ตามที่กระทรวงพาณิชย์ ได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้เอาประกันภัยและผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยของ บริษัท พาณิชย์การประกันภัย จำกัด กรมการ ประกันภัยได้รับความร่วมมือจากบริษัทประกันวินาศภัย จากเดิม 16 แห่ง เป็น 33 แห่ง กำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่ ดังนี้
1 กรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ นอกจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี และชำระเบี้ยประกันภัย 1 ปี โดยบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลา ประกันภัยที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิมโดยไม่คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม
2 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ โดยสามารถจำแนก เป็นรายละเอียดได้ดังนี้
- กรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ
กรมธรรม์ประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี และชำระเบี้ย ประกันภัย 1 ปี โดยบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่ เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิม โดยไม่คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม
- กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจทุกประเภท ได้แก่ ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 และประเภท 4 ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกทำประกันภัยตามที่บริษัท ประกันภัยเสนอให้ความช่วยเหลือได้เป็น 2 แนวทาง คือ
(1) ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี และชำระเบี้ยประกันภัย 1 ปี โดยบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิม โดยไม่คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม
(2) ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี โดยบริษัทประกันภัยจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเท่ากับจำนวนเบี้ยประกันภัยตามอัตราคืนเบี้ยประกันภัยที่กำหนดในพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยฯ สำหรับระยะเวลาความคุ้มครองที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิม ทั้งนี้ ส่วนลดที่จะให้แก่ผู้เอาประกันภัยจะไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของเบี้ยประกันภัยเต็มปีของกรมธรรม์ประกันภัยเดิม
สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองต่อไปให้ยื่นหลักฐานการขอทำประกันภัย เช่น กรมธรรม์ประกันภัยเดิมพร้อมสำเนา สำเนาบัตรประชาชน ใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี) และหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) ภายในวันที่ 30 กันยายน 2548 โดยนำหลักฐานไปติดต่อกับบริษัทประกันภัยหรือสาขาของบริษัทประกันภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ดังรายชื่อต่อไปนี้
1. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
3. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
6. บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด
8. บริษัท ไทยเจริญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
9. บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
10. บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
11. บริษัท ธนชาติประกันภัย จำกัด
12. บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
13. บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
14. บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)
15. บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
16. บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
17. บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด
18. บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด
19. บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด
20. บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ จำกัด
21. บริษัท โรยัลแอนด์ซันอัลลายแอนซ์ ประกันภัย จำกัด
22. บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
23. บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
24. บริษัท สามัคคีประกันภัยจำกัด (มหาชน)
25. บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
26.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด
27.บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด
28. บริษัท อวีว่า ประกันภัย (ไทย) จำกัด
29. บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000 )จำกัด
31. บริษัท เอราวัณประกันภัย จำกัด
32. บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด
33. บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย จำกัด
ที่มา: http://www.doi.go.th