กรุงเทพ--8 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อ 5 เมษายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางเยือนกรุงอิสลามาบัดในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ครั้งที่ 4 ณ กรุงอิสลามาบัด ปากีสถาน ซึ่งมีกำหนดการเปิดประชุม ในวันที่ 6 เมษายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะได้เข้าพบหารือกับนาย Mian Khurshid Mehmood Kasuri รัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถาน เพื่อหารือเรื่องการเตรียม
การประชุม และหัวข้อที่อาจหยิบยกขึ้นในการประชุมครั้งนี้ ในฐานะที่ปากีสถานเป็นประธาน ACD ในปัจจุบัน และประเทศไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานของกรอบ ACD
หลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปสาระได้ดังนี้
1. เรื่องที่รัฐมนตรีประเทศสมาชิก ACD อาจยกขึ้นหารือกันในการประชุมครั้งนี้
มีอาทิ การพิจารณาว่าจะเปิดรับประเทศสมาชิกเพิ่มหรือไม่ และสำหรับกลุ่มประเทศหรือองค์การนอกทวีปเอเชีย เช่น สหภาพแอฟริกัน (African Union - AU) ที่ได้แสดงความสนใจมาแล้วที่จะร่วมมือกับ ACD จะมีความร่วมมือในรูปแบบใดที่เหมาะสม เช่นอาจเป็นในรูปพันธมิตรเพื่อการพัฒนาของ ACD (ACD Partnership for Development) ทั้งนี้ สัญญาณที่แสดงความสนใจดังกล่าวเป็นการเอื้ออำนวยต่อความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
ยิ่งขึ้นระหว่างทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งกำลังจะมีการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียแอฟริกา (Asia-Africa Summit) ในเร็วๆ นี้ นอกจากนั้น อาจมีการหารือเรื่องการจัดประชุมระดับผู้นำของ ACD เองต่อไป ซึ่งประเทศไทยพร้อมที่จะรับเป็นเจ้าภาพ แต่ ACD ยังมิได้มีการตัดสินใจกำหนดเวลาที่แน่นอน อนึ่ง จะมีการรายงานความคืบหน้าในโครงการ
ความร่วมมือต่างๆ 19 สาขาของ ACD ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลักดันหลักในสาขาการท่องเที่ยว และสาขาความร่วมมือด้านการเงินการคลัง โดยเฉพาะเรื่องความคืบหน้าของพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond) ซึ่งได้มีการระดมเงินตั้งเป็นกองทุนแล้ว 2 ครั้ง และกำลังพิจารณาดูว่า ต่อไปจะสามารถมีการออกพันธบัตรเป็นสกุลเงินท้องถิ่นได้หรือไม่อย่างไร เพื่อความมั่นคงทางการเงินการคลังของประเทศในภูมิภาค และเพิ่ม
บทบาททางการเงินของทวีปเอเชียในเวทีโลกด้วย รายละเอียดทางเทคนิคในเรื่องนี้ ธนาคารชาติของประเทศสมาชิกกำลังหารือกันอยู่
2. ในเรื่องการรณรงค์ในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ประเด็นหลักที่จะยกขึ้น และคาดว่าที่ประชุม ACD จะรับรองได้โดยไม่มีปัญหาก็คือ หลักการหรือข้อเท็จจริงที่ว่า ครั้งนี้ถือเป็นวาระของเอเชียในการดำรงตำแหน่ง ซึ่งประเทศเอเชียทุกประเทศได้เห็นพ้องกันแล้ว ดังที่กลุ่มเอเชียในสหประชาชาติก็มีท่าทีชัดเจนแล้ว เป็นเรื่องหลักการหรือข้อเท็จจริง แต่ยังมิใช่เป็นการขอรับรองตัวบุคคล แต่ไทยก็มั่นใจว่า หากรับในหลักการแล้วว่าวาระต่อไปเป็นวาระของเอเชีย ไทยก็มีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติและมีความเหมาะสมอยู่ คือ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี
3. นอกจากนั้น ที่ประชุมครั้งนี้คงจะมีการยกเรื่องพลังงานขึ้นมาหารือกันด้วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ในขณะที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ACD ควรร่วมกันศึกษาการใช้พลังงานทดแทน เช่น การผลิตและใช้ ethanol หรือไฮโดรเจน ซึ่งไทยเองก็สนใจและมีความร่วมมือกับมิตรประเทศเช่น บราซิล อยู่แล้ว อนึ่ง ในทวีปเอเชียมีทั้งประเทศผู้ผลิตพลังงานและประเทศผู้บริโภคพลังงาน ซึ่งน่าจะมีความร่วมมือระหว่างกันได้
4. การส่งเสริมการค้าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อาจมีการหยิบยกขึ้นหารือได้ โดยเฉพาะความเป็นไปได้ในการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีรูปใดรูปหนึ่งที่ครอบคลุมทั้งทวีปเอเชีย (Asia-wide FTA) โดยที่ในโลกปัจจุบัน กระแสการค้าเสรีกำลังเดินหน้าอย่างรวดเร็วการค้าเสรีมี 3 ระดับ คือ ระดับโลกในเวทีองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งไทยก็มีบทบาทอย่างแข็งขัน ระดับทวิภาคี เช่นที่ไทยดำเนินการอยู่กับประเทศคู่ค้าต่างๆ และระดับ
ภูมิภาค ซึ่ง ACD อาจเป็นเวทีหนึ่ง ประเด็นนี้จะต้องหารือกันต่อไปเพื่อให้ชัดเจนขึ้นในการเจรจาการค้าเสรีนั้น รัฐบาลไทยจะถือหลักว่า ต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนไทยและเป็นประโยชน์ต่อโลก และต้องเป็นการค้าที่เป็นธรรมเช่นเดียวกับที่เป็นการค้าที่เสรี
5. เมื่อมีผู้สื่อข่าวถามความเห็นต่อคำวิจารณ์ว่า ACD เป็นองค์การหรือกรอบเวทีที่ “ไม่มีเขี้ยวเล็บ” เพราะเลือกที่จะไม่ยกเรื่องปัญหาทางการเมืองที่ยังมีข้อขัดแย้งกันมาเจรจาหาทางแก้ไข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบว่า การหารือของ ACD ในเรื่องเศรษฐกิจนั้นก็นับว่าสำคัญมาก เพราะจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน วิธีมุมมองของผู้วิจารณ์ควรต้องมองบทบาทในมุมที่กว้างขวางออกไป การแลกเปลี่ยนหารือกันในประเด็นที่ ACD ทำอยู่ จะเพิ่มโอกาสเปิดช่องทางการแข่งขัน และทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงและยั่งยืน
ในโอกาสเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีประเทศต่างๆ ที่มาเข้าร่วมการประชุม ACD ครั้งนี้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน เวียดนาม สิงคโปร์ พม่า ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และจะได้ร่วมกับผู้เข้าประชุมอื่นๆ ในการเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีปากีสถาน และนายกรัฐมนตรีปากีสถานด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
เมื่อ 5 เมษายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางเยือนกรุงอิสลามาบัดในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ครั้งที่ 4 ณ กรุงอิสลามาบัด ปากีสถาน ซึ่งมีกำหนดการเปิดประชุม ในวันที่ 6 เมษายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะได้เข้าพบหารือกับนาย Mian Khurshid Mehmood Kasuri รัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถาน เพื่อหารือเรื่องการเตรียม
การประชุม และหัวข้อที่อาจหยิบยกขึ้นในการประชุมครั้งนี้ ในฐานะที่ปากีสถานเป็นประธาน ACD ในปัจจุบัน และประเทศไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานของกรอบ ACD
หลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปสาระได้ดังนี้
1. เรื่องที่รัฐมนตรีประเทศสมาชิก ACD อาจยกขึ้นหารือกันในการประชุมครั้งนี้
มีอาทิ การพิจารณาว่าจะเปิดรับประเทศสมาชิกเพิ่มหรือไม่ และสำหรับกลุ่มประเทศหรือองค์การนอกทวีปเอเชีย เช่น สหภาพแอฟริกัน (African Union - AU) ที่ได้แสดงความสนใจมาแล้วที่จะร่วมมือกับ ACD จะมีความร่วมมือในรูปแบบใดที่เหมาะสม เช่นอาจเป็นในรูปพันธมิตรเพื่อการพัฒนาของ ACD (ACD Partnership for Development) ทั้งนี้ สัญญาณที่แสดงความสนใจดังกล่าวเป็นการเอื้ออำนวยต่อความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
ยิ่งขึ้นระหว่างทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งกำลังจะมีการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียแอฟริกา (Asia-Africa Summit) ในเร็วๆ นี้ นอกจากนั้น อาจมีการหารือเรื่องการจัดประชุมระดับผู้นำของ ACD เองต่อไป ซึ่งประเทศไทยพร้อมที่จะรับเป็นเจ้าภาพ แต่ ACD ยังมิได้มีการตัดสินใจกำหนดเวลาที่แน่นอน อนึ่ง จะมีการรายงานความคืบหน้าในโครงการ
ความร่วมมือต่างๆ 19 สาขาของ ACD ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลักดันหลักในสาขาการท่องเที่ยว และสาขาความร่วมมือด้านการเงินการคลัง โดยเฉพาะเรื่องความคืบหน้าของพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond) ซึ่งได้มีการระดมเงินตั้งเป็นกองทุนแล้ว 2 ครั้ง และกำลังพิจารณาดูว่า ต่อไปจะสามารถมีการออกพันธบัตรเป็นสกุลเงินท้องถิ่นได้หรือไม่อย่างไร เพื่อความมั่นคงทางการเงินการคลังของประเทศในภูมิภาค และเพิ่ม
บทบาททางการเงินของทวีปเอเชียในเวทีโลกด้วย รายละเอียดทางเทคนิคในเรื่องนี้ ธนาคารชาติของประเทศสมาชิกกำลังหารือกันอยู่
2. ในเรื่องการรณรงค์ในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ประเด็นหลักที่จะยกขึ้น และคาดว่าที่ประชุม ACD จะรับรองได้โดยไม่มีปัญหาก็คือ หลักการหรือข้อเท็จจริงที่ว่า ครั้งนี้ถือเป็นวาระของเอเชียในการดำรงตำแหน่ง ซึ่งประเทศเอเชียทุกประเทศได้เห็นพ้องกันแล้ว ดังที่กลุ่มเอเชียในสหประชาชาติก็มีท่าทีชัดเจนแล้ว เป็นเรื่องหลักการหรือข้อเท็จจริง แต่ยังมิใช่เป็นการขอรับรองตัวบุคคล แต่ไทยก็มั่นใจว่า หากรับในหลักการแล้วว่าวาระต่อไปเป็นวาระของเอเชีย ไทยก็มีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติและมีความเหมาะสมอยู่ คือ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี
3. นอกจากนั้น ที่ประชุมครั้งนี้คงจะมีการยกเรื่องพลังงานขึ้นมาหารือกันด้วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ในขณะที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ACD ควรร่วมกันศึกษาการใช้พลังงานทดแทน เช่น การผลิตและใช้ ethanol หรือไฮโดรเจน ซึ่งไทยเองก็สนใจและมีความร่วมมือกับมิตรประเทศเช่น บราซิล อยู่แล้ว อนึ่ง ในทวีปเอเชียมีทั้งประเทศผู้ผลิตพลังงานและประเทศผู้บริโภคพลังงาน ซึ่งน่าจะมีความร่วมมือระหว่างกันได้
4. การส่งเสริมการค้าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อาจมีการหยิบยกขึ้นหารือได้ โดยเฉพาะความเป็นไปได้ในการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีรูปใดรูปหนึ่งที่ครอบคลุมทั้งทวีปเอเชีย (Asia-wide FTA) โดยที่ในโลกปัจจุบัน กระแสการค้าเสรีกำลังเดินหน้าอย่างรวดเร็วการค้าเสรีมี 3 ระดับ คือ ระดับโลกในเวทีองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งไทยก็มีบทบาทอย่างแข็งขัน ระดับทวิภาคี เช่นที่ไทยดำเนินการอยู่กับประเทศคู่ค้าต่างๆ และระดับ
ภูมิภาค ซึ่ง ACD อาจเป็นเวทีหนึ่ง ประเด็นนี้จะต้องหารือกันต่อไปเพื่อให้ชัดเจนขึ้นในการเจรจาการค้าเสรีนั้น รัฐบาลไทยจะถือหลักว่า ต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนไทยและเป็นประโยชน์ต่อโลก และต้องเป็นการค้าที่เป็นธรรมเช่นเดียวกับที่เป็นการค้าที่เสรี
5. เมื่อมีผู้สื่อข่าวถามความเห็นต่อคำวิจารณ์ว่า ACD เป็นองค์การหรือกรอบเวทีที่ “ไม่มีเขี้ยวเล็บ” เพราะเลือกที่จะไม่ยกเรื่องปัญหาทางการเมืองที่ยังมีข้อขัดแย้งกันมาเจรจาหาทางแก้ไข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบว่า การหารือของ ACD ในเรื่องเศรษฐกิจนั้นก็นับว่าสำคัญมาก เพราะจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน วิธีมุมมองของผู้วิจารณ์ควรต้องมองบทบาทในมุมที่กว้างขวางออกไป การแลกเปลี่ยนหารือกันในประเด็นที่ ACD ทำอยู่ จะเพิ่มโอกาสเปิดช่องทางการแข่งขัน และทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงและยั่งยืน
ในโอกาสเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีประเทศต่างๆ ที่มาเข้าร่วมการประชุม ACD ครั้งนี้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน เวียดนาม สิงคโปร์ พม่า ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และจะได้ร่วมกับผู้เข้าประชุมอื่นๆ ในการเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีปากีสถาน และนายกรัฐมนตรีปากีสถานด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-