นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า สหภาพยุโรปได้ประกาศใช้โครงการ GSP รอบใหม่ โดยในช่วงแรกจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึง 31 ธันวาคม 2551 แทนโครงการเดิมที่จะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ซึ่งมีสาระของโครงการโดยสรุป ดังนี้
1. กำหนดการออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ประเทศผู้รับสิทธิสามารถออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ฟอร์ม A) ให้ได้เฉพาะสินค้าที่มีสิทธิ์ได้รับ GSP ณ วันที่ทำการส่งออก และโดยที่สหภาพยุโรปกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นวันที่มีผลใช้บังคับ ดังนั้นสินค้าที่ส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 จึงจะมีสิทธิขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form A)
2. การคืนสิทธิ GSP ให้สินค้าที่ถูกตัดสิทธิ์ในโครงการเดิม สินค้าจำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าประมง กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง กลุ่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยาง กลุ่มสินค้ารองเท้า กลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสินค้าแก้วและเซรามิค จะได้รับการคืนสิทธิ GSP
3. กลุ่มสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP มีสินค้า 2 กลุ่ม คือ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (Section 14) และกลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งที่เกี่ยวข้อง (Section 17) จะถูกตัดสิทธิ์
4. ปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจัดแบ่งกลุ่มสินค้า โดยแยกเป็นหมวดสินค้า 21 หมวด (Sections) ตามหลักการจำแนกสินค้าในระบบสากล (Harmonize System : HS) เช่นเดียวกับการจำแนกหมวดสินค้าตามพิกัดศุลกากรไทยแทนการจัดแบ่งเป็นกลุ่ม (Sectors) ในระบบเดิม
5. เปลี่ยนแปลงเกณฑ์การพิจารณาตัดสิทธิ์/คืนสิทธิ์ โดยใช้สัดส่วนการตลาด (Market Share) ภายใต้สิทธิ GSP ของแต่ละหมวดสินค้า (Section) ในตลาดสหภาพยุโรปที่เกินร้อยละ 15 ของการนำเข้า ภายใต้สิทธิ์จากทุกประเทศที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป ยกเว้นกลุ่มสินค้าสิ่งทอใช้เกณฑ์การตัดสิทธิ์ที่ ร้อยละ 12.5
ดังนั้น ผู้ส่งออกสามารถขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form A สำหรับสินค้าที่ได้รับสิทธิ์และส่งออกจากประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ได้ที่กรมการค้าต่างประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกสินค้าโดยใช้สิทธิ GSP ไปสหภาพยุโรปมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือสหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดย 10 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่าการใช้สิทธิ GSP สหภาพยุโรป คิดเป็นมูลค่า 3,302 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภายใต้ GSP ของสหภาพยุโรปตามโครงการใหม่นี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกโดยรวมไปสหภาพยุโรปในปี 2549 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการได้รับสิทธิ GSP คืนในสินค้าส่งออก 6 กลุ่มภายใต้โครงการรอบใหม่
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
1. กำหนดการออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ประเทศผู้รับสิทธิสามารถออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ฟอร์ม A) ให้ได้เฉพาะสินค้าที่มีสิทธิ์ได้รับ GSP ณ วันที่ทำการส่งออก และโดยที่สหภาพยุโรปกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นวันที่มีผลใช้บังคับ ดังนั้นสินค้าที่ส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 จึงจะมีสิทธิขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form A)
2. การคืนสิทธิ GSP ให้สินค้าที่ถูกตัดสิทธิ์ในโครงการเดิม สินค้าจำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าประมง กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง กลุ่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยาง กลุ่มสินค้ารองเท้า กลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสินค้าแก้วและเซรามิค จะได้รับการคืนสิทธิ GSP
3. กลุ่มสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP มีสินค้า 2 กลุ่ม คือ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (Section 14) และกลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งที่เกี่ยวข้อง (Section 17) จะถูกตัดสิทธิ์
4. ปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจัดแบ่งกลุ่มสินค้า โดยแยกเป็นหมวดสินค้า 21 หมวด (Sections) ตามหลักการจำแนกสินค้าในระบบสากล (Harmonize System : HS) เช่นเดียวกับการจำแนกหมวดสินค้าตามพิกัดศุลกากรไทยแทนการจัดแบ่งเป็นกลุ่ม (Sectors) ในระบบเดิม
5. เปลี่ยนแปลงเกณฑ์การพิจารณาตัดสิทธิ์/คืนสิทธิ์ โดยใช้สัดส่วนการตลาด (Market Share) ภายใต้สิทธิ GSP ของแต่ละหมวดสินค้า (Section) ในตลาดสหภาพยุโรปที่เกินร้อยละ 15 ของการนำเข้า ภายใต้สิทธิ์จากทุกประเทศที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป ยกเว้นกลุ่มสินค้าสิ่งทอใช้เกณฑ์การตัดสิทธิ์ที่ ร้อยละ 12.5
ดังนั้น ผู้ส่งออกสามารถขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form A สำหรับสินค้าที่ได้รับสิทธิ์และส่งออกจากประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ได้ที่กรมการค้าต่างประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกสินค้าโดยใช้สิทธิ GSP ไปสหภาพยุโรปมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือสหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดย 10 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่าการใช้สิทธิ GSP สหภาพยุโรป คิดเป็นมูลค่า 3,302 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภายใต้ GSP ของสหภาพยุโรปตามโครงการใหม่นี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกโดยรวมไปสหภาพยุโรปในปี 2549 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการได้รับสิทธิ GSP คืนในสินค้าส่งออก 6 กลุ่มภายใต้โครงการรอบใหม่
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-