ท่านประธานที่เคารพกระผมอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ท่านประธานที่เคารพร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่คณะรัฐมนตรีเสนอและท่านนายกฯได้นำเสนอต่อที่ประชุมไป กระผมคงมีข้อสังเกตข้อวิจารณ์เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่เสนอร่างของพรรคฝ่ายค้านไปแล้ว ก็กราบเรียนท่านประธานว่ากระผมก็เห็นด้วยกับท่านนายกฯว่าความคิดเห็นที่หลากหลายเป็นสิ่งที่งดงามในระบบประชาธิปไตย
กราบเรียนว่าการแสดงทัศนะของกระผมก็ถือเป็นความเห็นหนึ่ง และกระผมก็เป็นคนไม่ค่อยพูดจาดูถูกความเห็นของคนอื่น แต่ว่ากระผมจำเป็นต้องลำดับให้เห็นว่าหลักคิดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ที่เสนอเข้ามามันต่างกันจริง ๆ เมื่อสักครู่ที่ท่านนายกฯลุกขึ้นยืนยันอำนาจอธิปไตยผมคิดว่านั่นและครับที่เป็นตัวให้เกิดความสับสนขึ้น เพราะว่าการปฏิรูปทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือบอกว่ามันต้องมีกระบวนการทางการเมืองตาม หากที่แยกจากเรื่องของความเป็นรัฐบาลเป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในส่วนการบริหารประเทศแข่งขันกันไปที่ท่านนายกฯพูดไปหาประชาชนรับมอบอำนาจมาบริหารเสร็จกลับไป แต่การตรวจสอบบางเรื่องควรจะแยกออกจากกระบวนการนี้
นั่นคือที่มาขององค์กรที่เราเรียกว่าองค์กรอิสระหรือองค์กรกลางที่นี้ปัญหาที่กราบเรียนว่าเป็นความแตกต่างนั้นเมื่อสักครู่ทางคณะรัฐมนตรีอาจจะบอกว่าเวลานี้มีปัญหาแค่เพียงปัญหาเดียวคือ ปปช. และต่องเร่งทำ กระผมกราบเรียนว่าแนวคิดที่นำเสนอแก้ไขโครงสร้างถ้าโครงสร้างกรรมการสรรหาคณะหนึ่งเป็นอย่างไรอีก 2 องค์กรก็จะล้อตามมันไม่ใช่เรื่องยากเลย ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปมองว่ารัฐสภาทำสิ่งนี้ในเวลาอันสั้นและรวดเร็วไม่ได้ เพราะที่จริงในส่วนของฝ่ายค้านได้เตรียมการและได้ศึกษาและสามารถดำเนินการเสนอได้ในเวลาที่สั้นพอสมควร เพราะมันมีหลักที่ชัด
หลักที่ชัดก็คือว่าเราต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเมื่อพรรคการเมืองที่ผ่านมามีตัวแทนแล้วมันไม่เป็นตัวแทนพรรคการเมืองหรือตัวแทนประชาชนเท่ากับเป็นตัวแทนฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาลแล้วเกิดปัญหาขึ้นแล้วตัดออก แล้วเอาองค์กรอื่นที่เป็นตัวแทนประชาชนมีสถานะที่รัฐธรรมนูญรองรับเข้ามาแทนมันก็จบ ถ้าท่านนายกฯหรือคณะรัฐมนตรีบอกว่าแก้เรื่องเดียวก่อนเรื่องอื่นก็จุดยืนยังไม่ชัดว่าจะแก้หรือไม่แก้มันก็เกิดคำถามอย่างที่ท่านส.ว.อภิปรายไปถามว่าถ้าอย่างนั้นทำไมไม่แก้ให้มันเหลือผู้แทนพรรคการเมือง 4 คน มันก็จะตรงกันหมด แต่ประเด็นก็คือว่าในที่สุดเราก็เห็นว่ามันต้องมีการมาปรับโครงสร้าง เมื่อปรับโครงสร้างสิ่งที่ผมเรียกร้องก็คือว่าวันนี้ฝ่ายการเมืองของพรรคการเมืองวางมือจากตรงนี้เถอะ เพราะวุฒิสภาเขาเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยเขามีสิทธิ์เลือกอยู่แล้ว กรรมการที่เรามาพูดถึงนี้มีหน้าที่สรรหาบุคคลไปให้ตัวแทนของปวงชนชาวไทยเลือกอยู่ดี แล้วจะหลบหลีกข้อครหา ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ได้ ถามว่าป้องกันได้หมดไหม ไม่หมดหรอกครับ เพราะรูปแบบการแทรกแซง ครอบงำเกิดขึ้นได้อีกหลายจุด
แต่ตรงไหนที่เราทำได้แสดงความจริงใจได้ทำไมเราจะไม่ทำ ผมพูดถึงคดีท่านนายกฯ ไม่ใช่เรื่องความเห็นความรู้สึก ผมถ่ายทอดสิ่งที่ปรากฏเป็นคำให้การ คำให้สัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องผู้ที่บ่งบอกว่ามันเกิดปัญหาขึ้นกับเจตนารมณ์ดั้งเดิมของรัฐธรรมนูญซึ่งเราต้องพยายามที่จะต้องแก้ไขให้ได้ว่าทำอย่างไรการเมืองถอดออกมา ที่นี้ผมกราบเรียนว่าร่างที่รัฐบาลเสนอความเห็นหลากหลายผมเข้าใจ แต่หลักของท่านเอาอย่างไรแน่ ครั้งแรกที่ท่านนายกฯ พูดเรื่องนี้ผมดีใจมากเลยครับ ท่านบอกว่าเห็นด้วยจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และเห็นด้วยที่จะตัดฝ่ายการเมืองออกมันก็ตรงกัน ฝ่ายผมพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าเสนอเรื่องนี้โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของตัวเอง เพราะว่าวันนี้ถ้าเอาตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่เสียเปรียบอยู่แล้ว รัฐบาลตัดออกบางคนเขาก็วิเคาระห์ด้วยซ้ำว่ากำไร แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญ
สาระสำคัญคือตอนแรกท่านนายกฯก็ตั้งธงถูก แต่เสร็จแล้วในที่สุดยังยึดเหนี่ยวอยู่กับความจำเป็นที่ต้องมีตัวแทนของรัฐบาลเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการสรรหาใช่หรือไม่ ผมไม่พูดถึงจำนวนหรอกครับ ถ้าเราไปดูวิธีการที่ไปแทรกแซงหรือมีอิทธิพลต่อกัน คนเดียวเข้าไปสามารถส่งสัญญาณได้ในกระบวนการของการสรรหา ผมเห็นว่ามันเป็นความผิดปกติที่ตอนแรกท่านนายกฯตั้งธงไว้ถูกต้อง แล้วต่อมาก็พยายามหาเหตุผลดิ้นรนกันแล้วใส่ตัวแทนรัฐบาลกลับเข้ามา เริ่มต้นใส่ท่านประธานนั่นและครับเข้ามา ผมถึงต้องให้สัมภาษณ์ว่าถ้าเอาท่านประธานรัฐสภามาเป็นตัวแทนของรัฐบาล และเอาผู้นำฝ่ายค้านมาเป็นตัวแทนของฝ่ายค้านผมว่าแย่ที่สุด เพราะสถานะของท่านประธานแม้จะเป็นสมาชิกพรรครัฐบาล
แต่โดยสถานะของความเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติต้องเป็นกลางจะมานับถือว่าเป็นคนของรัฐบาลยอมรับกันอย่างนี้ผมคิดว่ายอมรับไม่ได้ก็ตัดไป วันที่ท่านรองนายกฯบอกว่ามีสูตรที่มีท่านประธานอยู่แล้วก็บอกว่าดีกว่าร่างของฝ่ายค้านท่านก็อ้างเมื่อสักครู่ท่านนายกฯ ก็พูดบอกร่างรัฐบาลบุคคลต่าง ๆ เป็นบุคคลที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่ไม่ใช่ครับ ถึงวันนี้สิ่งที่กระผมจำเป็นต้องกราบเรียนเกี่ยวกับร่างรัฐบาลที่กระผมไม่สบายใจก็คือว่าเดิมใช้เหตุผลนี้จะมาหักล้างว่าไม่ควรเอาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม เพราะไม่ใช่ตำแหน่งโปรดเกล้าแม้จะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
แต่พอถูกทักท้วงเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรความพยายามดิ้นรนให้มีตัวแทนของรัฐบาลต่อถึงเกิดกรณีที่บอกว่าให้มีผู้นำเสียงข้างมาก ผมไม่ทราบท่านประธานเคยได้ยินตำแหน่งนี้ไหมครับ ถ้าพูดถึงเมื่อสักครู่ท่านนายกฯพูดบอกว่าเป็นตำแหน่งที่โปรดเกล้าเนี่ย ผู้นำเสียงข้างมากเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าหรือครับ ถ้ามีบอกผมว่าอยู่ที่ไหนครับ อย่าว่าแต่ในรัฐธรรมนูญ อย่าว่าแต่ในประเทศไทยเลยครับ ท่านประธานกรุณาไปดูว่าในระบบของรัฐสภาทั่วโลก ซึ่งระบบรัฐสภาที่เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์หรือสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขตำแหน่งผู้นำเสียงข้างมากไม่มีครับ เพราะเขาถือว่าสภาผู้แทนราษฎรนั้นมาจากประชาชน ฝ่ายบริหารมาจากสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง
ผู้นำเสียงข้างมากในระบบรัฐสภาที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งโปรดเกล้าแต่งตั้งจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฎรและฝ่ายเสียงข้างน้อยก็มีผู้นำฝ่ายค้านที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเช่นเดียวกัน ผู้นำเสียงข้างมากมีเฉพาะระบบประธานาธิบดี เพราะในระบบประธานาธิบดีฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง รับผิดชอบตรงต่อประชาชนเมื่อไม่ได้รับผิดชอบต่อสภาจึงจำเป็นต้องมีผู้นำ 2 ฝ่าย ฝ่ายข้างมากกับฝ่ายข้างน้อย ผมกราบเรียน เพื่อชี้ว่าความพยายามที่จะต้องยึดเหนี่ยวว่ามีคนของรัฐบาลเข้าไปอยู่ไม่คำนึงถึงแม้แต่ข้อเท็จจริง และประเพณีการปกครองตรงนี้ ตำแหน่งผู้นำเสียงข้างมากเป็นสิ่งแปลกปลอมในรัฐสภา ไม่พึงกระทำครับ
กระผมกราบเรียนว่าการลุกลี้ลุกลนเพื่อจะให้มีตัวแทนของรัฐบาลให้ได้จึงขาดความละเอียดอ่อน และความเข้าใจต่อประเพณีการเมืองการปกครองของเรา ซึ่งกระผมไม่สบายใจมาก เพราะไม่อยากจะต้องมาโต้เถียงในเรื่องเล่านี้ ท่านประธานเห็นไหมครับว่าท่านนายกฯเองท่านก็ไม่สบายใจว่าเวลาที่มีการโต้เถียงในเรื่องเล่านี้แล้วท่านก็คิดมากว่ามันจะไปถึงกระบวนการที่จะไปล้มล้างท่าน ท่านให้สัมภาษณ์เองว่าท่านไปทำบุญที่วัดพระแก้วก็มีคนไปวิจารณ์ กระผมก็กราบเรียนว่ากระผมไม่อยากให้มีการวิจารณ์กันในเรื่องเล่านี้ แต่อย่าสร้างเงื่อนไข ผมก็เชื่อว่าท่านนายกฯไม่ได้มีเจตนาครับ แต่เราต้องละเอียดอ่อนและรู้จักที่ต่ำที่สูง
ผมกราบเรียนว่าวันนี้มันจึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าคนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะทำอย่างไร กระผมยืนยันว่าวันนี้เป็นโอกาสดีที่พวกเราจะแสดงออกถึงความเป็นผู้แทนระบอบของการปฏิรูปการเมืองด้วยการสละอำนาจของตัวเองเพื่อลดข้อครหาของการแทรกแซงอย่าได้ดิ้นรนอย่างได้คิดถึงแต่อำนาจการต่อรอง อย่าได้เข้าไปก้าวก่ายกระบวนการของการตรวจสอบถ่วงดุลที่พึงจะมีในระบบการเมืองยุคของการปฏิรูป กระผมขอยืนยันว่าขอให้สมาชิกรัฐสภาได้สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับของฝ่ายค้าน และขอให้รัฐบาลได้ทบทวนข้อเสนอของตัวเองครับ กราบขอบพระคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-
กราบเรียนว่าการแสดงทัศนะของกระผมก็ถือเป็นความเห็นหนึ่ง และกระผมก็เป็นคนไม่ค่อยพูดจาดูถูกความเห็นของคนอื่น แต่ว่ากระผมจำเป็นต้องลำดับให้เห็นว่าหลักคิดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ที่เสนอเข้ามามันต่างกันจริง ๆ เมื่อสักครู่ที่ท่านนายกฯลุกขึ้นยืนยันอำนาจอธิปไตยผมคิดว่านั่นและครับที่เป็นตัวให้เกิดความสับสนขึ้น เพราะว่าการปฏิรูปทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือบอกว่ามันต้องมีกระบวนการทางการเมืองตาม หากที่แยกจากเรื่องของความเป็นรัฐบาลเป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในส่วนการบริหารประเทศแข่งขันกันไปที่ท่านนายกฯพูดไปหาประชาชนรับมอบอำนาจมาบริหารเสร็จกลับไป แต่การตรวจสอบบางเรื่องควรจะแยกออกจากกระบวนการนี้
นั่นคือที่มาขององค์กรที่เราเรียกว่าองค์กรอิสระหรือองค์กรกลางที่นี้ปัญหาที่กราบเรียนว่าเป็นความแตกต่างนั้นเมื่อสักครู่ทางคณะรัฐมนตรีอาจจะบอกว่าเวลานี้มีปัญหาแค่เพียงปัญหาเดียวคือ ปปช. และต่องเร่งทำ กระผมกราบเรียนว่าแนวคิดที่นำเสนอแก้ไขโครงสร้างถ้าโครงสร้างกรรมการสรรหาคณะหนึ่งเป็นอย่างไรอีก 2 องค์กรก็จะล้อตามมันไม่ใช่เรื่องยากเลย ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปมองว่ารัฐสภาทำสิ่งนี้ในเวลาอันสั้นและรวดเร็วไม่ได้ เพราะที่จริงในส่วนของฝ่ายค้านได้เตรียมการและได้ศึกษาและสามารถดำเนินการเสนอได้ในเวลาที่สั้นพอสมควร เพราะมันมีหลักที่ชัด
หลักที่ชัดก็คือว่าเราต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเมื่อพรรคการเมืองที่ผ่านมามีตัวแทนแล้วมันไม่เป็นตัวแทนพรรคการเมืองหรือตัวแทนประชาชนเท่ากับเป็นตัวแทนฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาลแล้วเกิดปัญหาขึ้นแล้วตัดออก แล้วเอาองค์กรอื่นที่เป็นตัวแทนประชาชนมีสถานะที่รัฐธรรมนูญรองรับเข้ามาแทนมันก็จบ ถ้าท่านนายกฯหรือคณะรัฐมนตรีบอกว่าแก้เรื่องเดียวก่อนเรื่องอื่นก็จุดยืนยังไม่ชัดว่าจะแก้หรือไม่แก้มันก็เกิดคำถามอย่างที่ท่านส.ว.อภิปรายไปถามว่าถ้าอย่างนั้นทำไมไม่แก้ให้มันเหลือผู้แทนพรรคการเมือง 4 คน มันก็จะตรงกันหมด แต่ประเด็นก็คือว่าในที่สุดเราก็เห็นว่ามันต้องมีการมาปรับโครงสร้าง เมื่อปรับโครงสร้างสิ่งที่ผมเรียกร้องก็คือว่าวันนี้ฝ่ายการเมืองของพรรคการเมืองวางมือจากตรงนี้เถอะ เพราะวุฒิสภาเขาเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยเขามีสิทธิ์เลือกอยู่แล้ว กรรมการที่เรามาพูดถึงนี้มีหน้าที่สรรหาบุคคลไปให้ตัวแทนของปวงชนชาวไทยเลือกอยู่ดี แล้วจะหลบหลีกข้อครหา ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ได้ ถามว่าป้องกันได้หมดไหม ไม่หมดหรอกครับ เพราะรูปแบบการแทรกแซง ครอบงำเกิดขึ้นได้อีกหลายจุด
แต่ตรงไหนที่เราทำได้แสดงความจริงใจได้ทำไมเราจะไม่ทำ ผมพูดถึงคดีท่านนายกฯ ไม่ใช่เรื่องความเห็นความรู้สึก ผมถ่ายทอดสิ่งที่ปรากฏเป็นคำให้การ คำให้สัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องผู้ที่บ่งบอกว่ามันเกิดปัญหาขึ้นกับเจตนารมณ์ดั้งเดิมของรัฐธรรมนูญซึ่งเราต้องพยายามที่จะต้องแก้ไขให้ได้ว่าทำอย่างไรการเมืองถอดออกมา ที่นี้ผมกราบเรียนว่าร่างที่รัฐบาลเสนอความเห็นหลากหลายผมเข้าใจ แต่หลักของท่านเอาอย่างไรแน่ ครั้งแรกที่ท่านนายกฯ พูดเรื่องนี้ผมดีใจมากเลยครับ ท่านบอกว่าเห็นด้วยจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และเห็นด้วยที่จะตัดฝ่ายการเมืองออกมันก็ตรงกัน ฝ่ายผมพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าเสนอเรื่องนี้โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของตัวเอง เพราะว่าวันนี้ถ้าเอาตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่เสียเปรียบอยู่แล้ว รัฐบาลตัดออกบางคนเขาก็วิเคาระห์ด้วยซ้ำว่ากำไร แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญ
สาระสำคัญคือตอนแรกท่านนายกฯก็ตั้งธงถูก แต่เสร็จแล้วในที่สุดยังยึดเหนี่ยวอยู่กับความจำเป็นที่ต้องมีตัวแทนของรัฐบาลเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการสรรหาใช่หรือไม่ ผมไม่พูดถึงจำนวนหรอกครับ ถ้าเราไปดูวิธีการที่ไปแทรกแซงหรือมีอิทธิพลต่อกัน คนเดียวเข้าไปสามารถส่งสัญญาณได้ในกระบวนการของการสรรหา ผมเห็นว่ามันเป็นความผิดปกติที่ตอนแรกท่านนายกฯตั้งธงไว้ถูกต้อง แล้วต่อมาก็พยายามหาเหตุผลดิ้นรนกันแล้วใส่ตัวแทนรัฐบาลกลับเข้ามา เริ่มต้นใส่ท่านประธานนั่นและครับเข้ามา ผมถึงต้องให้สัมภาษณ์ว่าถ้าเอาท่านประธานรัฐสภามาเป็นตัวแทนของรัฐบาล และเอาผู้นำฝ่ายค้านมาเป็นตัวแทนของฝ่ายค้านผมว่าแย่ที่สุด เพราะสถานะของท่านประธานแม้จะเป็นสมาชิกพรรครัฐบาล
แต่โดยสถานะของความเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติต้องเป็นกลางจะมานับถือว่าเป็นคนของรัฐบาลยอมรับกันอย่างนี้ผมคิดว่ายอมรับไม่ได้ก็ตัดไป วันที่ท่านรองนายกฯบอกว่ามีสูตรที่มีท่านประธานอยู่แล้วก็บอกว่าดีกว่าร่างของฝ่ายค้านท่านก็อ้างเมื่อสักครู่ท่านนายกฯ ก็พูดบอกร่างรัฐบาลบุคคลต่าง ๆ เป็นบุคคลที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่ไม่ใช่ครับ ถึงวันนี้สิ่งที่กระผมจำเป็นต้องกราบเรียนเกี่ยวกับร่างรัฐบาลที่กระผมไม่สบายใจก็คือว่าเดิมใช้เหตุผลนี้จะมาหักล้างว่าไม่ควรเอาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม เพราะไม่ใช่ตำแหน่งโปรดเกล้าแม้จะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
แต่พอถูกทักท้วงเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรความพยายามดิ้นรนให้มีตัวแทนของรัฐบาลต่อถึงเกิดกรณีที่บอกว่าให้มีผู้นำเสียงข้างมาก ผมไม่ทราบท่านประธานเคยได้ยินตำแหน่งนี้ไหมครับ ถ้าพูดถึงเมื่อสักครู่ท่านนายกฯพูดบอกว่าเป็นตำแหน่งที่โปรดเกล้าเนี่ย ผู้นำเสียงข้างมากเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าหรือครับ ถ้ามีบอกผมว่าอยู่ที่ไหนครับ อย่าว่าแต่ในรัฐธรรมนูญ อย่าว่าแต่ในประเทศไทยเลยครับ ท่านประธานกรุณาไปดูว่าในระบบของรัฐสภาทั่วโลก ซึ่งระบบรัฐสภาที่เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์หรือสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขตำแหน่งผู้นำเสียงข้างมากไม่มีครับ เพราะเขาถือว่าสภาผู้แทนราษฎรนั้นมาจากประชาชน ฝ่ายบริหารมาจากสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง
ผู้นำเสียงข้างมากในระบบรัฐสภาที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งโปรดเกล้าแต่งตั้งจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฎรและฝ่ายเสียงข้างน้อยก็มีผู้นำฝ่ายค้านที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเช่นเดียวกัน ผู้นำเสียงข้างมากมีเฉพาะระบบประธานาธิบดี เพราะในระบบประธานาธิบดีฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง รับผิดชอบตรงต่อประชาชนเมื่อไม่ได้รับผิดชอบต่อสภาจึงจำเป็นต้องมีผู้นำ 2 ฝ่าย ฝ่ายข้างมากกับฝ่ายข้างน้อย ผมกราบเรียน เพื่อชี้ว่าความพยายามที่จะต้องยึดเหนี่ยวว่ามีคนของรัฐบาลเข้าไปอยู่ไม่คำนึงถึงแม้แต่ข้อเท็จจริง และประเพณีการปกครองตรงนี้ ตำแหน่งผู้นำเสียงข้างมากเป็นสิ่งแปลกปลอมในรัฐสภา ไม่พึงกระทำครับ
กระผมกราบเรียนว่าการลุกลี้ลุกลนเพื่อจะให้มีตัวแทนของรัฐบาลให้ได้จึงขาดความละเอียดอ่อน และความเข้าใจต่อประเพณีการเมืองการปกครองของเรา ซึ่งกระผมไม่สบายใจมาก เพราะไม่อยากจะต้องมาโต้เถียงในเรื่องเล่านี้ ท่านประธานเห็นไหมครับว่าท่านนายกฯเองท่านก็ไม่สบายใจว่าเวลาที่มีการโต้เถียงในเรื่องเล่านี้แล้วท่านก็คิดมากว่ามันจะไปถึงกระบวนการที่จะไปล้มล้างท่าน ท่านให้สัมภาษณ์เองว่าท่านไปทำบุญที่วัดพระแก้วก็มีคนไปวิจารณ์ กระผมก็กราบเรียนว่ากระผมไม่อยากให้มีการวิจารณ์กันในเรื่องเล่านี้ แต่อย่าสร้างเงื่อนไข ผมก็เชื่อว่าท่านนายกฯไม่ได้มีเจตนาครับ แต่เราต้องละเอียดอ่อนและรู้จักที่ต่ำที่สูง
ผมกราบเรียนว่าวันนี้มันจึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าคนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะทำอย่างไร กระผมยืนยันว่าวันนี้เป็นโอกาสดีที่พวกเราจะแสดงออกถึงความเป็นผู้แทนระบอบของการปฏิรูปการเมืองด้วยการสละอำนาจของตัวเองเพื่อลดข้อครหาของการแทรกแซงอย่าได้ดิ้นรนอย่างได้คิดถึงแต่อำนาจการต่อรอง อย่าได้เข้าไปก้าวก่ายกระบวนการของการตรวจสอบถ่วงดุลที่พึงจะมีในระบบการเมืองยุคของการปฏิรูป กระผมขอยืนยันว่าขอให้สมาชิกรัฐสภาได้สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับของฝ่ายค้าน และขอให้รัฐบาลได้ทบทวนข้อเสนอของตัวเองครับ กราบขอบพระคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-