นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคมปี 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นทั้ง 6 ดัชนี โดยดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 136.15 เพิ่มจากเดือนก่อนร้อยละ 4.39 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 144.99 เพิ่มจากเดือนก่อนร้อยละ 5.99 ส่วนดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 142.93 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.16 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 66.92 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.52 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 172.54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.09 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 159.05 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 9.60 ขณะที่ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 144.81 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 10.41 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 103.62 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.46
สำหรับดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมแปรรูป สับปะรด โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนร้อยละ 68
และอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิตลดลง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคการก่อสร้าง ได้แก่ การผลิตปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ เหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ในสินค้าจำพวกลวดเชื่อม น๊อต สกรู ตะปู และการผลิตน้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์ และไขมันสัตว์
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า สศอ. ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน พบว่ามีทิศทางเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนตุลาคม โดยคาดว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงมีการขยายตัวอยู่ ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารและพลังงาน มีแนวโน้มการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สำหรับดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมแปรรูป สับปะรด โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนร้อยละ 68
และอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิตลดลง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคการก่อสร้าง ได้แก่ การผลิตปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ เหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ในสินค้าจำพวกลวดเชื่อม น๊อต สกรู ตะปู และการผลิตน้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์ และไขมันสัตว์
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า สศอ. ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน พบว่ามีทิศทางเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนตุลาคม โดยคาดว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงมีการขยายตัวอยู่ ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารและพลังงาน มีแนวโน้มการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-