กรุงเทพ--28 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้เดินทางเยือนกรุงอังการาและนครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกีอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายอับดุลลาห์ กุล (Abdullah Gul) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศตุรกี
การเยือนตุรกีครั้งนี้เป็นการเยือนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในรอบ 11 ปี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะนายบูเลนท์ อารินช (Mr. Bulent Arinc) ประธานรัฐสภาตุรกี ซึ่งทางการตุรกีจัดให้ ฝ่ายไทยเข้า เยี่ยมคารวะประธานาธิบดีตุรกี ซึ่งกำลังป่วยอยู่และได้หารือข้อราชการกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี และได้พบนาย Faik Yavuz รองประธาน สภาหอการค้าอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีและการแลกเปลี่ยนโภคภัณฑ์ของตุรกี (TOBB) รวมทั้งนักธุรกิจตุรกีที่เป็นสมาชิก TOBB นอกจากนั้น ในโอกาสการมาเยือนตุรกีครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและตุรกียังได้ลงนามในความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับตุรกีอีกด้วย
ก่อนออกเดินทางจากกรุงอังการา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมแถลงข่าวกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี และต่อมาได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยเพิ่มเติม สรุปสาระได้ดังต่อไปนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองเห็นพ้องกันว่า ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับตุรกีเป็นไปด้วยดี แม้ว่าประเทศทั้งสองจะตั้งอยู่ห่างไกลกัน แต่ก็มีกรอบความร่วมมือ ในหลายเรื่อง เช่น ภายใต้กรอบสหประชาชาติ นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีตุรกี (นาย Tayyip Erdogan) ก็ได้เดินทางไปเยือนไทยเพื่อร่วมแสดงความเสียใจกับประชาชนไทยกรณีธรณีพิบัติภัยในภาคใต้ ซึ่งรัฐบาลตุรกีได้ให้ความร่วมมือแก่ผู้ประสบภัยผ่านรัฐบาลไทยด้วย
2. อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศยังมีลู่ทางที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มขึ้น ได้อีกมาก โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ การลงทุน และการติดต่อสัมพันธ์ในระดับประชาชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า ปัญหาประการหนึ่งคือ ประชาชนทั้งสองฝ่ายยังไม่รู้จักกันและกันมากนัก และควรมีการเผยแพร่ข้อมูลให้แต่ละฝ่ายรู้จักกันมากขึ้น ซึ่งฝ่ายตุรกีก็เห็นด้วย
3. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ไทยสามารถเป็นประตู (GATEWAY) สำหรับธุรกิจตุรกี สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรีด้วยได้ ในขณะที่ตุรกี ก็สามารถเป็นประตูสำหรับธุรกิจไทยเข้าสู่ภูมิภาคยุโรป เอเชียกลาง และตะวันออกกลางได้เช่นกัน โดยที่ทั้งสองประเทศต่างก็มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคของตน ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญชวนให้ตุรกีพิจารณาเข้าร่วมเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือแห่งเอเชีย (Asia Coporate Dialogue-ACD) ด้วย ซึ่งฝ่ายตุรกีก็ได้แสดงความสนใจ
4. ได้มีการหารือกันเกี่ยวกับข้อเสนอของฝ่ายไทยในการยกร่างแผนปฏิบัติการร่วม 5 ปีไทย-ตุรกี ซึ่งฝ่ายตุรกีก็เห็นชอบด้วยและจะได้หารือรายละเอียดกันต่อไป แผนปฏิบัติการนี้ เมื่อจัดทำเรียบร้อยแล้วจะเป็นแผนกำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาความสัมพันธ์สองฝ่ายอย่าง รอบด้านต่อไป ทั้งนี้ ฝ่ายตุรกีได้เชิญให้นักธุรกิจไทยที่มีความชำนาญในกิจการบริหารโรงแรมชั้นดี ไปลงทุนในธุรกิจการโรงแรม สปา และภัตตาคารในตุรกี เนื่องจากตุรกีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมา เยือนตุรกีมาก แต่ยังมีความต้องการโรงแรมชั้นดีและทราบว่าไทยมีความเชี่ยวชาญในการบริหารโรงแรม ส่วนฝ่ายไทยก็เชิญชวนนักธุรกิจในอุตสาหกรรมก่อสร้างของตุรกีไปร่วมมือในโครงการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านของไทย นอกจากนั้น มีการหารือในเรื่องความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและ การบิน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขอให้ฝ่ายตุรกีพิจารณายกเว้นการตรวจลงตรา ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยเพื่อเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวไทยได้มากขึ้น และได้มีการหารือเกี่ยวกับ การเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงและการข่าวระหว่างกันด้วย และฝ่ายไทยได้ขอบคุณฝ่ายตุรกี ที่มอบทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยมาศึกษาในตุรกี จำนวนปีละ 20 ทุน
5. ในโอกาสที่จะมีการเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับตุรกีในปี พ.ศ. 2551 ทั้งสองฝ่ายจะมีกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกัน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงและฝ่ายตุรกีได้ย้ำคำเชิญให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมาเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ตอบรับในหลักการแล้ว และจะหารือกำหนดเวลาต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้เดินทางเยือนกรุงอังการาและนครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกีอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายอับดุลลาห์ กุล (Abdullah Gul) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศตุรกี
การเยือนตุรกีครั้งนี้เป็นการเยือนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในรอบ 11 ปี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะนายบูเลนท์ อารินช (Mr. Bulent Arinc) ประธานรัฐสภาตุรกี ซึ่งทางการตุรกีจัดให้ ฝ่ายไทยเข้า เยี่ยมคารวะประธานาธิบดีตุรกี ซึ่งกำลังป่วยอยู่และได้หารือข้อราชการกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี และได้พบนาย Faik Yavuz รองประธาน สภาหอการค้าอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีและการแลกเปลี่ยนโภคภัณฑ์ของตุรกี (TOBB) รวมทั้งนักธุรกิจตุรกีที่เป็นสมาชิก TOBB นอกจากนั้น ในโอกาสการมาเยือนตุรกีครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและตุรกียังได้ลงนามในความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับตุรกีอีกด้วย
ก่อนออกเดินทางจากกรุงอังการา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมแถลงข่าวกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี และต่อมาได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยเพิ่มเติม สรุปสาระได้ดังต่อไปนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองเห็นพ้องกันว่า ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับตุรกีเป็นไปด้วยดี แม้ว่าประเทศทั้งสองจะตั้งอยู่ห่างไกลกัน แต่ก็มีกรอบความร่วมมือ ในหลายเรื่อง เช่น ภายใต้กรอบสหประชาชาติ นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีตุรกี (นาย Tayyip Erdogan) ก็ได้เดินทางไปเยือนไทยเพื่อร่วมแสดงความเสียใจกับประชาชนไทยกรณีธรณีพิบัติภัยในภาคใต้ ซึ่งรัฐบาลตุรกีได้ให้ความร่วมมือแก่ผู้ประสบภัยผ่านรัฐบาลไทยด้วย
2. อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศยังมีลู่ทางที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มขึ้น ได้อีกมาก โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ การลงทุน และการติดต่อสัมพันธ์ในระดับประชาชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า ปัญหาประการหนึ่งคือ ประชาชนทั้งสองฝ่ายยังไม่รู้จักกันและกันมากนัก และควรมีการเผยแพร่ข้อมูลให้แต่ละฝ่ายรู้จักกันมากขึ้น ซึ่งฝ่ายตุรกีก็เห็นด้วย
3. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ไทยสามารถเป็นประตู (GATEWAY) สำหรับธุรกิจตุรกี สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรีด้วยได้ ในขณะที่ตุรกี ก็สามารถเป็นประตูสำหรับธุรกิจไทยเข้าสู่ภูมิภาคยุโรป เอเชียกลาง และตะวันออกกลางได้เช่นกัน โดยที่ทั้งสองประเทศต่างก็มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคของตน ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญชวนให้ตุรกีพิจารณาเข้าร่วมเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือแห่งเอเชีย (Asia Coporate Dialogue-ACD) ด้วย ซึ่งฝ่ายตุรกีก็ได้แสดงความสนใจ
4. ได้มีการหารือกันเกี่ยวกับข้อเสนอของฝ่ายไทยในการยกร่างแผนปฏิบัติการร่วม 5 ปีไทย-ตุรกี ซึ่งฝ่ายตุรกีก็เห็นชอบด้วยและจะได้หารือรายละเอียดกันต่อไป แผนปฏิบัติการนี้ เมื่อจัดทำเรียบร้อยแล้วจะเป็นแผนกำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาความสัมพันธ์สองฝ่ายอย่าง รอบด้านต่อไป ทั้งนี้ ฝ่ายตุรกีได้เชิญให้นักธุรกิจไทยที่มีความชำนาญในกิจการบริหารโรงแรมชั้นดี ไปลงทุนในธุรกิจการโรงแรม สปา และภัตตาคารในตุรกี เนื่องจากตุรกีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมา เยือนตุรกีมาก แต่ยังมีความต้องการโรงแรมชั้นดีและทราบว่าไทยมีความเชี่ยวชาญในการบริหารโรงแรม ส่วนฝ่ายไทยก็เชิญชวนนักธุรกิจในอุตสาหกรรมก่อสร้างของตุรกีไปร่วมมือในโครงการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านของไทย นอกจากนั้น มีการหารือในเรื่องความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและ การบิน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขอให้ฝ่ายตุรกีพิจารณายกเว้นการตรวจลงตรา ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยเพื่อเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวไทยได้มากขึ้น และได้มีการหารือเกี่ยวกับ การเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงและการข่าวระหว่างกันด้วย และฝ่ายไทยได้ขอบคุณฝ่ายตุรกี ที่มอบทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยมาศึกษาในตุรกี จำนวนปีละ 20 ทุน
5. ในโอกาสที่จะมีการเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับตุรกีในปี พ.ศ. 2551 ทั้งสองฝ่ายจะมีกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกัน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงและฝ่ายตุรกีได้ย้ำคำเชิญให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมาเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ตอบรับในหลักการแล้ว และจะหารือกำหนดเวลาต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-