กระทู้ถามสด
สมัยสามัญทั่วไป ครั้งที่ ๑๙
วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๘
--------------------------------
กระทู้ถามสด เรื่อง การสั่งปิดเว็บไซต์วิทยุชุมชน
ผู้ถาม นายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ์ ถาม นายกรัฐมนตรี
ผู้ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
กรณีสั่งการปิดเว็บไซต์ www.fm ๙๒๒๕.com โดยสารวัตรอินเตอร์เน็ต
ประเด็นคำถาม
คำถามข้อที่ ๑ การสั่งปิดเว็บไซต์ www.fm ๙๒๒๕.com นั้น
๑.๑ ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๓๙
“มาตรา ๓๙ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้
การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงครามหรือการรบ แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามความในวรรคสอง
เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้
ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้
๑.๒ เป็นการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน หรือไม่
๑.๓ สารวัตรอินเตอร์เน็ตที่อ้างอำนาจเข้าไปปิดเป็นใคร มาจากไหน ได้รับคำสั่งจากใคร อ้างอำนาจตามกฎหมายใด
คำตอบที่ ๑ (๑.๑, ๑.๒, ๑.๓) ในกรณีของวิทยุ FM ๙๒.๒๕ ยังสามารถออกอากาศได้ไม่มีใครมาปิด แต่วิทยุ FM ๙๒.๒๕ ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย แต่รัฐบาลก็อนุโลมให้ออกอากาศได้ การดำเนินการในครั้งนี้ไม่มีใครสั่ง และเป็นการปฏิบัติที่ไม่ผิดกฎหมาย เป็นการดำเนินการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เพราะเมื่อมีการออกอากาศ ทางสารวัตรอินเตอร์เน็ตสามารถที่จะตรวจสอบได้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการออกอากาศ ในเมื่อไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าใครรับผิดชอบ เช่น กรณีเอารูปคนดังมาตัดต่อ เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพ เพราะฉะนั้น จึงเกิดสารวัตรอินเตอร์เน็ตขึ้นมา ดังนั้น สารวัตรอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นมาจากการร้องเรียนของประชาชนนั่นเอง ดังนั้น จึงไม่ได้เป็นการปิดกั้นสื่อ ไม่ได้สั่งปิดกรณีเว็บไซต์นี้ขอให้ยืนยันได้ว่า ใครรับผิดชอบ ก็สามารถดำเนินการได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้เป็นการปิดกั้นสื่อ ดังนั้น วิทยุ FM ๙๒.๒๕ จึงยังออกอากาศได้ แต่การใช้เว็บไซต์กระจายเสียงนั้น ต้องตรวจสอบ ซึ่งเป็นมาตรการปกติที่สารวัตรอินเตอร์เน็ตได้ทำมาเป็นเวลา ๒-๓ ปีแล้ว รัฐบาลไม่ปิดกั้นสื่อโดยใช้อำนาจหน้าที่ทำให้เกิดปัญหากับประชาชน
คำถามข้อ ๒
๒.๑ การสั่งห้ามเผยแพร่เว็บไซต์ www.fm ๙๒๒๕.com นั้น ขอถามว่า เว็บไซต์นี้ทำอะไรผิด เพราะสารวัตรอินเตอร์เน็ตต้องตอบได้ว่า เสียงที่ปรากฏเป็นเสียงใคร ใครรับผิดชอบซึ่งในเว็บไซต์นี้ปรากฏชื่อและเสียงพร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ปรากฏอยู่ในเว็บ การที่สารวัตรอินเตอร์เน็ต ห้ามเผยแพร่เว็บไซต์นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเสียงนายกทักษิณในรายการ นายกทักษิณคุยกับประชาชน จะเป็นการเลือกปฏิบัติของสารวัตรอินเตอร์เน็ตหรือไม่ จึงขอถามคำถามดังนี้
๒.๑.๑ การปิดเว็บไซต์นี้ เป็นการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๙ อย่างชัดเจน ใครรับผิดชอบ
๒.๑.๒ ในวันข้างหน้า รัฐบาลจะมีการปิดเว็บไซต์อีกหรือไม่
๒.๑.๓ รัฐบาลมีหลักประกันใดที่รัฐบาลจะไม่คุกคามสื่อมวลชนเช่นนี้อีก
คำตอบที่ ๒ (๒.๑ (๒.๑.๑, ๒.๑.๒, ๒.๑.๓))วิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นวิทยุที่ถูกต้องตามกฎหมาย รายการนายกทักษิณคุยกับประชาชน กรมประชาสัมพันธ์รับผิดชอบ เว็บไซต์ที่ออกอากาศก็รับผิดชอบ ซึ่งแตกต่างจากวิทยุชุมชน FM ๙๒.๒๕ ที่รัฐบาลอนุโลมให้ออกอากาศได้ จึงไม่ได้ปิดกั้นแต่ประการใด เว็บไซต์ www.fm ๙๒๒๕.com นี้ สารวัตรอินเตอร์เน็ตต้องตรวจสอบ ควบคุมให้ถูกกฎหมาย เพราะเกินขอบเขตที่วิทยุชุมชนถ่ายทอดออกอากาศได้ เพราะฉะนั้นสารวัตรอินเตอร์เน็ตจึงต้องเข้าไปตรวจสอบ หากว่าไม่ดำเนินการจะถูกกล่าวหาว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากมีการร้องเรียนเข้ามาว่า วิทยุนี้ถูกต้องหรือไม่ ใครรับผิดชอบ และจะไปเอาผิดกับใคร และถูกกฎหมายหรือไม่
คำถามที่ ๓
ในปัจจุบันสื่อมวลชนของรัฐและเอกชนถูกคุกคามอย่างแรง มีการฆ่านักข่าวและคุกคามสื่อ ไม่รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน จึงขอถามว่า
๓.๑ รัฐบาลเตรียมที่จะปิดเว็บไซต์อื่นอีกหรือไม่ และจะปิดวิทยุชุมชนอีกหรือไม่ รัฐบาลจะรับประกันให้สื่อมวลชนทำงานได้อย่างอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงหรือไม่
คำตอบที่ ๓.๑ รัฐไม่เคยปิดกั้นสื่อ การเปิดเสรีไม่มีประเทศไหนในโลกที่ให้เสรีภาพมากเท่ากับประเทศไทย สื่อที่มีคุณภาพมีจรรยาบรรณมีมาก ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องปกติซึ่งรัฐบาลต้องรับฟัง ถ้าไม่ดีต้องแก้ไข ซึ่งไม่มีการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และไม่ได้ตรวจสอบสื่อแบบปิดกั้น ไม่มีเจตนาจะขีดเส้นเจ้าหน้าที่ ไม่มีการเลือกปฏิบัติแน่นอน ไม่มีการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อ ในขณะเดียวกันต้องดูแลสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย ซึ่งก็คือหน้าที่ของสารวัตรอินเตอร์เน็ต
ผลกระทบ
๑. เป็นการจำกัดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ตามระบอบประชาธิปไตยและประชาชนเสียโอกาสที่จะได้รับรู้ข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในการที่จะแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ เนื่องจากถูกครอบงำ แทรกแซงจากผู้ที่มีอำนาจมากกว่าในสังคม
๒. เกิดการเลือกปฏิบัติ เช่น กลุ่มธุรกิจการเมืองที่มีผลประโยชน์กับทางภาครัฐจะได้เปรียบในขณะที่สื่ออิสระอาจจะถูกกลั่นแกล้ง สังคมไทยจะเกิดความอยุติธรรมและการเอาเปรียบจากผู้มีอำนาจ
๓. การที่รัฐบาลขาดความชอบธรรมในการเข้ามาแก้ปัญหา เนื่องจากเข้าข่ายการใช้แนวคิดอำนาจนิยมและการเลือกปฏิบัติ ปกป้องพวกพ้องตนเอง กลั่นแกล้งกลุ่มอื่น ซึ่งขัดกับหลักธรรมาภิบาล
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2548--จบ--
สมัยสามัญทั่วไป ครั้งที่ ๑๙
วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๘
--------------------------------
กระทู้ถามสด เรื่อง การสั่งปิดเว็บไซต์วิทยุชุมชน
ผู้ถาม นายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ์ ถาม นายกรัฐมนตรี
ผู้ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
กรณีสั่งการปิดเว็บไซต์ www.fm ๙๒๒๕.com โดยสารวัตรอินเตอร์เน็ต
ประเด็นคำถาม
คำถามข้อที่ ๑ การสั่งปิดเว็บไซต์ www.fm ๙๒๒๕.com นั้น
๑.๑ ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๓๙
“มาตรา ๓๙ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้
การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงครามหรือการรบ แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามความในวรรคสอง
เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้
ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้
๑.๒ เป็นการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน หรือไม่
๑.๓ สารวัตรอินเตอร์เน็ตที่อ้างอำนาจเข้าไปปิดเป็นใคร มาจากไหน ได้รับคำสั่งจากใคร อ้างอำนาจตามกฎหมายใด
คำตอบที่ ๑ (๑.๑, ๑.๒, ๑.๓) ในกรณีของวิทยุ FM ๙๒.๒๕ ยังสามารถออกอากาศได้ไม่มีใครมาปิด แต่วิทยุ FM ๙๒.๒๕ ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย แต่รัฐบาลก็อนุโลมให้ออกอากาศได้ การดำเนินการในครั้งนี้ไม่มีใครสั่ง และเป็นการปฏิบัติที่ไม่ผิดกฎหมาย เป็นการดำเนินการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เพราะเมื่อมีการออกอากาศ ทางสารวัตรอินเตอร์เน็ตสามารถที่จะตรวจสอบได้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการออกอากาศ ในเมื่อไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าใครรับผิดชอบ เช่น กรณีเอารูปคนดังมาตัดต่อ เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพ เพราะฉะนั้น จึงเกิดสารวัตรอินเตอร์เน็ตขึ้นมา ดังนั้น สารวัตรอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นมาจากการร้องเรียนของประชาชนนั่นเอง ดังนั้น จึงไม่ได้เป็นการปิดกั้นสื่อ ไม่ได้สั่งปิดกรณีเว็บไซต์นี้ขอให้ยืนยันได้ว่า ใครรับผิดชอบ ก็สามารถดำเนินการได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้เป็นการปิดกั้นสื่อ ดังนั้น วิทยุ FM ๙๒.๒๕ จึงยังออกอากาศได้ แต่การใช้เว็บไซต์กระจายเสียงนั้น ต้องตรวจสอบ ซึ่งเป็นมาตรการปกติที่สารวัตรอินเตอร์เน็ตได้ทำมาเป็นเวลา ๒-๓ ปีแล้ว รัฐบาลไม่ปิดกั้นสื่อโดยใช้อำนาจหน้าที่ทำให้เกิดปัญหากับประชาชน
คำถามข้อ ๒
๒.๑ การสั่งห้ามเผยแพร่เว็บไซต์ www.fm ๙๒๒๕.com นั้น ขอถามว่า เว็บไซต์นี้ทำอะไรผิด เพราะสารวัตรอินเตอร์เน็ตต้องตอบได้ว่า เสียงที่ปรากฏเป็นเสียงใคร ใครรับผิดชอบซึ่งในเว็บไซต์นี้ปรากฏชื่อและเสียงพร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ปรากฏอยู่ในเว็บ การที่สารวัตรอินเตอร์เน็ต ห้ามเผยแพร่เว็บไซต์นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเสียงนายกทักษิณในรายการ นายกทักษิณคุยกับประชาชน จะเป็นการเลือกปฏิบัติของสารวัตรอินเตอร์เน็ตหรือไม่ จึงขอถามคำถามดังนี้
๒.๑.๑ การปิดเว็บไซต์นี้ เป็นการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๙ อย่างชัดเจน ใครรับผิดชอบ
๒.๑.๒ ในวันข้างหน้า รัฐบาลจะมีการปิดเว็บไซต์อีกหรือไม่
๒.๑.๓ รัฐบาลมีหลักประกันใดที่รัฐบาลจะไม่คุกคามสื่อมวลชนเช่นนี้อีก
คำตอบที่ ๒ (๒.๑ (๒.๑.๑, ๒.๑.๒, ๒.๑.๓))วิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นวิทยุที่ถูกต้องตามกฎหมาย รายการนายกทักษิณคุยกับประชาชน กรมประชาสัมพันธ์รับผิดชอบ เว็บไซต์ที่ออกอากาศก็รับผิดชอบ ซึ่งแตกต่างจากวิทยุชุมชน FM ๙๒.๒๕ ที่รัฐบาลอนุโลมให้ออกอากาศได้ จึงไม่ได้ปิดกั้นแต่ประการใด เว็บไซต์ www.fm ๙๒๒๕.com นี้ สารวัตรอินเตอร์เน็ตต้องตรวจสอบ ควบคุมให้ถูกกฎหมาย เพราะเกินขอบเขตที่วิทยุชุมชนถ่ายทอดออกอากาศได้ เพราะฉะนั้นสารวัตรอินเตอร์เน็ตจึงต้องเข้าไปตรวจสอบ หากว่าไม่ดำเนินการจะถูกกล่าวหาว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากมีการร้องเรียนเข้ามาว่า วิทยุนี้ถูกต้องหรือไม่ ใครรับผิดชอบ และจะไปเอาผิดกับใคร และถูกกฎหมายหรือไม่
คำถามที่ ๓
ในปัจจุบันสื่อมวลชนของรัฐและเอกชนถูกคุกคามอย่างแรง มีการฆ่านักข่าวและคุกคามสื่อ ไม่รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน จึงขอถามว่า
๓.๑ รัฐบาลเตรียมที่จะปิดเว็บไซต์อื่นอีกหรือไม่ และจะปิดวิทยุชุมชนอีกหรือไม่ รัฐบาลจะรับประกันให้สื่อมวลชนทำงานได้อย่างอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงหรือไม่
คำตอบที่ ๓.๑ รัฐไม่เคยปิดกั้นสื่อ การเปิดเสรีไม่มีประเทศไหนในโลกที่ให้เสรีภาพมากเท่ากับประเทศไทย สื่อที่มีคุณภาพมีจรรยาบรรณมีมาก ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องปกติซึ่งรัฐบาลต้องรับฟัง ถ้าไม่ดีต้องแก้ไข ซึ่งไม่มีการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และไม่ได้ตรวจสอบสื่อแบบปิดกั้น ไม่มีเจตนาจะขีดเส้นเจ้าหน้าที่ ไม่มีการเลือกปฏิบัติแน่นอน ไม่มีการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อ ในขณะเดียวกันต้องดูแลสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย ซึ่งก็คือหน้าที่ของสารวัตรอินเตอร์เน็ต
ผลกระทบ
๑. เป็นการจำกัดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ตามระบอบประชาธิปไตยและประชาชนเสียโอกาสที่จะได้รับรู้ข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในการที่จะแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ เนื่องจากถูกครอบงำ แทรกแซงจากผู้ที่มีอำนาจมากกว่าในสังคม
๒. เกิดการเลือกปฏิบัติ เช่น กลุ่มธุรกิจการเมืองที่มีผลประโยชน์กับทางภาครัฐจะได้เปรียบในขณะที่สื่ออิสระอาจจะถูกกลั่นแกล้ง สังคมไทยจะเกิดความอยุติธรรมและการเอาเปรียบจากผู้มีอำนาจ
๓. การที่รัฐบาลขาดความชอบธรรมในการเข้ามาแก้ปัญหา เนื่องจากเข้าข่ายการใช้แนวคิดอำนาจนิยมและการเลือกปฏิบัติ ปกป้องพวกพ้องตนเอง กลั่นแกล้งกลุ่มอื่น ซึ่งขัดกับหลักธรรมาภิบาล
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2548--จบ--