ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ประเมินภาวะภัยแล้งอาจกระทบเศรษฐกิจปี 48 นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินประเมินว่า ภาวะภัยแล้งจะส่งผลกระทบต่อ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 48 ทั้งด้านผลผลิตและราคา จึงให้มีการติดตามสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งอย่างใกล้ชิด
โดยในปี 47 ปัญหาภัยแล้งทำให้จีดีพีขยายตัวลดลงถึงร้อยละ 0.81 มูลค่าความเสียหายประมาณ 1.3 หมื่นล้าน
บาท มีพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศประมาณ 12.6 ล้านไร่ หรือร้อยละ 9.6 ของพื้นที่การ
เกษตรของไทย แต่คาดว่าจะมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง 9.9 ล้านไร่ ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้
ว่าพืชผลการเกษตรจะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งจนทำให้ผลผลิตลดลง แต่ความต้องการสินค้าเกษตรในตลาด
โลดยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคาพืชผลการเกษตรที่สำคัญหลายชนิดปรับเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว อ้อย ข้าวโพด และมัน
สำปะหลัง ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ประมาณการอัตราการขยายตัวของจี
ดีพีปี 48 ลดลงเหลือร้อยละ 5.25 — 6.25 จากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 5.5 — 6.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์
คลื่นถล่ม 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน นอกจากนี้ ธปท. ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ทิศทาง
นโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก รวมทั้งราคาน้ำมัน (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ธ.พาณิชย์จะเปิดรับพนักงานใหม่ปีนี้กว่า 3 พันคน คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กก.ผจก.ใหญ่
ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปีนี้ธุรกิจของธนาคารจะเติบโตต่อเนื่อง จึงจะเปิดรับสมัครพนักงานใหม่อีกหลายร้อย
อัตราเพื่อไปประจำสาขาและทำฝ่ายการตลาด โดยจะรับทั้งผู้มีประสบการณ์และนักศึกษาจบใหม่ระดับวุฒิปริญญาตรีขึ้น
ไป ด้าน น.ส.เสาวณี ศิริพัฒน์ ผจก.สายทรัพยากรบุคคล ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารมีนโยบายเปิดรับ
พนักงานใหม่ประมาณ 1,500 อัตรา ส่วนหนึ่งจะนำไปทดแทนพนักงานเก่าที่คาดว่าจะออก 600 — 700 อัตรา และ
อีกส่วนใช้เพื่อขยายธุรกิจของธนาคาร ซึ่งจะมีการเปิดรับผู้มีประสบการณ์และนักศึกษาใหม่ทั้งวุฒิปริญญาตรีและปริญญาโท
ขณะที่ ดร.สุภัค ศิวะรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กก.ผจก.ใหญ่ ธ.ทหารไทย กล่าวว่า ในช่วงต้นปี
ธนาคารจะเปิดรับพนักงานใหม่อีกอย่างต่ำ 200 อัตรา เนื่องจากพนักงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการขยายกิจการที่จะ
ต้องอาศัยกำลังคนมาก ส่วน ธ.กรุงศรีอยุธยาจะรับพนักงานใหม่เพิ่ม 500 อัตรา เพื่อใช้ในการเปิดสาขาใหม่และ
ทดแทนพนักงานเก่าที่ลาออก (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ยอดขอรับบีโอไอเดือน ม.ค.48 สูงกว่าเดือนเดียวกันปี 47 ถึง 5 เท่า นายสาธิต ศิริรังคมานนท์
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดขอส่งเสริมการลงทุนในเดือน ม.ค.48
มี 106 โครงการ จำนวนการจ้างงาน 23,700 คน วงเงินลงทุน 77,800 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน
ของปี 47 ถึง 5 เท่า โดยอุตสาหกรรมที่มีการขอบีโอไอวงเงินสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมพื้นฐาน ชิ้นส่วนยานยนต์
โลหะ เคมีภัณฑ์ สาธารณูปโภค และบริการอื่น ๆ โดยนักลงทุนต่างชาติที่ขอบีโอไอสูงสุด ได้แก่ ญี่ปุ่น สรอ. และ
ยุโรป ส่วนแนวโน้มนั้นนักลงทุนยังมั่นใจจะเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเลือกตั้งไม่ได้มีผลต่อการตัดสิน
ใจชะลอการลงทุนแต่อย่างใด เชื่อว่าเม็ดเงินขอบีโอไอโดยรวมในปีนี้จะใกล้เคียงกับปีที่แล้วคือ 6 แสนล้านบาท (โลกวันนี้, ผจก.รายวัน, บ้านเมือง)
4. ก.พาณิชย์เตรียมนำเสนอแผนยุทธศาสตร์บริหารการนำเข้า นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์เตรียมนำเสนอแผนยุทธศาสตร์บริหารการนำเข้าเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากเป็น
เรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับรูปแบบการบริหารเบื้องต้นจะจัดตั้งเป็นรูป
แบบคณะกรรมการแห่งชาติ โดยหัวข้อที่จะเน้นการดำเนินการ ได้แก่ 1) ลดต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากต่าง
ประเทศ โดยการหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูกในประเทศ 2) ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการผลิตใช้สินค้าทุนภายใน
ประเทศที่สามารถผลิตได้เอง 3) หาข้อมูลเชื่อมโยงจับคู่ระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ผลิตวัตถุดิบ 4) รวม
กลุ่มในการพัฒนาและวิจัยสินค้าไทย และ 5) คุ้มครองผู้บริโภคด้วยการรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทยที่มีคุณภาพ
มาตรฐาน ทั้งนี้ คาดว่าการนำเข้าโดยรวมในปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปี 47 เนื่องจากค่าเงินบาทมี
แนวโน้มแข็งค่าขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยแบ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 20
สินค้าทุนร้อยละ 15 วัตถุดิบร้อยละ 17 และสินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 18 (สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รมว.กลุ่ม G20 รวมตัวกันต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางการค้า รายงานจาก Davos สวิตเซอร์แลนด์
เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 48 รมว.จากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 20 ประเทศ (กลุ่มG20) กล่าวว่า กลุ่ม G20
กำลังเตรียมการเพื่อเสนอต่อกลุ่มประเทศร่ำรวยในการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้าให้เอื้อต่อประเทศกำลัง
พัฒนา โดยประเทศบราซิลซึ่งเป็นผู้นำกลุ่ม G20 เรียกร้องให้สมาชิกหาความเป็นหนึ่งเดียวในข้อตกลงต่างๆ ซึ่ง
ปัจจุบันมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องการค้าเสรีในสินค้าเกษตร แต่ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเปิด
ตลาดเสรีสำหรับสินค้าทั้งในภาคการผลิตและบริการ ซึ่งรมว.ต่างประเทศของบราซิลมีความเห็นว่าการประชุมที่ดาวอส
ในครั้งนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจคือสามารถหาความเป็นหนึ่งเดียวและแรงผลักดันภายในกลุ่มได้เป็นอย่างดี ส่วนรมว.การค้า
และอุตสาหกรรมของอินเดียกล่าวว่ากลุ่มสัญญาที่จะรวมตัวกันในการเจรจาทางการค้าระดับโลก ทั้งนี้การ
ประชุมของกลุ่ม G20 ในคราวต่อไปจะจัดขึ้นที่นิวเดลฮีระหว่างวันที่ 18 — 19 มีนาคมนี้ โดยคาดว่าปัญหาการอุด
หนุนสินค้าทางการเกษตรจะยังคงเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจากับรัฐมนตรีของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วแต่ยังมี
ประเด็นอื่นๆรวมทั้งปัญหาภาคบริการอยู่ในวาระการประชุมด้วยเช่นกันแต่ก็เกรงกันว่าปัญหาการอุดหนุนสินค้าเกษตร
จะถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นบดบังปัญหาอื่นๆในการประชุมครั้งนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าจำนวนคนว่างงานในเยอรมนีจะมีจำนวนถึง 5 ล้านคนในเดือน ม.ค.48 สูงสุดนับตั้งแต่มี
การรวมประเทศเยอรมนี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 30 ม.ค.48 รมต.เศรษฐกิจของเยอรมนี ให้สัมภาษณ์ นสพ.
ว่าการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมที่เรียกกันว่า Hartz IV ซึ่งตัดสิทธิรับสวัสดิการของคนที่ว่างงานเป็นเวลานาน
และกำหนดให้ผู้ที่รับสวัสดิการว่างงานทุกคนต้องลงทะเบียนที่ สนง.แรงงานจะทำให้ตัวเลขคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้น
โดยคาดว่ามีคนว่างงานมากกว่า 200,000 คนที่ได้รับสวัสดิการว่างงานโดยไม่ได้ลงทะเบียนที่ สนง.แรงงาน เมื่อ
ประกอบกับช่วงต้นปีคนว่างงานจะมีจำนวนสูงกว่าช่วงเวลาอื่นประมาณ 350,000 คนจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น
จึงคาดว่าจำนวนคนว่างงานในเดือน ม.ค.48 จะมีจำนวนถึง 5 ล้านคนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการรวมประเทศ
เยอรมนี การปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมดังกล่าวซึ่งถูกมองว่าเป็นการปฏิรูปตลาดแรงงานครั้งสำคัญที่สุดในรอบหลาย
สิบปี ได้รับการต่อต้านจากผู้ประท้วงจำนวนมากเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาโดยเฉพาะในฝั่งตะวันออกของประเทศ อย่างไร
ก็ดีการปฏิรูปดังกล่าวซึ่งมุ่งที่จะเพิ่มการจ้างงานโดยบังคับให้ทุกคนต้องทำงานโดยไม่เลือกงานก็สามารถบังคับใช้ได้
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยจำนวนคนว่างงานในเยอรมนีหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน ธ.ค.47 มีจำนวน
4.483 ล้านคนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกันและมีจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่ปี 40 (รอยเตอร์)
3. PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.48 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 50.9 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 31 ม.ค.48 The NTC Research/Nomura/JMMA เปิดเผยผลสำรวจ Purchasing
Managers Index (PMI) ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.48 ว่าเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 50.9
จากระดับ 50.6 ในเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเป็นอันดับ 2 ตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ซึ่งหากตัวเลข PMI อยู่
เหนือระดับ 50 แสดงถึงธุรกิจขยายตัว แต่หากอยู่ระดับต่ำกว่า 50 แสดงว่าธุรกิจอยู่ในช่วงหดตัว ทั้งนี้ การเติบโต
ของตัวเลขดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดราคาของผู้ประกอบการผลิต โดยเฉพาะสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อกระตุ้นความต้องการจากทั่วโลกที่อ่อนแออยู่ในขณะนี้ รวมทั้งเพื่อสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกที่กำลังทวีความ
รุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ตัวเลข PMI ในเดือนนี้เพิ่มขึ้น คือ ความต้องการสินค้าญี่ปุ่นจากจีน
เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนั่นเป็นข่าวดีสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งใน
ช่วงครึ่งหลังของปี 47 ถูกผลกระทบจากการส่งออกที่ลดลง อันเนื่องมาจากการแข็งขึ้นของค่าเงินเยน รวมทั้ง
เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำด้วยเช่นกัน โดยข้อมูลล่าสุดของรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน
ธ.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.2 ส่งสัญญาณว่าผู้ประกอบการได้เริ่มปรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการจาก
ทั่วโลกที่ชะลอตัวลง ในขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ ซึ่งชี้วัดถึงความต้องการสั่งซื้อสินค้าในอนาคตทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 49.4 มาอยู่ที่ระดับ 50.3 (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเกาหลีใต้ยังคงอ่อนแอในเดือน ก.พ.48 รายงานจากโซลเมื่อ 31
ม.ค.48 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจเกาหลีใต้มีความคาดหวังต่อสถานการณ์ธุรกิจในเดือน ก.พ.48
ในแง่ลบ ท่ามกลางสถานการณ์ความต้องการภายในประเทศและการส่งออกที่ชะลอตัว แม้ว่าตัวเลขดัชนีความเชื่อ
มั่นฯ จะดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าก็ตาม โดยผลการสำรวจพบว่า All-industry index เดือน ก.
พ.48 อยู่ที่ระดับ 70 เพิ่มขึ้นจากระดับ 66 ในเดือนก่อน ต่ำกว่าระดับ 100 ซึ่งบ่งชี้ว่าสัดส่วนของบริษัทที่เห็นว่า
สถานการณ์ธุรกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว มีมากกว่าบริษัทที่เห็นว่าสถานการณ์ธุรกิจจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีฯ เคยอยู่
เหนือระดับ 100 เป็นครั้งสุดท้ายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 45 สำหรับ Index for manufacturers อยู่ที่
ระดับ 73 เพิ่มขึ้นจากระดับ 69 และ Index for non-manufacturers อยู่ที่ระดับ 67 เพิ่มขึ้นจากระดับ 62
ในเดือนก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ม.ค. 48 28 ม.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.465 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2544/38.5503 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875-2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 701.66/14.50 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.15 40.37 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.69*/14.59 19.69*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ม.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ประเมินภาวะภัยแล้งอาจกระทบเศรษฐกิจปี 48 นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินประเมินว่า ภาวะภัยแล้งจะส่งผลกระทบต่อ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 48 ทั้งด้านผลผลิตและราคา จึงให้มีการติดตามสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งอย่างใกล้ชิด
โดยในปี 47 ปัญหาภัยแล้งทำให้จีดีพีขยายตัวลดลงถึงร้อยละ 0.81 มูลค่าความเสียหายประมาณ 1.3 หมื่นล้าน
บาท มีพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศประมาณ 12.6 ล้านไร่ หรือร้อยละ 9.6 ของพื้นที่การ
เกษตรของไทย แต่คาดว่าจะมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง 9.9 ล้านไร่ ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้
ว่าพืชผลการเกษตรจะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งจนทำให้ผลผลิตลดลง แต่ความต้องการสินค้าเกษตรในตลาด
โลดยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคาพืชผลการเกษตรที่สำคัญหลายชนิดปรับเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว อ้อย ข้าวโพด และมัน
สำปะหลัง ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ประมาณการอัตราการขยายตัวของจี
ดีพีปี 48 ลดลงเหลือร้อยละ 5.25 — 6.25 จากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 5.5 — 6.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์
คลื่นถล่ม 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน นอกจากนี้ ธปท. ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ทิศทาง
นโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก รวมทั้งราคาน้ำมัน (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ธ.พาณิชย์จะเปิดรับพนักงานใหม่ปีนี้กว่า 3 พันคน คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กก.ผจก.ใหญ่
ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปีนี้ธุรกิจของธนาคารจะเติบโตต่อเนื่อง จึงจะเปิดรับสมัครพนักงานใหม่อีกหลายร้อย
อัตราเพื่อไปประจำสาขาและทำฝ่ายการตลาด โดยจะรับทั้งผู้มีประสบการณ์และนักศึกษาจบใหม่ระดับวุฒิปริญญาตรีขึ้น
ไป ด้าน น.ส.เสาวณี ศิริพัฒน์ ผจก.สายทรัพยากรบุคคล ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารมีนโยบายเปิดรับ
พนักงานใหม่ประมาณ 1,500 อัตรา ส่วนหนึ่งจะนำไปทดแทนพนักงานเก่าที่คาดว่าจะออก 600 — 700 อัตรา และ
อีกส่วนใช้เพื่อขยายธุรกิจของธนาคาร ซึ่งจะมีการเปิดรับผู้มีประสบการณ์และนักศึกษาใหม่ทั้งวุฒิปริญญาตรีและปริญญาโท
ขณะที่ ดร.สุภัค ศิวะรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กก.ผจก.ใหญ่ ธ.ทหารไทย กล่าวว่า ในช่วงต้นปี
ธนาคารจะเปิดรับพนักงานใหม่อีกอย่างต่ำ 200 อัตรา เนื่องจากพนักงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการขยายกิจการที่จะ
ต้องอาศัยกำลังคนมาก ส่วน ธ.กรุงศรีอยุธยาจะรับพนักงานใหม่เพิ่ม 500 อัตรา เพื่อใช้ในการเปิดสาขาใหม่และ
ทดแทนพนักงานเก่าที่ลาออก (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ยอดขอรับบีโอไอเดือน ม.ค.48 สูงกว่าเดือนเดียวกันปี 47 ถึง 5 เท่า นายสาธิต ศิริรังคมานนท์
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดขอส่งเสริมการลงทุนในเดือน ม.ค.48
มี 106 โครงการ จำนวนการจ้างงาน 23,700 คน วงเงินลงทุน 77,800 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน
ของปี 47 ถึง 5 เท่า โดยอุตสาหกรรมที่มีการขอบีโอไอวงเงินสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมพื้นฐาน ชิ้นส่วนยานยนต์
โลหะ เคมีภัณฑ์ สาธารณูปโภค และบริการอื่น ๆ โดยนักลงทุนต่างชาติที่ขอบีโอไอสูงสุด ได้แก่ ญี่ปุ่น สรอ. และ
ยุโรป ส่วนแนวโน้มนั้นนักลงทุนยังมั่นใจจะเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเลือกตั้งไม่ได้มีผลต่อการตัดสิน
ใจชะลอการลงทุนแต่อย่างใด เชื่อว่าเม็ดเงินขอบีโอไอโดยรวมในปีนี้จะใกล้เคียงกับปีที่แล้วคือ 6 แสนล้านบาท (โลกวันนี้, ผจก.รายวัน, บ้านเมือง)
4. ก.พาณิชย์เตรียมนำเสนอแผนยุทธศาสตร์บริหารการนำเข้า นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์เตรียมนำเสนอแผนยุทธศาสตร์บริหารการนำเข้าเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากเป็น
เรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับรูปแบบการบริหารเบื้องต้นจะจัดตั้งเป็นรูป
แบบคณะกรรมการแห่งชาติ โดยหัวข้อที่จะเน้นการดำเนินการ ได้แก่ 1) ลดต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากต่าง
ประเทศ โดยการหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูกในประเทศ 2) ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการผลิตใช้สินค้าทุนภายใน
ประเทศที่สามารถผลิตได้เอง 3) หาข้อมูลเชื่อมโยงจับคู่ระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ผลิตวัตถุดิบ 4) รวม
กลุ่มในการพัฒนาและวิจัยสินค้าไทย และ 5) คุ้มครองผู้บริโภคด้วยการรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทยที่มีคุณภาพ
มาตรฐาน ทั้งนี้ คาดว่าการนำเข้าโดยรวมในปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปี 47 เนื่องจากค่าเงินบาทมี
แนวโน้มแข็งค่าขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยแบ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 20
สินค้าทุนร้อยละ 15 วัตถุดิบร้อยละ 17 และสินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 18 (สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รมว.กลุ่ม G20 รวมตัวกันต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางการค้า รายงานจาก Davos สวิตเซอร์แลนด์
เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 48 รมว.จากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 20 ประเทศ (กลุ่มG20) กล่าวว่า กลุ่ม G20
กำลังเตรียมการเพื่อเสนอต่อกลุ่มประเทศร่ำรวยในการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้าให้เอื้อต่อประเทศกำลัง
พัฒนา โดยประเทศบราซิลซึ่งเป็นผู้นำกลุ่ม G20 เรียกร้องให้สมาชิกหาความเป็นหนึ่งเดียวในข้อตกลงต่างๆ ซึ่ง
ปัจจุบันมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องการค้าเสรีในสินค้าเกษตร แต่ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเปิด
ตลาดเสรีสำหรับสินค้าทั้งในภาคการผลิตและบริการ ซึ่งรมว.ต่างประเทศของบราซิลมีความเห็นว่าการประชุมที่ดาวอส
ในครั้งนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจคือสามารถหาความเป็นหนึ่งเดียวและแรงผลักดันภายในกลุ่มได้เป็นอย่างดี ส่วนรมว.การค้า
และอุตสาหกรรมของอินเดียกล่าวว่ากลุ่มสัญญาที่จะรวมตัวกันในการเจรจาทางการค้าระดับโลก ทั้งนี้การ
ประชุมของกลุ่ม G20 ในคราวต่อไปจะจัดขึ้นที่นิวเดลฮีระหว่างวันที่ 18 — 19 มีนาคมนี้ โดยคาดว่าปัญหาการอุด
หนุนสินค้าทางการเกษตรจะยังคงเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจากับรัฐมนตรีของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วแต่ยังมี
ประเด็นอื่นๆรวมทั้งปัญหาภาคบริการอยู่ในวาระการประชุมด้วยเช่นกันแต่ก็เกรงกันว่าปัญหาการอุดหนุนสินค้าเกษตร
จะถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นบดบังปัญหาอื่นๆในการประชุมครั้งนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าจำนวนคนว่างงานในเยอรมนีจะมีจำนวนถึง 5 ล้านคนในเดือน ม.ค.48 สูงสุดนับตั้งแต่มี
การรวมประเทศเยอรมนี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 30 ม.ค.48 รมต.เศรษฐกิจของเยอรมนี ให้สัมภาษณ์ นสพ.
ว่าการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมที่เรียกกันว่า Hartz IV ซึ่งตัดสิทธิรับสวัสดิการของคนที่ว่างงานเป็นเวลานาน
และกำหนดให้ผู้ที่รับสวัสดิการว่างงานทุกคนต้องลงทะเบียนที่ สนง.แรงงานจะทำให้ตัวเลขคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้น
โดยคาดว่ามีคนว่างงานมากกว่า 200,000 คนที่ได้รับสวัสดิการว่างงานโดยไม่ได้ลงทะเบียนที่ สนง.แรงงาน เมื่อ
ประกอบกับช่วงต้นปีคนว่างงานจะมีจำนวนสูงกว่าช่วงเวลาอื่นประมาณ 350,000 คนจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น
จึงคาดว่าจำนวนคนว่างงานในเดือน ม.ค.48 จะมีจำนวนถึง 5 ล้านคนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการรวมประเทศ
เยอรมนี การปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมดังกล่าวซึ่งถูกมองว่าเป็นการปฏิรูปตลาดแรงงานครั้งสำคัญที่สุดในรอบหลาย
สิบปี ได้รับการต่อต้านจากผู้ประท้วงจำนวนมากเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาโดยเฉพาะในฝั่งตะวันออกของประเทศ อย่างไร
ก็ดีการปฏิรูปดังกล่าวซึ่งมุ่งที่จะเพิ่มการจ้างงานโดยบังคับให้ทุกคนต้องทำงานโดยไม่เลือกงานก็สามารถบังคับใช้ได้
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยจำนวนคนว่างงานในเยอรมนีหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน ธ.ค.47 มีจำนวน
4.483 ล้านคนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกันและมีจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่ปี 40 (รอยเตอร์)
3. PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.48 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 50.9 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 31 ม.ค.48 The NTC Research/Nomura/JMMA เปิดเผยผลสำรวจ Purchasing
Managers Index (PMI) ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.48 ว่าเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 50.9
จากระดับ 50.6 ในเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเป็นอันดับ 2 ตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ซึ่งหากตัวเลข PMI อยู่
เหนือระดับ 50 แสดงถึงธุรกิจขยายตัว แต่หากอยู่ระดับต่ำกว่า 50 แสดงว่าธุรกิจอยู่ในช่วงหดตัว ทั้งนี้ การเติบโต
ของตัวเลขดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดราคาของผู้ประกอบการผลิต โดยเฉพาะสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อกระตุ้นความต้องการจากทั่วโลกที่อ่อนแออยู่ในขณะนี้ รวมทั้งเพื่อสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกที่กำลังทวีความ
รุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ตัวเลข PMI ในเดือนนี้เพิ่มขึ้น คือ ความต้องการสินค้าญี่ปุ่นจากจีน
เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนั่นเป็นข่าวดีสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งใน
ช่วงครึ่งหลังของปี 47 ถูกผลกระทบจากการส่งออกที่ลดลง อันเนื่องมาจากการแข็งขึ้นของค่าเงินเยน รวมทั้ง
เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำด้วยเช่นกัน โดยข้อมูลล่าสุดของรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน
ธ.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.2 ส่งสัญญาณว่าผู้ประกอบการได้เริ่มปรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการจาก
ทั่วโลกที่ชะลอตัวลง ในขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ ซึ่งชี้วัดถึงความต้องการสั่งซื้อสินค้าในอนาคตทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 49.4 มาอยู่ที่ระดับ 50.3 (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเกาหลีใต้ยังคงอ่อนแอในเดือน ก.พ.48 รายงานจากโซลเมื่อ 31
ม.ค.48 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจเกาหลีใต้มีความคาดหวังต่อสถานการณ์ธุรกิจในเดือน ก.พ.48
ในแง่ลบ ท่ามกลางสถานการณ์ความต้องการภายในประเทศและการส่งออกที่ชะลอตัว แม้ว่าตัวเลขดัชนีความเชื่อ
มั่นฯ จะดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าก็ตาม โดยผลการสำรวจพบว่า All-industry index เดือน ก.
พ.48 อยู่ที่ระดับ 70 เพิ่มขึ้นจากระดับ 66 ในเดือนก่อน ต่ำกว่าระดับ 100 ซึ่งบ่งชี้ว่าสัดส่วนของบริษัทที่เห็นว่า
สถานการณ์ธุรกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว มีมากกว่าบริษัทที่เห็นว่าสถานการณ์ธุรกิจจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีฯ เคยอยู่
เหนือระดับ 100 เป็นครั้งสุดท้ายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 45 สำหรับ Index for manufacturers อยู่ที่
ระดับ 73 เพิ่มขึ้นจากระดับ 69 และ Index for non-manufacturers อยู่ที่ระดับ 67 เพิ่มขึ้นจากระดับ 62
ในเดือนก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ม.ค. 48 28 ม.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.465 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2544/38.5503 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875-2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 701.66/14.50 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.15 40.37 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.69*/14.59 19.69*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ม.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--