ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.คาดไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปี 48 เพียง 4,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “ความยืดหยุ่นที่น่ามหัศจรรย์ของเศรษฐกิจไทย” ว่า ตัวเลข
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีน่าจะลดลงเหลือประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 9 เดือนแรกที่ขาดดุลไปแล้ว
5,100 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นปริมาณการขาดดุลที่ไม่น่ากังวล และสามารถรับได้ เพราะคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง
ร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขณะที่ยอดขาดดุลการค้าเดือน ต.ค.48 จำนวน 185 ล้านดอลลาร์
สรอ. ยังไม่ได้นับรวมดุลบริการบริจาคที่เกินดุลเฉลี่ยเดือนละ 500-800 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดังนั้น จึงให้รอดูตัว
เลขดุลบัญชีเดินสะพัดที่ ธปท.จะประกาศในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งมั่นใจว่าในไตรมาส 4 ปี 48 นี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมา
เกินดุลประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ได้อย่างแน่นอน ส่วนจีดีพีของไทยในไตรมาส 3 ปี 48 นั้น คาดว่าจะ
ขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 4.5 และในช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวได้มากกว่าร้อยละ 5 ดังนั้น จีดีพีทั้งปี 48 คาดว่า
จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.25-4.75 ตามเป้าหมายที่ ธปท.กำหนดไว้ และในปี 49 จะขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ
5.5 (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, สยามรัฐ, แนวหน้า)
2. ธปท.ออกธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท รูปแบบใหม่ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ผอส.ฝ่าย
จัดการธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะนำธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบปรับ
ปรุงใหม่ออกใช้ในวันที่ 25 พ.ย.นี้ เพื่อทดแทนธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท ที่มีการใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน โดย
คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่งในการทดแทนได้หมด โดยธนบัตรที่ออกแบบใหม่นี้ มีการเพิ่มลักษณะพิเศษเพื่อ
ป้องกันปลอมแปลง โดยด้านหน้าธนบัตรมีแถบฟอยล์สีเงินผนึกไว้ตามแนวตั้ง ภายในปีรูปพระครุฑพ่าห์ ตัวเลขไทย
(๑,๐๐๐) ตัวเลขอารบิก (1,000) เรียงเป็นระยะ และมองเห็นเป็นหลายมิติ โดยจะเปลี่ยนสีและสะท้อนแสงเมื่อ
พลิกธนบัตรไปมา นอกจากนี้ ในเนื้อกระดาษธนบัตรยังฝังเส้นใยโลหะซ่อนไว้ตามแนวตั้งของธนบัตร นอกจากนี้ ใน
กลางปี 49 ธปท.เตรียมออกบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ
60 ปี เป็นธนบัตรชนิดราคา 60 บาท จำนวน 999,999 ล้านฉบับ (บ้านเมือง, ไทยรัฐ, ข่าวสด, โพสต์ทูเดย์)
3. บ.ฟิทช์ เรทติ้ง ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยปี 49 ชะลอตัว แต่พื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ยังคงแข็งแกร่ง บ.ฟิทช์ เรทติ้ง ได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยว่า สภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ
ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความท้าทายมากขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยและราคา
น้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ลดลงของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจในปี 49 โดยภาคธุรกิจสินเชื่อลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการธุรกิจธนาคารรายใหม่ เป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญ
กับความเสี่ยงมากที่สุด เนื่องจากแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการเติบโตของสินเชื่อที่ต่ำลง แรงกดดันทางด้าน
ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อ และการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปีหน้า แนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง อาจส่งผลทาง
ลบต่อผลการดำเนินงานที่ได้มีการปรับตัวดีขึ้นของภาคธุรกิจธนาคารและบริษัทเงินทุน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจในระยะยาวยังคงแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ
รัฐบาลน่าจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการจัดหาเงินทุนโดยภาคธุรกิจ และน่าจะช่วยสนับสนุน
การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของรายได้และผลกำไรของธนาคาร (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเตรียมหารือลดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุณทร์ ที่ปรึกษา
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะประธานคณะทำงานย่อยประสานงานและกำกับดูแลสถาบันการเงิน
เฉพาะกิจ เปิดเผยว่า หลังจากที่ รมว.คลังมีนโยบายในการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้มีฐานะทางการเงินที่
ดี และมีการประสานงานระหว่างกันมากขึ้น ที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานและกำกับการดูแลสถาบันการเงิน
เฉพาะกิจ ที่มีปลัด ก.คลัง เป็นประธานได้ตั้งคณะทำงานย่อยขึ้นมา 1 ชุด เพื่อพิจารณาปัญหาเรื่องการลดเอ็นพีแอล
ในระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจลง ให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ภายใน 3 ปี ตามนโยบายของ รมว.คลัง ซึ่งขณะ
นี้ได้สั่งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งไปรวบรวมตัวเลขเอ็นพีแอลของตนเองตามมาตรฐานของ ธปท. เพื่อ
นำมาวิเคราะห์แผนการลดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินแต่ละแห่งตามความเหมาะสมต่อไป คาดว่าประมาณเดือน
ม.ค.49 จึงจะสามารถเสนอแผนที่ชัดเจนได้ (ผู้จัดการรายวัน)
5. ครม.เร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ 49 ให้ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ร้อยละ 93 รองโฆษกสำนัก
นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบให้กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณเร่งรัดการใช้จ่ายเงิน
งบประมาณ พ.ศ.2549 ในอัตราร้อยละ 93 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น 1.36 ล้านล้านบาท จากปีก่อน
อยู่ที่ร้อยละ 92 ส่วนรายจ่ายลงทุนกำหนดเป้าหมายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 73 ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก ตั้งเป้าเบิกจ่าย
2.99 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 22 ไตรมาส 2 3.26 แสนล้านบาท ไตรมาส 3 วงเงิน 3.12 แสนล้านบาท
และไตรมาส 4 ที่ 3.26 แสนล้านบาท (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจโลกและอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ รายงาน
จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 พ.ย.48 International Chamber of Commerce และ
สถาบันวิจัย Ifo แห่งเมืองมิวนิคของเยอรมนี เปิดเผยว่า ข้อมูลดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ได้มาจากผล
สำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสสุด
ท้ายของปีนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี 48 แต่คาดว่าเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนต่อจากนี้อาจจะ
ชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าการอ่อนตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 48 เป็นเพียงชั่วคราวและปัจจุบัน
เศรษฐกิจกำลังเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยจากการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบันคาดว่าเศรษฐกิจของยุโรปจะ
ปรับตัวดีขึ้นรวมถึงเอเชียด้วย ขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือจะปรับตัวลดลง ด้านอัตราเงินเฟ้อก็เร่งตัวสูงขึ้นด้วยเช่น
กัน ซึ่งเมื่อรวมถึงราคาน้ำมันและวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า อาจจะทำให้ธนาคาร
กลางของประเทศต่าง ๆ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สถานการณ์เช่นนี้อาจจะเกิดขึ้น
เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ เอเชีย และยุโรปตะวันตก โดยคาดว่า ธ.กลางของสหภาพยุโรปที่ไม่เปลี่ยนแปลง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายมาตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า (รอยเตอร์)
2. ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. ภาคอุตสาหกรรมของจีนมีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ บริษัท
อุตสาหกรรมของจีนมีผลประกอบการกำไรรวมทั้งสิ้น 1.11 ล้าน ล้าน หยวน (137 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) หรือ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 20.1 ในช่วง 9 เดือนแรก และ
20.7 ในช่วง 8 เดือนแรก อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า การที่ผลประกอบการกำไรเพิ่มขึ้นเช่นนี้
เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่ได้รับผลประโยชน์จากการผูกขาดโดยการปกป้องอุตสาหกรรมของรัฐบาล ดังนั้นตัวเลขดัง
กล่าวจึงเป็นเพียงเครื่องชี้แนวโน้มผลประกอบการกำไรของอุตสาหกรรมอย่างเคร่าๆเท่านั้น โดยในปี 46 และ
47 ผลประกอบการอุตสาหกรรมของจีนกำไรถึงร้อยละ 43 และร้อยละ 40 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม Yao
Jingyuan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสำนักงานสถิติแห่งชาติกล่าวว่า ผลประกอบการกำไรของอุตสาหกรรมใน
ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียงร้อยละ 7.9 เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและ
สินค้าอื่นๆ (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางญี่ปุ่นใกล้จะสิ้นสุดการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนที่มีมากว่า 4 ปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 48 ผวก.ธ.กลางญี่ปุ่นกล่าวว่าใกล้จะสิ้นสุดการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อน
ปรนที่ได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 4 ปี ส่งผลให้ตลาดมีเงินทุนจำนวนมากและส่งผลให้ญี่ปุ่นพ้นจากภาวะถดถอยแล้ว
โดยจะกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดโดยใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบาย ทั้งนี้ดัชนี
ราคาผู้บริโภคที่มีกำหนดจะประกาศในวันศุกร์นี้จะเป็นเครื่องชี้ว่าธ.กลางญี่ปุ่นจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายการ
เงินหรือไม่ อย่างไรก็ตามรัฐบาลญี่ปุ่นเตือนว่าต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังด้วยเกรงว่าภาวะการเงินที่ตึงตัวจะ
ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ (รอยเตอร์)
4. การลงทุนของภาคเอกชนในเยอรมนีขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีส่งผล
ให้เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 22 พ.ย.48
เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จากไตรมาสก่อน หลังจากขยายตัวร้อยละ
0.2 ในไตรมาสก่อน โดยหากเทียบต่อปีแล้วเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปีชะลอตัวลงจาก
ไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นสุทธิร้อยละ
2.2 จากไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นสูงสุดต่อไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 42 และยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จาก
ไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกันและเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 2 ปี ในขณะที่การใช้จ่าย
ของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของ GDP กลับลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน โดยผลสำรวจพบว่าชาว
เยอรมนีมีแผนที่จะใช้จ่ายลดลงร้อยละ 9 ในเทศกาลคริสต์มาสปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการว่างงานที่
ยังอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 11.6 ในเดือน ต.ค.48 รายได้ค่าจ้างที่ลดลงเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกันและราคา
น้ำมันที่สูงขึ้นล้วนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 พ.ย. 48 22 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.199 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0165/41.3157 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80833 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 674.25/ 8.92 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,450/9,550 9,400/9,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 51.9 50.71 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ย. 48 25.24*/22.69** 25.24*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.คาดไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปี 48 เพียง 4,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “ความยืดหยุ่นที่น่ามหัศจรรย์ของเศรษฐกิจไทย” ว่า ตัวเลข
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีน่าจะลดลงเหลือประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 9 เดือนแรกที่ขาดดุลไปแล้ว
5,100 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นปริมาณการขาดดุลที่ไม่น่ากังวล และสามารถรับได้ เพราะคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง
ร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขณะที่ยอดขาดดุลการค้าเดือน ต.ค.48 จำนวน 185 ล้านดอลลาร์
สรอ. ยังไม่ได้นับรวมดุลบริการบริจาคที่เกินดุลเฉลี่ยเดือนละ 500-800 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดังนั้น จึงให้รอดูตัว
เลขดุลบัญชีเดินสะพัดที่ ธปท.จะประกาศในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งมั่นใจว่าในไตรมาส 4 ปี 48 นี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมา
เกินดุลประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ได้อย่างแน่นอน ส่วนจีดีพีของไทยในไตรมาส 3 ปี 48 นั้น คาดว่าจะ
ขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 4.5 และในช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวได้มากกว่าร้อยละ 5 ดังนั้น จีดีพีทั้งปี 48 คาดว่า
จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.25-4.75 ตามเป้าหมายที่ ธปท.กำหนดไว้ และในปี 49 จะขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ
5.5 (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, สยามรัฐ, แนวหน้า)
2. ธปท.ออกธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท รูปแบบใหม่ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ผอส.ฝ่าย
จัดการธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะนำธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบปรับ
ปรุงใหม่ออกใช้ในวันที่ 25 พ.ย.นี้ เพื่อทดแทนธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท ที่มีการใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน โดย
คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่งในการทดแทนได้หมด โดยธนบัตรที่ออกแบบใหม่นี้ มีการเพิ่มลักษณะพิเศษเพื่อ
ป้องกันปลอมแปลง โดยด้านหน้าธนบัตรมีแถบฟอยล์สีเงินผนึกไว้ตามแนวตั้ง ภายในปีรูปพระครุฑพ่าห์ ตัวเลขไทย
(๑,๐๐๐) ตัวเลขอารบิก (1,000) เรียงเป็นระยะ และมองเห็นเป็นหลายมิติ โดยจะเปลี่ยนสีและสะท้อนแสงเมื่อ
พลิกธนบัตรไปมา นอกจากนี้ ในเนื้อกระดาษธนบัตรยังฝังเส้นใยโลหะซ่อนไว้ตามแนวตั้งของธนบัตร นอกจากนี้ ใน
กลางปี 49 ธปท.เตรียมออกบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ
60 ปี เป็นธนบัตรชนิดราคา 60 บาท จำนวน 999,999 ล้านฉบับ (บ้านเมือง, ไทยรัฐ, ข่าวสด, โพสต์ทูเดย์)
3. บ.ฟิทช์ เรทติ้ง ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยปี 49 ชะลอตัว แต่พื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ยังคงแข็งแกร่ง บ.ฟิทช์ เรทติ้ง ได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยว่า สภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ
ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความท้าทายมากขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยและราคา
น้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ลดลงของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจในปี 49 โดยภาคธุรกิจสินเชื่อลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการธุรกิจธนาคารรายใหม่ เป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญ
กับความเสี่ยงมากที่สุด เนื่องจากแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการเติบโตของสินเชื่อที่ต่ำลง แรงกดดันทางด้าน
ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อ และการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปีหน้า แนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง อาจส่งผลทาง
ลบต่อผลการดำเนินงานที่ได้มีการปรับตัวดีขึ้นของภาคธุรกิจธนาคารและบริษัทเงินทุน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจในระยะยาวยังคงแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ
รัฐบาลน่าจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการจัดหาเงินทุนโดยภาคธุรกิจ และน่าจะช่วยสนับสนุน
การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของรายได้และผลกำไรของธนาคาร (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเตรียมหารือลดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุณทร์ ที่ปรึกษา
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะประธานคณะทำงานย่อยประสานงานและกำกับดูแลสถาบันการเงิน
เฉพาะกิจ เปิดเผยว่า หลังจากที่ รมว.คลังมีนโยบายในการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้มีฐานะทางการเงินที่
ดี และมีการประสานงานระหว่างกันมากขึ้น ที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานและกำกับการดูแลสถาบันการเงิน
เฉพาะกิจ ที่มีปลัด ก.คลัง เป็นประธานได้ตั้งคณะทำงานย่อยขึ้นมา 1 ชุด เพื่อพิจารณาปัญหาเรื่องการลดเอ็นพีแอล
ในระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจลง ให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ภายใน 3 ปี ตามนโยบายของ รมว.คลัง ซึ่งขณะ
นี้ได้สั่งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งไปรวบรวมตัวเลขเอ็นพีแอลของตนเองตามมาตรฐานของ ธปท. เพื่อ
นำมาวิเคราะห์แผนการลดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินแต่ละแห่งตามความเหมาะสมต่อไป คาดว่าประมาณเดือน
ม.ค.49 จึงจะสามารถเสนอแผนที่ชัดเจนได้ (ผู้จัดการรายวัน)
5. ครม.เร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ 49 ให้ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ร้อยละ 93 รองโฆษกสำนัก
นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบให้กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณเร่งรัดการใช้จ่ายเงิน
งบประมาณ พ.ศ.2549 ในอัตราร้อยละ 93 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น 1.36 ล้านล้านบาท จากปีก่อน
อยู่ที่ร้อยละ 92 ส่วนรายจ่ายลงทุนกำหนดเป้าหมายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 73 ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก ตั้งเป้าเบิกจ่าย
2.99 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 22 ไตรมาส 2 3.26 แสนล้านบาท ไตรมาส 3 วงเงิน 3.12 แสนล้านบาท
และไตรมาส 4 ที่ 3.26 แสนล้านบาท (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจโลกและอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ รายงาน
จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 พ.ย.48 International Chamber of Commerce และ
สถาบันวิจัย Ifo แห่งเมืองมิวนิคของเยอรมนี เปิดเผยว่า ข้อมูลดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ได้มาจากผล
สำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสสุด
ท้ายของปีนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี 48 แต่คาดว่าเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนต่อจากนี้อาจจะ
ชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าการอ่อนตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 48 เป็นเพียงชั่วคราวและปัจจุบัน
เศรษฐกิจกำลังเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยจากการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบันคาดว่าเศรษฐกิจของยุโรปจะ
ปรับตัวดีขึ้นรวมถึงเอเชียด้วย ขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือจะปรับตัวลดลง ด้านอัตราเงินเฟ้อก็เร่งตัวสูงขึ้นด้วยเช่น
กัน ซึ่งเมื่อรวมถึงราคาน้ำมันและวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า อาจจะทำให้ธนาคาร
กลางของประเทศต่าง ๆ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สถานการณ์เช่นนี้อาจจะเกิดขึ้น
เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ เอเชีย และยุโรปตะวันตก โดยคาดว่า ธ.กลางของสหภาพยุโรปที่ไม่เปลี่ยนแปลง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายมาตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า (รอยเตอร์)
2. ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. ภาคอุตสาหกรรมของจีนมีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ บริษัท
อุตสาหกรรมของจีนมีผลประกอบการกำไรรวมทั้งสิ้น 1.11 ล้าน ล้าน หยวน (137 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) หรือ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 20.1 ในช่วง 9 เดือนแรก และ
20.7 ในช่วง 8 เดือนแรก อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า การที่ผลประกอบการกำไรเพิ่มขึ้นเช่นนี้
เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่ได้รับผลประโยชน์จากการผูกขาดโดยการปกป้องอุตสาหกรรมของรัฐบาล ดังนั้นตัวเลขดัง
กล่าวจึงเป็นเพียงเครื่องชี้แนวโน้มผลประกอบการกำไรของอุตสาหกรรมอย่างเคร่าๆเท่านั้น โดยในปี 46 และ
47 ผลประกอบการอุตสาหกรรมของจีนกำไรถึงร้อยละ 43 และร้อยละ 40 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม Yao
Jingyuan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสำนักงานสถิติแห่งชาติกล่าวว่า ผลประกอบการกำไรของอุตสาหกรรมใน
ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียงร้อยละ 7.9 เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและ
สินค้าอื่นๆ (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางญี่ปุ่นใกล้จะสิ้นสุดการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนที่มีมากว่า 4 ปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 48 ผวก.ธ.กลางญี่ปุ่นกล่าวว่าใกล้จะสิ้นสุดการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อน
ปรนที่ได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 4 ปี ส่งผลให้ตลาดมีเงินทุนจำนวนมากและส่งผลให้ญี่ปุ่นพ้นจากภาวะถดถอยแล้ว
โดยจะกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดโดยใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบาย ทั้งนี้ดัชนี
ราคาผู้บริโภคที่มีกำหนดจะประกาศในวันศุกร์นี้จะเป็นเครื่องชี้ว่าธ.กลางญี่ปุ่นจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายการ
เงินหรือไม่ อย่างไรก็ตามรัฐบาลญี่ปุ่นเตือนว่าต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังด้วยเกรงว่าภาวะการเงินที่ตึงตัวจะ
ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ (รอยเตอร์)
4. การลงทุนของภาคเอกชนในเยอรมนีขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีส่งผล
ให้เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 22 พ.ย.48
เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จากไตรมาสก่อน หลังจากขยายตัวร้อยละ
0.2 ในไตรมาสก่อน โดยหากเทียบต่อปีแล้วเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปีชะลอตัวลงจาก
ไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นสุทธิร้อยละ
2.2 จากไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นสูงสุดต่อไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 42 และยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จาก
ไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกันและเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 2 ปี ในขณะที่การใช้จ่าย
ของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของ GDP กลับลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน โดยผลสำรวจพบว่าชาว
เยอรมนีมีแผนที่จะใช้จ่ายลดลงร้อยละ 9 ในเทศกาลคริสต์มาสปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการว่างงานที่
ยังอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 11.6 ในเดือน ต.ค.48 รายได้ค่าจ้างที่ลดลงเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกันและราคา
น้ำมันที่สูงขึ้นล้วนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 พ.ย. 48 22 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.199 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0165/41.3157 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80833 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 674.25/ 8.92 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,450/9,550 9,400/9,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 51.9 50.71 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ย. 48 25.24*/22.69** 25.24*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--