กรุงเทพ--14 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์แก่คณะสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศถึงผลของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
ดร. กันตธีร์เผยว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้ประชุมอาเซียน + 1 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และอินเดียตามลำดับ และในช่วงเช้าของวันที่ 10 ธันวาคม 2548 ก็ได้ประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 12-13 ธันวาคม 2548 และการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำประเทศอาเซียน กับผู้นำของประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อพิจารณาทบทวนกระบวนการความร่วมมือและพิจารณาเอกสารที่จะได้รับการรับรองในการประชุมสุดยอดของอาเซียน
1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า อาเซียนและญี่ปุ่นได้รับรองแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 9 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย ความร่วมมือด้านพลังงาน ไข้หวัดนก การจัดการภัยพิบัติ การลดช่องว่างในระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อไปสู่การบรรลุถึงประชาคมเอเชียตะวันออก ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้เน้นย้ำถึงบทบาทของอาเซียนในฐานะพลังขับเคลื่อนไปสู่การก่อตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะมอบเงินจำนวน 7.5 พันล้านเยน เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนด้วย
2. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
ระหว่างการหารือรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ทั้งสองฝ่ายได้รับรองแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมืออย่างรอบด้าน ระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งกรอบความตกลงจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่รอบด้าน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดในทุกๆ ด้าน รวมถึงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน อาเซียนได้เห็นชอบที่จะรวมเขตอุตสาหกรรม Gaesong ให้อยู่ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อช่วยส่งเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ที่ประชุมยังได้หารือถึงความคืบหน้าในการเจรจา 6 ฝ่าย ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ได้ขอบคุณประเทศไทยที่มีบทบาทเสริมสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นระหว่างทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการเจรจาดังกล่าว อนึ่ง ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการรับมือภัยคุกคามต่างๆ ทั้งจากการก่อการร้าย ไข้หวัดนก ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ความมั่นคงทางทะเลในช่องแคบมะละกา และภัยพิบัติทางธรรมชาติ สาธารณรัฐเกาหลีได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะมีบทบาทหลักในการลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้โครงการความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (IAI) โดยยินดีจะเพิ่มความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ของตน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำยืนยันวิสัยทัศน์ที่ต่างฝ่ายต่างมีร่วมกัน ในการสร้างประชาคมเอเชียตะวันออก
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าว กรณีความขัดแย้งในเรื่องสินค้าข้าวที่มีอยู่ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการหารือหาทางออกร่วมกัน ซึ่งยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาแต่อย่างใด
3. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-อินเดีย
ส่วนในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-อินเดียนั้น ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าอินเดียได้ย้ำถึงความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับอาเซียนภายใต้นโยบาย “มองตะวันออก” ของอินเดีย ทั้งสองฝ่ายพอใจกับผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรืองระหว่างอาเซียน-อินเดีย ฝ่ายอาเซียนได้แสดงความยินดีต้อนรับการที่อินเดียได้เข้าร่วมในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะเพิ่มความพยายามเร่งรัดการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน-อินเดีย นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศกันตธีร์ฯ ได้เน้นความสำคัญของความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการต่อสู้กับการก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรง ยาเสพติดและสิ่งเสพติด การป้องกันการแพร่ขยายไข้หวัดนก การพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน การขยายเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคม การส่งเสริมนโยบายการเปิดน่านฟ้าและการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชน และในระดับประชาชนต่อประชาชนระหว่างกัน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุด้วยว่า อาเซียนได้กล่าวชื่นชมอินเดียที่มีโครงการช่วยสอนภาษาอังกฤษให้กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เพราะทุกฝ่ายเล็งเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ
4. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซียเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ทั้งสองฝ่ายได้รับรองปฏิญญาร่วมเรื่องความเป็นหุ้นส่วนที่ก้าวหน้าและรอบด้าน ซึ่งจะประกาศออกมาภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย รวมทั้งแผนปฏิบัติการตามปฏิญญาดังกล่าว นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียได้ลงนามในความตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้วย ทั้งสองฝ่ายพอใจกับความก้าวหน้าด้านความสัมพันธ์ทางการเมืองที่มีอยู่แล้ว และยังได้ย้ำถึงความจำเป็นในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยอาเซียนยินดีกับการที่รัสเซียจะเข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่จะมีขึ้น ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการที่รัสเซียจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกต่อไป รัฐมนตรีต่างประเทศกันตธีร์ฯ ได้สนับสนุนการเข้ามีส่วนร่วมของรัสเซียในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และได้เน้นถึงความจำเป็นของความร่วมมือที่ใกล้ชิดขึ้นในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย การรับมือภัยธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และการเปิดเส้นทางบินตรงเชื่อมโยงระหว่างกัน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ในเรื่องการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกของรัสเซียนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า เป็นเรื่องที่ฝ่ายอาเซียนกำลังพิจารณาอยู่ โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา 3 ประการคือ ประเทศที่เข้าร่วม EAS จะต้องเป็นประเทศคู่เจรจากับอาเซียน ซึ่งรัสเซียก็เป็นแล้ว จะต้องภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซ่งรัสเซียก็ได้ดำเนินการแล้ว และจะต้องมีความสัมพันธ์ที่มีสารัตถะ (substantive relations) กับอาเซียน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่อาเซียนกำลังพิจารณาในขณะนี้
5. ประเด็นพม่า
ดร. กันตธีร์ฯ ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับความคาดหวังของอาเซียนที่มีต่อพม่าว่า อาเซียนหวังที่จะเห็นพม่ามีความคืบหน้าในเรื่องหลักๆ คือเรื่องกระบวนการปรองดองแห่งชาติ เรื่องกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ และเรื่องการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ซึ่งเป็นความกังวลร่วมกันกับประชาคมระหว่างประเทศ ทั้งนี้ สมาชิกอาเซียนก็เห็นว่าพม่าใช้เวลาในการดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว และต้องการเห็นความคืบหน้าเช่นกัน อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังเห็นว่านโยบาย Constructive Engagement ที่ไทยและอาเซียนมีต่อพม่าก็ยังเป็นประโยชน์อยู่ เพื่อเปิดประตูหรือช่องทางการติดต่อระหว่างพม่ากับโลกภายนอก การเร่งรัดให้มีผลคืบหน้าเป็นรูปธรรมในเรื่องเหล่านี้ก็สามารถใช้ช่องทางดังกล่าวได้
รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเห็นว่า อาเซียนอาจจัดคณะไปเยือนพม่าเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าโดยตรง ซึ่งจะเป็นเรื่องที่หารือกันในรายละเอียดต่อไป และได้มีการขขอให้พม่าประสานแจ้งข้อมูลต่างๆ ให้มิตรประเทศในอาเซียนทราบอย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์แก่คณะสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศถึงผลของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
ดร. กันตธีร์เผยว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้ประชุมอาเซียน + 1 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และอินเดียตามลำดับ และในช่วงเช้าของวันที่ 10 ธันวาคม 2548 ก็ได้ประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 12-13 ธันวาคม 2548 และการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำประเทศอาเซียน กับผู้นำของประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อพิจารณาทบทวนกระบวนการความร่วมมือและพิจารณาเอกสารที่จะได้รับการรับรองในการประชุมสุดยอดของอาเซียน
1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า อาเซียนและญี่ปุ่นได้รับรองแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 9 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย ความร่วมมือด้านพลังงาน ไข้หวัดนก การจัดการภัยพิบัติ การลดช่องว่างในระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อไปสู่การบรรลุถึงประชาคมเอเชียตะวันออก ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้เน้นย้ำถึงบทบาทของอาเซียนในฐานะพลังขับเคลื่อนไปสู่การก่อตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะมอบเงินจำนวน 7.5 พันล้านเยน เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนด้วย
2. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
ระหว่างการหารือรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ทั้งสองฝ่ายได้รับรองแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมืออย่างรอบด้าน ระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งกรอบความตกลงจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่รอบด้าน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดในทุกๆ ด้าน รวมถึงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน อาเซียนได้เห็นชอบที่จะรวมเขตอุตสาหกรรม Gaesong ให้อยู่ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อช่วยส่งเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ที่ประชุมยังได้หารือถึงความคืบหน้าในการเจรจา 6 ฝ่าย ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ได้ขอบคุณประเทศไทยที่มีบทบาทเสริมสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นระหว่างทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการเจรจาดังกล่าว อนึ่ง ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการรับมือภัยคุกคามต่างๆ ทั้งจากการก่อการร้าย ไข้หวัดนก ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ความมั่นคงทางทะเลในช่องแคบมะละกา และภัยพิบัติทางธรรมชาติ สาธารณรัฐเกาหลีได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะมีบทบาทหลักในการลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้โครงการความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (IAI) โดยยินดีจะเพิ่มความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ของตน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำยืนยันวิสัยทัศน์ที่ต่างฝ่ายต่างมีร่วมกัน ในการสร้างประชาคมเอเชียตะวันออก
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าว กรณีความขัดแย้งในเรื่องสินค้าข้าวที่มีอยู่ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการหารือหาทางออกร่วมกัน ซึ่งยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาแต่อย่างใด
3. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-อินเดีย
ส่วนในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-อินเดียนั้น ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าอินเดียได้ย้ำถึงความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับอาเซียนภายใต้นโยบาย “มองตะวันออก” ของอินเดีย ทั้งสองฝ่ายพอใจกับผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรืองระหว่างอาเซียน-อินเดีย ฝ่ายอาเซียนได้แสดงความยินดีต้อนรับการที่อินเดียได้เข้าร่วมในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะเพิ่มความพยายามเร่งรัดการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน-อินเดีย นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศกันตธีร์ฯ ได้เน้นความสำคัญของความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการต่อสู้กับการก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรง ยาเสพติดและสิ่งเสพติด การป้องกันการแพร่ขยายไข้หวัดนก การพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน การขยายเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคม การส่งเสริมนโยบายการเปิดน่านฟ้าและการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชน และในระดับประชาชนต่อประชาชนระหว่างกัน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุด้วยว่า อาเซียนได้กล่าวชื่นชมอินเดียที่มีโครงการช่วยสอนภาษาอังกฤษให้กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เพราะทุกฝ่ายเล็งเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ
4. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซียเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ทั้งสองฝ่ายได้รับรองปฏิญญาร่วมเรื่องความเป็นหุ้นส่วนที่ก้าวหน้าและรอบด้าน ซึ่งจะประกาศออกมาภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย รวมทั้งแผนปฏิบัติการตามปฏิญญาดังกล่าว นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียได้ลงนามในความตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้วย ทั้งสองฝ่ายพอใจกับความก้าวหน้าด้านความสัมพันธ์ทางการเมืองที่มีอยู่แล้ว และยังได้ย้ำถึงความจำเป็นในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยอาเซียนยินดีกับการที่รัสเซียจะเข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่จะมีขึ้น ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการที่รัสเซียจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกต่อไป รัฐมนตรีต่างประเทศกันตธีร์ฯ ได้สนับสนุนการเข้ามีส่วนร่วมของรัสเซียในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และได้เน้นถึงความจำเป็นของความร่วมมือที่ใกล้ชิดขึ้นในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย การรับมือภัยธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และการเปิดเส้นทางบินตรงเชื่อมโยงระหว่างกัน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ในเรื่องการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกของรัสเซียนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า เป็นเรื่องที่ฝ่ายอาเซียนกำลังพิจารณาอยู่ โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา 3 ประการคือ ประเทศที่เข้าร่วม EAS จะต้องเป็นประเทศคู่เจรจากับอาเซียน ซึ่งรัสเซียก็เป็นแล้ว จะต้องภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซ่งรัสเซียก็ได้ดำเนินการแล้ว และจะต้องมีความสัมพันธ์ที่มีสารัตถะ (substantive relations) กับอาเซียน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่อาเซียนกำลังพิจารณาในขณะนี้
5. ประเด็นพม่า
ดร. กันตธีร์ฯ ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับความคาดหวังของอาเซียนที่มีต่อพม่าว่า อาเซียนหวังที่จะเห็นพม่ามีความคืบหน้าในเรื่องหลักๆ คือเรื่องกระบวนการปรองดองแห่งชาติ เรื่องกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ และเรื่องการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ซึ่งเป็นความกังวลร่วมกันกับประชาคมระหว่างประเทศ ทั้งนี้ สมาชิกอาเซียนก็เห็นว่าพม่าใช้เวลาในการดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว และต้องการเห็นความคืบหน้าเช่นกัน อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังเห็นว่านโยบาย Constructive Engagement ที่ไทยและอาเซียนมีต่อพม่าก็ยังเป็นประโยชน์อยู่ เพื่อเปิดประตูหรือช่องทางการติดต่อระหว่างพม่ากับโลกภายนอก การเร่งรัดให้มีผลคืบหน้าเป็นรูปธรรมในเรื่องเหล่านี้ก็สามารถใช้ช่องทางดังกล่าวได้
รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเห็นว่า อาเซียนอาจจัดคณะไปเยือนพม่าเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าโดยตรง ซึ่งจะเป็นเรื่องที่หารือกันในรายละเอียดต่อไป และได้มีการขขอให้พม่าประสานแจ้งข้อมูลต่างๆ ให้มิตรประเทศในอาเซียนทราบอย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-