แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 26 - 31 ส.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การ สะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,068.89 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 454.44 ตัน สัตว์น้ำจืด 614.46 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.33 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.01 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 82.80 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.29 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 28.74 ตัน
การตลาด
สหภาพยุโรปยอมลดภาษีนำเข้ากุ้ง
นายฟิลลิป คลูชชั่น ผู้แทนคณะกรรมาธิการด้านการค้าของสหภาพยุโรป(อียู) กล่าวถึงการคืนสิทธิพิเศษ ทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) ให้กับประเทศไทยว่า ขณะนี้ได้ตกลงที่จะใช้มาตรการพิเศษในการลดภาษี นำเข้ากุ้งจากทุกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ นี้เช่นกันโดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมถึงวันที่ 31 ธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ภายหลังวันที่ 1 มกราคม 2549 ประเทศเหล่านี้ก็ยังคงได้รับการคืนสิทธิพิเศษจีเอสพี ตามเดิม โดยกุ้งแช่เย็นแช่แข็งจะได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าเป็น 4.2 % จากอัตราปกติ 12 % และกุ้งปรุงแต่งได้รับการลดหย่อนเป็น 7 % จากเดิม 20 % นอกจากนี้จะไม่มีการจำกัดปริมาณ โควต้าการนำเข้าด้วย สหภาพยุโรป(อียู) เป็นผู้บริโภคกุ้งรายใหญ่และต้องนำเข้าสินค้ากุ้งในปริมาณ มาก ดังนั้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคและหลีกเลี่ยงความสะดวก ทางการค้าที่อาจ เกิดขึ้น อียูจึงตัดสินใจนำมาตรการพิเศษมาใช้ก่อนกำหนด ซึ่งสินค้าไทยที่จะได้รับประโยชน์จากระบบ จีเอสพีนี้ เช่น สินค้าประมง อาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูป ปลาทูน่ากระป๋อง พลาสติก ยาง ผลิตภัณฑ์ รองเท้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ด้านนาย พูนเกียรติ ทังสมบัติ อุปนายกกลุ่มผู้ผลิตอาหารทะเล กระป๋องกล่าวว่า ปัจจุบันผู้ส่งออกสินค้าของไทยไปอียูกำลังประสบปัญหาเรื่องภาษีจีเอสพี และราคา น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นมาก ดังนั้น การที่อียูประกาศ มาตรการพิเศษลดภาษีนำเข้ากุ้งครั้งนี้ น่าจะลดปัญหาของผู้ส่งออกได้ระดับหนึ่ง แต่เพื่อเป็นการแก้ ปัญหาการส่งออกที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ประกอบการของไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการ ส่งสินค้าไปอียู เนื่องจากอียูมีความ เข้มงวดในการตรวจสอบสารตกค้างในโตรฟูแรนส์ และคลอแรม ฟินิคอลในกุ้งของไทยแบบ 100 %
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 64.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.00 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 94.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 147.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.96 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 27.22 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.17 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 45.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.17 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 119.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.83 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.50 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 4.63 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวัน ที่ 5 — 9 ก.ย. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 5-11 กันยายน 2548--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 26 - 31 ส.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การ สะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,068.89 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 454.44 ตัน สัตว์น้ำจืด 614.46 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.33 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.01 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 82.80 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.29 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 28.74 ตัน
การตลาด
สหภาพยุโรปยอมลดภาษีนำเข้ากุ้ง
นายฟิลลิป คลูชชั่น ผู้แทนคณะกรรมาธิการด้านการค้าของสหภาพยุโรป(อียู) กล่าวถึงการคืนสิทธิพิเศษ ทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) ให้กับประเทศไทยว่า ขณะนี้ได้ตกลงที่จะใช้มาตรการพิเศษในการลดภาษี นำเข้ากุ้งจากทุกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ นี้เช่นกันโดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมถึงวันที่ 31 ธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ภายหลังวันที่ 1 มกราคม 2549 ประเทศเหล่านี้ก็ยังคงได้รับการคืนสิทธิพิเศษจีเอสพี ตามเดิม โดยกุ้งแช่เย็นแช่แข็งจะได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าเป็น 4.2 % จากอัตราปกติ 12 % และกุ้งปรุงแต่งได้รับการลดหย่อนเป็น 7 % จากเดิม 20 % นอกจากนี้จะไม่มีการจำกัดปริมาณ โควต้าการนำเข้าด้วย สหภาพยุโรป(อียู) เป็นผู้บริโภคกุ้งรายใหญ่และต้องนำเข้าสินค้ากุ้งในปริมาณ มาก ดังนั้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคและหลีกเลี่ยงความสะดวก ทางการค้าที่อาจ เกิดขึ้น อียูจึงตัดสินใจนำมาตรการพิเศษมาใช้ก่อนกำหนด ซึ่งสินค้าไทยที่จะได้รับประโยชน์จากระบบ จีเอสพีนี้ เช่น สินค้าประมง อาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูป ปลาทูน่ากระป๋อง พลาสติก ยาง ผลิตภัณฑ์ รองเท้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ด้านนาย พูนเกียรติ ทังสมบัติ อุปนายกกลุ่มผู้ผลิตอาหารทะเล กระป๋องกล่าวว่า ปัจจุบันผู้ส่งออกสินค้าของไทยไปอียูกำลังประสบปัญหาเรื่องภาษีจีเอสพี และราคา น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นมาก ดังนั้น การที่อียูประกาศ มาตรการพิเศษลดภาษีนำเข้ากุ้งครั้งนี้ น่าจะลดปัญหาของผู้ส่งออกได้ระดับหนึ่ง แต่เพื่อเป็นการแก้ ปัญหาการส่งออกที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ประกอบการของไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการ ส่งสินค้าไปอียู เนื่องจากอียูมีความ เข้มงวดในการตรวจสอบสารตกค้างในโตรฟูแรนส์ และคลอแรม ฟินิคอลในกุ้งของไทยแบบ 100 %
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 64.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.00 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 94.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 147.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.96 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 27.22 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.17 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 45.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.17 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 119.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.83 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.50 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 4.63 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวัน ที่ 5 — 9 ก.ย. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 5-11 กันยายน 2548--
-พห-