กรุงเทพ--31 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ภายในต้นปี 2550 ประชาชนในประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงน่าจะมีโอกาสได้ใช้เส้นทางสายคุนหมิง-กรุงเทพฯ ซึ่งมีกำหนดจะสร้างเสร็จในช่วงนั้น โดยเส้นทางนี้จะพาดผ่านประเทศต่างๆ ในบริเวณลุ่มแม่น้าโขงตอนบน ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และจีน จึงนับว่าเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญด้านการขนส่งสินค้าและคมนาคม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมด้านการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจร่วมกันของประเทศเหล่านี้
ในขณะที่รัฐบาลจีนและสมาคมด้านการขนส่งในหลายมณฑลของจีนกำลังตื่นตัวและให้ความสำคัญอย่างมากกับการเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจหลังจากที่เส้นทางดังกล่าวเปิดใช้ ฝ่ายไทยโดยหอการค้าจังหวัดเชียงรายได้ตั้งหน่วยงานด้านบริหารจัดการด้านขนส่งและคมนาคม (logistics)ขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อเตรียมความพร้อมของฝ่ายไทย และในช่วงวันที่ 23 ธันวาคม-5 มกราคม 2548 จะจัดงานสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจและหอการค้าเชียงรายแฟร์ เพื่อส่งเสริมการค้า การท่องเที่ยว รวมทั้งด้านบริหารจัดการด้านขนส่งและคมนาคม และยังจะมีการสัมมนาเรื่อง “ การบริหารจัดการด้านขนส่งและคมนาคม” ในวันที่ 26 สิงหาคม 2548 ที่จังหวัดเชียงราย จัดโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงรายและหอการค้าจังหวัดเชียงราย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการประชาสัมพันธ์ให้ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการด้านบริหารจัดการด้านขนส่งและคมนาคมอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกันมากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัท Sino Thai Economic& Trade จำกัด ซึ่งจัดตั้งภายใต้การสนับสนุนของสมาคมเศรษฐกิจและการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กำลังรวบรวมและประสานกับผู้ประกอบการด้าน logistics รายอื่นๆ ของไทย เพื่อร่วมมือทำธุรกิจกับภาคเอกชนจีนต่อไป
ส่วนฝ่ายจีนได้จัดประชุมสัมมนาที่เมืองชานตงและเฉิงตู เพื่อประสานท่าทีและกำหนดแนวทางความร่วมมือในการทำธุรกิจตามเส้นทางสายคุนหมิง-กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากการประชุม 2 ครั้งดังกล่าว สมาคมต่างๆ ได้ตกลงที่จะให้มีการประชุมในลักษณะนี้อีกบ่อยๆ โดยจะจัดการประชุมครั้งต่อไปที่เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) เขตสิบสองปันนาในปลายเดือนตุลาคม ศกนี้
ต่อจากนั้น ฝ่ายจีนมีความคิดที่จะจัดขบวนรถคาราวานบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าวิ่งผ่านเส้นทาง
เชียงรุ่ง-บ่อหาร-หลวงพระบาง-เวียงจันทน์-กรุงเทพฯ และอาจลงไปถึงมาเลเซีย-สิงคโปร์ และขากลับจะใช้เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-เชียงราย-เชียงตุง(พม่า)-ตาล้อ-เชียงรุ่ง รวมเวลาเดินทางประมาณ 14 วัน ถ้าไปได้แค่กรุงเทพฯ หรือ 25 วัน ถ้าสามารถไปถึงสิงคโปร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสำรวจสภาพความเป็นจริงในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขนส่ง และรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางและรูปแบบในการทำธุรกิจต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ภายในต้นปี 2550 ประชาชนในประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงน่าจะมีโอกาสได้ใช้เส้นทางสายคุนหมิง-กรุงเทพฯ ซึ่งมีกำหนดจะสร้างเสร็จในช่วงนั้น โดยเส้นทางนี้จะพาดผ่านประเทศต่างๆ ในบริเวณลุ่มแม่น้าโขงตอนบน ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และจีน จึงนับว่าเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญด้านการขนส่งสินค้าและคมนาคม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมด้านการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจร่วมกันของประเทศเหล่านี้
ในขณะที่รัฐบาลจีนและสมาคมด้านการขนส่งในหลายมณฑลของจีนกำลังตื่นตัวและให้ความสำคัญอย่างมากกับการเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจหลังจากที่เส้นทางดังกล่าวเปิดใช้ ฝ่ายไทยโดยหอการค้าจังหวัดเชียงรายได้ตั้งหน่วยงานด้านบริหารจัดการด้านขนส่งและคมนาคม (logistics)ขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อเตรียมความพร้อมของฝ่ายไทย และในช่วงวันที่ 23 ธันวาคม-5 มกราคม 2548 จะจัดงานสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจและหอการค้าเชียงรายแฟร์ เพื่อส่งเสริมการค้า การท่องเที่ยว รวมทั้งด้านบริหารจัดการด้านขนส่งและคมนาคม และยังจะมีการสัมมนาเรื่อง “ การบริหารจัดการด้านขนส่งและคมนาคม” ในวันที่ 26 สิงหาคม 2548 ที่จังหวัดเชียงราย จัดโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงรายและหอการค้าจังหวัดเชียงราย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการประชาสัมพันธ์ให้ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการด้านบริหารจัดการด้านขนส่งและคมนาคมอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกันมากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัท Sino Thai Economic& Trade จำกัด ซึ่งจัดตั้งภายใต้การสนับสนุนของสมาคมเศรษฐกิจและการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กำลังรวบรวมและประสานกับผู้ประกอบการด้าน logistics รายอื่นๆ ของไทย เพื่อร่วมมือทำธุรกิจกับภาคเอกชนจีนต่อไป
ส่วนฝ่ายจีนได้จัดประชุมสัมมนาที่เมืองชานตงและเฉิงตู เพื่อประสานท่าทีและกำหนดแนวทางความร่วมมือในการทำธุรกิจตามเส้นทางสายคุนหมิง-กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากการประชุม 2 ครั้งดังกล่าว สมาคมต่างๆ ได้ตกลงที่จะให้มีการประชุมในลักษณะนี้อีกบ่อยๆ โดยจะจัดการประชุมครั้งต่อไปที่เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) เขตสิบสองปันนาในปลายเดือนตุลาคม ศกนี้
ต่อจากนั้น ฝ่ายจีนมีความคิดที่จะจัดขบวนรถคาราวานบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าวิ่งผ่านเส้นทาง
เชียงรุ่ง-บ่อหาร-หลวงพระบาง-เวียงจันทน์-กรุงเทพฯ และอาจลงไปถึงมาเลเซีย-สิงคโปร์ และขากลับจะใช้เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-เชียงราย-เชียงตุง(พม่า)-ตาล้อ-เชียงรุ่ง รวมเวลาเดินทางประมาณ 14 วัน ถ้าไปได้แค่กรุงเทพฯ หรือ 25 วัน ถ้าสามารถไปถึงสิงคโปร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสำรวจสภาพความเป็นจริงในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขนส่ง และรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางและรูปแบบในการทำธุรกิจต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-