สศอ.สร้างยุทธศาสตร์เครื่องจักรกลเกษตร ปรับกลยุทธ์การผลิตทดแทนเครื่องจักรเก่า เน้นวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จริงจัง พร้อมชงแผนคัดเลือกสินค้าหมวดเครื่องจักรกลเกษตรที่มีศักยภาพพัฒนาให้ครบวงจร คาดผู้ประกอบการหันใช้เครื่องจักรที่ผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ลดนำเข้าเครื่องจักรนอกร้อยละ 15 ต่อปี สอดรับแผนรัฐบาลดันสินค้าเกษตรเป็นเป้าหมายนำดึงรายได้เข้าประเทศ
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้เร่งจัดทำ ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อทดแทนการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ให้สามารถรองรับกับการขยายตัวในภาคเกษตรกรรม ซึ่งในปี 2548 มีแนวโน้มการขยายตัวสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่รัฐบาลมีแผนจะสนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น ภายใต้แผนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเร่งกระตุ้นผู้ประกอบการเพิ่มศักยภาพการผลิต โดยหันมาทำการวิจัยและพัฒนาการผลิตเชิงพาณิชย์มากขึ้น พร้อมกับการคัดเลือกหมวดสินค้าในกลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีศักยภาพ เพื่อเข้าสู่ระบบการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ครบวงจร
“แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเกษตร จะเป็นแนวทางกระตุ้นการใช้เครื่องจักรการเกษตรที่ผลิตในประเทศให้เพิ่มขึ้นได้กว่าร้อยละ 10 ต่อปี รวมทั้งยังสามารถลดการนำเข้าเครื่องจักรกลเกษตรที่มีเทคโนโลยีระดับสูงได้เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ต่อปี โดยจากสถิติการนำเข้าในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 9,208 ล้านบาท และทำให้เครื่องจักรกลมีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี โดยสถิติการส่งออกปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 8,497 ล้านบาท ”นางชุตาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตในอุตสาหกรรมดังกล่าว พบว่าเครื่องจักรกลการเกษตรที่ผู้ประกอบการมีความสามารถในการผลิต และมีคุณภาพดี ได้แก่ เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์เบนซิน รถไถเดินตาม และเครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง ส่วนความต้องการของตลาดในประเทศ พบว่า รถแทรกเตอร์ รถอีแต๋น และเครื่องเกี่ยวนวดขนาดเล็ก มีแนวโน้มการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนประเภทที่มีแนวโน้มการส่งออกที่ดีไปยังตลาดเพื่อนบ้าน ได้แก่ รถไถเดินตาม
ดังนั้นยุทธศาสตร์ฯนี้ สศอ.ได้วางเป้าหมายที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์และมาตรการสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยให้เชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำปลายน้ำ และอุตสาหกรรมสนับสนุนประเภทชิ้นส่วน ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ที่มีอยู่ประมาณ 2,500 ราย ที่ยังขาดการเชื่อมโยงทางธุรกิจระหว่างกัน และดำเนินธุรกิจในลักษณะการรับจ้างผลิต [OEM
] เพื่อผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัทแม่เท่านั้น ทำให้ไทยต้องขาดดุลการค้าในสินค้าหมวดนี้มาโดยตลอด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการคัดเลือกสินค้าหมวดอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเกษตรในสาขาที่ไทยมีศักยภาพเพื่อส่งเสริมโดยเร่งด่วน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้เร่งจัดทำ ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อทดแทนการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ให้สามารถรองรับกับการขยายตัวในภาคเกษตรกรรม ซึ่งในปี 2548 มีแนวโน้มการขยายตัวสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่รัฐบาลมีแผนจะสนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น ภายใต้แผนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเร่งกระตุ้นผู้ประกอบการเพิ่มศักยภาพการผลิต โดยหันมาทำการวิจัยและพัฒนาการผลิตเชิงพาณิชย์มากขึ้น พร้อมกับการคัดเลือกหมวดสินค้าในกลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีศักยภาพ เพื่อเข้าสู่ระบบการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ครบวงจร
“แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเกษตร จะเป็นแนวทางกระตุ้นการใช้เครื่องจักรการเกษตรที่ผลิตในประเทศให้เพิ่มขึ้นได้กว่าร้อยละ 10 ต่อปี รวมทั้งยังสามารถลดการนำเข้าเครื่องจักรกลเกษตรที่มีเทคโนโลยีระดับสูงได้เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ต่อปี โดยจากสถิติการนำเข้าในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 9,208 ล้านบาท และทำให้เครื่องจักรกลมีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี โดยสถิติการส่งออกปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 8,497 ล้านบาท ”นางชุตาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตในอุตสาหกรรมดังกล่าว พบว่าเครื่องจักรกลการเกษตรที่ผู้ประกอบการมีความสามารถในการผลิต และมีคุณภาพดี ได้แก่ เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์เบนซิน รถไถเดินตาม และเครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง ส่วนความต้องการของตลาดในประเทศ พบว่า รถแทรกเตอร์ รถอีแต๋น และเครื่องเกี่ยวนวดขนาดเล็ก มีแนวโน้มการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนประเภทที่มีแนวโน้มการส่งออกที่ดีไปยังตลาดเพื่อนบ้าน ได้แก่ รถไถเดินตาม
ดังนั้นยุทธศาสตร์ฯนี้ สศอ.ได้วางเป้าหมายที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์และมาตรการสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยให้เชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำปลายน้ำ และอุตสาหกรรมสนับสนุนประเภทชิ้นส่วน ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ที่มีอยู่ประมาณ 2,500 ราย ที่ยังขาดการเชื่อมโยงทางธุรกิจระหว่างกัน และดำเนินธุรกิจในลักษณะการรับจ้างผลิต [OEM
] เพื่อผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัทแม่เท่านั้น ทำให้ไทยต้องขาดดุลการค้าในสินค้าหมวดนี้มาโดยตลอด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการคัดเลือกสินค้าหมวดอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเกษตรในสาขาที่ไทยมีศักยภาพเพื่อส่งเสริมโดยเร่งด่วน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-