ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กนง.มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.50% ต่อปี นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า กนง.มีมติปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ.ระยะ 14 วัน (อาร์/พี) อีก 0.50% จาก 2.75% เป็น 3.25% ต่อปี โดยมี
ผลทันที เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นชัดเจน จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสที่เงิน
เฟ้อพื้นฐานจะเร่งตัวเกินเป้าหมายที่ 0-3.5% ดังนั้น ดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อพื้น
ฐานให้อยู่ภายในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ จาก
การประเมินตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน ก.ค.-ส.ค. พบว่า เงินเฟ้อมีการเร่งตัวขึ้นสูงกว่าประมาณการที่คาดไว้
และแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็อยู่ในทิศทางขาขึ้น ซึ่ง ธปท.เกรงความเสี่ยงจากการเร่งตัวของเงินเฟ้อ
จะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า นอกจากนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดมีการขาดดุลสูงมากในช่วงครึ่งแรกของปี แต่เริ่มปรับตัวดี
ขึ้นทั้งจากแนวโน้มการส่งออกที่สูงขึ้น และการชะลอตัวของการนำเข้า แต่คาดว่าในครึ่งหลังของปี ดุลบัญชีเดินสะพัด
จะเกินดุล แต่เมื่อรวมทั้งปีแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 48 ก็จะยังคงขาดดุลและมีแนวโน้มที่จะขาดดุลต่อไปอีกในปี
48 (ข่าวสด, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
2. บรรษัทภิบาลของตลาดทุนไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ
กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานผลการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิ
บาลของตลาดทุนไทย หรือ CG-GOSCs ซึ่งประเมินโดย ธ.โลก ต่อคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ โดยผลการ
ประเมินพบว่า ตลาดทุนไทยอยู่ในระดับดีเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งคะแนนส่วนใหญ่ที่ไทยได้รับถือว่าทำได้ตามมาตรฐานสากล
ในระดับ 69% นอกจากนี้ สิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าตลาดทุนไทยมีบรรษัทภิบาลที่ดีก็คือ ผลการประเมินชี้ว่าไทยไม่มีข้อใดที่ตก
เกณฑ์มาตรฐานเลย ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือของทุกฝ่ายเพื่อผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจังในช่วงที่ผ่านมา (ผู้
จัดการรายวัน)
3. เศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งแม้ต้องเผชิญปัจจัยลบต่างๆ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง นรม.
และ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่งจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงถึง 48,000
ล.ดอลลาร์ สรอ. แม้ต้องเผชิญปัจจัยลบต่างๆ ได้แก่ ผลกระทบจากการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ไข้หวัดนก ซาร์ส รวม
ถึงปัญหาชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ความกังวลที่ผ่านมาเกิดจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาส
1/48 ทรุดลงเหลือ 3.3% จากที่เคยขึ้นไปสูงถึง 6% ในปี 47 แต่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านถือว่าไทยอยู่ใน
เกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 2/48 จีดีพีเพิ่มขึ้นมาที่ 4.4% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการจัดการและการแก้ปัญหาได้
อย่างถูกต้อง สำหรับปัญหาที่น่าวิตกมีเพียงราคาน้ำมัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะปรับขึ้นไปแตะระดับ 100
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล แต่จะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดรัฐบาลจะดูแลไม่
ให้มีปัญหาโดยต้องเร่งการส่งออกและเสริมด้วยดุลบริการ โดยในช่วงเวลา 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ จะกระตุ้นยอด
การส่งออกให้มีอัตราการเติบโตในระดับ 30% ต่อเดือน ชดเชยการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกที่เติบโตในระดับ 13%
เท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าสินค้าที่จะเป็นตัวนำของไทย คือ สิ่งทอและอาหาร (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. Goldman Sachs ปรับลดประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสรอ.ในไตรมาส 3 และ
4 ปี 48 รายงานจาก Chicago เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 48 ธ.เพื่อการลงทุน Goldman Sachs ได้ปรับลดคาด
การณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสรอ. ใน 2 ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้โดยคาดว่าไตรมาสที่ 3 ปีนี้เศรษฐกิจสรอ.
จะขยายตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิมร้อยละ 5.0 ส่วนไตรมาส
ที่ 4 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ปรับลดลงจากที่คาดไว้เดิมที่ร้อยละ 3.5 เนื่องจากผลกระทบของพายุ เฮอร์
ริเคน Katrina อย่างไรก็ตามในปีหน้า Goldman Sachs ได้ปรับเพิ่มประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้ง 4 ไตรมาสของสรอ.จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.75 ซึ่งมากกว่าที่ประมาณการไว้เดิมร้อยละ 0.75 (รอย
เตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 4.5 รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 8 ก.ย.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยว่า ผลสำรวจความคิดเห็นนัก
วิเคราะห์ จำนวน 47 คน ทั้งหมดคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 4.5
ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ โดยราคาบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา และแม้แต่ภาคการผลิตที่อยู่
ในภาวะย่ำแย่ก็ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงข่าวที่ว่ากรรมการ 4 ใน 9 คน ของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่รวมผู้ว่า
การ ธ.กลางอังกฤษ ไม่เห็นด้วยในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับ
อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ ช่วยลดความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม มุม
มองในอนาคตยังไม่ค่อยสดใสนัก โดยนักวิเคราะห์ 17 คน คาดว่าจะมีการผ่อนคลายลงเล็กน้อยภายหลังในปีนี้ ขณะ
ที่อีก 17 คน กล่าวว่า ธ.กลางอังกฤษจะรอคอยจนกว่าจะถึงปี 49 ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องการปรับลดดอกเบี้ย
ทั้งนี้ จากการที่เศรษฐกิจของอังกฤษเติบโตต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและอัตราเงินเฟ้อสูงเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ทำ
ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของอังกฤษต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และดูเหมือนว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่
มีการเปลี่ยนแปลงภายในปีนี้ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ก.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนเพิ่มขึ้น
เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7 ก.ย.48 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานตัวเลขเบื้องต้น
ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค.48 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนเพิ่มขึ้นเป็น
เดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน มิ.ย.48 ในขณะที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าจะลด
ลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือน โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากภาคการผลิตซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อน ใน
ขณะที่ผลผลิตภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือนและภาคพลังงานมีผลผลิตลดลงร้อยละ 0.1 ต่อ
เดือน ผลผลิตในภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภคซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยส่วนใหญ่เป็น
สินค้าคงทนที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (รอยเตอร์)
4. ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.48 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่
ระดับ 94.8 รายงานจากโซล เมื่อ 8 ก.ย.48 ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.48 ลดลง
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ระดับ 94.8 จากระดับ 95.2 ในเดือน ก.ค.48 (ซึ่งเคยอยู่ในระดับต่ำสุดในเดือน
ม.ค.48 ที่ 90.3) ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวเคยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่งเมื่อเดือน มี.ค.48 หลังจากนั้นก็ลดลง
อย่างต่อเนื่อง และตั้งแต่เดือน พ.ค.48 เริ่มอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 อันเป็นเส้นแบ่งระหว่างมุมมองด้านบวกและ
ด้านลบ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีสัญญาณของความต้องการในประเทศที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้เช่น
เดียวกับการส่งออก ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจเกาหลีใต้นั้น แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความยากลำบากจาก
ปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและความต้องการสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์จากทั่ว
โลกที่ชะลอตัวลง อนึ่ง ตัวเลขดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคที่รายงานในครั้งนี้ได้รวบรวมก่อนที่รัฐบาลจะเปิดเผย
มาตรการที่จะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศชะลอตัวลงเมื่อวันที่ 31 ส.ค.48 รวมทั้งการประกาศปรับเพิ่ม
ภาษีด้านที่อยู่อาศัยและและที่ดินขนาดใหญ่ ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่า ปัจจัยทั้ง 2 ประการจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อ
มั่นของผู้บริโภคในอนาคต (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ก.ย. 48 7 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.042 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9146/41.1989 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.03806 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 708.50/ 19.72 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,600/8,700 8,600/8,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.93 56.4 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.94*/23.39 26.94*/23.39 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 4 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. กนง.มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.50% ต่อปี นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า กนง.มีมติปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ.ระยะ 14 วัน (อาร์/พี) อีก 0.50% จาก 2.75% เป็น 3.25% ต่อปี โดยมี
ผลทันที เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นชัดเจน จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสที่เงิน
เฟ้อพื้นฐานจะเร่งตัวเกินเป้าหมายที่ 0-3.5% ดังนั้น ดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อพื้น
ฐานให้อยู่ภายในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ จาก
การประเมินตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน ก.ค.-ส.ค. พบว่า เงินเฟ้อมีการเร่งตัวขึ้นสูงกว่าประมาณการที่คาดไว้
และแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็อยู่ในทิศทางขาขึ้น ซึ่ง ธปท.เกรงความเสี่ยงจากการเร่งตัวของเงินเฟ้อ
จะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า นอกจากนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดมีการขาดดุลสูงมากในช่วงครึ่งแรกของปี แต่เริ่มปรับตัวดี
ขึ้นทั้งจากแนวโน้มการส่งออกที่สูงขึ้น และการชะลอตัวของการนำเข้า แต่คาดว่าในครึ่งหลังของปี ดุลบัญชีเดินสะพัด
จะเกินดุล แต่เมื่อรวมทั้งปีแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 48 ก็จะยังคงขาดดุลและมีแนวโน้มที่จะขาดดุลต่อไปอีกในปี
48 (ข่าวสด, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
2. บรรษัทภิบาลของตลาดทุนไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ
กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานผลการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิ
บาลของตลาดทุนไทย หรือ CG-GOSCs ซึ่งประเมินโดย ธ.โลก ต่อคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ โดยผลการ
ประเมินพบว่า ตลาดทุนไทยอยู่ในระดับดีเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งคะแนนส่วนใหญ่ที่ไทยได้รับถือว่าทำได้ตามมาตรฐานสากล
ในระดับ 69% นอกจากนี้ สิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าตลาดทุนไทยมีบรรษัทภิบาลที่ดีก็คือ ผลการประเมินชี้ว่าไทยไม่มีข้อใดที่ตก
เกณฑ์มาตรฐานเลย ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือของทุกฝ่ายเพื่อผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจังในช่วงที่ผ่านมา (ผู้
จัดการรายวัน)
3. เศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งแม้ต้องเผชิญปัจจัยลบต่างๆ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง นรม.
และ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่งจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงถึง 48,000
ล.ดอลลาร์ สรอ. แม้ต้องเผชิญปัจจัยลบต่างๆ ได้แก่ ผลกระทบจากการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ไข้หวัดนก ซาร์ส รวม
ถึงปัญหาชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ความกังวลที่ผ่านมาเกิดจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาส
1/48 ทรุดลงเหลือ 3.3% จากที่เคยขึ้นไปสูงถึง 6% ในปี 47 แต่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านถือว่าไทยอยู่ใน
เกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 2/48 จีดีพีเพิ่มขึ้นมาที่ 4.4% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการจัดการและการแก้ปัญหาได้
อย่างถูกต้อง สำหรับปัญหาที่น่าวิตกมีเพียงราคาน้ำมัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะปรับขึ้นไปแตะระดับ 100
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล แต่จะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดรัฐบาลจะดูแลไม่
ให้มีปัญหาโดยต้องเร่งการส่งออกและเสริมด้วยดุลบริการ โดยในช่วงเวลา 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ จะกระตุ้นยอด
การส่งออกให้มีอัตราการเติบโตในระดับ 30% ต่อเดือน ชดเชยการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกที่เติบโตในระดับ 13%
เท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าสินค้าที่จะเป็นตัวนำของไทย คือ สิ่งทอและอาหาร (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. Goldman Sachs ปรับลดประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสรอ.ในไตรมาส 3 และ
4 ปี 48 รายงานจาก Chicago เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 48 ธ.เพื่อการลงทุน Goldman Sachs ได้ปรับลดคาด
การณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสรอ. ใน 2 ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้โดยคาดว่าไตรมาสที่ 3 ปีนี้เศรษฐกิจสรอ.
จะขยายตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิมร้อยละ 5.0 ส่วนไตรมาส
ที่ 4 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ปรับลดลงจากที่คาดไว้เดิมที่ร้อยละ 3.5 เนื่องจากผลกระทบของพายุ เฮอร์
ริเคน Katrina อย่างไรก็ตามในปีหน้า Goldman Sachs ได้ปรับเพิ่มประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้ง 4 ไตรมาสของสรอ.จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.75 ซึ่งมากกว่าที่ประมาณการไว้เดิมร้อยละ 0.75 (รอย
เตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 4.5 รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 8 ก.ย.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยว่า ผลสำรวจความคิดเห็นนัก
วิเคราะห์ จำนวน 47 คน ทั้งหมดคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 4.5
ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ โดยราคาบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา และแม้แต่ภาคการผลิตที่อยู่
ในภาวะย่ำแย่ก็ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงข่าวที่ว่ากรรมการ 4 ใน 9 คน ของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่รวมผู้ว่า
การ ธ.กลางอังกฤษ ไม่เห็นด้วยในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับ
อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ ช่วยลดความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม มุม
มองในอนาคตยังไม่ค่อยสดใสนัก โดยนักวิเคราะห์ 17 คน คาดว่าจะมีการผ่อนคลายลงเล็กน้อยภายหลังในปีนี้ ขณะ
ที่อีก 17 คน กล่าวว่า ธ.กลางอังกฤษจะรอคอยจนกว่าจะถึงปี 49 ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องการปรับลดดอกเบี้ย
ทั้งนี้ จากการที่เศรษฐกิจของอังกฤษเติบโตต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและอัตราเงินเฟ้อสูงเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ทำ
ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของอังกฤษต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และดูเหมือนว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่
มีการเปลี่ยนแปลงภายในปีนี้ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ก.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนเพิ่มขึ้น
เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7 ก.ย.48 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานตัวเลขเบื้องต้น
ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค.48 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนเพิ่มขึ้นเป็น
เดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน มิ.ย.48 ในขณะที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าจะลด
ลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือน โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากภาคการผลิตซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อน ใน
ขณะที่ผลผลิตภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือนและภาคพลังงานมีผลผลิตลดลงร้อยละ 0.1 ต่อ
เดือน ผลผลิตในภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภคซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยส่วนใหญ่เป็น
สินค้าคงทนที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (รอยเตอร์)
4. ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.48 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่
ระดับ 94.8 รายงานจากโซล เมื่อ 8 ก.ย.48 ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.48 ลดลง
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ระดับ 94.8 จากระดับ 95.2 ในเดือน ก.ค.48 (ซึ่งเคยอยู่ในระดับต่ำสุดในเดือน
ม.ค.48 ที่ 90.3) ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวเคยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่งเมื่อเดือน มี.ค.48 หลังจากนั้นก็ลดลง
อย่างต่อเนื่อง และตั้งแต่เดือน พ.ค.48 เริ่มอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 อันเป็นเส้นแบ่งระหว่างมุมมองด้านบวกและ
ด้านลบ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีสัญญาณของความต้องการในประเทศที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้เช่น
เดียวกับการส่งออก ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจเกาหลีใต้นั้น แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความยากลำบากจาก
ปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและความต้องการสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์จากทั่ว
โลกที่ชะลอตัวลง อนึ่ง ตัวเลขดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคที่รายงานในครั้งนี้ได้รวบรวมก่อนที่รัฐบาลจะเปิดเผย
มาตรการที่จะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศชะลอตัวลงเมื่อวันที่ 31 ส.ค.48 รวมทั้งการประกาศปรับเพิ่ม
ภาษีด้านที่อยู่อาศัยและและที่ดินขนาดใหญ่ ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่า ปัจจัยทั้ง 2 ประการจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อ
มั่นของผู้บริโภคในอนาคต (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ก.ย. 48 7 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.042 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9146/41.1989 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.03806 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 708.50/ 19.72 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,600/8,700 8,600/8,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.93 56.4 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.94*/23.39 26.94*/23.39 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 4 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--