วันนี้(19 ต.ค.48) เวลา 08.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการวิทยุรัฐสภาพบผู้นำประชาชน ถึงปัญหาความไม่สงบในสถานการณ์ 3 จังหวัดภาคใต้ ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีเหตุการณ์ที่สะเทือนใจประชาชนคนไทยทุกคน คือเหตุการณ์การฆ่าตัดคอพระสงฆ์ และมีการเผาวัดหรือเผากุฏิ กล่าวคือความรุนแรงยังเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ ๆ ก็จะเป็นจังหวะเวลาที่ทางรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่ดังกล่าวมาครบ 90 วันตามที่กฎหมายกำหนด แล้วก็เป็นไปตามความคาดหมายก็คือ เมื่อวานนี้ทางรัฐบาลได้ต่ออายุเรื่องของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดไปเป็นเวลาอีก 90 วัน ในเรื่องนี้นั้นนี้ความจริงทางฝ่ายค้านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้จัดเวทีสาธารณะโดยคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้เชิญฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันประเมิณสถานการณ์ และร่วมกันหาทางออกต่อปัญหาดังกล่าว
“การจัดเวทีสาธารณะครั้งนี้ ทางรัฐบาลโดยทางราชการก็ได้ส่งผู้แทนมาทั้งที่เป็นตำรวจทั้งที่เป็นตัวแทนของ กอสสส. รวมไปถึงองค์กรอิสระเช่น กรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา รวมไปถึงผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำในภาคธุรกิจ ผู้นำทางศาสนาจากในพื้นที่รวมทั้งนักวิชาการ นักศึกษา ซึ่งได้มาให้มุมมองต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยสรุปแล้วในการจัดเวทีสาธารณะในวันจันทร์ที่ผ่านมานี้สิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันก็คือว่า ลำพังเพียงมาตรการทางกฎหมายคงไม่เพียงพอในการที่จะขับเคลื่อนแนวทางของการแก้ไขปัญหาได้ พระราชกำหนดที่ได้ประกาศใช้มาแล้วมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาก่อนครบ 3 เดือน ในความเป็นจริงนั้นปรากฎว่าในพื้นที่ยังคงขาดความเข้าใจกันอยู่มาก หลายคนที่มาจากพื้นที่ยอมรับตรงๆว่าไม่ทราบว่าที่จริงแล้วตัวพรก.คืออะไร จะใช้อย่างไร” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ความไม่เข้าใจว่าพระราชกำหนดจึงมีแนวคิด 2 ทาง 1.หลายคนที่ไม่ทราบว่าพรก.คืออะไร แต่ขาดที่พึ่ง ดังนั้นเมื่อมีเครื่องมือพิเศษขึ้นมา กล่าวคือมีกฎหมายขึ้นมา ก็หวังว่าสิ่งนี้จะเป็นที่พึ่งได้ 2.อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็ยังไม่เข้าใจว่าพรก.คืออะไรแต่ว่าพอทราบว่าเป็นเรื่องของการให้อำนาจพิเศษ เพราะฉะนั้นก็จะเกิดความหวาดระแวงเกิดความหวาดกลัวขึ้นมา สิ่งหนึ่งซึ่งอยากจะเสนอแนะรัฐบาลทันที คือ การที่จะประกาศใช้พระราชกำหนดแล้วก็จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อเนื่องต่อไป ควรจะต้องเดินหน้าในการทำความเข้าใจ อย่างน้อยเพื่อไม่ให้เกิดการนำเอาพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินไปเป็นเงื่อนไข จะเป็นในการข่มขู่คุมคามหรือไปสร้างความหวาดระแวงหรือตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่ก่อความไม่สงบ ประชาชนก็จะได้ทราบว่าที่จริงแล้วการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดนี้ใช้กันอย่างไร แล้วเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยอย่างไร ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่เองก็ได้บอกว่าประสงค์ที่จะใช้เครื่องมือนี้ต่อ เพราะว่าสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าหน้าที่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่ออีกว่า จากข้อสรุปของเวทีสาธารณะ มีความเห็นว่าเมื่อจะมีการประกาศใช้พระราชกำหนดต่อ ขอให้กระบวนการในการใช้กฎหมายฉบับนี้ทำไปบนความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น ของประชาชน เพื่อที่จะไปลดปัญหาความหวาดกลัวความหวาดระแวง ขณะเดียวกันกระบวนการใดก็ตามซึ่งสามารถทำให้โปร่งใสได้ ทำให้ประชาชนมองเห็นชัดเจนได้ จะเป็นตัวช่วยให้เกิดความร่วมมือกับทางราชการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆเกี่ยวกับการที่จะเชิญหรือควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในเรื่องใดอย่างนี้เป็นต้น
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า นอกจากนั้นแล้วสิ่งที่เป็นความเห็นตรงกัน ของทุกฝ่ายที่เป็นผู้แทนของฝ่ายต่าง ๆเข้ามาในการเวทีสาธารณะเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่ายังจะต้องเร่งเดินหน้าในการสร้างความสมานฉันท์ ความสามัคคี ลดเงื่อนไขในการเผชิญหน้าทุกรูปแบบ ซึ่งการจัดเวทีของพรรคร่วมฝ่ายค้านในวันจันทร์ที่ผ่านมาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้ ว่าฝ่ายค้านเองนั้นตระหนักดีถึงความรุนแรงของปัญหานี้ เพราะต้องการจะเห็นความสามัคคีในชาติและตระหนักถึงความรับผิดชอบของทุกฝ่าย คงจะปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐบาลฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ว่าทุกฝ่ายต้องมาช่วยกันคิดช่วยกันทำแล้วก็ควรที่จะใช้ทัศนคติและลักษณะของความถ้อยทีถ้อยอาศัยในการฟังมุมมองต่างๆ เพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ให้ลุล่วงไปให้ได้
“ผมเรียนให้ทราบครับว่าความห่วงใยของเราในขณะนี้ก็คือว่ายังเกิดความสับสน ยังเกิดการขาดความชัดเจน ความเป็นเอกภาพอยู่มากในการทำงานของรัฐบาลแล้วก็อยากให้รัฐบาลระมัดระวังให้มากขึ้นในเรื่องของการสื่อสารในเรื่องของการแสดงออก” ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า โดยเฉพาะในช่วง 2 — 3 วันที่ผ่านมาสิ่งที่เป็นปัจจัยใหม่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ การกระทบกระทั่งกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งอาจจะต้องมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน และจะปฏิเสธไม่ได้ ว่าถ้าจะแก้ไขปัญหานี้ให้ลุล่วงไปได้ ไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลมาเลเซียด้วย และถ้าหากว่าเราจะบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากเราจะดำเนินการรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัดแล้ว ที่สุดเราก็ต้องได้รับความร่วมมือจากมาเลเซียด้วย เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นจุดหนึ่งซึ่งก็อยากจะสะท้อนไปถึงรัฐบาลให้มีความระมัดระวังมากขึ้น
“เวทีในวันจันทร์ที่ผ่านมาก็ได้มีการพูดว่าจริง ๆ แล้วเรื่องของศาสนาไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นความขัดแย้งหรือเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งในทางตรงกันข้ามเมื่อทุกศาสนา สอนให้ประชาชนรักสันติรักความสงบสุขทำในสิ่งที่ดีเราก็น่าจะสามารถนำเอาศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหานี้ด้วย ก็เป็นความคิดที่ดีมากที่มาจากพระสงฆ์ มาจากทั้งโต๊ะครูที่มาร่วมเวทีในวันนั้น และฝ่ายค้านก็ยังคงมีความห่วงใยในปัญหานี้อย่างมาก และก็พยายามในอำนาจหน้าที่ของเราที่จะช่วยที่จะนำความสงบสุขกลับคืนมา แล้วก็อยากจะสะท้อนไปถึงรัฐบาลว่าในการดำเนินการในเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนขอให้ทำด้วยความสุขุมลุมลึก แล้วก็ขอให้ทำอย่างมีเอกภาพ สร้างความมั่นใจ สร้างความชัดเจนให้พี่น้องประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ และสำคัญที่สุดก็คือว่าลดบรรยากาศของความขัดแย้งในทุก ๆ ด้าน ก็จะมีส่วนช่วยในการที่จะแก้ไขปัญหานี้หรือค่อย ๆ คลี่คลายปัญหานี้ต่อไป” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ต.ค. 2548--จบ--
“การจัดเวทีสาธารณะครั้งนี้ ทางรัฐบาลโดยทางราชการก็ได้ส่งผู้แทนมาทั้งที่เป็นตำรวจทั้งที่เป็นตัวแทนของ กอสสส. รวมไปถึงองค์กรอิสระเช่น กรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา รวมไปถึงผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำในภาคธุรกิจ ผู้นำทางศาสนาจากในพื้นที่รวมทั้งนักวิชาการ นักศึกษา ซึ่งได้มาให้มุมมองต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยสรุปแล้วในการจัดเวทีสาธารณะในวันจันทร์ที่ผ่านมานี้สิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันก็คือว่า ลำพังเพียงมาตรการทางกฎหมายคงไม่เพียงพอในการที่จะขับเคลื่อนแนวทางของการแก้ไขปัญหาได้ พระราชกำหนดที่ได้ประกาศใช้มาแล้วมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาก่อนครบ 3 เดือน ในความเป็นจริงนั้นปรากฎว่าในพื้นที่ยังคงขาดความเข้าใจกันอยู่มาก หลายคนที่มาจากพื้นที่ยอมรับตรงๆว่าไม่ทราบว่าที่จริงแล้วตัวพรก.คืออะไร จะใช้อย่างไร” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ความไม่เข้าใจว่าพระราชกำหนดจึงมีแนวคิด 2 ทาง 1.หลายคนที่ไม่ทราบว่าพรก.คืออะไร แต่ขาดที่พึ่ง ดังนั้นเมื่อมีเครื่องมือพิเศษขึ้นมา กล่าวคือมีกฎหมายขึ้นมา ก็หวังว่าสิ่งนี้จะเป็นที่พึ่งได้ 2.อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็ยังไม่เข้าใจว่าพรก.คืออะไรแต่ว่าพอทราบว่าเป็นเรื่องของการให้อำนาจพิเศษ เพราะฉะนั้นก็จะเกิดความหวาดระแวงเกิดความหวาดกลัวขึ้นมา สิ่งหนึ่งซึ่งอยากจะเสนอแนะรัฐบาลทันที คือ การที่จะประกาศใช้พระราชกำหนดแล้วก็จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อเนื่องต่อไป ควรจะต้องเดินหน้าในการทำความเข้าใจ อย่างน้อยเพื่อไม่ให้เกิดการนำเอาพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินไปเป็นเงื่อนไข จะเป็นในการข่มขู่คุมคามหรือไปสร้างความหวาดระแวงหรือตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่ก่อความไม่สงบ ประชาชนก็จะได้ทราบว่าที่จริงแล้วการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดนี้ใช้กันอย่างไร แล้วเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยอย่างไร ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่เองก็ได้บอกว่าประสงค์ที่จะใช้เครื่องมือนี้ต่อ เพราะว่าสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าหน้าที่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่ออีกว่า จากข้อสรุปของเวทีสาธารณะ มีความเห็นว่าเมื่อจะมีการประกาศใช้พระราชกำหนดต่อ ขอให้กระบวนการในการใช้กฎหมายฉบับนี้ทำไปบนความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น ของประชาชน เพื่อที่จะไปลดปัญหาความหวาดกลัวความหวาดระแวง ขณะเดียวกันกระบวนการใดก็ตามซึ่งสามารถทำให้โปร่งใสได้ ทำให้ประชาชนมองเห็นชัดเจนได้ จะเป็นตัวช่วยให้เกิดความร่วมมือกับทางราชการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆเกี่ยวกับการที่จะเชิญหรือควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในเรื่องใดอย่างนี้เป็นต้น
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า นอกจากนั้นแล้วสิ่งที่เป็นความเห็นตรงกัน ของทุกฝ่ายที่เป็นผู้แทนของฝ่ายต่าง ๆเข้ามาในการเวทีสาธารณะเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่ายังจะต้องเร่งเดินหน้าในการสร้างความสมานฉันท์ ความสามัคคี ลดเงื่อนไขในการเผชิญหน้าทุกรูปแบบ ซึ่งการจัดเวทีของพรรคร่วมฝ่ายค้านในวันจันทร์ที่ผ่านมาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้ ว่าฝ่ายค้านเองนั้นตระหนักดีถึงความรุนแรงของปัญหานี้ เพราะต้องการจะเห็นความสามัคคีในชาติและตระหนักถึงความรับผิดชอบของทุกฝ่าย คงจะปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐบาลฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ว่าทุกฝ่ายต้องมาช่วยกันคิดช่วยกันทำแล้วก็ควรที่จะใช้ทัศนคติและลักษณะของความถ้อยทีถ้อยอาศัยในการฟังมุมมองต่างๆ เพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ให้ลุล่วงไปให้ได้
“ผมเรียนให้ทราบครับว่าความห่วงใยของเราในขณะนี้ก็คือว่ายังเกิดความสับสน ยังเกิดการขาดความชัดเจน ความเป็นเอกภาพอยู่มากในการทำงานของรัฐบาลแล้วก็อยากให้รัฐบาลระมัดระวังให้มากขึ้นในเรื่องของการสื่อสารในเรื่องของการแสดงออก” ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า โดยเฉพาะในช่วง 2 — 3 วันที่ผ่านมาสิ่งที่เป็นปัจจัยใหม่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ การกระทบกระทั่งกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งอาจจะต้องมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน และจะปฏิเสธไม่ได้ ว่าถ้าจะแก้ไขปัญหานี้ให้ลุล่วงไปได้ ไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลมาเลเซียด้วย และถ้าหากว่าเราจะบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากเราจะดำเนินการรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัดแล้ว ที่สุดเราก็ต้องได้รับความร่วมมือจากมาเลเซียด้วย เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นจุดหนึ่งซึ่งก็อยากจะสะท้อนไปถึงรัฐบาลให้มีความระมัดระวังมากขึ้น
“เวทีในวันจันทร์ที่ผ่านมาก็ได้มีการพูดว่าจริง ๆ แล้วเรื่องของศาสนาไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นความขัดแย้งหรือเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งในทางตรงกันข้ามเมื่อทุกศาสนา สอนให้ประชาชนรักสันติรักความสงบสุขทำในสิ่งที่ดีเราก็น่าจะสามารถนำเอาศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหานี้ด้วย ก็เป็นความคิดที่ดีมากที่มาจากพระสงฆ์ มาจากทั้งโต๊ะครูที่มาร่วมเวทีในวันนั้น และฝ่ายค้านก็ยังคงมีความห่วงใยในปัญหานี้อย่างมาก และก็พยายามในอำนาจหน้าที่ของเราที่จะช่วยที่จะนำความสงบสุขกลับคืนมา แล้วก็อยากจะสะท้อนไปถึงรัฐบาลว่าในการดำเนินการในเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนขอให้ทำด้วยความสุขุมลุมลึก แล้วก็ขอให้ทำอย่างมีเอกภาพ สร้างความมั่นใจ สร้างความชัดเจนให้พี่น้องประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ และสำคัญที่สุดก็คือว่าลดบรรยากาศของความขัดแย้งในทุก ๆ ด้าน ก็จะมีส่วนช่วยในการที่จะแก้ไขปัญหานี้หรือค่อย ๆ คลี่คลายปัญหานี้ต่อไป” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ต.ค. 2548--จบ--