กระทรวงการคลังขอเรียนว่า R&I ได้ประกาศแถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2548 เวลา 13.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการจัดระดับเครดิต (Rating Committee) ได้ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Long Term Credit Rating) อยู่ที่ระดับ BBB+ โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Short Term Credit Rating) อยู่ที่ระดับ a-2 ซึ่ง R&I ได้ให้เหตุผลของการยืนยันระดับเครดิตดังกล่าวข้างต้นโดยสรุป ดังนี้
1. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับที่สามารถครอบคลุมหนี้ต่างประเทศได้เกือบทั้งหมด ขณะเดียวกันรัฐบาลดำเนินนโยบายในการลดระดับหนี้สาธารณะอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาคการเงินยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีมาตรการรองรับเพื่อให้สามารถครอบคลุมการขจัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ส่วนใหญ่ในระบบ ด้านอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินบาทยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ และมีความเป็นไปได้น้อยมากในการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในปี 2540
2. ด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปี2547 ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยต่างๆ อาทิ ราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ อันได้แก่ คลื่นยักษ์สึนามิ (Tsunami) และภาวะภัยแล้ง การคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4 ซึ่งต่ำกว่าในปี 2546 และปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6 ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2548 คาดว่าจะยังคงขาดดุล อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี ภาวะเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าจะมีการชะลอตัวของภาคเอกชน แต่นโยบายการใช้จ่ายของภาครัฐในการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ อาทิ ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่และด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะปานกลางถึงระยะยาว โดยอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ได้แก่ ภาระหนี้ต่องบประมาณ และผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด
3. R&I ได้ให้ความเห็นว่า ความสามารถในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาลของไทยอยู่ในระดับที่สูง แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถใช้นโยบายด้านการเงินมาบริหารจัดการได้ทันท่วงที นอกจากนั้น นโยบายการยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาลนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างดี แม้ว่าจะมีผลกระทบทางด้านสังคมบ้าง
4. R&I ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าประเด็นการแก้ปัญหาในระยะปานกลางและระยะยาวยังคงเป็นปัจจัยหลักต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความเชื่อมั่นของประเทศไทยในอนาคต ทั้งนี้ นโยบายการบริหารของธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงมุ่งไปยังการขจัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบสถาบันการเงินของไทยให้สมบูรณ์ รวมทั้งการปรับโครงสร้างภาคการเงิน ควบคู่ไปกับการเร่งขจัดปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยเสื่อมถอยลง เช่น การเพิ่มสูงขึ้นของหนี้ผู้บริโภค ในส่วนของรัฐบาลนั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่การลดช่องว่างของรายได้และการพัฒนาด้านการศึกษาให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตของประเทศในระยะต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 105/2548 18 พฤศจิกายน 48--
1. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับที่สามารถครอบคลุมหนี้ต่างประเทศได้เกือบทั้งหมด ขณะเดียวกันรัฐบาลดำเนินนโยบายในการลดระดับหนี้สาธารณะอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาคการเงินยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีมาตรการรองรับเพื่อให้สามารถครอบคลุมการขจัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ส่วนใหญ่ในระบบ ด้านอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินบาทยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ และมีความเป็นไปได้น้อยมากในการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในปี 2540
2. ด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปี2547 ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยต่างๆ อาทิ ราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ อันได้แก่ คลื่นยักษ์สึนามิ (Tsunami) และภาวะภัยแล้ง การคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4 ซึ่งต่ำกว่าในปี 2546 และปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6 ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2548 คาดว่าจะยังคงขาดดุล อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี ภาวะเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าจะมีการชะลอตัวของภาคเอกชน แต่นโยบายการใช้จ่ายของภาครัฐในการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ อาทิ ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่และด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะปานกลางถึงระยะยาว โดยอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ได้แก่ ภาระหนี้ต่องบประมาณ และผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด
3. R&I ได้ให้ความเห็นว่า ความสามารถในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาลของไทยอยู่ในระดับที่สูง แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถใช้นโยบายด้านการเงินมาบริหารจัดการได้ทันท่วงที นอกจากนั้น นโยบายการยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาลนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างดี แม้ว่าจะมีผลกระทบทางด้านสังคมบ้าง
4. R&I ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าประเด็นการแก้ปัญหาในระยะปานกลางและระยะยาวยังคงเป็นปัจจัยหลักต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความเชื่อมั่นของประเทศไทยในอนาคต ทั้งนี้ นโยบายการบริหารของธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงมุ่งไปยังการขจัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบสถาบันการเงินของไทยให้สมบูรณ์ รวมทั้งการปรับโครงสร้างภาคการเงิน ควบคู่ไปกับการเร่งขจัดปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยเสื่อมถอยลง เช่น การเพิ่มสูงขึ้นของหนี้ผู้บริโภค ในส่วนของรัฐบาลนั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่การลดช่องว่างของรายได้และการพัฒนาด้านการศึกษาให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตของประเทศในระยะต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 105/2548 18 พฤศจิกายน 48--