แท็ก
โลกาภิวัฒน์
กระบวนทัศน์ในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมา เป็นกระบวนการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการสร้างความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ้างถึงความเจริญและความมั่งคั่ง ตามกระแสการบริโภคนิยมที่ผูกติดมากับโลกาภิวัฒน์ ทำให้ความสำเร็จในการพัฒนาถูกกำหนดด้วยตัวชี้วัดในเชิงตัวเลขเพื่อวัดความสามารถและศักยภาพของบุคคลในทุกระดับ กระบวนทัศน์ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในระดับฐานรากที่แข็งแรงไม่เพียงพอต่อการรองรับความใหญ่โตของส่วนอื่นที่มีอยู่บนฐานนั้น เป็นเหตุให้ผลผลิตของกระบวนการพัฒนาต้องล่มสลายลงไปเป็นจำนวนมาก ประเด็นเชิงยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมา จึงต้องมีการทบทวนกระบวนการทั้งหมดอย่างเป็นองค์รวม โดยใช้อดีตเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เพื่อสืบหาข้อเท็จจริงและปรับกระบวนการพัฒนาให้หลุดพ้นจากวัฏจักรความล้มเหลวซ้ำซากต่อไป
วิสาหกิจชุมชนแบบองค์รวม
กระบวนทัศน์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมาอาจแบ่งแยกได้ว่า ผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามกระบวนการดังกล่าว มีลักษณะการมองวิสาหกิจชุมชนที่แตกต่างกันคือ
1. ลักษณะมองแบบแยกส่วน
เป็นการมองแบบแบ่งแยกวิสาหกิจชุมชนออกเป็นส่วนแยกย่อยตามองค์ประกอบของการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม เริ่มตั้งแต่เรื่องวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบริหารจัดการ ผลผลิต การขนส่ง การบริหารสินค้าคงคลัง การเงิน และการตลาด เป็นต้น การมองลักษณะนี้ถือว่าปัญหาของวิสาหกิจชุมชนเกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่ง การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจึงแก้ไขเฉพาะส่วนนั้นๆ โดยไม่เข้าใจถึงความเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม การแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อปัจจัยที่เชื่อมโยงกันทางด้านการสนับสนุนหรือขัดแย้งกันจนทำให้เกิดปัญหาใหม่อยู่เสมอๆ
2. ลักษณะมองแบบลดส่วน
เป็นการมองปรากฏการณ์ของวิสาหกิจชุมชนในกระบวนทางเศรษฐมิติเชิงตัวเลข หรือเป็นข้อมูลเชิงสถิติ โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่น หรือทำความเข้าใจในมิติอื่นที่มีผลกระทบต่อวิสาหกิจชุมชน การพยายามอธิบายปรากฏการณ์วิสาหกิจชุมชนในเชิงตัวเลข ทำให้มองข้ามปัจจัยทางธรรมชาติด้านองค์ประกอบของอุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่มาของตัวเลขเหล่านั้น
3. ลักษณะมองแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นการอธิบายธรรมชาติของกระบวนการพัฒนาด้วยกฏเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์แบบตายตัว และอธิบายเป็นกลไกการเกิดที่แน่นอน เช่น ธุรกิจไม่เติบโตเนื่องจากขายไม่ได้ ไม่มีตลาด ทั้งๆ ที่มีปัจจัยด้านศิลปะที่มีความสัมพันธ์และมีส่วนร่วมของกระบวนการดังกล่าวอยู่มิใช่น้อย
การมองเห็นวิสาหกิจชุมชนแยกออกเป็นส่วนๆ ข้างต้น ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมองไม่เห็นถึงคุณค่าในมิติทางจิตวิญญาณของวิสาหกิจชุมชนที่มีพลวัตร มีความละเอียดอ่อนและมีชีวิตชีวา มิใช่มองเห็นวิสาหกิจชุมชนเป็นเรื่องของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ต้นทุน กำไร ฯลฯ ที่ไร้วิญญาณ ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดการทำลายการบูรณาการขององค์กร สังคม และธรรมชาติของมนุษย์ กลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่เอารัดเอาเปรียบกัน แสวงหาประโยชน์จากผู้ด้อยโอกาส เป็นสังคมบริโภคและแก่งแย่งแข่งขันในทางวัตถุ ขาดความจริงใจร่วมมือกันพัฒนาสังคมอุตสาหกรรมให้เป็นสังคมที่มีการอยู่ร่วมกัน แบ่งปัน และเอื้ออาทรซึ่งเป็นพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์
กระบวนทัศน์ใหม่จึงต้องเข้าใจ “วิสาหกิจชุมชนแบบองค์รวม” เข้าใจถึงการมีชีวิตชีวาตามธรรมชาติ มิใช่รูปแบบที่แข็งกระด้าง หรือมีแบบอย่างที่เหมือนกันทั้งหมด การคิดแบบองค์รวมเป็นระบบที่เชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชนสู่บริบทในระบบย่อย และระบบใหญ่ทั้งหมด ด้วยความเชื่อพื้นฐานที่ว่า ความเชื่อมโยงคือสภาวะที่องค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชนทุกส่วนมีความสัมพันธ์กันในบริบทที่ซับซ้อนกันไปมา และมีกระบวนการที่ต่อเนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลายในชุมชน
การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแบบแผนการปฏิบัติงานของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนข้างต้น ไม่ใช่ได้จากการอบรมหรือฟังบรรยาย ผู้ปฏิบัติงานจะต้องลงชุมชน เพื่อเรียนรู้สภาพชุมชนใหม่ในทุกมิติ ต้องมีจินตนาการใหม่ที่มิใช่การท่องตำรา การจดจำ หรือมองผ่านชุมชนอย่างผิวเผิน การเริ่มลงมือกระทำการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนร่วมกับชุมชนเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตและธรรมชาติของชุมชน และการสร้างแบบแผนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ชุมชนต้องการ
มีเหตุผลมากมายที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องการทำงานด้านวิสาหกิจชุมชนในชุมชน เช่น
1.1 เหตุผลเชิงระบบ เช่น ผู้บริหารไม่มั่นใจ ไม่เข้าใจ ไม่มีวิสัยทัศน์ หัวหน้าไม่สนับสนุน ระบบงานไม่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอเป็นต้น โดยเหตุที่งานชุมชนมีความซ้ำซ้อน ต้องใช้ระยะเวลานาน ไม่ตอบสนองต่อความรวดเร็ว ในการแสวงหาผลงานเสนอขอความดีความชอบต่อผู้บริหารระดับสูง
1.2 เหตุผลเชิงทักษะความสามารถที่จำเป็นและทัศนะคติของเจ้าหน้าที่ เช่น ลงชุมชนแล้วไม่ได้ผล ไม่สนุก ไม่มีเพื่อน ชุมชนตามไม่ทันในสิ่งที่ตนเองต้องการ และลงไปแล้วไม่รู้ว่าจะไปทำอะไร
จากเหตุผลดังกล่าวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจึงขาดจิตวิญญาณของนักพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การยึดติดกับรูปแบบกลไกที่มีขั้นตอนและแบบฟอร์มที่เป็นแนวทางวิทยาศาสตร์เพียงด้านเดียว ขาดการปรับใช้เครื่องมือต่างๆ ให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของแต่ละชุมชน ทำให้ผลการทำงานพัฒนาอุตสาหกรรมในชุมชนดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ปัญหาการทำงานลักษณะดังกล่าวนอกจากเหตุผลของผู้ปฏิบัติงานทั้ง 2 ข้อดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไม่ประสบผลเท่าที่ควร เนื่องมาจากผู้เกี่ยวข้อง
1. เห็นแค่ปัญหาไม่เห็นศักยภาพของชุมชน
การปฏิบัติงานในชุมชนมักเน้นการค้นหาปัญหาของอุตสาหกรรมชุมชนเป็นหลัก และพยายามหาหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยคิดว่าตนเองมีความเข้าใจ ทำให้มองไม่เห็นศักยภาพของชุมชน หากการปฏิบัติงานเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ความสามารถและภูมิปัญญาที่ชุมชนสามารถทำอะไรได้บ้าง จะทำให้ชุมชนเกิดพลังมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่รู้สึกหมดหวังและเกิดความยั่งยืนกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตของชุมชน
2. เห็นแต่ตัวเลขไม่เห็นความเป็นมนุษย์
การปฏิบัติงานในชุมชนมักเน้นการสำรวจและเก็บตัวข้อมูลทางสถิติเชิงตัวเลขเพียงด้านเดียว เช่น ขนาดการลงทุน ยอดขาย กำไร ต้นทุน และการจ้างงาน ทำให้ขาดการพิจารณาถึงองค์ประกอบที่สำคัญของอุตสาหกรรมชุมชนคือ “มนุษย์” ที่ต้องการสัมผัสที่ละเอียดอ่อนและมองเขาด้วยหัวใจ เพื่อรับรู้มิติความเป็นมนุษย์มากกว่ามิติตัวเลขที่ไม่มีจิตวิญญาณ
3. เน้นผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการเรียนรู้วิถีชุมชน
การเก็บข้อมูลอุตสาหกรรมชุมชนผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องมักสนใจแต่ข้อมูลเชิงผลลัพธ์และดำเนินการตามที่ได้วางแผนไว้เพื่อเสนอผู้บริหารในทุกระดับมากกว่าการเรียนรู้ข้อมูลเชิงวิถีอุตสาหกรรมชุมชน ทำให้ความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกับชุมชนไม่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะเป้าหมายผลลัพธ์ตัวเลขที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชุมชน ทำให้การพัฒนาไม่เกิดความยั่งยืน
ความผิดพลาดในการทำงานชุมชน
การประสบความล้มเหลวในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพราะมีความผิดพลาดจากจุดอ่อนดังกล่าวข้างต้น อาจสรุปรวมเรียกว่ามิจฉาทิฐิ 4 คือความเห็นหรือทฤษฎีที่ผิดพลาด 4 ประการ คือ
1. มิจฉาทิฐิที่มองวิสาหกิจชุมชนด้วยความว่างเปล่า
เป็นมุมมองที่มองวิสาหกิจชุมชน “เปรียบเสมือนกับภาชนะที่ว่างเปล่า” ชุมชนต้องขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการในทุกๆ ด้าน ชุมชนไม่มีศักยภาพ ไม่มีองค์ความรู้และภูมิปัญญา
2. มิจฉาทิฐิที่มองปัญหาวิสาหกิจชุมชนแบบแยกส่วน
มองไม่เห็นความเชื่อมโยงของระบบที่ต้องพึ่งพาและสอดประสานกัน ทั้งจากปัจจัยภายในชุมชนและปัจจัยภายนอก
3. มิจฉาทิฐิที่มองงานวิสาหกิจชุมชนเสมือนว่ามีองค์กรเดียว
มองไม่เห็นองค์กรอื่นภายในชุมชนมักคำนึงถึงความเป็นองค์เดียว โดยไม่ทำความเข้าใจกับงานขององค์กรอื่นที่ทำงานในชุมชน สำคัญว่าตนเท่านั้นที่เป็นผู้นำและอยู่เหนือกว่าองค์กรอื่น ไม่สนใจองค์กรเล็กๆ ที่เป็นพื้นฐานของชุมชน เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มสตรีพัฒนา หรือการรวมกลุ่มในลักษณะอื่น เป็นต้น
4. มิจฉาทิฐิที่มองวิสาหกิจชุมชนในทุกชุมชนเหมือนกันหมด
โดยทั่วไปมีรากฐานและความเชื่ออันมาจากแนวคิดที่ว่า “หากแผนงานใดประสบความสำเร็จในชุมชนหนึ่ง ก็สามารถนำไปขยายผลและดำเนินการในรูปแบบและวิธีการเดียวกันได้ในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ” ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ววิสาหกิจชุมชนในแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านวิถีชีวิต ศาสนา วัฒนธรรม องค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การค้นหาเอกลักษณ์และความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เพื่อแสวงหาวิสาหกิจชุมชนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน จะช่วยให้การทำงานได้รับความร่วมมือจากชุมชนและมีพลังในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนในที่สุด
ข้อเสนอแนะ
การทำงานในชุมชนเพื่อให้เกิดวิสาหกิจชุมชนควรที่จะต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น โดยใช้ปรัชญาการพัฒนาชนบทแบบองค์รวมยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองของขุมชนมากกว่าการมุ่งหวังความเจริญเติบโตทางวัตถุตามกระแสการบริโภคนิยม ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานใหม่ด้วยแนวคิด 4 ประการ คือ
1. Rethink คือ คิดใหม่ให้สามารถทำงานผสมผสานระหว่างความต้องการของหน่วยงาน และการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามที่ควรจะเป็น
2. Redesign คือ การนำเอาความคิดใหม่มาออกแบบระบบการทำงานใหม่ที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรและชุมชน
3. Retool คือ การสร้างเครื่องมือใหม่เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ตามแนวคิดใหม่
4. Retrain คือ การเข้ารับการฝึกทักษะหรือการศึกษาเอกสารความรู้ใหม่ๆ ที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จได้
1. ผลสัมฤทธิ์จาการฝึกอบรมตามวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์การสัมมนา ผลสัมฤทธิ์
1. เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1. สามารถสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง ผู้เข้ารับการฝึกอบรมกล้าแสดงออก
ที่จะเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนา ถึงเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจของตนเอง
ความคิดสร้างสรรค์ ในการแก้ไขปัญหาการ และประกาศให้สาธารณได้รับทราบ
ดำเนินธุรกิจของกลุ่มและตำบล
2. เพื่อสร้างเครือข่ายและขบวนการทางธุรกิจ 2. มีการจัดตั้งชมรมแปรรูปกล้วยตำบลหนองตูม
ให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งในด้านการจัดการ มีสมาชิกที่เป็นกลุ่มผู้ผลิตไม่น้อยกว่า 30 กลุ่ม
วัตถุดิบ จนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และมีการเก็บเงินกองทุนสมาชิกเดือนละ
โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่จะก่อให้เกิดความเข้มแข็ง 100 บาท ตลอดจนได้รับความสนับสนุน
แก่ชุมชน จาก อบต.หนองตูม และหน่วยงาน
ราชการอื่น
3. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดในการรับผิดชอบ 3. มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานของชมรม
ต่อธุรกิจของตนเองและตำบล โดยการกำหนด โดยมีเป้าหมายการกำหนดราคากลาง
เป้าหมายและแผนปฏิบัติการที่สอดประสานกัน 40 บาทต่อกิโลกรัม และการก่อสร้าง
ทั้งในระดับกลุ่มผู้ผลิตและระดับสังคม อาคารผลิตและกระจายสินค้าของตำบล
ที่ได้มาตรฐาน
2. การเปรียบเทียบยุทธวิธีการฝึกอบรมต่อเป้าหมายเชิงยุทธ
เป็นการใช้ยุทธวิธีผสมผสานระหว่างการเรียนรู้จากการจัดประสบการณ์ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม และกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อระดมความคิด โดยมีวิทยากรกระบวนการเป็นผู้กระตุ้นด้วยการตั้งคำถาม ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมสะท้อนประสบการณ์ของตนเองที่หลากหลายให้วิทยากรกระบวนการจัดให้ความคิดเหล่านี้เป็นความคิดเชิงระบบที่มีการเชื่อมโยงและเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ยุทธวิธี เป้าหมายองค์กร เปัหมายผู้เข้าร่วม
- แหวกม่านแหกกฎ - เปิดกรอบความคิด - เปิดกรอบความคิด
- ระดมความคิดภาพอดีต - เข้าใจสถานการณ์อดีตและ - ระลึกถึงอดีตเปรียบเทียบกับปัจจุบัน
ปัจจุบัน และอนาคต ปัจจุบัน เชื่อมโยงถึงอนาคต เชื่อมโยงอนาคตที่ต้องการ
-ระดมความคิดการกำหนด - เข้าใจเป้าหมายของกลุ่ม - ทราบทิศทางและเป้าหมาย
เป้าหมายของตนเองและตำบล และเป้าหมายร่วมของชุมชน ที่ทุกคนต้องการร่วมกัน
- ระดมความคิดจัดทำแผน - วางแนวทางสนับสนุนแผน - ทราบกิจกรรมที่ต้องรับผิดชอบ
ปฏิบัติการของตำบลและ ปฏิบัติงานของตำบล และความเชื่อมโยงกับกิจกรรมอื่น ๆ
มอบหมายผู้รับผิดชอบ
- การจัดประสบการณ์พัฒนา - ส่งเสริมความเชื่อมั่น - กล้าแสดงออกและเข้าใจถึงพลัง
ความเชื่อมั่นและความศรัทธา และศรัทธาของผู้เข้าร่วม ภายในตัวเองที่จะกระทำการใดๆ
ตนเองของผู้เข้าร่วมสัมมนา ให้สำเร็จตามที่ตนเองต้องการได้
3. ยุทธศาสตร์แนวคิดทิศทางการดำเนินการอย่างไร
เป็นพี่เลี้ยงให้กลุ่มผู้เข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อทบทวนและปรับแผนปฏิบัติงานและกิจกรรมตามที่ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น พร้อมทั้งการให้กำลังใจและทดสอบระดับความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเองเพื่อรักษาพลังขับเคลื่อนภายในไม่ให้ลดน้อยลง
4. สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ความสิ้นสุดการแก้ปัญหาคือจะดำเนินการอย่างไร ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุด ปัญหาที่แท้จริง คือการพยายามกำหนดนิยามและวิธีการแก้ปัญหาให้กับกลุ่ม ทั้งที่อาจจะตรงและไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง และบ่อยครั้งมักจะก่อให้เกิดปัญหาใหม่ทับถมปัญหาเดิมจนแก้ไขได้ยาก ในโลกแห่งความเป็นจริงความสิ้นสุดของปัญหาจึงไม่มีอยู่ในบุคคลหรือองค์กร การเชื่อมโยงและผลกระทบจากการแก้ปัญหาหนึ่งมักก่อให้เกิดปัญหาใหม่เสมอ การส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถค้นหาและใช้ศักยภาพของตนเองและชุมชนภายใต้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจนทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ใช่หวังความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเช่นปัจจุบัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
วิสาหกิจชุมชนแบบองค์รวม
กระบวนทัศน์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมาอาจแบ่งแยกได้ว่า ผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามกระบวนการดังกล่าว มีลักษณะการมองวิสาหกิจชุมชนที่แตกต่างกันคือ
1. ลักษณะมองแบบแยกส่วน
เป็นการมองแบบแบ่งแยกวิสาหกิจชุมชนออกเป็นส่วนแยกย่อยตามองค์ประกอบของการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม เริ่มตั้งแต่เรื่องวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบริหารจัดการ ผลผลิต การขนส่ง การบริหารสินค้าคงคลัง การเงิน และการตลาด เป็นต้น การมองลักษณะนี้ถือว่าปัญหาของวิสาหกิจชุมชนเกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่ง การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจึงแก้ไขเฉพาะส่วนนั้นๆ โดยไม่เข้าใจถึงความเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม การแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อปัจจัยที่เชื่อมโยงกันทางด้านการสนับสนุนหรือขัดแย้งกันจนทำให้เกิดปัญหาใหม่อยู่เสมอๆ
2. ลักษณะมองแบบลดส่วน
เป็นการมองปรากฏการณ์ของวิสาหกิจชุมชนในกระบวนทางเศรษฐมิติเชิงตัวเลข หรือเป็นข้อมูลเชิงสถิติ โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่น หรือทำความเข้าใจในมิติอื่นที่มีผลกระทบต่อวิสาหกิจชุมชน การพยายามอธิบายปรากฏการณ์วิสาหกิจชุมชนในเชิงตัวเลข ทำให้มองข้ามปัจจัยทางธรรมชาติด้านองค์ประกอบของอุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่มาของตัวเลขเหล่านั้น
3. ลักษณะมองแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นการอธิบายธรรมชาติของกระบวนการพัฒนาด้วยกฏเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์แบบตายตัว และอธิบายเป็นกลไกการเกิดที่แน่นอน เช่น ธุรกิจไม่เติบโตเนื่องจากขายไม่ได้ ไม่มีตลาด ทั้งๆ ที่มีปัจจัยด้านศิลปะที่มีความสัมพันธ์และมีส่วนร่วมของกระบวนการดังกล่าวอยู่มิใช่น้อย
การมองเห็นวิสาหกิจชุมชนแยกออกเป็นส่วนๆ ข้างต้น ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมองไม่เห็นถึงคุณค่าในมิติทางจิตวิญญาณของวิสาหกิจชุมชนที่มีพลวัตร มีความละเอียดอ่อนและมีชีวิตชีวา มิใช่มองเห็นวิสาหกิจชุมชนเป็นเรื่องของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ต้นทุน กำไร ฯลฯ ที่ไร้วิญญาณ ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดการทำลายการบูรณาการขององค์กร สังคม และธรรมชาติของมนุษย์ กลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่เอารัดเอาเปรียบกัน แสวงหาประโยชน์จากผู้ด้อยโอกาส เป็นสังคมบริโภคและแก่งแย่งแข่งขันในทางวัตถุ ขาดความจริงใจร่วมมือกันพัฒนาสังคมอุตสาหกรรมให้เป็นสังคมที่มีการอยู่ร่วมกัน แบ่งปัน และเอื้ออาทรซึ่งเป็นพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์
กระบวนทัศน์ใหม่จึงต้องเข้าใจ “วิสาหกิจชุมชนแบบองค์รวม” เข้าใจถึงการมีชีวิตชีวาตามธรรมชาติ มิใช่รูปแบบที่แข็งกระด้าง หรือมีแบบอย่างที่เหมือนกันทั้งหมด การคิดแบบองค์รวมเป็นระบบที่เชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชนสู่บริบทในระบบย่อย และระบบใหญ่ทั้งหมด ด้วยความเชื่อพื้นฐานที่ว่า ความเชื่อมโยงคือสภาวะที่องค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชนทุกส่วนมีความสัมพันธ์กันในบริบทที่ซับซ้อนกันไปมา และมีกระบวนการที่ต่อเนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลายในชุมชน
การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแบบแผนการปฏิบัติงานของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนข้างต้น ไม่ใช่ได้จากการอบรมหรือฟังบรรยาย ผู้ปฏิบัติงานจะต้องลงชุมชน เพื่อเรียนรู้สภาพชุมชนใหม่ในทุกมิติ ต้องมีจินตนาการใหม่ที่มิใช่การท่องตำรา การจดจำ หรือมองผ่านชุมชนอย่างผิวเผิน การเริ่มลงมือกระทำการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนร่วมกับชุมชนเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตและธรรมชาติของชุมชน และการสร้างแบบแผนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ชุมชนต้องการ
มีเหตุผลมากมายที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องการทำงานด้านวิสาหกิจชุมชนในชุมชน เช่น
1.1 เหตุผลเชิงระบบ เช่น ผู้บริหารไม่มั่นใจ ไม่เข้าใจ ไม่มีวิสัยทัศน์ หัวหน้าไม่สนับสนุน ระบบงานไม่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอเป็นต้น โดยเหตุที่งานชุมชนมีความซ้ำซ้อน ต้องใช้ระยะเวลานาน ไม่ตอบสนองต่อความรวดเร็ว ในการแสวงหาผลงานเสนอขอความดีความชอบต่อผู้บริหารระดับสูง
1.2 เหตุผลเชิงทักษะความสามารถที่จำเป็นและทัศนะคติของเจ้าหน้าที่ เช่น ลงชุมชนแล้วไม่ได้ผล ไม่สนุก ไม่มีเพื่อน ชุมชนตามไม่ทันในสิ่งที่ตนเองต้องการ และลงไปแล้วไม่รู้ว่าจะไปทำอะไร
จากเหตุผลดังกล่าวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจึงขาดจิตวิญญาณของนักพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การยึดติดกับรูปแบบกลไกที่มีขั้นตอนและแบบฟอร์มที่เป็นแนวทางวิทยาศาสตร์เพียงด้านเดียว ขาดการปรับใช้เครื่องมือต่างๆ ให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของแต่ละชุมชน ทำให้ผลการทำงานพัฒนาอุตสาหกรรมในชุมชนดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ปัญหาการทำงานลักษณะดังกล่าวนอกจากเหตุผลของผู้ปฏิบัติงานทั้ง 2 ข้อดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไม่ประสบผลเท่าที่ควร เนื่องมาจากผู้เกี่ยวข้อง
1. เห็นแค่ปัญหาไม่เห็นศักยภาพของชุมชน
การปฏิบัติงานในชุมชนมักเน้นการค้นหาปัญหาของอุตสาหกรรมชุมชนเป็นหลัก และพยายามหาหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยคิดว่าตนเองมีความเข้าใจ ทำให้มองไม่เห็นศักยภาพของชุมชน หากการปฏิบัติงานเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ความสามารถและภูมิปัญญาที่ชุมชนสามารถทำอะไรได้บ้าง จะทำให้ชุมชนเกิดพลังมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่รู้สึกหมดหวังและเกิดความยั่งยืนกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตของชุมชน
2. เห็นแต่ตัวเลขไม่เห็นความเป็นมนุษย์
การปฏิบัติงานในชุมชนมักเน้นการสำรวจและเก็บตัวข้อมูลทางสถิติเชิงตัวเลขเพียงด้านเดียว เช่น ขนาดการลงทุน ยอดขาย กำไร ต้นทุน และการจ้างงาน ทำให้ขาดการพิจารณาถึงองค์ประกอบที่สำคัญของอุตสาหกรรมชุมชนคือ “มนุษย์” ที่ต้องการสัมผัสที่ละเอียดอ่อนและมองเขาด้วยหัวใจ เพื่อรับรู้มิติความเป็นมนุษย์มากกว่ามิติตัวเลขที่ไม่มีจิตวิญญาณ
3. เน้นผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการเรียนรู้วิถีชุมชน
การเก็บข้อมูลอุตสาหกรรมชุมชนผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องมักสนใจแต่ข้อมูลเชิงผลลัพธ์และดำเนินการตามที่ได้วางแผนไว้เพื่อเสนอผู้บริหารในทุกระดับมากกว่าการเรียนรู้ข้อมูลเชิงวิถีอุตสาหกรรมชุมชน ทำให้ความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกับชุมชนไม่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะเป้าหมายผลลัพธ์ตัวเลขที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชุมชน ทำให้การพัฒนาไม่เกิดความยั่งยืน
ความผิดพลาดในการทำงานชุมชน
การประสบความล้มเหลวในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพราะมีความผิดพลาดจากจุดอ่อนดังกล่าวข้างต้น อาจสรุปรวมเรียกว่ามิจฉาทิฐิ 4 คือความเห็นหรือทฤษฎีที่ผิดพลาด 4 ประการ คือ
1. มิจฉาทิฐิที่มองวิสาหกิจชุมชนด้วยความว่างเปล่า
เป็นมุมมองที่มองวิสาหกิจชุมชน “เปรียบเสมือนกับภาชนะที่ว่างเปล่า” ชุมชนต้องขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการในทุกๆ ด้าน ชุมชนไม่มีศักยภาพ ไม่มีองค์ความรู้และภูมิปัญญา
2. มิจฉาทิฐิที่มองปัญหาวิสาหกิจชุมชนแบบแยกส่วน
มองไม่เห็นความเชื่อมโยงของระบบที่ต้องพึ่งพาและสอดประสานกัน ทั้งจากปัจจัยภายในชุมชนและปัจจัยภายนอก
3. มิจฉาทิฐิที่มองงานวิสาหกิจชุมชนเสมือนว่ามีองค์กรเดียว
มองไม่เห็นองค์กรอื่นภายในชุมชนมักคำนึงถึงความเป็นองค์เดียว โดยไม่ทำความเข้าใจกับงานขององค์กรอื่นที่ทำงานในชุมชน สำคัญว่าตนเท่านั้นที่เป็นผู้นำและอยู่เหนือกว่าองค์กรอื่น ไม่สนใจองค์กรเล็กๆ ที่เป็นพื้นฐานของชุมชน เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มสตรีพัฒนา หรือการรวมกลุ่มในลักษณะอื่น เป็นต้น
4. มิจฉาทิฐิที่มองวิสาหกิจชุมชนในทุกชุมชนเหมือนกันหมด
โดยทั่วไปมีรากฐานและความเชื่ออันมาจากแนวคิดที่ว่า “หากแผนงานใดประสบความสำเร็จในชุมชนหนึ่ง ก็สามารถนำไปขยายผลและดำเนินการในรูปแบบและวิธีการเดียวกันได้ในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ” ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ววิสาหกิจชุมชนในแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านวิถีชีวิต ศาสนา วัฒนธรรม องค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การค้นหาเอกลักษณ์และความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เพื่อแสวงหาวิสาหกิจชุมชนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน จะช่วยให้การทำงานได้รับความร่วมมือจากชุมชนและมีพลังในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนในที่สุด
ข้อเสนอแนะ
การทำงานในชุมชนเพื่อให้เกิดวิสาหกิจชุมชนควรที่จะต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น โดยใช้ปรัชญาการพัฒนาชนบทแบบองค์รวมยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองของขุมชนมากกว่าการมุ่งหวังความเจริญเติบโตทางวัตถุตามกระแสการบริโภคนิยม ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานใหม่ด้วยแนวคิด 4 ประการ คือ
1. Rethink คือ คิดใหม่ให้สามารถทำงานผสมผสานระหว่างความต้องการของหน่วยงาน และการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามที่ควรจะเป็น
2. Redesign คือ การนำเอาความคิดใหม่มาออกแบบระบบการทำงานใหม่ที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรและชุมชน
3. Retool คือ การสร้างเครื่องมือใหม่เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ตามแนวคิดใหม่
4. Retrain คือ การเข้ารับการฝึกทักษะหรือการศึกษาเอกสารความรู้ใหม่ๆ ที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จได้
1. ผลสัมฤทธิ์จาการฝึกอบรมตามวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์การสัมมนา ผลสัมฤทธิ์
1. เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1. สามารถสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง ผู้เข้ารับการฝึกอบรมกล้าแสดงออก
ที่จะเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนา ถึงเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจของตนเอง
ความคิดสร้างสรรค์ ในการแก้ไขปัญหาการ และประกาศให้สาธารณได้รับทราบ
ดำเนินธุรกิจของกลุ่มและตำบล
2. เพื่อสร้างเครือข่ายและขบวนการทางธุรกิจ 2. มีการจัดตั้งชมรมแปรรูปกล้วยตำบลหนองตูม
ให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งในด้านการจัดการ มีสมาชิกที่เป็นกลุ่มผู้ผลิตไม่น้อยกว่า 30 กลุ่ม
วัตถุดิบ จนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และมีการเก็บเงินกองทุนสมาชิกเดือนละ
โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่จะก่อให้เกิดความเข้มแข็ง 100 บาท ตลอดจนได้รับความสนับสนุน
แก่ชุมชน จาก อบต.หนองตูม และหน่วยงาน
ราชการอื่น
3. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดในการรับผิดชอบ 3. มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานของชมรม
ต่อธุรกิจของตนเองและตำบล โดยการกำหนด โดยมีเป้าหมายการกำหนดราคากลาง
เป้าหมายและแผนปฏิบัติการที่สอดประสานกัน 40 บาทต่อกิโลกรัม และการก่อสร้าง
ทั้งในระดับกลุ่มผู้ผลิตและระดับสังคม อาคารผลิตและกระจายสินค้าของตำบล
ที่ได้มาตรฐาน
2. การเปรียบเทียบยุทธวิธีการฝึกอบรมต่อเป้าหมายเชิงยุทธ
เป็นการใช้ยุทธวิธีผสมผสานระหว่างการเรียนรู้จากการจัดประสบการณ์ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม และกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อระดมความคิด โดยมีวิทยากรกระบวนการเป็นผู้กระตุ้นด้วยการตั้งคำถาม ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมสะท้อนประสบการณ์ของตนเองที่หลากหลายให้วิทยากรกระบวนการจัดให้ความคิดเหล่านี้เป็นความคิดเชิงระบบที่มีการเชื่อมโยงและเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ยุทธวิธี เป้าหมายองค์กร เปัหมายผู้เข้าร่วม
- แหวกม่านแหกกฎ - เปิดกรอบความคิด - เปิดกรอบความคิด
- ระดมความคิดภาพอดีต - เข้าใจสถานการณ์อดีตและ - ระลึกถึงอดีตเปรียบเทียบกับปัจจุบัน
ปัจจุบัน และอนาคต ปัจจุบัน เชื่อมโยงถึงอนาคต เชื่อมโยงอนาคตที่ต้องการ
-ระดมความคิดการกำหนด - เข้าใจเป้าหมายของกลุ่ม - ทราบทิศทางและเป้าหมาย
เป้าหมายของตนเองและตำบล และเป้าหมายร่วมของชุมชน ที่ทุกคนต้องการร่วมกัน
- ระดมความคิดจัดทำแผน - วางแนวทางสนับสนุนแผน - ทราบกิจกรรมที่ต้องรับผิดชอบ
ปฏิบัติการของตำบลและ ปฏิบัติงานของตำบล และความเชื่อมโยงกับกิจกรรมอื่น ๆ
มอบหมายผู้รับผิดชอบ
- การจัดประสบการณ์พัฒนา - ส่งเสริมความเชื่อมั่น - กล้าแสดงออกและเข้าใจถึงพลัง
ความเชื่อมั่นและความศรัทธา และศรัทธาของผู้เข้าร่วม ภายในตัวเองที่จะกระทำการใดๆ
ตนเองของผู้เข้าร่วมสัมมนา ให้สำเร็จตามที่ตนเองต้องการได้
3. ยุทธศาสตร์แนวคิดทิศทางการดำเนินการอย่างไร
เป็นพี่เลี้ยงให้กลุ่มผู้เข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อทบทวนและปรับแผนปฏิบัติงานและกิจกรรมตามที่ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น พร้อมทั้งการให้กำลังใจและทดสอบระดับความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเองเพื่อรักษาพลังขับเคลื่อนภายในไม่ให้ลดน้อยลง
4. สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ความสิ้นสุดการแก้ปัญหาคือจะดำเนินการอย่างไร ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุด ปัญหาที่แท้จริง คือการพยายามกำหนดนิยามและวิธีการแก้ปัญหาให้กับกลุ่ม ทั้งที่อาจจะตรงและไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง และบ่อยครั้งมักจะก่อให้เกิดปัญหาใหม่ทับถมปัญหาเดิมจนแก้ไขได้ยาก ในโลกแห่งความเป็นจริงความสิ้นสุดของปัญหาจึงไม่มีอยู่ในบุคคลหรือองค์กร การเชื่อมโยงและผลกระทบจากการแก้ปัญหาหนึ่งมักก่อให้เกิดปัญหาใหม่เสมอ การส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถค้นหาและใช้ศักยภาพของตนเองและชุมชนภายใต้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจนทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ใช่หวังความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเช่นปัจจุบัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-