การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๘ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๓ นาฬิกา โดยมีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
รับทราบเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้อนุญาตให้นำเรื่องออกจากระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งนายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร และนายกูเฮง ยาวอหะซัน เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
(สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๔ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๔ วันพุธที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๕ วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๖ วันพุธที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๘ และ
ครั้งที่ ๗ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๘
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้ง ดังกล่าว
๔. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
๔.๑ ร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (พยานหลักฐาน) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว นายเจริญ จรรย์โกมล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….รายงานผลการพิจารณากล่าวคือ ตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอซึ่งค้างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว ในวาระที่ ๑ โดยรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป ตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งนายจองชัย เที่ยงธรรม และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นผู้เสนอ และตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยให้ถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้สงวนคำแปรญัตติและตั้งข้อสงสัยดังนี้
๑. ควรพิจารณาให้รอบคอบในการแก้ไขการใช้สืบพยานเพื่อให้สอดคล้องกับความ
ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีว่าเกี่ยวข้องกับกฎหมายใดบ้าง รวมทั้งควรระบุมาตราไว้ให้เรียบร้อยก่อน เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในเชิงการตีความในขั้นกรรมาธิการ
๒. การพิจารณาจะยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมเป็นแนวทาง
ในการพิจารณากฎหมายแต่ละฉบับหรือให้กรรมาธิการวินิจฉัยกฎหมายเอง
๓. การที่กรรมาธิการเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายขึ้นใหม่และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา
ที่ไม่ได้ระบุไว้ในหลักการคือ มาตรา ๘๔ และมาตรา ๑๒๘/๑ กรรมาธิการมีอำนาจในการกระทำหรือไม่
๔. กรรมาธิการมีสิทธิวินิจฉัยพิจารณาตามเนื้อความ โดยไม่ต้องดูตัวเลขมาตรา
หรือไม่
๕. เหตุใดจึงเพิ่มข้อความว่า “ข้อหาและข้อต่อสู้” เข้ามา ในร่างพระราชบัญญัตินี้ ซึ่ง
ผ่านวาระแรกไปแล้ว ถ้าต่อไปหากมีข้อความต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกจะต้องตีความอีกหรือไม่
๖. เหตุใดจึงมีการเพิ่มเติมข้อความใหม่ คือ ข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงที่
ปรากฏสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์
๗. การพิสูจน์ว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนได้รับผลประโยชน์จากข้อ
สันนิษฐานครบถ้วนแล้ว มีหลักเกณฑ์อะไรที่จะสามารถทราบได้ว่าเงื่อนไขเหล่านี้คืออะไร
๘. เหตุใดจึงมีการแก้ไขในมาตรา ๑๒๐/๑ จนเป็นเหตุต้องมีการแก้ไขมาตรา ๘๘
จากการแก้ไขแล้วได้ประโยชน์คุ้มหรือไม่
๙. จากการแก้ไขมาตรา ๘๙ โดยเติมคำว่า “ของคู่ความฝ่ายอื่น” จุดประสงค์ต้อง
การให้แคบลงและสามารถนำสืบหักล้างนั้น กระทำได้เฉพาะพยานหลักฐานฝ่ายอื่นเท่านั้นหรือไม่
๑๐. ควรให้มีการสืบพยานโจทก์และการสืบพยานจำเลยให้เว้นระยะไว้ ๑๕ วัน
๑๑. เหตุใดจึงตัดคำว่า “เพื่อประโยชน์สุขแห่งความยุติธรรม” ในมาตรา ๑๒๐/๑ ออก
และมีเหตุผลใดจึงตัดคำว่า “ก่อนวันนัดสืบพยานออก” และใส่คำว่า “ชี้ ๒ สถานเข้าไป”
๑๒. ในร่างวันชี้ ๒ สถานกับวันนัดสืบพยาน โดยทั่วไปโดยเฉลี่ยมีระยะเวลาเท่าไร
๑๓. เหตุใดจึงมีการแก้ไขคำขอเป็นคำร้อง
๑๔. จะทำอย่างไรที่สามารถนำความคิดเห็นของประชาชนไปสู่ศาลได้
ต่อมาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ตอบชี้แจงดังนี้
๑. โดยหลักการได้มีการพิจารณากฎหมายอย่างรอบคอบและไม่ขัดต่อหลักการหรือ
เพิ่มเติมของหลักการแต่ประการใด เพราะตามหลักการให้มีการเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับการมาศาลของพยาน ตลอดจนหลักเกณฑ์การนำพยานเข้าสืบและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ชัดเจนและเหมาะสมกับสภาพของสังคมและพัฒนาด้านเทคโนโลยี สำหรับในส่วนที่คณะกรรมาธิการได้แก้ไขและเพิ่มเติมจะอยู่ในหลักการของวิธีการรับฟังพยานหลักฐาน แต่วิธีการรับฟังพยานหลักฐาน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี กรรมาธิการจึงได้เพิ่มเติมในเรื่องการสืบพยานด้านจอภาพ ซึ่งขึ้นอยู่ในหลักการเช่น เดียวกัน
๒. มาตรา ๘๔ ได้มีการแก้ไขมาตรา ๓ และมาตรา ๔ นั้น ในเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการสลับที่กันเท่านั้น เพื่อเรียงลำดับถ้อยคำและเนื้อหา วิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมายเข้าใจถึงกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมาย ส่วนการเพิ่มในมาตรา ๔ เกี่ยวกับเรื่องบทสันนิษฐานตามความเป็นจริงนั้น เพราะต้องการเขียนกฎหมายให้มีความชัดเจนขึ้นและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถรับทราบและตรวจสอบได้
๓. ตามหลักการพิจารณาจำเป็นต้องถือตามเนื้อความที่เขียนในตัวร่างพระราชบัญญัติเป็นสำคัญมากกว่าตัวเลขมาตรา เพราะตัวเลขมาตราไม่สามารถบอกหลักการร่างพระราชบัญญัติได้ และตัวเลขมาตราที่ระบุวงเล็บท้ายหลักการเป็นเพียงเพื่อต้องการให้ผู้ตรวจร่างกฎหมายได้เห็นแนวทางในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักการที่เขียนว่ามีความเชื่อมโยงกับมาตราใดบ้าง จึงได้มีการระบุเลขมาตราขึ้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนขึ้น
๔. เรื่องที่มีการเสนอใหม่นั้นจะอยู่ในขอบเขตของเนื้อความในหลักการที่เขียนไว้และเนื้อความได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายพยานหลักฐาน เพื่อให้มีความรวดเร็วเหมาะสมกับสภาพสังคมและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและในส่วนมาตรา ๘๘ วรรค ๑ ที่ได้มีการเสนอเพิ่มเติมขึ้นมานั้น เพราะเกี่ยวโยงกับมาตรา ๑๒๐/๑ ซึ่งอยู่ในตัวเลขมาตราที่ระบุไว้ในวรรค ๒ ว่า ในการเสนอบันทึกถ้อยคำพยานลายลักษณ์อักษร แทนการนำตัวพยานบุคคลมาเบิกความ
ต่อศาล ต้องยื่นคำร้องแสดงความจำนงพร้อมเหตุผลต่อศาลก่อนวันชี้ ๒ สถาน หรือก่อนวันสืบพยาน ดังนั้นจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกตามมาตรา ๘๘ วรรค ๑ ให้สอดคล้องกับแนวทางใหม่ที่เสนอในมาตรา ๑๒๐/๑ ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนในรายละเอียดเพื่อให้มีบทมาตราเกี่ยวข้องและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนมาตรา ๑๒๘/๑ นั้น เป็นเรื่องจำเป็นในการแก้ไขปัญหา เพราะในทางปฏิบัติปัจจุบันไม่สามารถบังคับให้คู่ความเข้าสู่กระบวนการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายจึงทำให้การพิจารณาคดีในศาลไม่สามารถใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้สมตามหลักการที่เขียนไว้
๕. ข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงนั้น ปัจจุบันเป็นเรื่องที่ขาดไปจากกฎหมายลักษณะพยานของไทย แต่ในทางปฏิบัติมีการใช้กันเฉพาะบุคคลที่ทำงานในเรื่องของพยานหลักฐานเท่านั้น จึงสมควรนำมาเชื่อมให้ชัดเจนขึ้น ส่วนจะมีเหตุผลอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากสภาพของ ข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป จึงได้ส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติ
๖. ข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ช่วยในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคู่ความในศาล แต่ข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงนั้นบางครั้งเห็นได้อย่างชัดเจนและศาลจะเป็นผู้ใช้ ดังนั้นจึงได้มีการออกข้อกำหนดไว้เพื่อมิให้นักกฎหมายเกิดข้อสงสัยและเพื่อสร้างความชัดเจน รวมทั้งให้สอดคล้องและปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี
๗. ร่างพระราชบัญญัติมาตรา ๘๘ วรรค ๑ ที่เพิ่มขึ้นมานั้นจะได้ประโยชน์น้อยมาก แต่ถ้าต้องการให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่เป็นอยู่ต้องแก้กฎหมายมาตรา ๘๘ วรรค ๒ แต่จะทำให้เกิดประโยชน์ของผู้ปฏิบัติงานในการดำเนินคดีในศาลขัดแย้งกัน เพราะข้อมูลในการแก้ไขกฎหมาย ไม่ชัดเจน ส่วนการเพิ่มมาตรา ๑๒๘/๑ เพราะเห็นว่าพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นมาก สำหรับการแก้ไขมาตรา ๑๒๐/๑ ให้ขยับขึ้นมาถึงวันชี้ ๒ สถาน เพราะต้องการให้มีการ ส่งเสริมการไกล่เกลี่ยประนีประนอมความให้ได้มากที่สุด สำหรับมาตรา ๘๔/๑ เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ มาตรา ๘๘ วรรค ๑ เป็นเรื่องในขั้นนำพยานหลักฐานมาสืบข้ออ้าง ข้อเถียงของคู่ความที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนและไม่จำเป็นต้องปรากฏในคำคู่ความ
๘. เงื่อนไขของการนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ต่อพยานบุคคลของฝ่ายตรงข้าม เพื่อต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของพยานบุคคลของฝ่ายตรงข้าม ตามหลักการที่พิสูจน์ต่อพยานของ ตนเองจะทำไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าลักษณะพยานปรปักษ์
๙. ข้อกำหนดของตุลาการมีไว้ เพื่อวางระเบียบในรายละเอียดวิธีพิจารณาความคดีในศาลเป็นหลักการที่ใช้ในหลายประเทศ ดังนั้นจึงได้ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้ออกข้อบังคับ เพื่อมิให้เกิดความคลาดเคลื่อนขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย คณะกรรมาธิการจึงได้กำหนดเงื่อนไขว่าการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมประธานศาลฎีกาก่อน
๑๐. เหตุที่ต้องตัดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมออก เพราะวัตถุประสงค์ของการใช้งานไม่ได้เน้นที่ความยุติธรรม แต่เน้นความสะดวกและรวดเร็ว ส่วนการเปลี่ยนวันนัดสืบพยานต้องยื่นคำร้องขอใช้วิธีการนี้ก่อนวันชี้ ๒ สถานนั้น เนื่องจากในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นมาตรการใหม่และยังไม่เคยใช้ในวิธีพิจารณาความแพ่งมาก่อน ดังนั้นผู้ที่จะใช้วิธีการใหม่นี้ต้องแจ้งให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามและศาลได้ทราบล่วงหน้าให้เร็วที่สุด จึงได้แก้ไขการยื่นคำร้องแสดงความจำนงก่อนวันชี้ ๒ สถาน หรือก่อนวันสืบพยาน เพื่อให้เกิดความรอบคอบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๑๑. การแก้ไขคำขอเป็นคำร้องนั้น ถ้าเขียนว่าคำขอจะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งในทางปฏิบัติจะไม่ทราบว่าจะต้องยื่นเป็นคำขอหรือยื่นเป็นคำร้อง จึงได้มีการกำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นคำร้อง สำหรับวันชี้ ๒ สถานและวันสืบพยานนั้น ขณะนี้ไม่มีข้อมูลตัวเลขและจะดำเนินการหาข้อมูลเพื่อนำเสนอในโอกาสต่อไป
๑๒. ในส่วนของการสงวนคำแปรญัตติไว้นี้ ได้มอบให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับไป เพื่อ
หามาตรการในการเชื่อมต่อ เพื่อให้สามารถดำเนินการนำความคิดเห็นของประชาชนไปสู่ศาลต่อไป
สำหรับมาตรา ๑๗ เพิ่มข้อความในมาตรา ๑๒๐/๒ นั้น
สมาชิกฯ ได้ขอแก้ไขจากคำขอเป็นคำร้อง
ในส่วนของมาตรา ๑๗/๒ เพิ่มข้อความเป็นมาตรา ๑๒๘/๑ คณะกรรมาธิการเพิ่มขึ้นใหม่ สมาชิกได้อภิปรายว่า ไม่เห็นด้วยเพราะในเรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีในหลักการ ซึ่งได้เพิ่มเติมในส่วนที่มี กรณีจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงก็สามารถดำเดินการได้ทางวิทยาศาสตร์ ในส่วนกรณีที่เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลที่จะต้องเก็บตัวอย่างเช่น เลือด ผิวหนัง ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์ได้ แต่ต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็นและสมควร ในกรณีคู่ความใดไม่ให้ความยินยอมและไม่ให้ความร่วมมือต่อการพิสูจน์ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงกันข้ามกล่าวอ้าง ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ให้ คู่ความฝ่ายที่ร้องขอให้พิสูจน์เป็นผู้รับผิดชอบ อย่างไรก็ตามการกระทำการใด ๆ ของคณะกรรมาธิการต้องกระทำการโดยบทบัญญัติของกฎหมายและโดยข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและควร มีการลงมติ
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๒๗๙ เสียง ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๔.๒ ร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาเสร็จแล้ว นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ในฐานะคณะกรรมาธิการร่วมกัน รายงานผลการพิจารณาร่วมกันดังนี้ ตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑ มิถุนายน
๒๕๔๘ และที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติตั้งคณะอนุกรรมาธิการสภาละ ๑๒ คน ตามจำนวนที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนดประกอบเป็นคณะ กรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เรื่องการพิจารณาคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาคณะกรรมาธิการร่วมกัน ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน ๕ ครั้ง โดยมีการรับฟังข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากสำนักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงยุติธรรมประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ บัดนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอรายงานผลการพิจารณาพร้อมร่างพระราชบัญญัตินี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามมติของกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อสมาชิกฯ จะได้ลงมติต่อไป
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ได้อภิปรายว่า หลักการของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เดิมการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาเป็นภาระของประชาชนที่เป็นผู้เสียหายจำเป็นต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งขึ้นมาอีกคดี ยกเว้นกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์และคดีนั้นเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์สามารถเรียกทรัพย์คืนหรือเรียกค่าเสียหายจากทรัพย์นั้นได้ ส่วนความผิดอื่น ๆ นั้นที่ทำให้เกิดการเสียทรัพย์ ตลอดจนเสียหาย ต่อร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงและทรัพย์สินเป็นภาระของผู้เสียหายที่จะต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่ง รัฐบาลได้เห็นความสำคัญจึงได้แก้ไขหลักการ โดยเพิ่มเติมสาระสำคัญ ในกรณีความผิดที่เกี่ยวกับชีวิตร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ซึ่งความผิดเหล่านี้สามารถให้ผู้เสียหายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ เพียงแต่ ร้องขอให้พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์เรียกค่าเสียหายนั้นแทนผู้เสียหายได้ ซึ่งร่างดังกล่าวนี้ได้ผ่านสภา ผู้แทนราษฎร แต่วุฒิสภาได้ไปแก้ไขในประเด็นที่สำคัญคือ นอกจากให้ร้องขอพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์เอง ยังให้สามารถร้องเป็นคดีเดียวกัน โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ในเรื่องดังกล่าวนี้ขัดกับหลักการที่สภาผู้แทนราษฎรได้รับไว้และไม่จำเป็นที่ผู้เสียหายไปฟ้องร้องเป็นคดีเอง สามารถร้องผ่านพนักงานอัยการได้ ซึ่งกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว ซึ่งหลักการเดิมอนุญาตให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์และผู้เสียหายร้องขอได้ในความผิดที่เพิ่มขึ้นประมาณ ๔-๕ หมวด วุฒิสภาได้มีการแก้ไขและในกรณีที่ร้องขอทรัพย์คืน ได้กำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นข้อขัดแย้งกัน คณะกรรมาธิการร่วมกันจึงได้กำหนดให้กรณีที่ประชาชนฟ้องเองและร้องเข้ามาเองสามารถกระทำได้และสามารถที่จะร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้เฉพาะข้อมูลที่มีมูล ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมได้โดยอยู่ใน ดุลพินิจของศาล และเห็นว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวนี้เป็นนโยบายที่สำคัญในการช่วยเหลือประชาชนจึงเห็นด้วยกับกรรมาธิการร่วมกัน
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนน ๒๙๔ เสียง
๔.๓ ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการการปกครองพิจารณาเสร็จแล้ว นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง ได้รายงานผลการพิจารณาดังนี้ ตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ และให้คณะกรรมาธิการการปกครองพิจารณากำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับและคณะกรรมาธิการ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
จากนั้น สมาชิกฯ ได้พิจารณาดังนี้
ชื่อร่าง ไม่มีการแก้ไข
คำปรารภ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๑ มาตรา ๒ มาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ ไม่มีการแก้ไข
แผนที่ท้ายพระราชบัญญัติ ไม่มีการแก้ไข
บัญชีรายชื่อท้ายพระราชบัญญัติ ไม่มีการแก้ไข
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนน ๒๘๕ เสียง ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้
วุฒิสภา พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
จากนั้นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุม เพื่อขอนำ
ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ
- ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ ที่ประชุมได้มีมติเลือกนายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ เป็นกรรมาธิการการแทน นายวิทยา บุรณศิริ
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๔๓ นาฬิกา
------------------------------------------------------
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
รับทราบเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้อนุญาตให้นำเรื่องออกจากระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งนายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร และนายกูเฮง ยาวอหะซัน เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
(สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๔ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๔ วันพุธที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๕ วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๖ วันพุธที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๘ และ
ครั้งที่ ๗ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๘
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้ง ดังกล่าว
๔. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
๔.๑ ร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (พยานหลักฐาน) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว นายเจริญ จรรย์โกมล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….รายงานผลการพิจารณากล่าวคือ ตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอซึ่งค้างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว ในวาระที่ ๑ โดยรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป ตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งนายจองชัย เที่ยงธรรม และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นผู้เสนอ และตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยให้ถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้สงวนคำแปรญัตติและตั้งข้อสงสัยดังนี้
๑. ควรพิจารณาให้รอบคอบในการแก้ไขการใช้สืบพยานเพื่อให้สอดคล้องกับความ
ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีว่าเกี่ยวข้องกับกฎหมายใดบ้าง รวมทั้งควรระบุมาตราไว้ให้เรียบร้อยก่อน เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในเชิงการตีความในขั้นกรรมาธิการ
๒. การพิจารณาจะยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมเป็นแนวทาง
ในการพิจารณากฎหมายแต่ละฉบับหรือให้กรรมาธิการวินิจฉัยกฎหมายเอง
๓. การที่กรรมาธิการเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายขึ้นใหม่และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา
ที่ไม่ได้ระบุไว้ในหลักการคือ มาตรา ๘๔ และมาตรา ๑๒๘/๑ กรรมาธิการมีอำนาจในการกระทำหรือไม่
๔. กรรมาธิการมีสิทธิวินิจฉัยพิจารณาตามเนื้อความ โดยไม่ต้องดูตัวเลขมาตรา
หรือไม่
๕. เหตุใดจึงเพิ่มข้อความว่า “ข้อหาและข้อต่อสู้” เข้ามา ในร่างพระราชบัญญัตินี้ ซึ่ง
ผ่านวาระแรกไปแล้ว ถ้าต่อไปหากมีข้อความต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกจะต้องตีความอีกหรือไม่
๖. เหตุใดจึงมีการเพิ่มเติมข้อความใหม่ คือ ข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงที่
ปรากฏสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์
๗. การพิสูจน์ว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนได้รับผลประโยชน์จากข้อ
สันนิษฐานครบถ้วนแล้ว มีหลักเกณฑ์อะไรที่จะสามารถทราบได้ว่าเงื่อนไขเหล่านี้คืออะไร
๘. เหตุใดจึงมีการแก้ไขในมาตรา ๑๒๐/๑ จนเป็นเหตุต้องมีการแก้ไขมาตรา ๘๘
จากการแก้ไขแล้วได้ประโยชน์คุ้มหรือไม่
๙. จากการแก้ไขมาตรา ๘๙ โดยเติมคำว่า “ของคู่ความฝ่ายอื่น” จุดประสงค์ต้อง
การให้แคบลงและสามารถนำสืบหักล้างนั้น กระทำได้เฉพาะพยานหลักฐานฝ่ายอื่นเท่านั้นหรือไม่
๑๐. ควรให้มีการสืบพยานโจทก์และการสืบพยานจำเลยให้เว้นระยะไว้ ๑๕ วัน
๑๑. เหตุใดจึงตัดคำว่า “เพื่อประโยชน์สุขแห่งความยุติธรรม” ในมาตรา ๑๒๐/๑ ออก
และมีเหตุผลใดจึงตัดคำว่า “ก่อนวันนัดสืบพยานออก” และใส่คำว่า “ชี้ ๒ สถานเข้าไป”
๑๒. ในร่างวันชี้ ๒ สถานกับวันนัดสืบพยาน โดยทั่วไปโดยเฉลี่ยมีระยะเวลาเท่าไร
๑๓. เหตุใดจึงมีการแก้ไขคำขอเป็นคำร้อง
๑๔. จะทำอย่างไรที่สามารถนำความคิดเห็นของประชาชนไปสู่ศาลได้
ต่อมาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ตอบชี้แจงดังนี้
๑. โดยหลักการได้มีการพิจารณากฎหมายอย่างรอบคอบและไม่ขัดต่อหลักการหรือ
เพิ่มเติมของหลักการแต่ประการใด เพราะตามหลักการให้มีการเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับการมาศาลของพยาน ตลอดจนหลักเกณฑ์การนำพยานเข้าสืบและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ชัดเจนและเหมาะสมกับสภาพของสังคมและพัฒนาด้านเทคโนโลยี สำหรับในส่วนที่คณะกรรมาธิการได้แก้ไขและเพิ่มเติมจะอยู่ในหลักการของวิธีการรับฟังพยานหลักฐาน แต่วิธีการรับฟังพยานหลักฐาน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี กรรมาธิการจึงได้เพิ่มเติมในเรื่องการสืบพยานด้านจอภาพ ซึ่งขึ้นอยู่ในหลักการเช่น เดียวกัน
๒. มาตรา ๘๔ ได้มีการแก้ไขมาตรา ๓ และมาตรา ๔ นั้น ในเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการสลับที่กันเท่านั้น เพื่อเรียงลำดับถ้อยคำและเนื้อหา วิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมายเข้าใจถึงกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมาย ส่วนการเพิ่มในมาตรา ๔ เกี่ยวกับเรื่องบทสันนิษฐานตามความเป็นจริงนั้น เพราะต้องการเขียนกฎหมายให้มีความชัดเจนขึ้นและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถรับทราบและตรวจสอบได้
๓. ตามหลักการพิจารณาจำเป็นต้องถือตามเนื้อความที่เขียนในตัวร่างพระราชบัญญัติเป็นสำคัญมากกว่าตัวเลขมาตรา เพราะตัวเลขมาตราไม่สามารถบอกหลักการร่างพระราชบัญญัติได้ และตัวเลขมาตราที่ระบุวงเล็บท้ายหลักการเป็นเพียงเพื่อต้องการให้ผู้ตรวจร่างกฎหมายได้เห็นแนวทางในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักการที่เขียนว่ามีความเชื่อมโยงกับมาตราใดบ้าง จึงได้มีการระบุเลขมาตราขึ้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนขึ้น
๔. เรื่องที่มีการเสนอใหม่นั้นจะอยู่ในขอบเขตของเนื้อความในหลักการที่เขียนไว้และเนื้อความได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายพยานหลักฐาน เพื่อให้มีความรวดเร็วเหมาะสมกับสภาพสังคมและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและในส่วนมาตรา ๘๘ วรรค ๑ ที่ได้มีการเสนอเพิ่มเติมขึ้นมานั้น เพราะเกี่ยวโยงกับมาตรา ๑๒๐/๑ ซึ่งอยู่ในตัวเลขมาตราที่ระบุไว้ในวรรค ๒ ว่า ในการเสนอบันทึกถ้อยคำพยานลายลักษณ์อักษร แทนการนำตัวพยานบุคคลมาเบิกความ
ต่อศาล ต้องยื่นคำร้องแสดงความจำนงพร้อมเหตุผลต่อศาลก่อนวันชี้ ๒ สถาน หรือก่อนวันสืบพยาน ดังนั้นจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกตามมาตรา ๘๘ วรรค ๑ ให้สอดคล้องกับแนวทางใหม่ที่เสนอในมาตรา ๑๒๐/๑ ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนในรายละเอียดเพื่อให้มีบทมาตราเกี่ยวข้องและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนมาตรา ๑๒๘/๑ นั้น เป็นเรื่องจำเป็นในการแก้ไขปัญหา เพราะในทางปฏิบัติปัจจุบันไม่สามารถบังคับให้คู่ความเข้าสู่กระบวนการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายจึงทำให้การพิจารณาคดีในศาลไม่สามารถใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้สมตามหลักการที่เขียนไว้
๕. ข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงนั้น ปัจจุบันเป็นเรื่องที่ขาดไปจากกฎหมายลักษณะพยานของไทย แต่ในทางปฏิบัติมีการใช้กันเฉพาะบุคคลที่ทำงานในเรื่องของพยานหลักฐานเท่านั้น จึงสมควรนำมาเชื่อมให้ชัดเจนขึ้น ส่วนจะมีเหตุผลอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากสภาพของ ข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป จึงได้ส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติ
๖. ข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ช่วยในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคู่ความในศาล แต่ข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงนั้นบางครั้งเห็นได้อย่างชัดเจนและศาลจะเป็นผู้ใช้ ดังนั้นจึงได้มีการออกข้อกำหนดไว้เพื่อมิให้นักกฎหมายเกิดข้อสงสัยและเพื่อสร้างความชัดเจน รวมทั้งให้สอดคล้องและปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี
๗. ร่างพระราชบัญญัติมาตรา ๘๘ วรรค ๑ ที่เพิ่มขึ้นมานั้นจะได้ประโยชน์น้อยมาก แต่ถ้าต้องการให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่เป็นอยู่ต้องแก้กฎหมายมาตรา ๘๘ วรรค ๒ แต่จะทำให้เกิดประโยชน์ของผู้ปฏิบัติงานในการดำเนินคดีในศาลขัดแย้งกัน เพราะข้อมูลในการแก้ไขกฎหมาย ไม่ชัดเจน ส่วนการเพิ่มมาตรา ๑๒๘/๑ เพราะเห็นว่าพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นมาก สำหรับการแก้ไขมาตรา ๑๒๐/๑ ให้ขยับขึ้นมาถึงวันชี้ ๒ สถาน เพราะต้องการให้มีการ ส่งเสริมการไกล่เกลี่ยประนีประนอมความให้ได้มากที่สุด สำหรับมาตรา ๘๔/๑ เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ มาตรา ๘๘ วรรค ๑ เป็นเรื่องในขั้นนำพยานหลักฐานมาสืบข้ออ้าง ข้อเถียงของคู่ความที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนและไม่จำเป็นต้องปรากฏในคำคู่ความ
๘. เงื่อนไขของการนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ต่อพยานบุคคลของฝ่ายตรงข้าม เพื่อต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของพยานบุคคลของฝ่ายตรงข้าม ตามหลักการที่พิสูจน์ต่อพยานของ ตนเองจะทำไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าลักษณะพยานปรปักษ์
๙. ข้อกำหนดของตุลาการมีไว้ เพื่อวางระเบียบในรายละเอียดวิธีพิจารณาความคดีในศาลเป็นหลักการที่ใช้ในหลายประเทศ ดังนั้นจึงได้ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้ออกข้อบังคับ เพื่อมิให้เกิดความคลาดเคลื่อนขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย คณะกรรมาธิการจึงได้กำหนดเงื่อนไขว่าการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมประธานศาลฎีกาก่อน
๑๐. เหตุที่ต้องตัดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมออก เพราะวัตถุประสงค์ของการใช้งานไม่ได้เน้นที่ความยุติธรรม แต่เน้นความสะดวกและรวดเร็ว ส่วนการเปลี่ยนวันนัดสืบพยานต้องยื่นคำร้องขอใช้วิธีการนี้ก่อนวันชี้ ๒ สถานนั้น เนื่องจากในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นมาตรการใหม่และยังไม่เคยใช้ในวิธีพิจารณาความแพ่งมาก่อน ดังนั้นผู้ที่จะใช้วิธีการใหม่นี้ต้องแจ้งให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามและศาลได้ทราบล่วงหน้าให้เร็วที่สุด จึงได้แก้ไขการยื่นคำร้องแสดงความจำนงก่อนวันชี้ ๒ สถาน หรือก่อนวันสืบพยาน เพื่อให้เกิดความรอบคอบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๑๑. การแก้ไขคำขอเป็นคำร้องนั้น ถ้าเขียนว่าคำขอจะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งในทางปฏิบัติจะไม่ทราบว่าจะต้องยื่นเป็นคำขอหรือยื่นเป็นคำร้อง จึงได้มีการกำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นคำร้อง สำหรับวันชี้ ๒ สถานและวันสืบพยานนั้น ขณะนี้ไม่มีข้อมูลตัวเลขและจะดำเนินการหาข้อมูลเพื่อนำเสนอในโอกาสต่อไป
๑๒. ในส่วนของการสงวนคำแปรญัตติไว้นี้ ได้มอบให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับไป เพื่อ
หามาตรการในการเชื่อมต่อ เพื่อให้สามารถดำเนินการนำความคิดเห็นของประชาชนไปสู่ศาลต่อไป
สำหรับมาตรา ๑๗ เพิ่มข้อความในมาตรา ๑๒๐/๒ นั้น
สมาชิกฯ ได้ขอแก้ไขจากคำขอเป็นคำร้อง
ในส่วนของมาตรา ๑๗/๒ เพิ่มข้อความเป็นมาตรา ๑๒๘/๑ คณะกรรมาธิการเพิ่มขึ้นใหม่ สมาชิกได้อภิปรายว่า ไม่เห็นด้วยเพราะในเรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีในหลักการ ซึ่งได้เพิ่มเติมในส่วนที่มี กรณีจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงก็สามารถดำเดินการได้ทางวิทยาศาสตร์ ในส่วนกรณีที่เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลที่จะต้องเก็บตัวอย่างเช่น เลือด ผิวหนัง ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์ได้ แต่ต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็นและสมควร ในกรณีคู่ความใดไม่ให้ความยินยอมและไม่ให้ความร่วมมือต่อการพิสูจน์ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงกันข้ามกล่าวอ้าง ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ให้ คู่ความฝ่ายที่ร้องขอให้พิสูจน์เป็นผู้รับผิดชอบ อย่างไรก็ตามการกระทำการใด ๆ ของคณะกรรมาธิการต้องกระทำการโดยบทบัญญัติของกฎหมายและโดยข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและควร มีการลงมติ
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๒๗๙ เสียง ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๔.๒ ร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาเสร็จแล้ว นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ในฐานะคณะกรรมาธิการร่วมกัน รายงานผลการพิจารณาร่วมกันดังนี้ ตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑ มิถุนายน
๒๕๔๘ และที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติตั้งคณะอนุกรรมาธิการสภาละ ๑๒ คน ตามจำนวนที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนดประกอบเป็นคณะ กรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เรื่องการพิจารณาคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาคณะกรรมาธิการร่วมกัน ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน ๕ ครั้ง โดยมีการรับฟังข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากสำนักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงยุติธรรมประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ บัดนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอรายงานผลการพิจารณาพร้อมร่างพระราชบัญญัตินี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามมติของกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อสมาชิกฯ จะได้ลงมติต่อไป
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ได้อภิปรายว่า หลักการของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เดิมการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาเป็นภาระของประชาชนที่เป็นผู้เสียหายจำเป็นต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งขึ้นมาอีกคดี ยกเว้นกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์และคดีนั้นเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์สามารถเรียกทรัพย์คืนหรือเรียกค่าเสียหายจากทรัพย์นั้นได้ ส่วนความผิดอื่น ๆ นั้นที่ทำให้เกิดการเสียทรัพย์ ตลอดจนเสียหาย ต่อร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงและทรัพย์สินเป็นภาระของผู้เสียหายที่จะต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่ง รัฐบาลได้เห็นความสำคัญจึงได้แก้ไขหลักการ โดยเพิ่มเติมสาระสำคัญ ในกรณีความผิดที่เกี่ยวกับชีวิตร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ซึ่งความผิดเหล่านี้สามารถให้ผู้เสียหายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ เพียงแต่ ร้องขอให้พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์เรียกค่าเสียหายนั้นแทนผู้เสียหายได้ ซึ่งร่างดังกล่าวนี้ได้ผ่านสภา ผู้แทนราษฎร แต่วุฒิสภาได้ไปแก้ไขในประเด็นที่สำคัญคือ นอกจากให้ร้องขอพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์เอง ยังให้สามารถร้องเป็นคดีเดียวกัน โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ในเรื่องดังกล่าวนี้ขัดกับหลักการที่สภาผู้แทนราษฎรได้รับไว้และไม่จำเป็นที่ผู้เสียหายไปฟ้องร้องเป็นคดีเอง สามารถร้องผ่านพนักงานอัยการได้ ซึ่งกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว ซึ่งหลักการเดิมอนุญาตให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์และผู้เสียหายร้องขอได้ในความผิดที่เพิ่มขึ้นประมาณ ๔-๕ หมวด วุฒิสภาได้มีการแก้ไขและในกรณีที่ร้องขอทรัพย์คืน ได้กำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นข้อขัดแย้งกัน คณะกรรมาธิการร่วมกันจึงได้กำหนดให้กรณีที่ประชาชนฟ้องเองและร้องเข้ามาเองสามารถกระทำได้และสามารถที่จะร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้เฉพาะข้อมูลที่มีมูล ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมได้โดยอยู่ใน ดุลพินิจของศาล และเห็นว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวนี้เป็นนโยบายที่สำคัญในการช่วยเหลือประชาชนจึงเห็นด้วยกับกรรมาธิการร่วมกัน
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนน ๒๙๔ เสียง
๔.๓ ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการการปกครองพิจารณาเสร็จแล้ว นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง ได้รายงานผลการพิจารณาดังนี้ ตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ และให้คณะกรรมาธิการการปกครองพิจารณากำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับและคณะกรรมาธิการ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
จากนั้น สมาชิกฯ ได้พิจารณาดังนี้
ชื่อร่าง ไม่มีการแก้ไข
คำปรารภ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๑ มาตรา ๒ มาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ ไม่มีการแก้ไข
แผนที่ท้ายพระราชบัญญัติ ไม่มีการแก้ไข
บัญชีรายชื่อท้ายพระราชบัญญัติ ไม่มีการแก้ไข
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนน ๒๘๕ เสียง ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้
วุฒิสภา พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
จากนั้นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุม เพื่อขอนำ
ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ
- ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ ที่ประชุมได้มีมติเลือกนายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ เป็นกรรมาธิการการแทน นายวิทยา บุรณศิริ
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๔๓ นาฬิกา
------------------------------------------------------