สศอ.เผย 9 เดือน รถยนต์ยังทำยอดผลิตและจำหน่วยพุ่งพรวด กว่าร้อยละ 22 และ15 ตามลำดับ สวนทิศทางราคาน้ำมัน ปิกอัพชูธงนำ โดยจำหน่ายพุ่งกว่าร้อยละ 33 สำหรับรถยนต์ทุกประเภทส่งออกขยายตัวกว่าร้อยละ 32 จับตาตลาดออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-ซาอุฯ ขยายตัวรับรถยนต์ได้อีกเพียบ
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค.-ก.ย.) ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยยังมีความคึกคักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถทำยอดผลิตและจำหน่ายได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันจะยังทรงตัวในอัตราที่สูง ซึ่งรถปิกอัพเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตรถปิกอัพขนาด 1 ตันของโลก ส่วนรถยนต์นั่งมีทิศทางที่ลดลงเนื่องจากภาวะราคาน้ำมันที่สูงและไม่ค่อยมีรถรุ่นใหม่ๆออกมากระตุ้นตลาด โดยรถยนต์ไทยมีตลาดส่งออกไปในอาเซียนและตลาดโลก ซึ่งมีตลาดที่สำคัญคือออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมีตลาดที่น่าสนใจของการส่งออกปิกอัพ คือ นิวซีแลนด์และซาอุดิอาระเบีย ที่มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 165 และ 78 ตามลำดับ
ดร.อรรชกา กล่าวว่า 9 เดือนแรกปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ มีจำนวน 811,129 คัน และ 504,740 คัน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 22.60 และ15.01 ตามลำดับ โดยการผลิตรถปิกอัพ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.00 และ 1.32 ตามลำดับ ส่วนรถยนต์นั่งผลิตลดลงร้อยละ 10.81 สำหรับยอดการจำหน่ายพบว่ารถปิคอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.88 ส่วนรถยนต์นั่งและรถเพื่อการพาณิชย์อื่นๆ จำหน่ายลดลงร้อยละ 12.99 และ 0.44 ตามลำดับ
"อุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2547 พบว่าปริมาณการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.36 และ 13.29 ตามลำดับ โดยเป็นการผลิตรถปิกอัพ 1 ตันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 64.12 ส่วนรถยนต์นั่งและรถเพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลง ร้อยละ 7.04 และ 5.56 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้พบว่า มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.73 ส่วนการจำหน่ายลดลงร้อยละ 11.47 โดยการผลิตรถปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.88 และ 8.14 ตามลำดับ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ผลิตลดลงร้อยละ 7.84 ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจำหน่ายมีทิศทางที่ลดลงเนื่องจากไตรมาสที่สามของทุกปีเป็นช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในปีนี้มีภาวะภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ และส่วนหนึ่งก็รอดูโปรโมชั่นในฤดูการขายในไตรมาสที่ 4"
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า การส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนนี้มีมูลค่าสูงถึง 145,528.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.02 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ที่มีมูลค่าการส่งออก 105,440.19 ล้านบาท ส่วนปริมาณการส่งออกรถยนต์มีจำนวน 311,737 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.03 จากช่วงเดียวกันของปี 2547 ที่ส่งออกได้ 236,119 คัน สัดส่วนการส่งออกต่อรถยนต์ที่ผลิตได้ในรอบ 9 เดือนคิดเป็นร้อยละ 38.43 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 พบว่า มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.16 โดยภาพรวมการส่งออกยังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ สำหรับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งจากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนของปี 2548 คือ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย โดยมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 15.60 และ 231.13 ตามลำดับ ส่วนรถปิกอัพและรถแวนตลาดที่สำคัญ คือ ออสเตรเลีย มีการขยายตัวถึงร้อยละ 91.80 และที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก คือตลาดนิวซีแลนด์ และ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 164.84 และ 78.08 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าโดยส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์นั่ง โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญจากประเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น
"แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มขยับตัวขึ้นเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แต่ระบบเศรษฐกิจของไทยยังเติบโตอย่างมีเสถียรภาพอยู่ จึงทำให้ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยคึกคักอย่างต่อเนื่อง และปีนี้ถือเป็นปีแรกที่อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยสามารถทำสถิติการผลิตได้เกินกว่า 1 ล้านคัน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้เกี่ยวข้องได้คาดหวังไว้ เพื่อให้อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นธงนำในลำดับต้นๆของการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของไทยต่อไป"ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค.-ก.ย.) ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยยังมีความคึกคักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถทำยอดผลิตและจำหน่ายได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันจะยังทรงตัวในอัตราที่สูง ซึ่งรถปิกอัพเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตรถปิกอัพขนาด 1 ตันของโลก ส่วนรถยนต์นั่งมีทิศทางที่ลดลงเนื่องจากภาวะราคาน้ำมันที่สูงและไม่ค่อยมีรถรุ่นใหม่ๆออกมากระตุ้นตลาด โดยรถยนต์ไทยมีตลาดส่งออกไปในอาเซียนและตลาดโลก ซึ่งมีตลาดที่สำคัญคือออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมีตลาดที่น่าสนใจของการส่งออกปิกอัพ คือ นิวซีแลนด์และซาอุดิอาระเบีย ที่มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 165 และ 78 ตามลำดับ
ดร.อรรชกา กล่าวว่า 9 เดือนแรกปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ มีจำนวน 811,129 คัน และ 504,740 คัน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 22.60 และ15.01 ตามลำดับ โดยการผลิตรถปิกอัพ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.00 และ 1.32 ตามลำดับ ส่วนรถยนต์นั่งผลิตลดลงร้อยละ 10.81 สำหรับยอดการจำหน่ายพบว่ารถปิคอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.88 ส่วนรถยนต์นั่งและรถเพื่อการพาณิชย์อื่นๆ จำหน่ายลดลงร้อยละ 12.99 และ 0.44 ตามลำดับ
"อุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2547 พบว่าปริมาณการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.36 และ 13.29 ตามลำดับ โดยเป็นการผลิตรถปิกอัพ 1 ตันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 64.12 ส่วนรถยนต์นั่งและรถเพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลง ร้อยละ 7.04 และ 5.56 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้พบว่า มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.73 ส่วนการจำหน่ายลดลงร้อยละ 11.47 โดยการผลิตรถปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.88 และ 8.14 ตามลำดับ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ผลิตลดลงร้อยละ 7.84 ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจำหน่ายมีทิศทางที่ลดลงเนื่องจากไตรมาสที่สามของทุกปีเป็นช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในปีนี้มีภาวะภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ และส่วนหนึ่งก็รอดูโปรโมชั่นในฤดูการขายในไตรมาสที่ 4"
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า การส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนนี้มีมูลค่าสูงถึง 145,528.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.02 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ที่มีมูลค่าการส่งออก 105,440.19 ล้านบาท ส่วนปริมาณการส่งออกรถยนต์มีจำนวน 311,737 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.03 จากช่วงเดียวกันของปี 2547 ที่ส่งออกได้ 236,119 คัน สัดส่วนการส่งออกต่อรถยนต์ที่ผลิตได้ในรอบ 9 เดือนคิดเป็นร้อยละ 38.43 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 พบว่า มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.16 โดยภาพรวมการส่งออกยังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ สำหรับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งจากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนของปี 2548 คือ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย โดยมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 15.60 และ 231.13 ตามลำดับ ส่วนรถปิกอัพและรถแวนตลาดที่สำคัญ คือ ออสเตรเลีย มีการขยายตัวถึงร้อยละ 91.80 และที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก คือตลาดนิวซีแลนด์ และ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 164.84 และ 78.08 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าโดยส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์นั่ง โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญจากประเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น
"แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มขยับตัวขึ้นเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แต่ระบบเศรษฐกิจของไทยยังเติบโตอย่างมีเสถียรภาพอยู่ จึงทำให้ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยคึกคักอย่างต่อเนื่อง และปีนี้ถือเป็นปีแรกที่อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยสามารถทำสถิติการผลิตได้เกินกว่า 1 ล้านคัน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้เกี่ยวข้องได้คาดหวังไว้ เพื่อให้อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นธงนำในลำดับต้นๆของการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของไทยต่อไป"ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-