นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ว่าการบริโภคอาหารที่มีไขมัน 3 ชนิด ประกอบด้วย Saturated Fat, Trans Fat และdietary cholesterol เป็นสาเหตุให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ (Coronary heart disease) ซึ่งมีประชากรอเมริกันเป็นโรคนี้มากกว่า 12.5 ล้าน และเสียชีวิตมากกว่า 50,000 คนต่อปี นอกจากนี้มีการวิจัยพบว่า Trans Fat ทำให้ผู้บริโภคมีปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein Cholesterol LDL-C) เพิ่มขึ้นในหลอดเลือดและลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density Lipoprotein Cholesterol HDL-C) ลง ส่งผลให้เส้นเลือดเกิดการอุดตัน เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคอ้วน ดังนั้นเพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคจากสาเหตุดังกล่าว สหรัฐอเมริกาจึงประกาศใช้กฎระเบียบการแสดงข้อมูล Trans Fatty Acids บนฉลากอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลปริมาณ Trans Fatty Acids ที่สามารถบริโภคได้ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549
Trans Fat คือ ไขมันแปรรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวที่มีลักษณะเป็นของเหลว (Liquid Oil) มาเติม Hydrogen (Hydrogenated) เช่น การแปรสภาพน้ำมันพืชเป็นเนยเทียม (Margarine) เพื่อให้ไขมันแข็งตัว มีจุดหลอมเหลวสูงขึ้น ไม่เป็นไข ทำให้อาหารมีอายุการเก็บรักษานาน และมีรสชาติใกล้เคียงกับไขมันสัตว์แต่ราคาถูกกว่า ส่งผลให้ผู้ประกอบอาหารสำเร็จรูปและอาหารจานด่วน (Fast Food) นิยมใช้ Trans Fat เป็นส่วนประกอบของอาหาร Trans Fat สามารถพบได้ใน vegetable shortening, อาหารที่ทำจากไขมันสัตว์บางประเภท, ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ มันฝรั่งทอด ขนมขบเคี้ยว และอาหารอื่นๆที่ทอดโดยใช้น้ำมัน hydrogenated
สาระสำคัญของกฎระเบียบคือ
1. ผู้ผลิตอาหาร และอาหารประเภท Dietary supplements จะต้องระบุปริมาณของ Trans Fat แยกต่างหากจาก Saturated Fat และ cholesterol บนฉลากอาหาร
2. ผู้ผลิตอาหารประเภท Dietary supplement ที่มี Trans Fat 0.5 กรัม หรือมากกว่าต้องระบุปริมาณ Trans Fat ดังกล่าวใน หัวข้อ Supplement Fact ของฉลาก
นายราเชนทร์ ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งสินค้าอาหารที่มี Trans Fatty Acids ของไทยไปยังสหรัฐอเมริกาในปี 2546 ไทยส่งออกอาหารประเภท คุกกี้ (sweet biscuit) มูลค่า 0.032 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 และ 0.012 ในปี 2547 สำหรับอาหารประเภท waffle และ wafer มูลค่า 0.065 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 และ 0.039 ในปี 2547 อย่างไรก็ตามแม้ว่าสินค้าอาหารดังกล่าวมูลค่าส่งออกไม่มากนัก แต่ผู้ผลิต ผู้ ส่งออกควรปฏิบัติตามระเบียบให้ถูกต้องเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตราสินค้าไทย และสินค้าไทยจะไม่ถูกกักกัน ณ ด่านนำเข้าของสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลของการติดฉลากไม่ถูกต้อง
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
Trans Fat คือ ไขมันแปรรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวที่มีลักษณะเป็นของเหลว (Liquid Oil) มาเติม Hydrogen (Hydrogenated) เช่น การแปรสภาพน้ำมันพืชเป็นเนยเทียม (Margarine) เพื่อให้ไขมันแข็งตัว มีจุดหลอมเหลวสูงขึ้น ไม่เป็นไข ทำให้อาหารมีอายุการเก็บรักษานาน และมีรสชาติใกล้เคียงกับไขมันสัตว์แต่ราคาถูกกว่า ส่งผลให้ผู้ประกอบอาหารสำเร็จรูปและอาหารจานด่วน (Fast Food) นิยมใช้ Trans Fat เป็นส่วนประกอบของอาหาร Trans Fat สามารถพบได้ใน vegetable shortening, อาหารที่ทำจากไขมันสัตว์บางประเภท, ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ มันฝรั่งทอด ขนมขบเคี้ยว และอาหารอื่นๆที่ทอดโดยใช้น้ำมัน hydrogenated
สาระสำคัญของกฎระเบียบคือ
1. ผู้ผลิตอาหาร และอาหารประเภท Dietary supplements จะต้องระบุปริมาณของ Trans Fat แยกต่างหากจาก Saturated Fat และ cholesterol บนฉลากอาหาร
2. ผู้ผลิตอาหารประเภท Dietary supplement ที่มี Trans Fat 0.5 กรัม หรือมากกว่าต้องระบุปริมาณ Trans Fat ดังกล่าวใน หัวข้อ Supplement Fact ของฉลาก
นายราเชนทร์ ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งสินค้าอาหารที่มี Trans Fatty Acids ของไทยไปยังสหรัฐอเมริกาในปี 2546 ไทยส่งออกอาหารประเภท คุกกี้ (sweet biscuit) มูลค่า 0.032 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 และ 0.012 ในปี 2547 สำหรับอาหารประเภท waffle และ wafer มูลค่า 0.065 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 และ 0.039 ในปี 2547 อย่างไรก็ตามแม้ว่าสินค้าอาหารดังกล่าวมูลค่าส่งออกไม่มากนัก แต่ผู้ผลิต ผู้ ส่งออกควรปฏิบัติตามระเบียบให้ถูกต้องเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตราสินค้าไทย และสินค้าไทยจะไม่ถูกกักกัน ณ ด่านนำเข้าของสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลของการติดฉลากไม่ถูกต้อง
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-