ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่าผู้ประกอบการสินเชื่อบุคคลจะลดลงหาก ก.คลังอนุมัติให้ ธปท. เข้าควบคุม นายสามารถ
บูรณวัฒนาโชค ผอ.อาวุโส ฝ่ายความเสี่ยงและวิเคราะห์ ธปท. เปิดเผยว่า หาก ก.คลังอนุมัติให้ ธปท. สามารถ
เข้าไปควบคุมผู้ประกอบกิจการสินเชื่อบุคคลในส่วนของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) โดยการแก้ไข
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (ปว.58) ได้ เชื่อว่าในอนาคตจะมีผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหม่เข้ามา
ดำเนินการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการจะถูกจำกัดขอบเขตการดำเนินธุรกิจ โดย ธปท. จะ
ออกมาตรการควบคุมเพดานดอกเบี้ยและวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน ซึ่งการเข้ามาดูแลของ ธปท.
จะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมีการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังมากขึ้นเพราะมีการจำกัดวงเงินกู้ ทั้งนี้ หลังจาก
จัดระเบียบแล้วเชื่อว่าในระยะต่อไปจะทำให้เงินกู้นอกระบบลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ธปท. เห็นว่าการที่มีผู้
ประกอบการธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในตลาดมากรายจะส่งผลให้เกิดภาวะการแข่งขันที่รุนแรงทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ
ลงเป็นผลดีต่อผู้บริโภค แต่หากมีผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมากเกินไป ธปท. ก็จำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อจำกัดผู้
ประกอบการรายใหม่ในอนาคต ส่วนการที่ไม่ได้กำหนดฐานเงินเดือนขั้นต่ำของผู้กู้เนื่องจากเห็นว่าสินเชื่อดังกล่าว
มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มากกว่าสินเชื่อบัตรเครดิต (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
2. เช็คเด้งเดือน มี.ค. มีมูลค่าสูงถึง 1.14 หมื่นล้านบาท สายระบบการชำระเงิน ธปท. รายงาน
ว่า เดือน มี.ค.48 มีปริมาณการใช้เช็คมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2.45 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้มีเช็คคืนไม่มีเงินหรือเช็ค
เด้ง ทั้งสิ้น 1.3 แสนรายการ มูลค่ารวม 1.14 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.28 พันล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 จาก
เดือน ก.พ. ที่มีเช็คเด้ง 1.02 แสนรายการ มูลค่า 9.09 พันล้านบาท หรือร้อยละ 9 ของเช็คคืน ทั้งนี้ เช็คเด้ง
มูลค่า 1.14 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 8.58 หมื่นรายการ มูลค่า 8.7 พันล้านบาท
เช็คเด้งข้ามเขต 2.16 หมื่นรายการ มูลค่า 1.03 พันล้านบาท และเช็คเด้งในเขตภูมิภาค 2.34 หมื่นรายการ
มูลค่ารวม 1.68 พันล้านบาท สำหรับสาเหตุที่มีเช็คเด้งเพิ่มมากขึ้นส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการชะลอตัวลงของ
เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ แต่อีกส่วนมาจากภาพรวมมีปริมาณและมูลค่าการใช้เช็คเพิ่ม เพราะประชาชน
และนักธุรกิจมั่นใจในระบบชำระเงินด้วยเช็คเพิ่มขึ้น ส่วนการฟ้องร้องคดีความเกี่ยวกับเช็คขณะนี้ได้มีการแก้ไข
กฎหมายให้ไม่เป็นคดีอาญา แต่สามารถฟ้องเป็นคดีทางแพ่งเท่านั้น (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ไทยขาดดุลการค้าไตรมาสแรกปีนี้เกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รมช.
พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกในช่วง ม.ค.-มี.ค.48 ว่า มีมูลค่า 25,198.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.4 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 28,161.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 ทำให้ดุลการค้า
ขาดดุล 2,962.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงสูงถึงร้อยละ 63.7 คิดเป็นมูลค่า
4,416 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกันมีการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เคมี
ภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 คิดเป็นมูลค่า 12,494 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนสินค้าทุน เช่น
เครื่องจักร มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 คิดเป็นมูลค่า 7,857 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับการส่งออกเกือบ
ทุกรายการปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นสินค้าเกษตรบางรายการเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง เช่น ยางพารา ลดลงร้อยละ 2.4
มันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 16.4 ส่วนสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 สินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 มูลค่า 4,931 ล้านดอลลาร์ สรอ. เครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9
มูลค่า 3,319 ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาไทยจะขาดดุลติดต่อกัน แต่ไม่น่า
เป็นห่วงมากนัก เพราะการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเริ่มชะลอตัวลง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือตัวเลขการนำเข้าน้ำมัน
เชื้อเพลิงที่ยังสูงขึ้น (เดลินิวส์, ไทยรัฐ, บ้านเมือง)
4. ธ.พาณิชย์ไทยเปิดสาขารูปแบบใหม่เพิ่มศักยภาพการบริการ นางกนกศรี โรจน์เมธา ผช.กก.
ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย เปิดเผยว่า นโยบายการเปิดสาขาของธนาคารในปี 48 จะเน้นเปิดสาขาในห้างสรรพ
สินค้า ซึ่งเป็นรูปแบบ Modern Branch จำนวน 30 สาขา เน้นความทันสมัยและให้บริการเช่นเดียวกับสาขาทั่ว
ไป โดยจะเน้นการให้บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าการใช้พนักงาน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า
ธนาคารและบริษัทในเครือ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งจะเปิดทำการตามเวลาของห้างสรรพสินค้า คือ
10.00 — 20.00 น. ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าเพิ่มธุรกรรมทางการเงินของสาขารูปแบบใหม่ไม่ต่ำกว่า 150 ธุรกรรม
ต่อคนต่อวัน และคาดว่าจะสามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ภายใน 3-5 ปี แต่หากไม่นับรวมกับเครื่องอัตโนมัติที่มีต้นทุนสูงและ
หักค่าเสื่อมจะมีจุดคุ้มทุนเพียง 1-2 ปี ด้าน นายเดชา ตุลานันท์ กก. รอง ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ใน
ปีนี้ธนาคารตั้งเป้าเปิดสาขาภายใต้แนวคิด Convenient Banking อีก 40 แห่ง โดยจะใช้เงินลงทุนประมาณ
สาขาละ 10 ล้านบาท เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าได้อย่างครบวงจร โดยจะขยายสาขาทั้งในกรุงเทพฯ
และต่างจังหวัด โดยต่างจังหวัดจะเน้นตั้งสาขาตามห้างสรรพสินค้าและมหาวิทยาลัย ซึ่งจะสามารถให้บริการด้านสิน
เชื่อแก่ลูกค้าด้วย (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ในเดือน มี.ค.48 รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 26 เม.ย.48 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านเดี่ยวใหม่ของ สรอ.ในเดือน มี.ค.48 มี
จำนวน 1.431 ล้านหลัง เพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.275 ล้านหลังในเดือนก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 สูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ก.ย.36 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 ตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะลดลงเหลือ
จำนวน 1.195 ล้านหลังจากจำนวน 1.226 ล้านหลังในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ที่เพิ่มขึ้น
ในเดือน มี.ค. เป็นผลจากการที่ยอดขายเพิ่มขึ้นในทุกภาคของประเทศ โดยยอดขายในภาคตะวันตกกลางเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 21.9 ภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ภาคตะวันตกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลง
ร้อยละ 8.9 อนึ่ง ภาคอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ บรรดานักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ต่างแสดงความเห็น
ว่ายอดขายบ้านในปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน เนื่องจากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.
ประกอบกับความต้องการบ้านที่เพิ่มขึ้น เห็นได้จากยอดขายบ้านใหม่ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 48 ซึ่งสูงกว่าช่วง
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.2 อย่างไรก็ตาม ความต้องการขายบ้านในเดือน มี.ค. อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ลดลงร้อย
ละ 16.3 จากเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงในอัตราสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.พ.39 ซึ่งลดลงร้อยละ 17.2 ขณะที่
ราคาขายบ้านใหม่เฉลี่ยก็ลดลงเช่นกันเป็นจำนวน 212,300 ดอลลาร์ สรอ.ต่อหลัง จาก 234,100 ดอลลาร์
สรอ.ต่อหลังในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ผลสำรวจคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Eurozone ในเดือน เม.ย.48 จะ
คงที่ที่ร้อยละ 2.1 หรือลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบต่อปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 26 เม.ย.48 ผลสำรวจความเห็น
ของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของ Eurozone ในเดือน เม.ย.48 จะคงที่ที่ร้อย
ละ 2.1 ต่อปีหรือลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบต่อปี โดยก่อนหน้านี้ สนง.สถิติกลางของเยอรมนีคาดว่าดัชนีราคาผู้
บริโภคของเยอรมนีซึ่งใช้วิธีคำนวณเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ใน Eurozone สำหรับเดือน เม.ย. 48 จะลดลง
ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน จากที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีแล้ว คาดว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Eurozone จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 1.4 ใน
เดือน เม.ย.48 จากร้อยละ 1.7 ในเดือน มี.ค.48 ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากผลสำรวจโดย
รอยเตอร์ ทั้งนี้ สนง.สถิติกลางของเยอรมนีมีกำหนดจะรายงานสรุปตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน เม.
ย.48 ในกลางเดือน พ.ค.48 นี้ ในขณะที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของฝรั่งเศสซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ
ที่ 2 รองจากเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของ Eurozone อาจลด
ลงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีซึ่งเป็นเพดานที่ ธ.กลางยุโรป หรือ ECB ตั้งเป้าไว้ เนื่องจากเป็นช่วงที่
ราคาอาหารในเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ ใน Eurozone มีราคาลดลงแม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นก็ตาม นอกจากนี้
ยังคาดว่าเป็นผลจากราคาแพ็กเก็จท่องเที่ยวที่ลดลงจากเดือนก่อนเนื่องจากเทศกาลอีสเตอร์ในปีนี้มาถึงเร็วกว่าปี
ก่อนโดยตกอยู่ในช่วงเดือน มี.ค. (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือนเม.ย.ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย. ดัชนีราคาผู้
บริโภค (Consumer Price Index - CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 0.3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่
แล้ว ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อต่อปีลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 โดยราคาพลังงานและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่
ต้นทุน package holiday ลดลงร้อยละ 6.3 จากช่วงเดืยวกันปีที่แล้ว และลดลงร้อยละ 10.0 จากเดือนก่อน
สาเหตุจากผลกระทบทางฤดูกาล สำหรับ CPI ในเดือนเม.ย. ที่คำนวณตามมาตรฐานยุโรป (HICP) ลดลงร้อย
ละ 0.1 จากเดือนที่แล้วทำให้อัตราเงินเฟ้อต่อปีลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 จากร้อยละ 1.7 ในเดือนมี.ค. 47
อย่างไรก็ตามตัวเลข CPI ล่าสุดในเดือนเม.ย. ของเยอรมนีมีกำหนดจะเปิดเผยอย่างเป็นทางการ กลางเดือนพ.
ค.นี้ (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.48 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 26 เม.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า The nationwide core CPI ซึ่งไม่รวมถึงราคาอาหาร
และพลังงานในปีงบประมาณ 47/48 สิ้นสุดเดือน มี.ค.48 ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 7 ที่ร้อยละ 0.2 จากปีงบ
ประมาณก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่า
จะลดลงร้อยละ 0.4 แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้นักเศรษฐศาสตร์มั่นใจว่า ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจรอบครึ่งปีของ
ธ.กลางญี่ปุ่นที่จะเผยแพร่ในวันพฤหัสบดีนี้จะมีการปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจสำหรับปีงบประมาณ 48/49 ลง
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ตัวเลข CPI ล่าสุด แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นยังคงประสบกับภาวะเงินฝืด
ต่อไปอีกระยะหนึ่ง และการสิ้นสุดของภาวะเงินฝืดในปีงบประมาณนี้ คงต้องรอดูอีกยาวนาน อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง
ญี่ปุ่นให้คำมั่นว่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายที่ดำเนินมา 4 ปีก่อนจนกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเริ่ม
สูงขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 เม.ย. 48 26 เม.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.471 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.2589/39.5495 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.2500 - 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 662.13/14.02 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,050/8,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 47.29 46.94 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 23.24*/18.19** 22.89/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 35 สตางค์ เมื่อ 26 เม.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. คาดว่าผู้ประกอบการสินเชื่อบุคคลจะลดลงหาก ก.คลังอนุมัติให้ ธปท. เข้าควบคุม นายสามารถ
บูรณวัฒนาโชค ผอ.อาวุโส ฝ่ายความเสี่ยงและวิเคราะห์ ธปท. เปิดเผยว่า หาก ก.คลังอนุมัติให้ ธปท. สามารถ
เข้าไปควบคุมผู้ประกอบกิจการสินเชื่อบุคคลในส่วนของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) โดยการแก้ไข
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (ปว.58) ได้ เชื่อว่าในอนาคตจะมีผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหม่เข้ามา
ดำเนินการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการจะถูกจำกัดขอบเขตการดำเนินธุรกิจ โดย ธปท. จะ
ออกมาตรการควบคุมเพดานดอกเบี้ยและวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน ซึ่งการเข้ามาดูแลของ ธปท.
จะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมีการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังมากขึ้นเพราะมีการจำกัดวงเงินกู้ ทั้งนี้ หลังจาก
จัดระเบียบแล้วเชื่อว่าในระยะต่อไปจะทำให้เงินกู้นอกระบบลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ธปท. เห็นว่าการที่มีผู้
ประกอบการธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในตลาดมากรายจะส่งผลให้เกิดภาวะการแข่งขันที่รุนแรงทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ
ลงเป็นผลดีต่อผู้บริโภค แต่หากมีผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมากเกินไป ธปท. ก็จำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อจำกัดผู้
ประกอบการรายใหม่ในอนาคต ส่วนการที่ไม่ได้กำหนดฐานเงินเดือนขั้นต่ำของผู้กู้เนื่องจากเห็นว่าสินเชื่อดังกล่าว
มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มากกว่าสินเชื่อบัตรเครดิต (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
2. เช็คเด้งเดือน มี.ค. มีมูลค่าสูงถึง 1.14 หมื่นล้านบาท สายระบบการชำระเงิน ธปท. รายงาน
ว่า เดือน มี.ค.48 มีปริมาณการใช้เช็คมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2.45 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้มีเช็คคืนไม่มีเงินหรือเช็ค
เด้ง ทั้งสิ้น 1.3 แสนรายการ มูลค่ารวม 1.14 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.28 พันล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 จาก
เดือน ก.พ. ที่มีเช็คเด้ง 1.02 แสนรายการ มูลค่า 9.09 พันล้านบาท หรือร้อยละ 9 ของเช็คคืน ทั้งนี้ เช็คเด้ง
มูลค่า 1.14 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 8.58 หมื่นรายการ มูลค่า 8.7 พันล้านบาท
เช็คเด้งข้ามเขต 2.16 หมื่นรายการ มูลค่า 1.03 พันล้านบาท และเช็คเด้งในเขตภูมิภาค 2.34 หมื่นรายการ
มูลค่ารวม 1.68 พันล้านบาท สำหรับสาเหตุที่มีเช็คเด้งเพิ่มมากขึ้นส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการชะลอตัวลงของ
เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ แต่อีกส่วนมาจากภาพรวมมีปริมาณและมูลค่าการใช้เช็คเพิ่ม เพราะประชาชน
และนักธุรกิจมั่นใจในระบบชำระเงินด้วยเช็คเพิ่มขึ้น ส่วนการฟ้องร้องคดีความเกี่ยวกับเช็คขณะนี้ได้มีการแก้ไข
กฎหมายให้ไม่เป็นคดีอาญา แต่สามารถฟ้องเป็นคดีทางแพ่งเท่านั้น (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ไทยขาดดุลการค้าไตรมาสแรกปีนี้เกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รมช.
พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกในช่วง ม.ค.-มี.ค.48 ว่า มีมูลค่า 25,198.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.4 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 28,161.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 ทำให้ดุลการค้า
ขาดดุล 2,962.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงสูงถึงร้อยละ 63.7 คิดเป็นมูลค่า
4,416 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกันมีการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เคมี
ภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 คิดเป็นมูลค่า 12,494 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนสินค้าทุน เช่น
เครื่องจักร มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 คิดเป็นมูลค่า 7,857 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับการส่งออกเกือบ
ทุกรายการปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นสินค้าเกษตรบางรายการเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง เช่น ยางพารา ลดลงร้อยละ 2.4
มันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 16.4 ส่วนสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 สินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 มูลค่า 4,931 ล้านดอลลาร์ สรอ. เครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9
มูลค่า 3,319 ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาไทยจะขาดดุลติดต่อกัน แต่ไม่น่า
เป็นห่วงมากนัก เพราะการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเริ่มชะลอตัวลง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือตัวเลขการนำเข้าน้ำมัน
เชื้อเพลิงที่ยังสูงขึ้น (เดลินิวส์, ไทยรัฐ, บ้านเมือง)
4. ธ.พาณิชย์ไทยเปิดสาขารูปแบบใหม่เพิ่มศักยภาพการบริการ นางกนกศรี โรจน์เมธา ผช.กก.
ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย เปิดเผยว่า นโยบายการเปิดสาขาของธนาคารในปี 48 จะเน้นเปิดสาขาในห้างสรรพ
สินค้า ซึ่งเป็นรูปแบบ Modern Branch จำนวน 30 สาขา เน้นความทันสมัยและให้บริการเช่นเดียวกับสาขาทั่ว
ไป โดยจะเน้นการให้บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าการใช้พนักงาน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า
ธนาคารและบริษัทในเครือ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งจะเปิดทำการตามเวลาของห้างสรรพสินค้า คือ
10.00 — 20.00 น. ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าเพิ่มธุรกรรมทางการเงินของสาขารูปแบบใหม่ไม่ต่ำกว่า 150 ธุรกรรม
ต่อคนต่อวัน และคาดว่าจะสามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ภายใน 3-5 ปี แต่หากไม่นับรวมกับเครื่องอัตโนมัติที่มีต้นทุนสูงและ
หักค่าเสื่อมจะมีจุดคุ้มทุนเพียง 1-2 ปี ด้าน นายเดชา ตุลานันท์ กก. รอง ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ใน
ปีนี้ธนาคารตั้งเป้าเปิดสาขาภายใต้แนวคิด Convenient Banking อีก 40 แห่ง โดยจะใช้เงินลงทุนประมาณ
สาขาละ 10 ล้านบาท เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าได้อย่างครบวงจร โดยจะขยายสาขาทั้งในกรุงเทพฯ
และต่างจังหวัด โดยต่างจังหวัดจะเน้นตั้งสาขาตามห้างสรรพสินค้าและมหาวิทยาลัย ซึ่งจะสามารถให้บริการด้านสิน
เชื่อแก่ลูกค้าด้วย (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ในเดือน มี.ค.48 รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 26 เม.ย.48 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านเดี่ยวใหม่ของ สรอ.ในเดือน มี.ค.48 มี
จำนวน 1.431 ล้านหลัง เพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.275 ล้านหลังในเดือนก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 สูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ก.ย.36 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 ตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะลดลงเหลือ
จำนวน 1.195 ล้านหลังจากจำนวน 1.226 ล้านหลังในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ที่เพิ่มขึ้น
ในเดือน มี.ค. เป็นผลจากการที่ยอดขายเพิ่มขึ้นในทุกภาคของประเทศ โดยยอดขายในภาคตะวันตกกลางเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 21.9 ภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ภาคตะวันตกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลง
ร้อยละ 8.9 อนึ่ง ภาคอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ บรรดานักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ต่างแสดงความเห็น
ว่ายอดขายบ้านในปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน เนื่องจากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.
ประกอบกับความต้องการบ้านที่เพิ่มขึ้น เห็นได้จากยอดขายบ้านใหม่ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 48 ซึ่งสูงกว่าช่วง
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.2 อย่างไรก็ตาม ความต้องการขายบ้านในเดือน มี.ค. อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ลดลงร้อย
ละ 16.3 จากเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงในอัตราสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.พ.39 ซึ่งลดลงร้อยละ 17.2 ขณะที่
ราคาขายบ้านใหม่เฉลี่ยก็ลดลงเช่นกันเป็นจำนวน 212,300 ดอลลาร์ สรอ.ต่อหลัง จาก 234,100 ดอลลาร์
สรอ.ต่อหลังในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ผลสำรวจคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Eurozone ในเดือน เม.ย.48 จะ
คงที่ที่ร้อยละ 2.1 หรือลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบต่อปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 26 เม.ย.48 ผลสำรวจความเห็น
ของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของ Eurozone ในเดือน เม.ย.48 จะคงที่ที่ร้อย
ละ 2.1 ต่อปีหรือลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบต่อปี โดยก่อนหน้านี้ สนง.สถิติกลางของเยอรมนีคาดว่าดัชนีราคาผู้
บริโภคของเยอรมนีซึ่งใช้วิธีคำนวณเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ใน Eurozone สำหรับเดือน เม.ย. 48 จะลดลง
ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน จากที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีแล้ว คาดว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Eurozone จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 1.4 ใน
เดือน เม.ย.48 จากร้อยละ 1.7 ในเดือน มี.ค.48 ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากผลสำรวจโดย
รอยเตอร์ ทั้งนี้ สนง.สถิติกลางของเยอรมนีมีกำหนดจะรายงานสรุปตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน เม.
ย.48 ในกลางเดือน พ.ค.48 นี้ ในขณะที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของฝรั่งเศสซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ
ที่ 2 รองจากเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของ Eurozone อาจลด
ลงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีซึ่งเป็นเพดานที่ ธ.กลางยุโรป หรือ ECB ตั้งเป้าไว้ เนื่องจากเป็นช่วงที่
ราคาอาหารในเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ ใน Eurozone มีราคาลดลงแม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นก็ตาม นอกจากนี้
ยังคาดว่าเป็นผลจากราคาแพ็กเก็จท่องเที่ยวที่ลดลงจากเดือนก่อนเนื่องจากเทศกาลอีสเตอร์ในปีนี้มาถึงเร็วกว่าปี
ก่อนโดยตกอยู่ในช่วงเดือน มี.ค. (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือนเม.ย.ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย. ดัชนีราคาผู้
บริโภค (Consumer Price Index - CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 0.3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่
แล้ว ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อต่อปีลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 โดยราคาพลังงานและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่
ต้นทุน package holiday ลดลงร้อยละ 6.3 จากช่วงเดืยวกันปีที่แล้ว และลดลงร้อยละ 10.0 จากเดือนก่อน
สาเหตุจากผลกระทบทางฤดูกาล สำหรับ CPI ในเดือนเม.ย. ที่คำนวณตามมาตรฐานยุโรป (HICP) ลดลงร้อย
ละ 0.1 จากเดือนที่แล้วทำให้อัตราเงินเฟ้อต่อปีลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 จากร้อยละ 1.7 ในเดือนมี.ค. 47
อย่างไรก็ตามตัวเลข CPI ล่าสุดในเดือนเม.ย. ของเยอรมนีมีกำหนดจะเปิดเผยอย่างเป็นทางการ กลางเดือนพ.
ค.นี้ (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.48 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 26 เม.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า The nationwide core CPI ซึ่งไม่รวมถึงราคาอาหาร
และพลังงานในปีงบประมาณ 47/48 สิ้นสุดเดือน มี.ค.48 ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 7 ที่ร้อยละ 0.2 จากปีงบ
ประมาณก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่า
จะลดลงร้อยละ 0.4 แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้นักเศรษฐศาสตร์มั่นใจว่า ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจรอบครึ่งปีของ
ธ.กลางญี่ปุ่นที่จะเผยแพร่ในวันพฤหัสบดีนี้จะมีการปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจสำหรับปีงบประมาณ 48/49 ลง
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ตัวเลข CPI ล่าสุด แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นยังคงประสบกับภาวะเงินฝืด
ต่อไปอีกระยะหนึ่ง และการสิ้นสุดของภาวะเงินฝืดในปีงบประมาณนี้ คงต้องรอดูอีกยาวนาน อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง
ญี่ปุ่นให้คำมั่นว่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายที่ดำเนินมา 4 ปีก่อนจนกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเริ่ม
สูงขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 เม.ย. 48 26 เม.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.471 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.2589/39.5495 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.2500 - 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 662.13/14.02 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,050/8,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 47.29 46.94 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 23.24*/18.19** 22.89/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 35 สตางค์ เมื่อ 26 เม.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--