กรุงเทพ--4 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 นาย Ahmed Hasyim Muzadi ประธานคณะกรรมการกลางองค์การศาสนาอิสลาม Nadhlatu Ulama (NU) ของอินโดนีเซียได้เข้าพบและหารือกับ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กระทรวงการต่างประเทศ และภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนสรุปได้ดังนี้
1.ประธาน NU มาพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้งเพื่อแจ้งข้อมูลและข้อคิดเห็นให้ฝ่ายไทยได้รับทราบหลังจากที่ได้สังเกตการณ์และลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้มีโอกาสหารืออย่างครบวงจรกับทุกฝ่ายทั้งฝ่ายทหาร เจ้าหน้าที่ผู้นำศาสนาและประชาชนในพื้นที่
2.ตามข้อมูลที่ได้รับ ประธาน NU แจ้งว่า เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลมีนโยบายที่เน้นความพยายามดำเนินการเพื่อส่งเสริมความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ถูกต้องและประธาน NU ก็เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจผิดกับบางคนในพื้นที่ ซึ่งมีเพียงจำนวนน้อย
3.ประธาน NU กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความชัดเจนว่าไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่เป็นเรื่องของคนบางกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงนอกกฎหมายซึ่งใช้ศาสนามาเป็นข้ออ้างทำให้บุคคลที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เข้าใจผิด กลายเป็นเครื่องมือให้กลุ่มคนดังกล่าว สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ ดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิด ส่วนคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็สร้างความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งประธาน NU เสนอให้คนในภาคใต้มีโอกาสพบกับชาวมุสลิมในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น เช่น การเยี่ยมเยียนระหว่างกัน เพื่อที่จะได้รับฟังความคิดเห็นของชาวมุสลิมในอินโดนีเซียที่ไม่นิยมใช้ความรุนแรง ซึ่งฝ่ายไทยก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้
4.ประธาน NU เข้าใจว่าคนส่วนมากไม่ตั้งใจที่จะให้เกิดปัญหาและไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน แต่ถูกชักจูงจากกลุ่มที่นำศาสนามาอ้างจึงเสนอให้ใช้การศึกษาและพัฒนาช่วยแก้ปัญหา และเสนอให้ครูสอนศาสนาจากอินโดนีเซียเข้ามาช่วยประสานความเข้าใจว่าศาสนาไม่ได้นำไปสู่ความขัดแย้ง แต่นำมาสู่ความรักและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
5.ประธาน NU กล่าวว่า อาจมีบางคนคิดว่าชาวมุสลิมในไทยเป็นพลเมืองชั้นสอง ดังนั้นต้องมีการทำความเข้าใจว่า ชาวมุสลิมคือคนไทยเช่นกัน นอกจากนั้น มีชาวมุสลิมบางกลุ่มที่คิดว่าตนเองเป็นชาวมุสลิมมาเลเซียที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นความเข้าใจผิด ความจริงแล้วกลุ่มดังกล่าวคือคนไทยที่อาจมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชาวมาเลเซีย ประธาน NU มั่นใจว่ารัฐบาลไทยสามารถให้ความเป็นธรรมแก่คนเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ ที่จะไม่ให้รู้สึกว่ากลุ่มของตนเป็นพลเมืองชั้นสอง
6.ประธาน NU เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปพบผู้นำมุสลิมในอินโดนีเซียเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสม่ำเสมอ และเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระดับประชาชน โดยให้คนไทยมุสลิมเดินทางไปประเทศอินโดนีเซียเพื่อให้เห็นคนที่นับถือศาสนาเดียวกัน มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่ไม่ได้ถูกสอนให้ใช้ความรุนแรง อันจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับคนไทยว่าไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งฝ่ายไทยรับจะดำเนินการ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 นาย Ahmed Hasyim Muzadi ประธานคณะกรรมการกลางองค์การศาสนาอิสลาม Nadhlatu Ulama (NU) ของอินโดนีเซียได้เข้าพบและหารือกับ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กระทรวงการต่างประเทศ และภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนสรุปได้ดังนี้
1.ประธาน NU มาพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้งเพื่อแจ้งข้อมูลและข้อคิดเห็นให้ฝ่ายไทยได้รับทราบหลังจากที่ได้สังเกตการณ์และลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้มีโอกาสหารืออย่างครบวงจรกับทุกฝ่ายทั้งฝ่ายทหาร เจ้าหน้าที่ผู้นำศาสนาและประชาชนในพื้นที่
2.ตามข้อมูลที่ได้รับ ประธาน NU แจ้งว่า เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลมีนโยบายที่เน้นความพยายามดำเนินการเพื่อส่งเสริมความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ถูกต้องและประธาน NU ก็เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจผิดกับบางคนในพื้นที่ ซึ่งมีเพียงจำนวนน้อย
3.ประธาน NU กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความชัดเจนว่าไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่เป็นเรื่องของคนบางกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงนอกกฎหมายซึ่งใช้ศาสนามาเป็นข้ออ้างทำให้บุคคลที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เข้าใจผิด กลายเป็นเครื่องมือให้กลุ่มคนดังกล่าว สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ ดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิด ส่วนคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็สร้างความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งประธาน NU เสนอให้คนในภาคใต้มีโอกาสพบกับชาวมุสลิมในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น เช่น การเยี่ยมเยียนระหว่างกัน เพื่อที่จะได้รับฟังความคิดเห็นของชาวมุสลิมในอินโดนีเซียที่ไม่นิยมใช้ความรุนแรง ซึ่งฝ่ายไทยก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้
4.ประธาน NU เข้าใจว่าคนส่วนมากไม่ตั้งใจที่จะให้เกิดปัญหาและไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน แต่ถูกชักจูงจากกลุ่มที่นำศาสนามาอ้างจึงเสนอให้ใช้การศึกษาและพัฒนาช่วยแก้ปัญหา และเสนอให้ครูสอนศาสนาจากอินโดนีเซียเข้ามาช่วยประสานความเข้าใจว่าศาสนาไม่ได้นำไปสู่ความขัดแย้ง แต่นำมาสู่ความรักและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
5.ประธาน NU กล่าวว่า อาจมีบางคนคิดว่าชาวมุสลิมในไทยเป็นพลเมืองชั้นสอง ดังนั้นต้องมีการทำความเข้าใจว่า ชาวมุสลิมคือคนไทยเช่นกัน นอกจากนั้น มีชาวมุสลิมบางกลุ่มที่คิดว่าตนเองเป็นชาวมุสลิมมาเลเซียที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นความเข้าใจผิด ความจริงแล้วกลุ่มดังกล่าวคือคนไทยที่อาจมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชาวมาเลเซีย ประธาน NU มั่นใจว่ารัฐบาลไทยสามารถให้ความเป็นธรรมแก่คนเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ ที่จะไม่ให้รู้สึกว่ากลุ่มของตนเป็นพลเมืองชั้นสอง
6.ประธาน NU เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปพบผู้นำมุสลิมในอินโดนีเซียเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสม่ำเสมอ และเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระดับประชาชน โดยให้คนไทยมุสลิมเดินทางไปประเทศอินโดนีเซียเพื่อให้เห็นคนที่นับถือศาสนาเดียวกัน มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่ไม่ได้ถูกสอนให้ใช้ความรุนแรง อันจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับคนไทยว่าไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งฝ่ายไทยรับจะดำเนินการ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-