สศก. ประกาศข่าวดี ยอดส่งออกมันฯ พุ่ง เตรียมหนุนเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง หลังจีนมีแนวโน้ม ต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพิ่มขึ้น พร้อมดัน ผู้ประกอบการปรับปรุงสินค้าของตนเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้กับประเทศ
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงถึงพื้นที่การเพาะปลูกมันสำปะหลัง ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 ประกอบไปด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และ อุบลราชธานี โดยในเขตดังกล่าว มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังประมาณ 1.7 ล้านไร่ คิดเป็น 27.5% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดของประเทศ ได้ผลผลิตประมาณ 4.5 ล้านตัน หรือคิดเป็น 26.5% ของผลผลิตทั้งหมด และจากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าวว่า มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยตั้งแต่ มกราคม — สิงหาคม 2548 ไปยังตลาดจีน มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งในแต่ละปี จีนมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังประมาณ 7 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น โดยแบ่งออกเป็น อุตสาหกรรมที่ใช้มันเส้นเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมผลิตกรดมะนาว ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้แป้งมันเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมกาว ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว น่าจะเป็นผลดีกับเขตอีสานตอนล่าง เนื่องจากยังสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูก ได้อีกมาก
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ก็ต้องปรับปรุงสินค้าของตน เพื่อสร้างโอกาสในการขยายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เช่น การผลิต มันเส้นที่มีคุณภาพดี หรือมันเส้นสะอาด การผลิตแป้งแปรรูป (modified starch) ขณะเดียวกันก็จะต้องมีการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 7 ห้วยบง 60 และระยอง 9 เป็นต้น เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และเปอร์เซ็นต์แป้งให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นที่ต้องการ ของตลาดมากขึ้น
ทั้งนี้ มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยในแต่ละปี ประเทศไทยสามารถผลิตหัวมันสำปะหลังสดปีละประมาณ 18 ล้านตัน และทำการส่งออก ในรูปของมันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง โดยที่จีนเป็นแหล่งส่งออกอันดับหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.0 และไทยมีสัดส่วนร้อยละ 78.0 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมดของจีน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงถึงพื้นที่การเพาะปลูกมันสำปะหลัง ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 ประกอบไปด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และ อุบลราชธานี โดยในเขตดังกล่าว มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังประมาณ 1.7 ล้านไร่ คิดเป็น 27.5% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดของประเทศ ได้ผลผลิตประมาณ 4.5 ล้านตัน หรือคิดเป็น 26.5% ของผลผลิตทั้งหมด และจากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าวว่า มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยตั้งแต่ มกราคม — สิงหาคม 2548 ไปยังตลาดจีน มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งในแต่ละปี จีนมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังประมาณ 7 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น โดยแบ่งออกเป็น อุตสาหกรรมที่ใช้มันเส้นเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมผลิตกรดมะนาว ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้แป้งมันเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมกาว ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว น่าจะเป็นผลดีกับเขตอีสานตอนล่าง เนื่องจากยังสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูก ได้อีกมาก
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ก็ต้องปรับปรุงสินค้าของตน เพื่อสร้างโอกาสในการขยายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เช่น การผลิต มันเส้นที่มีคุณภาพดี หรือมันเส้นสะอาด การผลิตแป้งแปรรูป (modified starch) ขณะเดียวกันก็จะต้องมีการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 7 ห้วยบง 60 และระยอง 9 เป็นต้น เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และเปอร์เซ็นต์แป้งให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นที่ต้องการ ของตลาดมากขึ้น
ทั้งนี้ มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยในแต่ละปี ประเทศไทยสามารถผลิตหัวมันสำปะหลังสดปีละประมาณ 18 ล้านตัน และทำการส่งออก ในรูปของมันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง โดยที่จีนเป็นแหล่งส่งออกอันดับหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.0 และไทยมีสัดส่วนร้อยละ 78.0 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมดของจีน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-