กรุงเทพ--11 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (10 พฤษภาคม 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด ที่กรุงย่างกุ้ง มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. ตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2006 ของพม่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ขณะเกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในพม่านั้นได้ทราบข่าวระหว่างการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ ASEM ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อรับทราบก็ได้ติดต่อกับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าทันที และได้มีการประสานกัน อย่างใกล้ชิด ดร.กันตธีร์ฯ ได้ย้ำว่าเหตุการณ์ดังกล่าวคงไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า และได้แจ้งให้ฝ่ายพม่าทราบถึงความห่วงใยต่อคนไทยของนายกรัฐมนตรีและได้ขอให้ดูแลคนไทยอย่างดีด้วย ซึ่งฝ่ายพม่าก็รับว่าจะดูแลคนไทยเป็นพิเศษโดยรัฐบาลพม่าได้สั่งการให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องดูแลอย่างใกล้ชิด เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ควรถูกเชื่อมโยงไปถึงเรื่องตำแหน่งประธานอาเซียนของพม่า อย่างไรก็ตาม ไทยจะ ดำเนินการที่จะทำให้การทำงานของอาเซียนไม่มีปัญหา ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลไทยมีความรอบคอบและ คำนึงถึงรายละเอียดทุกด้าน
2. การเคลื่อนไหวของวุฒิสมาชิกของไทยที่จะไม่ให้พม่าเป็นประธานอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่โปร่งใสมีระบบการเมืองแบบเปิด การแสดงท่าที และความคิดเห็นของวุฒิสมาชิกเป็นสิ่งที่แสดงว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดและเป็นประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับทุกฝ่ายทั้งพม่า อาเซียน ยุโรป และสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด นโยบายของไทยเป็นนโยบายที่มีความรอบคอบและมั่นใจว่าจะนำไปสู่ผลที่ดี แต่ไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียด ได้เพราะเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหว นโยบายดังกล่าวมีจุดประสงค์ 3 ประการ คือ
2.1 ส่งเสริมให้พม่าเดินหน้าในกระบวนการปรองดองแห่งชาติโดยเร็วที่สุด
2.2 ให้อาเซียนมีพัฒนาการเช่นกัน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่น ๆ ในโลก
2.3 ประเทศในกลุ่มยุโรปได้ทราบในสิ่งที่ไทยกำลังดำเนินการอยู่ และได้แสดงความเห็นด้วย โดยหลายประเทศเห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ การให้พม่าเดินหน้าสู่กระบวนการปรองดองแห่งชาติโดยเร็วที่สุด เพื่อให้พม่ามีความสัมพันธ์กับต่างประเทศได้ ฉะนั้นการเปิดประตูจึงเป็นสิ่งที่ดี จะเป็นโอกาสให้เราสามารถ หารือ และช่วยกระตุ้นพม่าได้
ปัจจุบันประเทศในยุโรปหลายประเทศเห็นว่านโยบายต่อพม่าที่ปิด ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด แต่กลับจะสร้างปัญหาและความเดือดร้อนแก่ประชาชนพม่าเอง และเริ่มแสดงความชื่นชมต่อการดำเนินการ ของรัฐบาลไทย และแต่ละประเทศกำลังพิจารณาที่จะเริ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพม่ามากขึ้น โดยได้ประสานกับไทยอย่างใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (10 พฤษภาคม 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด ที่กรุงย่างกุ้ง มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. ตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2006 ของพม่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ขณะเกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในพม่านั้นได้ทราบข่าวระหว่างการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ ASEM ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อรับทราบก็ได้ติดต่อกับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าทันที และได้มีการประสานกัน อย่างใกล้ชิด ดร.กันตธีร์ฯ ได้ย้ำว่าเหตุการณ์ดังกล่าวคงไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า และได้แจ้งให้ฝ่ายพม่าทราบถึงความห่วงใยต่อคนไทยของนายกรัฐมนตรีและได้ขอให้ดูแลคนไทยอย่างดีด้วย ซึ่งฝ่ายพม่าก็รับว่าจะดูแลคนไทยเป็นพิเศษโดยรัฐบาลพม่าได้สั่งการให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องดูแลอย่างใกล้ชิด เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ควรถูกเชื่อมโยงไปถึงเรื่องตำแหน่งประธานอาเซียนของพม่า อย่างไรก็ตาม ไทยจะ ดำเนินการที่จะทำให้การทำงานของอาเซียนไม่มีปัญหา ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลไทยมีความรอบคอบและ คำนึงถึงรายละเอียดทุกด้าน
2. การเคลื่อนไหวของวุฒิสมาชิกของไทยที่จะไม่ให้พม่าเป็นประธานอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่โปร่งใสมีระบบการเมืองแบบเปิด การแสดงท่าที และความคิดเห็นของวุฒิสมาชิกเป็นสิ่งที่แสดงว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดและเป็นประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับทุกฝ่ายทั้งพม่า อาเซียน ยุโรป และสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด นโยบายของไทยเป็นนโยบายที่มีความรอบคอบและมั่นใจว่าจะนำไปสู่ผลที่ดี แต่ไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียด ได้เพราะเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหว นโยบายดังกล่าวมีจุดประสงค์ 3 ประการ คือ
2.1 ส่งเสริมให้พม่าเดินหน้าในกระบวนการปรองดองแห่งชาติโดยเร็วที่สุด
2.2 ให้อาเซียนมีพัฒนาการเช่นกัน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่น ๆ ในโลก
2.3 ประเทศในกลุ่มยุโรปได้ทราบในสิ่งที่ไทยกำลังดำเนินการอยู่ และได้แสดงความเห็นด้วย โดยหลายประเทศเห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ การให้พม่าเดินหน้าสู่กระบวนการปรองดองแห่งชาติโดยเร็วที่สุด เพื่อให้พม่ามีความสัมพันธ์กับต่างประเทศได้ ฉะนั้นการเปิดประตูจึงเป็นสิ่งที่ดี จะเป็นโอกาสให้เราสามารถ หารือ และช่วยกระตุ้นพม่าได้
ปัจจุบันประเทศในยุโรปหลายประเทศเห็นว่านโยบายต่อพม่าที่ปิด ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด แต่กลับจะสร้างปัญหาและความเดือดร้อนแก่ประชาชนพม่าเอง และเริ่มแสดงความชื่นชมต่อการดำเนินการ ของรัฐบาลไทย และแต่ละประเทศกำลังพิจารณาที่จะเริ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพม่ามากขึ้น โดยได้ประสานกับไทยอย่างใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-