูนย์ Bavarian Center for Applied Energy Research พบว่า ค่าการกระจายและการส่งผ่านของแสงและรังสียูวีไม่ตรงตามค่ามาตรฐาน ซึ่งหากสนาม บินเปิดใช้อาจส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก และสิ้นเปลืองพลังงานเกิน กำหนด
4. ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน และเปลี่ยนผ้าใบที่ผิดสเป๊ก ซึ่งประเมินคร่าวๆ แล้ว ประมาณ 800-1,000 ล้านบาท ไม่อยากเห็นกรณีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากความบกพร่องนี้ถูกนำ ไปแอบซุกในงานเพิ่มของสัญญา แล้วทำไม่รู้ไม่เห็นอนุมัติงบฯโดยไม่ชี้แจงความบกพร่องให้ ประชาชนทราบ
5. ในการรื้อและติดตั้งใหม่ทั้งหมดจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นประมาณ 6-8 เดือน ยังไม่รวมถึงผลกระทบ ต่องานอื่นซึ่งจะทำให้งานของสนามบินล่าช้ามากขึ้นอีก ความล่าช้าและความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งหมดใครรับผิดชอบ?
ข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้ส่อให้เห็นว่าอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น รัฐบาลต้องออกมาชี้แจงทุก ประเด็น จะปล่อยให้เรื่องผ่านไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นไม่ได้โดยเด็ดขาด ด้วยกรณีเช่นนี้ทำให้ เกิดข้อสงสัยว่าจะมีกรณีวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ได้คุณภาพตามข้อกำหนดสัญญาอีกมากน้อยแค่ ไหน ดังนั้นรัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการที่มีความน่าเชื่อถือพร้อมองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สตง. สภาวิศวกรแห่งประเทศไทย เป็นต้น เข้ามาตรวจสอบ เรื่องนี้ต้องมีการสืบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อนำคนผิดมาลงโทษและรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่เช่นนั้นสุวรรณภูมิจะ กลายเป็นศูนย์กลางความขายหน้า ให้กับประเทศไทยมากไปกว่านี้ได้
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่ากรณีการทุจรติในหลายส่วนของสนามบินสุวรรณภูมิ พรรคได้มีข้อเสนอไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทันทีที่มารับตำแหน่ง โดยเรียกร้องให้มีการตรวจสอบโครงการต่างๆในสนามบินสุวรรณภูมิ ว่าโครงการใดที่ส่อเจตนาทุจริตให้เร่งดำเนินสะสางให้เรียบร้อย โดยพรรคได้มีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ให้กับรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล เข้ามารับตำแหน่งก็ยังไม่ดำเนินการใดๆในการที่จะไปสะสางปัญหาภายในสนามบินสุวรรณภูมิ นอกจากนั้นยังมีความพยายามที่จะเบี่ยงประเด็นว่าพรรคประชาธิปัตย์นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเกมการเมือง แต่ตนขอย้ำว่าพรรคไม่ได้เล่นเกมการเมือง และไม่อยากให้รัฐบาลมองการตรวจสอบการทุจริตเป็นเพียงเรื่องการเล่นเกม แต่ควรมองผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ส.ค. 2548--จบ--